Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไข้เลือดออก, นางสาวนริศรา พุทธโค รหัส 621001042, อ้างอิง ชัญญานุช…
โรคไข้เลือดออก
เกณฑ์การวินิจฉัย
-
มีการ Leakage ของ plasma นอกหลอดเลือด โดยมีการเพิ่มขึ้นของ Hct. มากกว่าหรือเท่ากับ 20% หรือมี pulmonary edema , Ascites
-
เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 /mm3
มีอาการไข้เลือดออก อย่างน้อยทำ tourniquet test ให้ผลบวก ร่วมกับมีอาการเลือดออกอื่น เช่น จุดเลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกำเดา ถ่ายเป็นเลือด
-
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบทั้งหมดของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และความเข้มข้นของเลือด
ตรวจภูมิคุ้มกันต่อไข้เลือดออก (IgM) , ตรวจ NS1 Ag ต่อเชื้อโดยตรง ตรวจ PCR เพื่อหาเชื้อไวรัสเดงกี
สาเหตุ
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก
โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
อาการ
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะช็อก หลังจากมีไข้สูง 2-7 วัน ไข้จะเริ่มลดลง ระบบไหลเวียนโลหิตเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ความดันโลหิตและชีพจรเริ่มคงที่ เมื่อผ่านไป 2-3 วันจึงเข้าสู่ระยะหายเป็นปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ไข้ลดลง เริ่มรับประทานอาหารได้ อาการปวดท้องดีขึ้น ระยะนี้มักพบผื่นแดงและคันตามฝ่ามือและฝ่าเท้าซึ่ง จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์
-
พยาธิสภาพ
พยาธิสรีรวิทยามีภาวะซื้อกร่วมกับพยาธิสภาพที่เป็น Hall mark ของโรคที่สำคัญคือมี Leakage of plasma จากการมี Rising hematocrit เพิ่มขึ้นมีระดับโปรตีนใน Albumin ลดต่ำลงมี Serous effusion ซึ่งตรวจพบจากการ X-ray, Autopsy และมี Abnormal hemostasis ซึ่งทำให้ Bleeding โดยยังการมีการรั่วไหนของ Plasma เป็นการเปลี่ยนแปลง Permeability ของเส้นเลือดในส่วน Serous space เมื่อเกิดการรั่วทำให้เกิด Hypovolemic และช็อก
พยาธิสภาพโรคไข้เลือดออกเป็นการติดเชื้อครั้งแรกเมื่อคนถูกกัดโดยยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงก็เชื้อไวรัสจะเข้าทางหลอดเลือดฝอยไปเพิ่มจำนวนที่ผนังหลอดเลือดและ Reticuloendothelial เซลส์ของต่อมน้ำเหลืองตับและม้ามไวรัสจากอวัยวะดังกล่าวจะกลับมาอยู่ในกระแสเลือดท้าให้มีภาวะ Virtunia ซึ่งจะแสดงอาการใช้ปานกลางหรือไข้สูงหนาวสันหน้าแดงปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัวปวดข้อต่อมน้ำเหลืองโตทั่วๆไปจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ แต่จำนวนเกล็ดเลือดและคอมพลีเมนต์ (Cornplernment) ปกติหลังจากนั้นไวรัสในกระแสเลือดจะไปยังอวัยวะเป้าหมายคือผิวหนังซึ่งจะเห็นมีผื่นขึ้นตามผิวหนังในระยะนี้ไข้ลดลงและผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
ความหมาย
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ติดเชื้อที่มักมีระบาดในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ มีอาการทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงลอย 2 -7 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลงสู่ปกติ หรือต่ำกว่าปกติอย่างรวดเร็วพร้อมกับมีอาการชีอค และมีเลือดออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้
การป้องกัน
ดังนี้
ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด ใช้สารไล่ยุงชนิดต่างๆ เช่น DEET รวมถึงป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาหลบซ่อนในบ้าน ทั้งนี้ ยุงลายมักกัดในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านและใกล้เคียง ด้วยการปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังไม่ให้ยุงเข้าไปวางไข่ได้ เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดไม่ได้ เช่น แจกัน ทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาดปราศจากเศษวัสดุที่อาจมีน้ำขังได้ เช่น ขวดเก่า กระป๋องเก่า เป็นต้น
ในรายที่อายุมากกว่า 9 ปี และน้อยกว่า 45 ปี ร่วมกับมีประวัติ เคยเป็นไข้เลือดออกมาแล้ว อาจพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจากสายพันธุ์อื่น
-
อ้างอิง ชัญญานุช เครือหลี. (2564). การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหาการติดเชื้อ. (เอกสารประกอบการสอนการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา