Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลพยาบาลผู้ป่วยชาวอีสาน - Coggle Diagram
การดูแลพยาบาลผู้ป่วยชาวอีสาน
ความเชื่อและพิธีกรรม
ความเชื่อ
เรื่องผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ
อย่าเคาะจานข้าว เวลารับประทานอาหาร โบราณท่านถือว่าห้ามเคาะจานข้าว เพราะจะเป็นการเรียนวิญญาณที่พเนจร
ผาศพวันศุกร์ "วันศุกร์" เป็นวันแห่งโชคลาภ วันแห่งความร่มเย็นมีความสุข "วันศุกร์" จึงเหมาะแก่งานมงคลมากกว่า
กลางคืนห้ามกวาดบ้าน
การสู่ขวัญ
เป็นกิจกรรมที่บุคคลใกล้ชิดเกี่ยวพันในครอบครัว ในชุมชนมารวมตัวกันเพื่อร่วมใจทำพิธีกรรม จึงเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความเป็นหนึ่งเดียวกันในการอยู่ร่วมกัน
ในกลุ่มคนไทยเขมรจะมีพิธี “โอลม้วน” เป็นพิธีเข้าทรงเพื่อรักษา โรคที่เชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผีบรรพบุรุษฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่หรือเป็นพิธีเลี้ยงขอบคุณพี่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคให้หายจากการบนบานไว้
ตุณค่าของพิธีกรรม
คุณค่าในตัวพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ
คุณค่าของพิธีกรรมที่เกิดขึ้นต่อบุคคล
คุณค่าของพิธีกรรมที่เกิดขึ้นต่อชุมชน
อาหารเพื่อการดูแลยามเจ็บป่วย
แกงขี้เหล็กแบบอีสาน เป็นอาหารที่นิยมมาก มีประโยชน์ในการดูแลผู้สูงอายุคือ ทำให้มีความอยากรับประทานอาหาร แก้ไขปัญหาที่ พบบ่อยในผู้สูงอายุคือการเบื่ออาหาร นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการนอนหลับ
ป่นปูนา ผู้สูงอายุที่ป่วย หรือไม่ป่วยได้ รับประทานจะเป็นการช่วยให้รับประทานอาหารได้มาก ปูนาเป็นสมุนไพรจําพวกสัตว์วัตถุอย่างหนึ่งซึ่งมีรสเย็น ดับพิษร้อน ลดการอักเสบที่สำคัญปูนายังมีสรรพคุณกระจายโลหิต แก้ช้ำใน บํารุงกําลัง
สมรรถนะการพยาบาล
พยาบาลสามารถค้นหาพิธีกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรม
พยาบาลมีความรู้ด้านภาษาท้องถิ่นสามารถสื่อสารกับญาติผู้ป่วยได้ เข้าใจในวัฒนธรรมของผู้ป่วยและมีบุคลิกที่เป็นมิตร
ให้ความเท่าเทียมกับทุกความเชื่อ
พยาบาลสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการทำพิธีกรรมต่างๆ สามารถเจรจาต่อรองกับแม่ผู้ป่วยในการทำพิธีกรรมที่เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย
พยาบาลอนุญาตให้ลูกผู้ป่วยทำพิธีช้อนขวัญ แต่แนะนำเป็นผูกข้่อต่อแขนแทน
พยาบาลมีความสามารถที่จะมีความเป็นผู้นำในการแนะนำญาติผู้ป่วยได้อย่างตรงไปตรงมา และสามารถบริหารจัดการกับความต้องการของญาติได้อย่างดี
พยาบาลมีทักษะในการให้คำแนะนำแก่ญาติในการทำพิธีกรรมตามความเชื่อทางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับแผนการรักษาของแพท
มีความเคารพและให้เกียรติในความเชื่อของญาติผู้ป่วยและได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำพิธีต่างๆให้กับญาติผู้ป่วยได้เข้าใจ
การดูแลสุขภาพ
เจ็บป่วย
การให้ความเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิด “ผู้อยู่ ดูแล ผู้เป็นพี่เป็นน้อง อยู่ไกล ให้กําลังใจ
การดูแลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เมื่อมีผู้สูงวัยในบ้านเจ็บป่วย กรณีเจ็บป่วยฉับพลันเช่น หกล้ม กรณีเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วยที่มากซับซ้อน จะมีการทำพิธีสู่ขวัญ โดยมีพราหมณ์มาทำพิธีเรียก ขวัญหรือเชิญขวัญ เพื่อให้คลายความตกใจ
การดูแลด้านอารมณ์ “กินข้าวฮ่วมพา กินปลาฮ่วมถ้วย”ด้วยวัฒนธรรมการเยี่ยมยาม โดยลูกหลานที่อยู่ใกล้ไกล เพื่อน ญาติพี่น้องจะผลัดกันมาเยี่ยมมาถามข่าวให้กําลังใจเป็นระยะ
การดูแลด้านสังคมจะมีวัฒนธรรม “ไปส่องเบิ่ง” พี่น้องอยู่ใกล้อยู่ไกลจะถือตะกร้ามาถามข่าว มาเยี่ยม
การปฏิบัติเมื่อมีการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุในครอบครัว
พาไปหาหมอธรรม
อาหารคะลำ ในภาษาอีสาน หมายถึง อาหารห้ามรับประทานเพราะจะส่งผลต่อการเจ็บป่วยต่อโรคที่เป็น
สวดอิติปิโส การสวดอิติปิโส เป็นการสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เชื่อว่าจะนําสิ่งดีให้เข้ามาในชีวิต
ทำข้าวต้ม ต้มผักให้กิน เป็นการสะท้อนความเอาใจใส่
ลูกสิเต็ม เป็นการสะท้อนถึงวัฒนธรรมที่ลูกหลานญาติพี่น้องจะมารวมตัวกันเมื่อมีญาติผู้ใหญ่เจ็บป่วย
การช้อนขวัญ
ผูกข้อต่อแขน หมายถึง การจัดกิจกรรมผูกแขนให้กําลังใจ โดยอาจทำเป็นพิธีกรรม หรือผูกแขน โดยผู้ที่รักใคร่ผู้ที่เคารพ
ระยะสุดท้าย
การดูแลตามความประสงค์ของผู้สูงอาย
แสดงความรู้สึกที่ดีต่อผู้สูงอายุด้วยความเคารพรัก “กิจกรรมขอขมา”
การร่วมส่งพลังจากการร่วมสวดมนต์ “สวดอิติปิโส”
การดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด
การผูกแขน
ร่วมทำบุญ
กิจกรรมแสดงกตัญญู “กิจกรรมสักอนิจจา” หรือกิจกรรมสวดบังสุกุล