Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea), นางสาวน้ำทิพย์ เต็งฉ้วน รหัส621001045 - Coggle…
โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
ความหมาย
ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นส่วนน้ำของอุจจาระมากกว่าส่วนเนื้อและถ่ายจำนวนมากกว่า 3 ครั้ง/ วัน หรือมีมูกเลือดปนอย่างน้อย 1
ครั้ง/วัน มักจะกลั้นอุจจาระไว้ได้ไม่นาน หรือไม่ได้เลย
สาเหตุ
อุจจาระร่วงจากโรคบิด
อุจจาระจากไข้ไทฟอยท์
อุจจาระร่วงจากอาหารเป็นพิษ
.การติดเชื้อ
เชื้อไวรัส Rotavirus ระบาดในฤดูหนาว
เชื้อเเบคทีเรีย E.coli,Shigella,Vibrio cholera
อาการและอาการแสดง
โรคบิด หรือ dyscenteric diarrhea
จะมีไข้ > 38.5 °C ประมาณ 1-2 วัน อุจจาระในวันแรกๆ
อุจจาระมีลักษณะเหลวหรือเป็นน้ำสีเขียว ต่อมาจึงมีลักษณะเป็นมูกเลือด
กลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า
ปวดท้อง ปวดเบ่ง อุจจาระถูกเบ่งออกมาครั้งละน้อยๆ และบ่อย ตั้งแต่ 10-15 ครั้งขึ้นไป
โรคอุจจาระร่วงจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการอาเจียนรุนแรง
มีอาการปวดท้องแบบตะคริว (cramping)
โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัส ในเด็กจะเกิดจากเชื้อ Rotavirus
ไข้ ไอ หวัด เล็กน้อย เป็นอยู่ 1-2 วัน
มีอาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปนกากอาหารที่ไม่ค่อยย่อย
อุจจาระเป็นน้ำสีเหลืองเขียว มีฟอง กลิ่นเหม็นเปรี้ยว
โรคอุจจาระร่วงรุนแรงจากเชื้อ Vibrio cholera
ไม่ปวดท้อง
อาเจียนร่วมด้วย
อาการถ่ายเป็นน้ำทันที
อุจจาระที่มีสีขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว เพราะมีเมือกและเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ปนออกมาและมักมีกลิ่นเหม็นคาว
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
ให้ของเหลวที่บ้าน เช่น น้ำแกงจืด น้ำข้าวใส่เกลือ น้ำมะพร้าว น้ำอัดลมใส่เกลือเล็กน้อย
ให้น้ำเกลือที่เตรียมขึ้นเอง น้ำตาลทราย 2 ช้อน เกลือป่น 2 หยิบนิ้วมือน้ำ 1 แก้ว(18ออนซ์)
รักษาภาวะขาดน้ำ ป้องกันภาวะทุพโภชนาการ โดยการให้อาหารระหว่างมีอาการอุจจาระร่วง และหลังจากหายแล้ว
การให้ยาปฏิชีวนะและยาต้านอุจจาระร่วง
การวินิจฉัย
การซักประวัติ อาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกายทั่วไป ความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจความสมบรูณ์ของเม็ดเลือด
ตรวจelectrolyte
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
blood urea nitrogen(BUN)
การพยาบาล
การประเมินภาวะขาดน้ำระดับต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเพื่อให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพร่วมกับสังเกตภาวะขาดน้ำ
บันทึก Intake-Out put
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การชั่งน้ำหนักเพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักผู้ป่วยในแต่ละวันควรชั่งในเวลาเดียวกันทุกวัน
นางสาวน้ำทิพย์ เต็งฉ้วน รหัส621001045