Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมชาวม้ง - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมชาวม้ง
ภาพรวม ถิ่นกำเนิดของชาวม้ง
ในประเทศไทยนั้นมีประชากร "ม้ง" อยู่ราว 2 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.37 ของจำนวนประชากรชาวเขาในไทย โดยแยกย้ายกันไปอยู่ในจังหวัดต่างๆ 14 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ตาก ลำปาง พะเยา เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร พิษณุโลก เลย กาญจนบุรี และสุโขทัย ส่วนชุมชนม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ลักษณะบ้านเรือน
ชนเผ่าม้ง นิยมสร้างบ้านอยู่บนภูเขาสูง สร้างบ้านคร่อมพื้น โดยใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ฝาบ้านเป็นไม้แผ่น มุงด้วยคา มีห้องนอน กับห้องครัวในบ้าน บ้านจะมีขนาดใหญ่ เพราะอยู่อาศัยในลักษณะครอบครัวขยาย ม้ง ถือผู้อาวุโสเป็นหัวหน้าครอบครัว
ความป็นมา
ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว
การแต่งกาย
ม้งน้ำเงิน
ผู้ชาย สวมเสื้อสีดำ หรือน้ำเงิน ตัวสั้น ตัวป้าย ปักลวดลาย แขนยาว ขลิบขอบแขนเสื้อด้วยสีฟ้า ส่วนกางเกงใช้สีเดียวกัน เป้ากางเกงจะกว้างและหย่อนต่ำลงมาถึงหัวเข่า ปลายขาแคบมีผ้าสีแดงคาดเอวเอาไว้ ชายผ้าทั้งสองข้างปักลวดลาย ห้อยลงมา
ผู้หญิง สวมเสื้อสีดำ หรือสีน้ำเงินเข้ม มีลวดลายที่หน้าอก แขนยาวขลิบที่ปลายแขนด้วยสีฟ้า ปกเสื้อห้อยพับไปด้านหลัง ปักลวดลาย สวมกระโปรงจีบ รอบตัว ลวดลาย จากการเขียนด้วยขี้ผึ้งแล้วนำย้อมสีน้ำเงิน มีผ้าผืนยาวปักลวดลาย หัอยชายปิดกระโปรง
ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว จะใช้ผ้าพื้นเรียบ ขลิบชายด้วยผ้าสี มีผ้าแดงปักลวดลายที่ชายทั้งสองข้าง และปล่อยเป็นพู่ห้อยลงมา คาดด้วยเข็มขัดเงินทับ พันแข้งด้วยผ้าสีน้ำเงินหรือดำ มวยผมไว้ที่กลางกระหม่อมมีช้องผมมวย พันเสริมให้ใหญ่ขึ้น แล้วใช้ผ้าโพกทับมวยผม ประดับเครื่องเงิน และเหรียญเงิน
ม้งขาว
ผู้ชาย แต่งกายคล้ายกันกับม้งน้ำเงิน แต่มีการประดับลวดลายน้อยกว่า ที่คอสวมห่วงเงินรอบคอหลายห่วง
ผู้หญิง ส่วนใหญ่จะแต่งตัวคล้ายกันกับม้งน้ำเงิน เดิมนิยมสวมกระโปรงสีขาวล้วนไม่มีลวดลายใดๆ มีผ้าผืนยาวที่ปิดทับด้านหน้ากระโปรงปักลวดลาย พร้อมทั้งมีผ้าแถบสีแดงคาดเอว ปล่อยชายเป็นหางไว้ด้านหลัง
การสื่อสารของชาวม้ง
ภาษาม้ง จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ม้งในไทยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักตามสำเนียงภาษาและการแต่งกายคือ ม้งเด๊อ (Hmoob dawb) และม้งจั้ว (Hmoob ntsuab) โดยทั้งสองกลุ่มแม้จะมีสำเนียงและคำศัพท์บางส่วนที่แตกต่างกัน แต่พวกเขาต่างก็สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ เช่นเดียวกันกับภาษาคำเมืองกับภาษาไทย หรือภาษาลื้อกับภาษาคำเมือง
วัฒนธรรม และประเพณี
ประเพณีฉลองปีใหม่ เรียกว่า “ น่อเป๊โจ่วซ์” แปลว่ากินสามสิบ โดยถือเอาวันสุดท้ายคือ 30 ค่ำ ของเดือน 12 ในทุกปีเป็นวันส่งท้ายปีเก่า อยู่ในราวปลายเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม
ชาวม้งจะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทุกคนจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ ประดับเครื่องเงินสวยงาม เด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นลูกข่าง และร้องรำทำเพลง หนุ่มสาวจะจับคู่กันโยนลูกช่วง พูดคุยกัน
ประเพณีแต่งงาน ชาวม้ง จะไม่เกี้ยวพาราสี หรือแต่งงานกับคนแซ่หรือตระกูลเดียวกันเพราะถือเป็นพี่น้องกัน ชาวม้งนิยมแต่งงาน ในระหว่างอายุ 15 – 18ปี เมื่อแต่งงานกันแล้วฝ่ายหญิงจะย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของฝ่ายชาย
ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ที่อยู่บนฟ้า
ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง
บทบาทและสถาบันครอบครัวของชาวม้ง
ไม่นิยมแต่งงานกับคนนอกกลุ่ม
ห้ามแต่งงานกับคนในกลุ่มญาติสนิทหรือคนในตระกูลเดียวกัน
เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงจะเข้าไปเป็นสมาชิกในบ้านของฝ่ายชาย
การเลี้ยงดูของชาวม้งมีลักษณะการเลี้ยงดูแบบเผด็จการผู้อาวุโสสูงสุดของตระกูล
อาหารการกิน
นิยมกินข้าวจ้าวเป็นอาหารหลัก
การดูแลผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรมชาวม้ง
ชาวม้งมีความเชื่อว่าไม่กินผักและไม่อาบน้ำหลังจากคลอดบุตร
เปลี่ยนจากการอาบน้ำเป็นเช็ดตัวแทน
ทฤษฎีสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมชาวม้ง
1.สมรรถนะด้านการรับรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
2.สมรรถนะด้านการติดต่อสื่อสาร
3.สมรรถนะด้านความคิดริเริ่มนวัตกรรมการให้บริการ
4.สมรรถนะด้านการบริหารความเสี่ยง
5.สมรรถนะด้านกระบวนการพยาบาล
6.สมรรถนะด้านจริยธรรม
ตัวอย่างสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยชาวม้งหลังตลอด
หญิงชาวม้งหลังคลอดบุตรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และอุ่น
ไก่ต้มและไข่น้ำปรุงรสด้วยเกลือให้สารอาหารโปรตีน ช่วยในการสร้างน้ำนมและซ่อมแซมร่างกาของหญิงหลังคลอดให้คีนสู่ภาวัปกติ
ความเชื่อของชาวม้งที่มีต่อการดูแลมารดาหลังคลอด
พิธีสู่ขวัญและตั้งชื่อ (ฮูปลี่)
พิธีโกนผม (ฉ่ายปรือเฮา)
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรมชาวม้ง
ไม่ควรเอารกของเด็กชาวม้งไปทิ้งเพราะชาวม้งมีความเชื่อว่าถ้าเด็กคลอดออกมาจะต้องนำรกไปฝัง
ไม่ควรปฏิเสธในการทำพิธีที่พ่อของเด็กจะทำทำการตั้งชื่อให้เด็กที่คลอดออกมาหลังภายใน3วัน
ไม่ควรห้ามในด้านของการรับประทานอาหารของหญิงตั้งครรภ์ชาวม้งที่พึ่งคลอดลูกออกมา
ไม่ควรนำอาหารที่มีส่วนผสมของเนื้อวัวหรือเนื้อควาย
การส่งเสริมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังคลอดชาวม้ง และเราควรคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ข้อห้าม และวิถีการดำเนินชีวิตของชาวม้ง
6.ห้ามเอาข้าวเหนียวให้ชาวม้งหลังคลอดรับประทาน
ไม่ควรนำไก่พันธุ์เนื้อหรือพันธุ์ไข่มาให้ชาวม้งหลังคลอดรับประทาน
ไม่ควรนำผักทุกชนิดให้ชาวม้งหลังคลอดรับประทาน
จากการดูแลผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรมชาวม้งสามารถนำไปใช้ได้จริง
สามารถนำความเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยชาวม้งมาดูแล ด้านอาหารการกินแก่ผู้ป่วยหลังคลอด
นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้านความเชื่อประเพณีวัฒนธรรมของชาวม้งไปใช้ในการดูแลประยุกต์ให้เข้ากับการพยาบาล