Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ชนิดของคำ - Coggle Diagram
ชนิดของคำ
๑ คําวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบเพื่อให้ความหมายของคำชัดเจนชึ้นซึ่งคำวิเศษณ์อาจประกอบคำนาม สรรพนาม กริยาหรือวิเศษณ์ก็ได้ แบ่งได้ ๑๐ ชนิด
๕ นิยมวิเศษณ์ คือ คําวิเศษณ์บอกความหมายชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้นซึ่งจะชี้เฉพาะลงไปแล้วมักมีคำว่านั้น นี่ นี้ โน้น แท้ แน่นอน จริง เช่น โรงเรียนนี้อยู่ไกล
๖ อนิยมวิเศษณ์ คือ คําวิเศษณ์บอกความไม่แน่นอนไม่ชี้เฉพาะเจาะจงมักมีคำว่า ใด อื่น ทำไม อย่างไร ไหน ใคร กี่ เช่น ไปไหนก็ได้
๔ ประมาณวิเศษณ์ คือ คําวิเศษณ์บอกจํานวนับหรือประมาณซึ่งจะมีคำว่ามาก น้อย หมด หนึ่ง สอง ที่หนึ่ง ที่สาม สิ้น บรรดา บ้าง ต่าง เช่น นกสิบตัว
๗ ปฤจฉาวิเศษณ์คือ คําวิเศษณ์ที่เป็นคำถามหรือความสงสัยจะมีคำว่า ใด อื่น ใคร อะไร ทำไม ไหน หรือ ไฉน เท่าไร เช่น เธอจะไปทําไม
๓ สถานวิเศษณ์คือ คําวิเศษณ์บอกสถานที่จะมีคำว่าห่าง ไกล ใกล้ บน เหนือ ใต้ ริม ขอบ เช่น เขาอยู่บนต้นไม้
๘ ประติชญาวิเศษณ์ คือ วิเศษณ์แสดงการตอบรับของคู่สนทนาจะมีคำว่าคะ ครับ จ๊ะ จ้ะ ขา เช่น คุณแม่มีคนมาหาครับ
๒ กาลวิเศษณ์ คือ วิเศษณ์ที่บอกเวลาเพื่อต้องการให้คำประกอบนั้นชัดเจนขึ้นจะมีคำว่าก่อน หลัง อีก เสมอ เดี๋นวนี้ เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น ดึก เช่น เขามาก่อนฉัน
๙ ประติเสธวิเศษณ์ คือ คําวิเศษณ์ที่บอกปฏิเสธบอกแาการห้ามปรามหรือไม่ยอมรับมักมีคำว่าไม่ มิได้ หาไม่ บ่ ไม่ได้ เช่น ฉันสอนหนังสือไม่ได้พักเลย
-
๑๐ ประพันธวิเศษณ์คือ คําวิเศษณ์ที่เชื่อมให้ประโยคสัมพันธ์กันมีลักษณะเช่นเดียวกับคำประพันธสรรพนามแต่จะใช้ในการขยายกริยาและวิเศษณ์จังเป็นคำวิเศษณ์มักมีคำว่าที่ ซึ่ง อัน เช่น แหวนวงนี้หาค่าอันประมาณไม่ได้
คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยคข้อความกับข้อความ หรือ ความให้สละสลวย ได้แก่ คำ และ หรือ แต่ เพราะ ฯลฯ แบ่งออกได้ ๔ ชนิด คือ
๒ คำสันธานเชื่อมใจความที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ คำ แต่, แต่ทว่า, ถึง...ก็, กว่า...ก็ เช่น น้องอ่านหนังสือแต่พี่ฟังเพลง
๓ คำสันธานเชื่อมใจความที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ คำ หรือ, หรือไม่ก็, มิฉะนั้น, ไม่เช่นนั้น, ไม่...ก็ เช่น เธอจะอ่านหนังสือหรือฟังเพลง
๑ คำสันธานเชื่อมใจความที่คล้อยตามกัน ได้แก่ คำ กับ, และ, ทั้ง...และ, ทั้ง...ก็, ครั้น...ก็, ครั้น...จึง, พอ...ก็ เช่น พ่อและแม่รักฉันมาก
๔ คำสันธานเชื่อมใจความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ จึง, เพราะ, เพราะว่า, เพราะ.....จึง, ฉะนั้น...จึง เช่น นักเรียนไม่ตั้งใจเรียนจึงสอบไม่ผ่าน
๒ คําบุพบท คือ คําที่ใช้นําหน้านาม สรรพนาม กริยาหรือคำวิเศษณ์เพื่อต้องการบอกต่ำเเหน่งของคำเหล่านั้นและยังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยคว่าสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น เขาทํางานหนักเพื่อฉัน แบ่งได้ ๒ ชนิด คือ
๒.๑ คําบุพบททไม่ต้องเชื่อมกับคำอื่น คือ บุพบทที่เป็นคำร้องเรียกจะมีคำว่า ดูก่อน ดูกร ข้าแต่ ดูข้า เช่น ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า คำร้องเรียกนี้ปัจจุบันไม่ใช้เเล้วจะใช้คำสามานยนามหรือวิสามานยนามวึ่งจะเรียกชื่อหรือต่ำแหน่งกันไป เช่น อาจารย์ครับ มีคนมาหา
๒.๒ บุพบทที่ต้องเชื่อมกับคำอื่น คือ คำบุพบทนี้จะนำหน้าคำนาม สรรพนามหรือกริยาาสภาวมาลาเพื่อจะต้องการให้ประโยคชัดเจนขึ้นซึ่งมีลักษณะการใช้ ดังนี้
-
-
-
-
-
-
-
-
คำอุทาน หมายถึง คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด เช่นคำว่า อุ๊ย เอ๊ะ ว้าย โธ่ อนิจจา อ๋อ เป็นต้น เช่น เฮ้อ!ค่อยยังชั่วที่เขาปลอดภัย แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
-
๒. คำอุทานเสริมบท เป็นคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือคำเสริมบทต่างๆ คำอุทานประเภทนี้บางคำเสริมคำที่ไม่มีความหมายเพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป บางคำก็เพื่อเน้นคำให้กระชับหนักแน่น เช่น เดี๋ยวนี้มือไม้ฉันมันสั่นไปหมด