Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A2 การพยาบาลที่สอดคล้องกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของชาวกัมพูชา - Coggle…
A2
การพยาบาลที่สอดคล้องกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของชาวกัมพูชา
ประวัติศาสตร์กัมพูชา
วัฒนธรรมกัมพูชาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติมีพื้นฐานมาจากศาสนาทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู กัมพูชาได้รับอิทธิพลจากอินเดียทางด้านภาษาและศิลปะผ่านทางแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งจากการค้าทางทะเลทางไกลกับอินเดียและจีนจนเกิดอาณาจักรฟูนันขึ้น
วัฒนธรรมและความเชื่อ
ผี craap หรือผีโป่งหากเข้าสิงหญิงขณะตั้งครรภ์ก็เพียงเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการวิธีการให้รู้ถึงความต้องการของ craap ผีโป่งนี้ทำโดยการเข้าทรงเช่นเมื่อรบกวนที่อยู่ของมันมันอาจเรียกร้องต้องการอาหารศาลพระภูมิหรือต้องการให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อทำการเข้าทรงรู้แล้วจัดให้ตามที่ craap ต้องการอาการคนใข้ก็จะหายเป็นปกติ
การดูแลหญิงตั้งครรภ์ของกัมพูชา
การงดเว้นของกินต้องห้าม ของเย็น
ของที่ต้องห้ามอื่นอีกอาหารต้องห้ามอื่นๆ อาหารที่อนุญาตสำหรับหญิงตั้งครรภ์
อาหารที่นิยมและพบบ่อย ซอมลอมะจู (แกงส้มกัมพูชา) ซอมลอกอโก (แกงเลียงกัมพูชา)
น้ำพริกกับปลาหรือผักสด ผัดผักทุกชนิด
อะม็อก (ห่อหมกกัมพูชา) เนื้อย่าง
ไข่เจียวปลาหมักบด ปลาทอด โปนเตียโกน
ไก่เผาน้ำผึ้ง ขนมออมซอน
การดูแลการคลอดของชาวกัมพูชา
โดยจะเริ่มตั้งแต่การเตรียมการก่อนคลอดเป็นต้นไปตลอดถึงการดูแลรักษาแม่และลูกอ่อนตามวิธีการแบบชาวพื้นเมืองในการเตรียมผ้าอ้อม นั้นจะเตรียมไว้ แต่เนิ่น ๆ เพื่อจะได้เเลาแรงไม่ขลุกขลักเมื่อถึงวันตลอดโดยนิยมสะสมม้าขึ้นสีดำผ้าขาวม้าผ้าโสร่งที่ค่อนข้างเก่าหรือผ้าที่ไม่ใช้แล้วทั่วไปนำมาฉีกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆกว้างประมาณหนึ่งคืบครึ่ง ยาวประมาณสองคืบครึ่งแล้วนำมาทำความสะอาดเก็บสำรองไว้อย่างน้อยประมาณ 30 ถึง 40 พื้น
กระบวนการคลอด
การเจ็บท้องของผู้หญิง
ใกล้คลอดมี 2 ระยะคือ
ระยะแรกเจ็บครั้งแรก(cheaptil หรือ clonia Eund) เป็นการเจ็บระยะต้นหรือเรียก อีกองว่าเจ็บหลอกเจ็บเล่น (chian lun) คือไม่ใช่เจ็บเพื่อจะคลอดจริงๆ การเจ็บหลอกในระยะต้นนี้จะเจ็บเป็นพัก ๆ
ระยะที่ 2 (chuu mnong tu)t เจ็บครั้งหนึ่งอีก“ เจ็บอีกครั้ง” หมอตำแยจะรู้ว่าเป็นการเจ็บระยะสุดท้ายใกล้คลอดแล้วและเป็นการเจ็บจริงๆ ตนคลอดจะมีอาการเจ็บต่างจากในระยะแรก
การดูแลก่อนคลอดและหลังคลอดของชาวกัมพูชา
การคลอดและการดูแลหลังคลอดในสังคมกัมพูชานั้นไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของ ชาหมอบโบราณ และ ชาหมอบแพด (Chhmob Pet) หรือผดุงครรภ์แผนปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือธรรมชาติการป้องกันวิญญาณร้ายและการควบคุมสมดุลร้อน–เย็นในร่างกาย ผ่านอาหารและวิถีปฏิบัติ การที่ผู้หญิงจะข้ามไปได้อย่างปลอดภัยจึงจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือของผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน ตั้งแต่แม่ ยาย แม่สามีตลอดจนผู้หญิงสูงอายุคนอื่นในชุมชน ความเชื่อ และภูมิปัญญาในการดูแลการ ชลองโตนเล ดังนั้น การ ชลองโตนเล จึงเป็นองค์ความรู้ที่สะสมและถ่ายทอดจากรุ่นสู่
อันตรายที่เกิดกับหญิงหลังคลอด
หญิงบางรายเมื่อคลอดลูกแล้วเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงเช่น ตกเลือด ชาวพื้นเมืองเชื่อว่าเกิดจากถูกผีปอบกินข้างในจึงเกิดการตกเลือดให้เห็นในวันตลอดทำให้ตายทั้งแม่ทั้งลูก
ในกรณีที่รกออกแล้วบางรายออก แต่รกส่วนเยื่อหุ้มรกได้ลอก ติดในมดลูกบางทีรกและเยื่อหุ้มรกออกแล้ว แต่ทางรกได้ขาดหลุดไปก็พบได้ อาการที่เกิดจากเยื่อหุ้มรกหรือหางรกค้าง ถ้ากินยาประมาณ7วันแล้ว ไม่สามารถขับเยื่อหุ้มรกและหางรก ออกได้ คนไขจะเริ่มมีอาการผิดปกติทางร่างกายตามมาคือปวดหัว เวียนศีรษะ รุ่มร้อน กระวนกระวายกระสับกระส่ายและมีอาการทางประสาท ถึงกับกลายเป็น หากแก้ไขไม่ได้คนเฒ่าคนแก่เล่ากันว่าเมื่อบ้าแล้วหญิงนั้นจะตะเกียกตะกายคว้าทุกอย่างที่อยู่ใกล้มือมากินกระทั่งเมื่อที่ปูนอนไม่เว้นถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะรักษาให้หายได้
การเจ็บป่วยและ
การพยาบาลเด็กอ่อน
สถานบริการทางการแพทย์ในกัมพูชา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Operational District (OD) เป็นสถานบริการทางการแพทย์ที่ให้บริการประชาชนในระดับตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น 77 แห่งทั่วประเทศโรงพยาบาลศูนย์ของจังหวัด (Referral hospital) มีขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมประชากร ประมาณ 100,000-200,000 คน มีจำนวนทั้งสิ้น 74 แห่งทั่วประเทศ ศูนย์อนามัย(Health center) มีขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมประมาณ 8,000-12,000 คน มีจำนวนทั้งสิ้น 957 แห่งทั่วประเทศ Health Post มีจำนวน 95 แห่งทั่วประเทศ ส่วนในปัจจุบันมีจุดมุ่งหมายตามแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ ปี พ.ศ.2551-2558 (The Health Sector Strategic Plan 2008-2015) คือ การพัฒนาบริการสุขภาพด้านงบประมาณและบุคลากร เพื่อประชาชนกัมพูชาจะได้รับบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมตามแผนสุขภาพเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้น 3 โปรแกรมสุขภาพ