Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนผังความคิดการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลอนามัยแม่และเด็ก - Coggle Diagram
แผนผังความคิดการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลอนามัยแม่และเด็ก
เเนวทางการดูเเสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
ออกกำลังกายแบบพอดี ๆ ไม่หนักหน่วงจนเกินไป
เลิกบุหรี่ช่วยเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์
ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
กินอาหารที่มีประโยชน์เน้นแคลเซียมและธาตุเหล็ก
กินอาหารที่มีกรดโฟลิกตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ช่วยให้ลูกแข็งแรง
หมั่นตรวจสุขภาพทุก ๆ 3 เดือน
ทำจิตใจให้สบาย ห้ามเคร่งเครียดมากเกินไป
เเนวทางการดูเเลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์
ใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ
ออกกำลังกายอย่างพอดี
คุมน้ำหนักให้พอดี
ดูแลจิตใจให้ผ่องใส ไม่วิตกกังวล
สุขภาพดีด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์
ฝากครรภ์ทันที
เเนวทางการดูเเลสุขภาพหลังคลอด
3.อาบน้ำรักษาความสะอาด
หลังการทำคลอดเสร็จเรียบร้อยแล้ว 12-14 ชั่วโมง คุณแม่สามารถอาบน้ำเพื่อชำระล้างความสะอาดได้เลย ยิ่งถ้าคุณแม่มีน้ำนมไหลออกมาจำนวนมาก ก็ขอให้เปลี่ยนเสื้อชั้นในบ่อย ๆ ใช้แผ่นซับน้ำนม หรือจะใช้เครื่องปั๊มน้ำนมปั๊มเก็บไว้เลยก็ดีไม่แพ้กัน
4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ก็เข้าใจดีว่าคุณแม่บางคนอาจจะรู้สึกอยากกินอะไรหลาย ๆ อย่างที่ต้องงดไปช่วงที่ตั้งครรภ์อยู่ เมื่อคลอดแล้วก็อยากจะกินให้เต็มที่ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารรสจัด ของหมักดอง และแอลกอฮอล์ทุกชนิดไปก่อนเพื่อป้องกันปัญหาโรคท้องผูก
2.ดูแลแผลผ่าตัด
ไม่ว่าจะคลอดด้วยการคลอดธรรมชาติ หรือจะคลอดด้วยการผ่าตัดก็ต้องมีแผลเย็บทั้งนั้น คุณแม่จึงควรให้ความสนใจและรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ไม่มีอาการอักเสบและติดเชื้อจนทำให้แผลหายช้าลง
5.เต้านมและหัวนมต้องสะอาด
เพราะน้ำนมจะต้องหลั่งตลอดเวลา และลูกน้อยก็จะต้องดื่มน้ำนมจากเต้านมของคุณ เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงควรทำความสะอาดอย่างพิถีพิถันสักนิด วิธีที่ดีที่สุดก็คือเอาสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดรอบเต้านมและรอบหัวนมให้สะอาดก่อนให้นมลูกทุกครั้ง
1.พักผ่อนให้ได้มากที่สุด
ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกไม่เจ็บปวดมากเท่าไรภายหลังจากคลอดแล้ว และรู้สึกว่าตัวเองแข็งแรงดี แต่ก็ต้องพักผ่อนให้มากที่สุดภายในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด เพื่อเป็นการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและมดลูกให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติได้ไวที่สุด
6.ห้ามลืมการตรวจร่างกาย
ปกติเมื่อคุณแม่คลอดลูกแล้ว 1 เดือน คุณหมอจะนัดให้ไปตรวจร่างกายเพื่อดูว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิมหรือยัง รวมทั้งตรวจหามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกด้วย เพราะฉะนั้นห้ามลืมเป็นอันขาด
7.ออกกำลังกายเพื่อคืนประสิทธิภาพให้ร่างกาย
หลังคลอดแล้ว 6 สัปดาห์ คุณแม่ก็สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้แล้ว อาจจะเริ่มจากการเดินหรือทำงานบ้านเบา ๆ ก่อน เพื่อฟื้นฟูอวัยวะภายในให้กลับมาเหมือนเดิม และช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินที่เกิดจากการตั้งครรภ์
เรื่องน่ารู้ ''โยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์''
“โยคะ” เป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสำหรับคนท้องตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึงใกล้คลอด เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไป ช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดอารมณ์ให้คงที่ ลดอาการเจ็บป่วยและปวดเมื่อยตามร่างกาย นอกจากนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการคลอดธรรมชาติ การฝึกโยคะจะช่วยให้คลอดง่าย ฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดได้เร็ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ที่คิดจะเล่นโยคะในแต่ละไตรมาส ก็ควรระมัดระวัง และคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดจากการเล่นโยคะ ดังนี้
โยคะคนท้อง ไตรมาสแรก (0 –13 สัปดาห์)
หากคุณแม่ท้องอ่อนที่ต้องการจะเล่นโยคะในช่วง 0 – 13 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ควรฝึกอย่างระมัดระวังมากๆ เนื่องจากอยู่ในช่วงการฝังตัวของทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้ ดังนั้น ห้ามฝึกท่าที่เป็นอันตรายเด็ดขาด และควรปรึกษาครูสอนโยคะสำหรับคนท้อง เพื่อปรับท่าให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณแม่ท้องแต่ละท่าน
โยคะคนท้อง ไตรมาส 2 (14 ถึง 28 สัปดาห์)
สำหรับคุณแม่ที่ไม่เคยฝึกโยคะมาก่อน อายุครรภ์ในไตรมาสที่ 2 จะเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการเริ่มต้นฝึกโยคะสำหรับคนท้องมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่ท้องไม่ใหญ่เกินไป ตัวอ่อนในครรภ์มีการฝังตัวที่ผนังมดลูกแข็งแรงขึ้น แพ้ท้องน้อยลง แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องระมัดระวังเรื่องท่าที่เหมาะสมสำหรับคนท้อง และต้องเตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อม โดยก่อนที่จะฝึกโยคะประมาณ 30 นาที คุณแม่ควรทานผลไม้เล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามิน ลดอาการเวียนศีรษะขณะฝึกโยคะ
โยคะคนท้อง ไตรมาส 3 (29 ถึง 40 สัปดาห์)
เป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและท้องที่ยื่นออกมาจะกลายเป็นความท้าท้ายสำหรับคุณแม่ที่ต้องการฝึกโยคะในไตรมาสนี้ จึงควรมีอุปกรณ์เสริม เช่น บล็อคโยคะ โฟมโรลเลอร์ หรือลูกบอลโยคะ มาช่วยซับพอร์ตในการฝึกท่าบาลานซ์ของคุณให้ง่ายขึ้น
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในระหว่างฝึกโยคะสำหรับคนท้อง
หลีกเลี่ยงท่านอนราบ ไม่ควรนอนราบเกิน 1 นาที และควรพลิกตัวพัก ครั้งละ 30 วินาที ทุกครั้งที่ต้องอยู่ในท่านอนราบ โดยเฉพาะช่วงหลังจากไตรมาสแรก เพราะท้องที่โตขึ้นอาจกดทับเส้นเลือดที่เข้าสู่หัวใจ ทำให้คลื่นไส้และหายใจไม่ออกได้
หลีกเลี่ยงท่าที่ต้องใช้ศีรษะและหัวไหล่ การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทรงตัวในแนวตั้งที่ใช้ศีรษะและมือทั้งสองข้างดันพื้นเพื่อรับน้ำหนักตัวแทนขา จะเสี่ยงต่อการเป็นลมและอาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
หลีเลี่ยงการเล่นโยคะร้อน คุณแม่ท้องควรเล่นโยคะในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรอยู่ในที่ร้อนเกินไป เพราะอาจหน้ามืด เป็นลม และล้มจนได้รับอันตรายต่อลูกน้อยได้
อย่าหักโหมมากเกินไป คุณแม่ทุกๆ ไตรมาสต้องรู้จักสังเกตร่างกายตัวเอง หากมีอาการเจ็บปวดหรือสัญญาณอันตรายต่างๆ ระหว่างเล่นโยคะ ควรหยุดเล่น และปรึกษาแพทย์ทันที