Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศ, นางสาวรังษิยา สีดามาตย์ 6305010044 - Coggle…
บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศคําว่า เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (InformationTechnology : IT) มีนักวิชาการกล่าวถึงและให้
ความ หมาย ไว้ดังนี้
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540: 77)
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวล และ
เผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งหมายรวมถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
มาลี ล้ําสกุล (2538: 6)
“คือ เทคโนโลยีสารนิเทศที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ จัดหมวดหมู่เรียงลําดับ สรุปคํานวณ จัดเก็บ ค้นคืน จัดทําสําเนา และแพร่กระจายหรือสื่อสารข้อมูล ทําให้ข้อมูลกลายเป็นสารนิเทศที่ดีมีความถูกต้องตรงตามความต้องการและเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้"
Haag (2002: 12)
“เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทุกประเภทที่ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐาน ซึ่งบุคลากรนํามาประยุกต์ในการทํางานเกี่ยวกับสารสนเทศ และสนับสนุนขบวนการจัดการสารสนเทศ ในองค์กร
McLeod (1993: 789)
“เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ทรัพยากรทุกประเภทของ
ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากรที่เกี่ยวกับขบวนการผลิตสารสนเทศ”
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ครรชิต มาลัยวงศ์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูล ฮาร์ดแวร์ คือเครื่องมือที่ประกอบหรือพัฒนาขึ้นจากหลักทฤษฎีและการปฏิบัติการด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถพัฒนาจนกลายเป็นแผงวงจรขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูง ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคําสั่งที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาเครื่อง
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางไกล ได้แก่ โทรเลข โทรศัพท์
และพัฒนาจนถึงขั้นการสื่อสารผ่านดาวเทียม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมีความสําคัญในโลกยุคปัจจุบัน
อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ภายในสํานักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่อง
โทรสาร
อุปกรณ์อัตโนมัติที่นําไปใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรอัตโนมัติในโรงงาน ซึ่งสามารถนําข้อมูล
เกี่ยวกับผลการดําเนินงานมาเปรียบเทียบกับแผนงาน
ไมเคิล เอส สก็อต มอร์ตัน
เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ การพัฒนาฮาร์ดแวร์ตั้งแต่ไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นไปจนถึงมินิคอมพิวเตอร์
เมนเฟรม และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้นตามลําดับ 1
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์สําหรับงานด้านต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการใช้
ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะก้าวไปสู่ระบบที่นําความร
เทคโนโลยีเครือข่าย เป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล
สถานีงาน (Workstation) การนําไมโครคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นลูกข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาด
ใหญ่ เพื่อขยายขอบเขตและประสิทธิภาพในการใช้งานให้สามารถใช้งานได้ตามลําพัง
วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้งานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องการความ
แม่นยํา และความละเอียดเป็นอย่างมากหรืองานที่มีความเสี่ยงสูง
สมาร์ตชิป (Smart Chip) การใช้แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีสมรรถนะสูงกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขอบเขตของผลิตภัณฑ์นั้น
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
ระดับสูง (Top Level Management)
กลุ่มนี้คือผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีหน้าที่กําหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ แหล่งสารสนเทศที่นํามาใช้จะเป็นข้อมูลเพื่อช่วย ในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ระดับกลาง (Middle Level Management)
กลุ่มนี้คือผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร เช่น ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผู้จัดการฝ่ายผลิต ซึ่งรับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมา สานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
ระดับปฏิบัติการ (Operational Level Management)
กลุ่มนี้คือพนักงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า การจัดหาวัตถุดิบ และงานทั่วไปในองค์กรที่ไม่จําเป็นต้องใช้ การวางแผนหรือการตัดสินใจมากนัก
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบประมวลผลรายการประจําวัน
เป็นระบบประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประจําคงที่และปฏิบัติงานซ้ําๆ กัน เช่น การบันทึกรายการ ยอดขายประจําวันรายการฝากถอนเงิน รายการคําสั่งซื้อจากลูกค้า
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เป็นระบบที่นํามาใช้ช่วยตัดสินใจในระดับกลาง (Middle Level Management) และระดับสูง (Top Level Management) ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรในะดับนั้นๆ สามารถตัดสินใจได้ง่าย รวดเร็ว และถูกต้องขึ้น
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจรปแบบหนึ่งที่ใช้สําหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ มักใช้สําหรับตร ควบคุม
หรือดูทิศทาง แนวโน้มขององค์กรโดยภาพรวม เพื่อให้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงท
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ระบบสารสนเทศที่อาศัยฐานความรู้มาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัย
หรือสั่งการ มีการจัดเก็บองค์ความรู้และ ประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญมารวบรวมไว้ เรียกว่า ฐานความรู
ระบบสํานักงานอัตโนมัติ
เป็นระบบที่นํามาใช้ในสํานักงานเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการทํางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่ นํามาใช้จะอาศัยอุปกรณ์สํานักงานทั่วไป เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
คําว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" จะมีความหมายครอบคลุมกว้างกว่าคําว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” เพราะดรวมถึงการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศด้วยเครื่องมือสื่อสารและโทรคมนาคมเข้าไปด้วย ซึ่งมีแนวโ - พัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง มีการเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ
ด้านเศรษฐกิจ
Prompt Pay บบ e-payment บนเส้นทางสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) แทนที่ทุกวันนี้เราจะต้องเอาเงินสด เปเก็บไว้ในตู้เอทีเอ็มเพื่อรอการเบิกจ่ายถึงประมาณ 200,000 ล้านบาท แต่จากการที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทําให้กระบวนการรับ-จ่าย-โอน เงินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้อย่างคล่องตัว
ด้านสังคม
ข้อดีคือทุกคนสามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆ ได้ในหลายแง่มุม และแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว ทําได้แม้กระทั้งออกอากาศสด เช่น Facebook Live ให้สาธารณะชนได้ ชม โดยไม่ต้องพึ่งสื่อใหญ่อย่างสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ แต่ข้อเสียก็คือการมีข้อมูลมากมายเกินไป ซึ่งบางกรณีนําไปสู่ความเข้าใจผิด ความตื่นตระหนก หรือเร่งให้เกิดความขัดแย้ง
ด้านการศึกษา
บนอินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลมากมายที่เราสามารถเรียนรู้ เพื่อนํามาพัฒนาตนเอง และช่วย อะนประเทศได้ สงสัยอะไรเราก็ค้นได้จากบทความบนเว็บไซต์หรือวิดีโอบน YouTube ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาและผู้มีความรู้ทั่วโลก
ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสําหรับทุกคน ปัจจุบันการ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคน
ใน เมืองและจังหวัดใหญ่ๆ จัดว่ามีความเร็วสูงและราคาไม่แพง ไม่ว่าจะเป็นสายไฟเบอร์ที่เริ่มเข้าถึงบ้าน
ด้านสาธารณสุข
ความหวังของการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) จากการที่ประเทศไทยยังประสบปัญหาขาดแคลนพทย์ เมื่อเทียบกับจํานวนประชากรทั้งหมด การพยายามใช้ อินเทอร์เน็ต ทั้งในการเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์เพื่อ ให้ประชาชนดูแลตัวเองให้ดี ให้แพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์ ที่มีประสบการณ์ช่วยเหลือแพทย์ด้วยกันจากระยะไกล ในการดูแลผู้ป่วยเคสยากๆ การรับส่งข้อมูลทางการแพทย์ เช่น ภาพเอ็กซเรย์ ผลการตรวจต่างๆ
ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
แผนที่ดาวเทียมและ GPS ที่ทุกคนเข้าถึงได้ อินเทอร์เน็ตทําให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียม ทั้งภาพปัจจุบันล่าสุดและย้อนหลังปีต่างๆ ได้แบบออนไลน์จากมือถือ ข้อมูลที่เห็นนอกจากจะเป็นประโยชน์ในการทําธุรกิจและใช้ชีวิตประจําวัน
นางสาวรังษิยา สีดามาตย์
6305010044