Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในประเทศไทย - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในประเทศไทย
ที่มาและความสำคัญ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing) หมายถึง การพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่าและการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่มคน
ความแตกต่างของภาษาวัฒนธรรมและศาสนาของผู้ป่วยในอิสลาม ทำให้พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย ต้องเรียนรู้และปรับแผนการดูแลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยที่มีลักษณะเฉพาะ
ถิ่นกำเนิดของศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามมีการแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย โดยกลุ่มพ่อค้าอาหรับที่นำศาสนาอิสลามเข้ามา
ดินแดนที่เป็นแหล่งรับวัฒนธรรมด้านศาสนาอิสลามที่เข้ามาในช่วงแรก ๆ ในประเทศไทย ก็คือ บริเวณทางใต้สุดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดปัตตานี
การสื่อสารของศาสนาอิสลาม
ในศาสนาอิสลามมีภาษาอาหรับเป็นมาตรฐาน ซึ่งใช้ในหมู่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิก ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ
คนที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทย ก็พูดภาษาท้องถิ่นตามปกติ
การสื่อสารและการทักทายกันของศาสนาอิสลาม
1.การสื่อสารและการทักทายกันของศาสนาอิสลามหรือให้สลามกันสั้นๆว่า “อัสลามมุอะลัยกุม”
2.ผู้ถูกทักทายให้กล่าวตอบว่า “วะอะลัยกุมุสลาม วะเราะหฺมะตุลลอฮ์ วะบะเราะกาตุฮฺ”
3.เด็กควรกล่าวสลามแก่ผู้ใหญ่
4.คนเดินควรกล่าวสลามแก่คนนั่ง
5.ผู้ที่ขี่ยานพาหนะควรกล่าวสลามแก่คนเดิน
6.คนจำนวนน้อยควรกล่าวสลามแก่คนจำนวนมาก
7.ควรกล่าวสลามเมื่อเข้าไปในที่ประชุม และเมื่อออกจากที่ประชุม
8.ไม่ควรกล่าวสลามแก่ผู้ที่ละหมาด หรือผู้ที่กำลังรับประทานอาหาร ผู้ที่อยู่ในห้องน้ำ
9.ในการสัมผัสมือ ให้ผู้ชายสัมผัสมือกับผู้ชาย และผู้หญิงสัมผัสมือกับผู้หญิง ขณะสัมผัสมือให้กล่าวว่า “อัลลอฮุมม่า ศ็อลลิอะลา มูฮัมหมัด”
10.ควรสัมผัสมือกันด้วยมือขวา
11.ไม่ควรรีบปล่อยมือ หรือดึงมือกลับจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะดึงมือกลับ หรือปล่อยมือ
บทบาททางเพศและสถาบันครอบครัวของศาสนาอิสลาม
ผู้ชายมีอำนาจตัดสินใจยินยอมการรักษา
2.หากบ้านใดมีลูกสาว เขาจะไม่ให้ลูกสาวไปอยู่โรงแรม
ผู้ปกครองส่วนใหญ่ใช้หลักศาสนาอิสลามมาเป็นสื่อกลางในสอน อบรมเรื่องเพศกับบุตร และมองว่าเป็นหน้าที่ของครูในโรงเรียนเป็นผู้สอน
ผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลามสามารถมีภรรยาได้มากกว่า 1 คน
5.การสมรสในศาสนาอิสลามนั้น มีประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะทำให้คนในสังคมปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ ซึ่งอาจมีต้นเหตุมาจาก การผิดประเพณีของมนุษย์เอง ตัวอย่างของโรค เช่น ซิฟิลิส หนองใน และเอดส์
6.ผู้ชายและผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว บทบาททางเพศเท่าเทียมกันทุกประการ
7.สตรีอาจมีการเสียเปรียบในบางเรื่อง เช่น สตรีมีหน้าที่ที่ต้องอุทิศตนให้กับครอบครัวอย่างเต็มที่
8.ผู้ชายในบางคน ใช้อำนาจการปกครองครอบครัว โดยการที่หากผู้หญิงไม่มีความจงรักภักดีต่อตนหรือไม่เชื่อฟัง ผู้ชายจะทำโทษด้วยการเฆี่ยนตี เพื่อให้เกิดความสำนึก
9.ในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ หากมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ผู้ชายและผู้หญิงที่แต่งงานแล้วมีอิสระเท่าเทียมกัน
อาหารฮาลาล
อาหารฮาลาล คือ คำว่า “ฮาลาล” เป็นภาษาอาหรับมีความหมายทั่วไปว่า “อนุมัติ”เมื่อนำมาใช้ในทางศาสนาจะมีความหมายว่า“สิ่งที่ศาสนาอนุมัติ” เช่น อนุมัติให้กิน อนุมัติให้ดื่ม อนุมัติให้ทำ อนุมัติให้ใช้สอย
นิเวศวิทยาทางชีววัฒนธรรมของศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามไม่มีการเหยียดสีผิว ไม่มีการเหยียดชาติพันธุ์ ไม่มีการเหยียดภาษา
2.ชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองทุกคนในศาสนาอิสลามถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
3.คนอิสลามมีโลกทัศน์ที่ดีในด้านต่างๆต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
4.ศาสนาอิสลามส่งเสริมในส่วนของพันธุกรรมความก้าวหน้าและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
มาตรฐานเครื่องหมายฮาลาล
ฮาลาล (Halal) หมายถึง การอนุญาตหรือการที่ชาวมุสลิมได้รับอนุญาตให้บริโภคอาหารได้
Label contraventions คือ การแสดงฉลากของอาหารบนภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจําหน่าย ไม่ถูกต้องตามระเบียบ
Health Certificate contraventions คือ การไม่แสดงใบรับรองด้านสุขอนามัย
Result of sample คือ ไม่ผ่านการประเมินจากการตรวจสอบตัวอย่างสินค้าอาหารโดยห้องปฎิบัติการ ของ Dubai Central Laboratory: DCL
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์
เป็นที่ต้องห้ามสำหรับชาวมุสลิม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจำนวนมากยังคงเคร่งครัดกับการปฏิบัติตามข้อห้าม เรื่องการดื่มสุรา
อาจถือปฏิบัติตามคำกล่าวของ “ศาสดามูฮำมัด” ที่ว่า“อย่านั่งร่วมในโต๊ะที่มีการเสิร์ฟเครื่องดื่มมึนเมา”
การถือศีลอด
ในช่วงเดือนรอมฎอน (เดือนแห่งการถือศีลอด) ชาวมุสลิมจะงดการรับประทานและการดื่มในช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาพระอาทิตย์ตก
การถือศีลอดในผู้ที่เป็นเบาหวาน
1.ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่หนึ่ง และผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรงดเว้นจากการถือศีลอด
2.ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว วิทยากรเบาหวาน นักกำหนดอาหารหากมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำให้งดเว้นจากการถือศีลอด
รูปแบบการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเดือนรอมฎอน
ซาโฮร คือ การรับประทานอาหารในช่วงเวลาก่อนแสงอรุณขึ้นของวันที่จะถือศีลอด
อิฟฏอร คือ การรับประทานอาหารในช่วงเวลาละศีลอดหลังจากที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว
การเติมเต็มพลังงานด้วยอิฟฏอรที่เพียงพอดี
1.การรับประทานอินทผลัม 3 ผล กับน้ำเปล่า ก่อนไปละหมาดมักริบ เป็นวัฒนธรรมที่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการละศีลอด
2'หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานและการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมปริมาณมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ให้พลังงานสูง
3.สามารถชดเชยปริมาณน้ำในร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีน้ำมาก เช่น การรับประทานแตงโม
4.เลือกอาหารหมวดข้าวแป้งที่ไม่ขัดสีสำหรับมื้อค่ำ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ
5.ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น อกไก่ไม่ติดหนัง เนื้อวัวไม่ติดมัน ปลาเนื้อขาว
6.หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงประกอบด้วยวิธีการทอดและอาหารแปรรูปต่าง ๆ ที่มีน้ำตาลและไขมันปริมาณมาก
มีความสุขกับการับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มากเกินไปด้วยการรับประทานอย่างช้าๆ
8.หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ต้องรออย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง
การสะสมพลังงานให้เพียงพอด้วยซาโฮร
ควรรับประทานอาหารหมวดข้าวแป้งที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท
รับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดหนัง ติดมัน แกงกะทิ
4.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือมีเกลือโซเดียมเป็นส่วนประกอบจำนวนมาก
5.รับประทานอาหารอย่างช้าๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของแต่ละบุคคล
ดื่มน้ำเปล่าให้มาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในขณะถือศีลอด
ควรหลีกเลี่ยงการดื่ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
พิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย ความตายตามหลักศาสนาอิสลาม
พิธีกรรมและแบบแผนการปฏิบัติเกี่ยวกับความตายของศาสนาอิสลามการศพ (ญะนาซะห์)
2.การห่อศพ
1.การจัดการศพ
3.การละหมาดให้ศพ (รุก่นละหมาดญะนาซะห์)
4.การฝังศพ
แบ่งศพ ออกเป็น 4 ประเภท
1.ศพ "ซาเอด" คือศพตายเพราะการต่อสู้เพื่อศาสนา
2.ศพที่ตายปกติ
3 ศพทารกที่แท้งก่อนกำหนด
4 ศพที่ตายอย่างกระทันหัน
ความเชื่อด้านการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
การดูแลมารดาขณะตั้งครรภ์
1.เพศของผู้ให้บริการตรวจครรภ์ การฝากครรภ์สตรีชาวมุสลิมส่วนใหญ่ ต้องการให้ผู้ตรวจครรภ์เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นเพศเดียวกับตน
2.การฝากครรภ์ การฝากครรภ์ของชาวมุสลิม คือ การปฏิบัติตามประเพณีของชุมชน และเป็นการบอกให้ผู้ทำคลอดทราบล่วงหน้า
การดูแลมารดาขณะคลอด
1.การตัดสินใจในการเลือกใช้บริการในการคลอด การตัดสินใจเลือกที่จะคลอดกับผดุงครรภ์โบราณหรือตัดสินใจที่จะทำการผ่าท้อง
2.ขณะตัดสายสะดือเด็กต้องมีการอ่านขอพร (ดุอา) ในขณะตัดสายสะดือเด็ก หากเป็นไปได้มารดาต้องการให้ผู้ทำคลอดที่เป็นชาวมุสลิม ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับเด็ก
3.พิธีกรรมเกี่ยวกับรก หลังคลอดมารดาเชื่อว่ารกที่คลอดแล้วต้องล้างให้สะอาด ห่อด้วยผ้าขาวและทำพิธีฝัง
การดูแลทารกแรกคลอด
การทำพิธีอะซานในทารกหลังคลอด หลังคลอดและทำความสะอาดเด็กแล้ว จะมีการทำพิธีอะซานที่หูข้างขวาและอิกอมะฮฺที่หูข้างซ้ายของทารก
การดูแลระยะหลังคลอด
การรักษาความสะอาดของอวัยวะที่ปกปิดตลอดเวลา เช่น รักแร้ เต้านม และอวัยวะเพศ และห้ามสามีหลับนอนกับภรรยาหลังคลอดบุตร 40 วัน
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ
1.ห้ามทำแท้ง การทำแท้งจะทำได้ในกรณีที่จำเป็นที่ต้องรักษาชีวิตของแม่
2.การขลิบอวัยวะเพศชายเป็นเรื่องที่แนะนำให้ปฏิบัติ
3.การช่วยให้ฆ่าตัวตายหรือการุนฆาตเป็นเรื่องต้องห้าม
4.การช่วยผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการใส่เครื่องช่วยหายใจ โดยผู้ป่วยมีภาวะเป็นนักเป็นเรื่องที่ไม่สนับสนุนให้ทำ
5.การผ่าศพชันสูตร เป็นสิ่งที่ต้องห้ามยกเว้นเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย
6.หลังคลอด อาจจะมีการขอรกเอาไปฝัง ต้องแจ้งให้ทราบหากมีข้อจำกัดไม่สามารถให้นำรกไปได้
การพยาบาลที่ปฏิบัติด้านการดูแลสุขภาพต่อผู้ป่วยศาสนาอิสลาม
การรับประทานยา
หากผู้ป่วยถือศีลอด ให้ความสำคัญในการถือศีลอดเป็นอย่างมาก เนื่องจาก มีความเชื่อ ความเคร่งในการนับถือศาสนาอิสลาม ในการปรับแผนการพยาบาลในช่วงถือศีลอดจะต้องมีการแจ้งแพทย์ทุกท่านที่ดูแลผู้ป่วยก่อน
ลักษณะเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยอิสลาม
การพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
การดูแลทางจิตวิญญาณ
1.จัดสถานที่ละหมาด
มีสถานที่ล้างเท้าก่อนทำพิธี หรือจัดทำอ่างน้ำสำหรับอาบเพื่อทำการสวดทางศาสนา
การสวดมนต์จะทำวันละ 5 ครั้ง
การดูแลผู้ป่วยศาสนาระยะสุดท้าย
1.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย ต้องปรึกษาญาติก่อนการตัดสินใจ
2.ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องดูแลผู้ป่วยให้ได้รับความสุขสบายไม่มีความเจ็บปวด และควรมีการเรียกญาติ
3.ศพควรถูกฝังหลังเสียชีวิตทันที ควรแจ้งให้ทราบเพื่อให้มีการเตรียมการเกี่ยวกับการฝังศพการเผาศพเป็นเรื่องต้องห้ามควรอนุญาตให้ญาติเตรียมศพตามความเชื่อทางศาสนา
การให้บริการทางการแพทย์และพยาบาล
1.จำกัดการสบตาไม่จ้องผู้ป่วยมากเกินไป
2.ผู้หญิงชาวมุสลิมจะใส่เสื้อผ้าที่มีการปกคลุมร่างกาย หากต้องการตรวจควรมีเสื้อคลุมที่ยาวสามารถปกปิดร่างกายได้ทั่ว
3.ชาวมุสลิมไม่ได้ห้ามการได้รับบริการสุขภาพจากเพศตรงข้าม แต่หากเป็นไปได้ ให้มีผู้ให้บริการที่เป็นเพศเดียวกับผู้ป่วย