Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่ม 8 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ประเทศอินโดนีเซีย - Coggle Diagram
กลุ่ม 8 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประเทศอินโดนีเซีย
บทบาทและสถาบันครอบครัว
แบบแผนในการอบรมบุตรในครอบครัว
ภรรยารับผิดชอบการเลี้ยงดูบุตรเต็มตัว โดยไม่ต้องรับภาระทำงานนอกบ้าน
ภรรยารับผิดชอบการเลี้ยงดูบุตรเป็นหลักและรับภาระการทำงานบ้านเช่นเดียวกัน โดยสามีอาจเข้ามามีส่วนร่วมบ้างในบางโอกาส
ภรรยาต้องทำอาชีพร่วมกับสามี โดยมอบหน้าที่การเลี้ยงดูบุตรให้เป็นของพี่เลี้ยงหรือญาติ
บทบาทสามีในการอบรมเลี้ยงดูบุตร
เน้นการให้เวลาแม้จะมีเวลาอยู่ร่วมกันเพียงเล็กน้อย
มีมาตรการการลงโทษบุตรบ้างตามความเหมาะสมเพื่อเสริมสร้างวินัย
ระมัดระวังไม่ให้บุตรรับรู้หรือเห็นภาพปัญหาความขัดแย้งของผู้ใหญ่ เพราะจะส่งผลเสียทางลบต่อสภาวะจิตใจบุตรได้
อาณาเขตประเทศอินโดนีเซีย
ทิศตะวันออกมีอาณาเขตติดกับประเทศปาปัวนิวกินี
ทิศเหนือเกาะบอร์เนียวมีอาณาเขตติดกับรัฐชาราวัคและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย ทิศใต้มีเกาะห้อมล้อมสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
ทิศตะวันออกเกาะอีเรียนจายามีอาณาเขตติดกับเฉียงเหนือประเทศฟิลิปปินส์
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเกาะสุมาตรามีอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซีย
ภาพรวมถิ่นกำเนิดประเทศอินโดนีเซีย
เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรผ่านช่องแคบสำคัญต่างๆ
ช่องแคบมะละกา
ช่องแคบซุนดรา
ช่องแคบล็อมบ็อก
การสื่อสารประเทศอินโดนีเซีย
ภาษาอินโดนีเซียรูปแบบมาตรฐานจัดเป็นภาษาเดียวกับมาเลเซีย แต่มีความแตกต่างจากภาษามาเลเซียหลายประการ ความแตกต่างมาจากอิทธิพลของภาษาชวาและภาษาตัดช์
ประเด็นชนชั้นประเทศอินโดนีเซีย
เป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของมนุษย์
เป็นสังคมที่พิทักษ์รักษาจริยธรรมอันดีงามแห่งหลักอัคลากในอิสลาม
เป็นสังคมที่ปกป้องความยุติธรรมทางสังคมปกป้องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์
นิเวศวิทยาทางชีววัฒนธรรมประเทศอินโดนีเซีย
ความแตกต่างทางกายภาพ
สตรีมุสลิมในอินโดนีเซียไม่ต้องแต่งกายหรือคลุมร่างกายทุกส่วนเหมือนสตรีมุสลิมอาหรับ
มีความเชื่อในลัทธิผีหรือจิตวิญญาณ ทั้งเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วจะต้องได้รับการเซ่นไหว้บูชา
สมุนไพรประจำถิ่นคล้ายคลึงกับสมุนไพรไทย
พฤติกรรมเสี่ยงประเทศอินโดนีเซีย
การสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเด็กๆและเยาวชนอายุระหว่าง 13-16 ปี
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
โภชนาการประเทศอินโดนีเซีย
อาหารเป็นฮาลาล ไม่มีหมู
การอดอาหารจะทำปีละครั้งในช่วงเดือนรอมฎอน ยกเว้นผู้ป่วยและหญิงตั้งครรภ์
มุสลิมจะล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารควรมีการเตรียมสถานที่ในการล้างมือแก่ผู้ป่วย
มุสลิมจะใช้มือขวาในการจับอาหารและเครื่องดื่มในการรับประทาน หากผู้ดูแลสัมผัสอาหารควรใช้มือขวาแต่ถ้าป้อนอาหารโดยใช้อุปกรณ์อื่นๆอาจใช้มือไหนก็ได้
การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรประเทศอินโดนีเซีย
ในการฝากครรภ์ส่วนใหญ่สตรีมุสลิมต้องการให้ผู้ตรวจเป็นเพศเดียวกัน มีความเชื่อว่า สตรีมุสลิมจะพูดหรือทำอะไรกับผู้ชายอื่นไม่ได้นอกจากสามี พ่อ หรือ พี่ชาย น้องชาย เท่านั้น
เชื่อว่าการที่ผู้หญิงมุสลิมมารับบริการทางสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ผู้ชายถือว่าบาป
ในระยะที่มีการเริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับ โต๊ะบีแด (หมอตำแย) ในการดูแลแม่และเด็ก
พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายและจิตวิญญาณประเทศอินโดนีเซีย
การระลึกถึงพระเจ้าในทางที่ดี
การจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทับสีข้างด้านขวา (หากทำไม่ได้ให้จัดท่านอนหงาย) หันใบหน้าไปทางทิศกิบลัต คือทิศที่ตั้งของบัยติลละอในนครเมกกะฮ์ สำหรับประเทศไทยคือทิศตะวันตก
การกล่าวบทสวดหรือการปฏิญาณตนตามบทศาสนาอิสลาม ผู้ป่วยจะเกิดความสงบ
การปฏิบัติต่อผู้เสียชีวิตมุสลิมเสมือนยังมีชีวิต เนื่องจากความตายในทรรศนะของอิสลามไม่ใช่การสิ้นสุดชีวิต
การจัดการนพศพกลับไปประกอบพิธีทางศาสนา ต้องทำโดยเร็วก่อนที่ศพจะเปลี่ยนสภาพ เนื่องจากมีความเชื่อว่าการเก็บศพไว้นานจนเปลี่ยนเป็นสภาพเหม็นเน่าจะเป็นบาปแก่ผู้เสียชีวิต
การปฏิบัติตัวด้านการดูแลสุขภาพประเทศอินโดนีเซีย
การบำบัดรักษาโรค
ขั้นตอนแรก
ตรวจวินิจฉัยโรค คือ การคำนวณด้วยวิธีทางโหราศาสตร์ การรับรู้โดยฌานสมาธิและการวิเคราะห์อาการโรค
ขั้นตอนสอง
การเลือกหาวิธีการรักษา เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้วิธีการบำบัดรักษา ทั้งนี้นอกจากยาสมุนไพรและการนวดเฟ้นแล้ว อาจกำกับการรักษาด้วยคาถาบางอย่างเชื่อว่าทำให้ยาสมุนไพรมีพลังรักษาเพิ่มยิ่งขึ้น
บุคลากรด้านสุขภาพประเทศอินโดนีเซีย
ดูกุน (Dukun)
หมอตำแย
หมอบีบ/นวด
คนทรง "Dukun tiarak"
คนทำหน้าที่ขลิบปลายอวัยวะเพศในพิธีสุหนัตของชาวมุสลิม
หมอเวทมนต์
หมอยาสมุนไพร