Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis), http://www.krabinakharin.co…
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis)
ความหมาย
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ คือการอักเสบของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เนื่องจากการติดเชื้อ ซึ่งนำไปสู่อาการ เช่น ท้องเสีย รู้สึกป่วย อาเจียน และปวดในช่องท้อง
Gastroenteritis คือ อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต อาการที่พบได้ทั่วไป คือ ท้องเสียและอาเจียน ซึ่งเชื้ออาจแพร่กระจายผ่านอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อน โดยทั่วไปผู้ป่วยอาจรักษาบรรเทาอาการจนดีขึ้นได้เองภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่ทุเลาลงหรือทวีความรุนแรงขึ้น อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
สาเหตุ
กิดจากการติดเชื้อที่กระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น Virus, Bacteria, Parasites
สาเหตุหลักของกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ได้แก่ การติดเชื้อ ด้วย ไวรัส แบคทีเรีย หรือ ปรสิต
เชื้อไวรัส เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) และโรทาไวรัส (Rotavirus)
เชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล (E. Coli) ซาลโมเนลลา (Salmonella) และชิเกลลา (Shigella)
ปรสิต เช่น ไกอาเดีย (Giardia) และคริปโตสปอริเดีย (Cryptosporidia)
บริโภคอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะอาหารทะเล ปลาดิบ หรือปลาที่ปรุงไม่สุกดี
สัมผัสวัตถุหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ใช้เครื่องครัวหรือของใช้ภายในบ้านที่สกปรก
ไม่ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ หรือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก
ใกล้ชิดหรือได้รับเชื้อจากผู้ป่วย Gastroenteritis เพราะลมหายใจของผู้ป่วยอาจปนเปื้อนเชื้อจากอาเจียนออกมาด้วย ซึ่งเชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้
อาการและอาการแสดง
คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้องอย่างรุนแรง
อุจจาระร่วงเฉียบพลัน
อาจพบไข้สูง
อ่อนเพลีย หนาวสั่น
อุจจาระมีมูกปนเลือด
ถ้าเป็นมากจะมีภาวะขาดน้ำ
ข้อมูลอื่นที่สามารถสืบค้นได้
ท้องอืด
ปวดมวนท้อง
ปวดท้อง
ไม่อยากอาหาร
อาเจียน
อาจมีเลือดและเมือก หรือเป็นมันหรือเป็นฟอง
ถ่ายเหลวเป็นน้ำ
เป็นไข้
เด็ก
มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ กระสับกระส่าย เซื่องซึม ตัวซีด มือและเท้าเย็น
มีเลือดปนในอุจจาระ หรือท้องเสียนานเกิน 1 สัปดาห์
อาเจียนเป็นสีเขียว อาเจียนต่อเนื่องนานกว่า 3 วัน หรืออาเจียนอยู่ตลอดเวลา
มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หายใจตื้นหรือหายใจถี่ คอแข็ง กระหม่อมศีรษะโป่งตึงหรือบุ๋มลง
มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง
ทารก
มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋มลง หรือผ้าอ้อมแห้งนานกว่า 6 ชั่วโมง เป็นต้น
มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
แสดงอาการไม่สบายตัว ไม่สบาย หรือเจ็บปวด
เซื่องซึม ง่วงซึม หรือไม่มีการตอบสนอง
ท้องเสีย หรือมีเลือดปนในอุจจาระ
อาเจียนบ่อยติดต่อกันหลายชั่วโมง
การวินิจฉัย
พบภาวะขาดน้ำ
พบ WBC ใน Stool
จากการตรวจร่างกาย พบ Bowel Sound มากกว่าปกติ
พบ Occult blood ใน Stool
ตรวจเลือด CBC พบ WBC, Neutrophil สูง
แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งตรวจเลือด และ อุจจาระเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการติดเชื้อ
การรักษา
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ให้ผงเกลือแร่ ORS
ให้ยาAntibiotic
ข้อมูลอื่นที่สามารถสืบค้นได้
การใช้ยา
แพทย์จะให้ยาตามอาการ เช่น ถ้ามีอาการปวดท้องจะให้ยาแก้ปวด ถ้ามีถ่ายอุจจาระบ่อยจะให้ยาหยุดถ่าย ถ้ามีอาเจียนจะให้ยาป้องกันอาเจียน การให้ยาปฏิชีวนะขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ หากมีการสูญเสียน้ำมากอาจจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้ สารละลายทางหลอดเลือดดำ
การป้องกัน
ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำหลังจากเข้าห้องน้ำ ก่อนและหลัง การเตรียม หรือการรับประทานอาหาร
การดูแลตัวเอง
หากมีอาการกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ควรพักเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น ดื่มน้ำ หรือเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
พักผ่อนให้เพียงพอ
ดื่มน้ำ ๆ หรือดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุที่สูญเสียจากอาการท้องเสีย และป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ
รับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น กล้วย มันฝรั่ง ขนมปัง ข้าวต้ม ซุป และโจ๊ก
หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีน จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัว
ใช้ยารักษา เช่น ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ หรือยาเมโทโคลพราไมด์เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
ดูแลให้เด็กดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยหลีกเลี่ยงน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ เพราะอาจทำให้ท้องเสียมากขึ้นได้ และทารกควรได้รับอาหาร นมแม่ และนมอื่น ๆ ตามปกติ
ให้เด็กรับประทานอาหารเมื่อหิว โดยเริ่มจากให้อาหารปริมาณน้อยก่อน
การพยาบาล
ดูแลให้สารน้ำและอาหาร
ให้ยา ATB ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ
การพยาบาลตามอาการ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
รักษาความสะอาดของภาชนะอุปกรณ์การรับประทานอาหาร
รักษาความสะอาดของร่างกายและหลังขับถ่าย
หากมีก้นแดงให้ทาด้วย Zinc paste
ดูแลให้อาการอ่อน ย่อยง่าย และมีส่วนประสมของเกลือเล็กน้อย เพื่อดึงน้ำเข้าสู่เซลล์
แนะนำการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภค
แนะนำการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภค
http://www.krabinakharin.co.th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B1/
www.pobpad.com/gastroenteritis-โรคกระเพาะอาหารและลำ