Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1A การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในประเทศไทย - Coggle Diagram
1A
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในประเทศไทย
ความตายตามหลักศาสนาอิสลาม
พิธีงานศพของชาวมุสลิม เป็นพิธีที่ต้องจัดขึ้น
ภายในเวลา 24 ชั่วโมง หรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ชาวมุสลิมถือว่า “ความตาย” ไม่ใช่เป็นการสิ้นสุดหรือจุดสุดท้ายของชีวิต แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะก้าวไปสู่ชีวิตที่แท้จริงและเป็นนิรันดร์ หรือการกลับไปสู่ความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าหรือพระอัลเลาะห์ที่มีชื่อว่า “อายัล”
การศพ (ญะนาซะห์)
1) ศพ "ซาเอด" คือศพตายเพราะการต่อสู้เพื่อศาสนา หรือในทางของอัลเลาะฮ์ จะห้ามอาบน้ำศพและละหมาด ให้นำศพไปฝังได้เลย เพราะถือว่าเป็นศพที่ตายในทางที่ดีที่สุด
2) ศพที่ตายปกติ (รวมทั้งตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บ)
4 ศพที่ตายอย่างกระทันหัน (ร่างกายสมบูรณ์ไม่เจ็บป่วย เช่น ถูกฆ่าตายทันที ตายเพราะคลอดลูก รถชน ตกน้ำตาย ฯลฯ
3 ศพทารกที่แท้งก่อนกำหนด (ผู้หญิงแท้ง)
1.การจัดการศพ
1.ถ้าผู้ตายเป็นชาย ผู้อาบควรเป็นผู้ชาย ถ้าผู้ตายเป็นหญิง ผู้อาบก็ควรเป็นหญิง และควรให้พี่น้องหรือผู้ที่ใกล้ชิดเป็นผู้อาบให้
2.การล้างถูขณะที่อาบ ควรกระทำเบาๆ
3.ถ้าเห็นสิ่งดีงามเกี่ยวกับผู้ตาย ควรเล่าให้ผู้อื่นฟัง แต่ถ้าเห็นสิ่งไม่ดีควรนิ่งเสีย
4.อาบน้ำในสถานที่มิดชิด และมีผ้าปิดศพส่วนที่ควรปกปิดความอาย และวางศพไว้บนที่สูง
5.ชำระล้างสิ่งสกปรก (นะยิส) ออกเสียก่อน
6.ให้จุดของหอม เช่น กำมะยาน ธูปหอม ในขณะอาบ
7.การเอาน้ำสะอาดรดให้ทั่วร่างก็ใช้ได้ แต่การอาบน้ำที่ดีให้ล้างก้น ล้างเล็บ ฟัน จมูก มือเสียก่อน แล้วใช้หวีสางผมและล้างให้สะอาด หลังจากนั้นจึงรดด้วยน้ำใบพุทราสลับกับน้ำสะอาด 3 ครั้ง หลังจากนั้นจึงเอาน้ำพิมพ์เสนรดเป็นครั้งสุดท้าย
8 .ให้อาบน้ำละหมาดให้คนตายด้วย ซึ่งใช้การละหมาดแบบเดียวกับการอาบน้ำละหมาดของคน
9 .เมื่ออาบน้ำให้คนตายเสร็จแล้ว ให้เอาสำลีหรือผ้าสะอาดซับน้ำให้แห้ง
2.การห่อศพ
หลังจากอาบน้ำศพให้เรียบร้อยแล้ว ต้องห่อผ้าให้ผู้ตายนั้นด้วย โดยใช้ผ้าสะอาดเพียงผืนเดียว ซึ่งสามารถปิดได้มิดชิดตลอดทั้งร่างกาย ไม่ว่าผู้ตายจะเป็นชายหรือหญิง แต่การห่อผ้าที่ดีสำหรับชายควรใช้ผ้าห่อ 3 ชั้น ส่วนหญิงควรใช้ผ้า 5 ชั้น ซึ่ง 5 ชั้นที่กล่าวนี้ได้แก่ ผ้านุ่ง เสื้อ ผ้าคลุมศีรษะ หรือชุดสวมละหมาด ผ้าห่มอีก 2 ชั้น
3.การวางศพ
ศพของผู้ตายหรือที่เรียกว่า “มัยยิต’’ เมื่อนำไปวางยังที่จะทำพิธีละหมาดญะนาซะห์นั้น ให้ตั้งมัยยิตตามขวางของทิศกิบลัต (นครมกกะ) ถ้าเป็นศพผู้ชายให้หันศีรษะอยู่ทางทิศใต้ ถ้าเป็นศพผู้หญิงให้ศีรษะอยู่ด้านทิศเหนือ ส่วนอิหม่ามนั้น ถ้าศพผู้ชายให้อิหม่ามยืนตรงศีรษะของศพ ถ้าเป็นศพผู้หญิงให้อิหม่ามเลื่อนไปยืนตรงสะโพกของศพ สำหรับมะมุมนั้นให้ยืนหลังอิหม่าม โดยตั้งแถวให้ตรงและยืนชิดกัน
สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่อิหม่าม ควรเลือกจากผู้ที่มีศักดิ์เป็นญาติที่ใกล้ชิดทางสายโลหิตตามลำดับคือ บิดา ปู บุตรชาย หลานชายที่เกิดจากบุตรชาย พี่น้องร่วมบิดามารดา ฯลฯ
.4.การละหมาดให้ศพ (รุก่นละหมาดญะนาซะห์)
หลังจากกล่าวสลามแล้ว จึงจะทำพิธีละหมาดต่อ ซึ่งต่อจากนี้ วายิบให้นำผู้ตายไปฝัง และให้เดินตามไปกุโบร์กับผู้ตายด้วย ส่วนผู้ที่เห็นผู้ตายถูกนำผ่านมา ให้ยืนรับเป็นการให้เกียรติจนกว่าผู้ตายนั้นจะถูกนำผ่านไป
วิธีละหมาดให้กับผู้ตายจะมีความแตกต่างระหว่างผู้ตายเป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็กชาย หรือเด็กหญิง จะอ่านดุอาร์ (คำกล่าวขอพร) ไม่เหมือนกัน
5.การฝังศพ
หลุมธรรมดา เหมาะสำหรับพื้นที่ ๆ เป็นดินร่วนหรือมีน้ำแฉะ เวลาฝังต้องเอาศพใส่ไปหีบแล้วฝังทั้งหีบ
2.หลุมล่าฮัด ขุดเหมือนหลุมธรรมดา ให้ทุกลูกหลุมเข้าไปทางทิศกิบลัต (นครเมกกะ) ให้มีส่วนเว้าพอที่จะเอาศพเข้าไปบรรจุในส่วนนั้นได้ เมื่อเอาศพเข้าไปแล้ว จึงใช้ไม้กระดานปิดปากลูกหลุมที่เว้นนั้นแล้วจึงกลบดิน วิธีนี้พื้นที่ต้องเป็นดินแข็งและแห้ง มิฉะนั้นลูกหลุมจะพังทลายหรือมีน้ำขังแฉะ
ในการเอาคนตายลงหลุมควรให้ญาติพี่น้องผู้ใกล้ชิด เป็นคนช่วยเอาคนตายลงหลุม เช่น บิดา สามี บุตร ของผู้ตายเป็นต้น
ประวัติความเป็นมา
ศาสนาอิสลามมีการแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย โดยกลุ่มพ่อค้าอาหรับที่นำศาสนาอิสลามเข้ามา โดยพ่อค้าเหล่านั้นจะเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายในดินแดนที่ตนมาอาศัยอยู่ จนมีฐานะร่ำรวยขึ้น มีความสัมพันธ์กับเจ้าผู้ปกครองนครสำหรับคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม หรือ เรียกว่า “ มุสลิมไทย ” ถือได้ว่าศาสนาอิสลามได้เข้ามาในประเทศไทยก่อนหน้าที่จะตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี