Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อ HIV, นางสาววิลาวรรณ สุขใส 621001084, file:///C…
การติดเชื้อ HIV
สาเหตุของการเกิด
-
2.การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย ซึ่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวีหรือเป็นเอดส์ จะมีความเสี่ยงสูงที่อีกฝ่ายจะได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
-
-
-
-
การวินิจัย
การวินิจฉัยโรคเอดส์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำได้โดยดูว่าผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงตามที่กำหนดหรือไม่ ตั้งแต่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1981 มีการให้คำนิยามของเอดส์หลายคำนิยามใช้เพื่อจัดตั้งการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดอย่างบทนิยาม Bangui (Bangui definition) และบทนิยามผู้ป่วยเอดส์โดยองค์การอนามัยโลก ฉบับเพิ่มเติม ค.ศ. 1994 (1994 expanded World Health Organization AIDS case definition) อย่างไรก็ดีเป้าหมายของระบบเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อการแบ่งแยกระดับทางคลินิกของผู้ป่วยเอดส์ และก็ไม่มีความไว (sensitive) หรือความจำเพาะ (specific) แต่อย่างใดด้วย สำหรับในประเทศกำลังพัฒนานั้นองค์การอนามัยโลกได้สร้างระบบแบ่งระดับผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามอาการทางคลินิกและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่วนในประเทศพัฒนาแล้วจะใช้ระบบจำแนกประเภทของศูนย์ควบคุมโรค (Centers for Disease Control - CDC)
การตรวจเลือด
เป็นวิธีตรวจยืนยันอีกวิธีหนึ่ง ได้มีการจัดเตรียมชุดน้ำยาจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชุดน้ำยาประกอบด้วยสไลด์แก้วชนิดหลุม เคลือบด้วยเซลล์ MT-4 ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 วิเคราะห์โดยแอนติบอดีในซีรัมทำปฏิกริยากับแอนติเจนของเชื้อเอชไอวีในเซลล์ แล้วตรวจจับด้วย anti-human IgG-FITC (conjugate) ซึ่งจะเรืองแสงเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ วิธี IFA มีความจำเพาะใกล้เคียงวิธี WB แต่มีความไวน้อยกว่าและจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์ในการอ่านผล
การพยาบาล
การดูเเลด้านร่างกาย.
- การดูแลด้านร่างกาย นับเป็นการดูแลพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้ป่วย โดยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านร่างกายที่จำเป็น เช่น การรับประทานอาหารการรับประทานยาต้านไวรัส การออกกำลังกาย มีส่วนสำคัญ
1.1 การให้อาหารและน้ำ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเอดส์ได้รับสารอาหารและนำ้อย่างเพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยเอดส์มักมีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ดังนั้น พยาบาลจึงควรจัดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
1.2 การให้ยา พยาบาลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลให้ผู้ป่วยเอดส์ได้รับยาที่ถูกต้องและตามเวลา หากเป็นยารับประทาน พยาบาลควรดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อหน้า
-
-
การดูเเลด้านจิตใจ
-
2.สำหรับการดูแลด้านอารมณ์ พยาบาลควรมีการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ยอมรับพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน
- การดูแลด้านสังคม พยาบาลควรสนับสนุนให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเอดส์โดยเน้นให้ครอบครัวและชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของผูป่วย
ความหมาย
เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นกลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค
พยาธิสภาพ
เชื้อเอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่ม Lentivirus ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มไวรัส Retrovirus ไวรัสกลุ่มนี้ขึ้นชื่อในด้านการมีระยะแฝงนาน การทำให้มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือดนาน การติดเชื้อในระบบประสาท และการทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลง เชื้อเอชไอวีมีความจำเพาะต่อเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 T lymphocyte และ Monocyte สูงมาก โดยจะจับกับเซลล์ CD4 และฝังตัวเข้าไปภายใน เชื้อเอชไอวีจะเพิ่มจำนวนโดยสร้างสายดีเอ็นเอโดยเอนไซม์ reverse transcryptase หลังจากนั้นสายดีเอ็นเอของไวรัสจะแทรกเข้าไปในสายดีเอ็นเอของผู้ติดเชื้ออย่างถาวร และสามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีใช้ทั่วไป และไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ให้หายขาดได้ วิธีป้องกันโรคอย่างเดียวที่มีใช้อยู่คือการหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อไวรัส หรือถ้าได้รับมาแล้วก็ต้องใช้ยาต้านไวรัสทันทีหลังจากการได้รับเชื้อ หรือ post-exposure prophylaxis (การป้องกันโรคหลังการสัมผัส - PEP) [40] การป้องกันโรคหลังการสัมผัสนี้ต้องให้ยาติดต่อกันสี่สัปดาห์โดยมีตารางเคร่งครัด และมีผลข้างเคียงเช่น ท้องเสีย ความรู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้ และ อ่อนเพลีย[41]
การรักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีประกอบด้วยการใช้ยาต้านไวรัสในกลุ่ม ARV หลายชนิดรวมกันเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือเรียกว่า Antiretroviral therapy (ART) วิธีการนี้เป็นการรักษาโรคโดยการควบคุมไวรัสไม่ให้ขยายพันธุ์ ทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น ในปัจจุบันวงการแพทย์แนะนำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนรับการรักษาด้วย ยา ARV
-
-