Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อ HIV ในเด็ก (HIV infection) - Coggle Diagram
การติดเชื้อ HIV ในเด็ก (HIV infection)
ความหมาย
การติดเชื้อเอชไอวีเป็นภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวี แล้วทำให้ T-helper lymphocyte ถูกทำลายและมีจำนวนลดลง เป็นผลให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อฉวยโอกาส เมื่อผู้ป่วยเด็กมีการติดเชื้อรุนแรงหรือติดเชื้อซ้ำๆ แสดงว่าเริ่มมีอาการเข้าสู่ระยะของโรคเอดส์ โดยอาจมีอาการแสดงช้าหรือเร็วขึ้นกับระดับภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย
พยาธิสภาพ
หลังจากนั้นเชื้อไวรัสเอดส์จะเข้าไปในเซลล์ CD 4+ แล้วใช้เอนไซม์ reversetranscriptase ของตัวมันเองเปลี่ยน RNA ของมันให้เป็น DNA เพื่อจะ integrate เข้าไปอยู่ใน DNA ของเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้น
ยีโนมของเชื้อไวรัสเอดส์จะแฝงตัวอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว จนกว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้นจะโดนกระตุ้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและจะทำให้ยีโนมของเชื้อไวรัสเอดส์มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนไปด้วย
เมื่อเชื้อไวรัสเอดส์เข้าสู่ร่างกาย จะจับกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD 4+ (T-Lymphocytes) ซึ่งเป็นเซลล์เป้าหมายโดยไวรัสใช้ GP120 บนผิวนอกเซลล์จับกับแอนติเจน CD4 บนผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาว
เชื้อไวรัสเอดส์ที่สมบรูณ์จำนวนมากจะถูกสร้างขึ้นและถูกปลดปล่อยออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น เพื่อไปเข้าเซลล์ CD 4+ อื่นๆ ต่อไป ทำให้เซลล์ CD 4+ ในร่างกายติดเชื้อและถูกทำลายลงในเวลาอันรวดเร็ว เป็นผลทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคอื่นๆได้ทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาส
อาการและอาการแสดง
กลุ่มที่เกิดอาการเจ็บป่วยรวดเร็วและรุนแรง
อาจมีอาการตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน
เลี้ยงไม่โต มีเชื้อราในช่องปาก อุจจาระร่วงเรื้อรัง ปอดอักเสบ
ทารกกลุ่มนี้ได้รับเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และไวรัสทำลายการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกัน เด็กมักเสียชีวิตภายใน 1-2 ปีแรก จากภาวะแทรกซ้อนทางปอด
กลุ่มที่มีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป
ความรุนแรงของโรคน้อยกว่า
มักปรากฏอาการเมื่อเด็กอายุหลายปี ได้แก่ น้ำหนักตัวน้อย ตับม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ปอดอักเสบ ต่อมน้ำลายอักเสบ ผื่นคันบริเวณผิวหนัง เป็นต้น
สาเหตุ
การติดต่อทางเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือการได้รับเลือดจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี
การติดต่อจากมารดาสู่ทารก ในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอด และหลังการคลอดผ่านการให้นมบุตร โดยโอกาสที่ทารกจะติดเชื้อจากมารดาตั้งครรภ์และไม่ได้รับการป้องกันสูงถึงร้อยละ 25 แต่หากมารดาได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมและกินยาต้านไวรัสจะลดโอกาสการติดเชื้อสู่ทารกเหลือเพียงร้อยละ 2
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุที่บ่อยและสำคัญที่สุด
การวินิจฉัย
การตรวจหาเชื้อไวรัส
การตรวจหาปริมาณ CD4+ (CD4 Count)
เป็นการตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในเลือด เพื่อดูความเสียหายที่เกิดจากไวรัสเอชไอวีทำลายเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นที่อยู่ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย หากมีค่า CD4+ ที่ต่ำกว่า 200 แสดงว่ากำลังอยู่ในภาวะติดเชื้อและกำลังพัฒนาไปสู่เอดส์ จะตรวจพบเชื้อได้ภายใน 3-12 สัปดาห์ของการติดเชื้อ
การตรวจหาปริมาณไวรัสที่อยู่ในเลือด (Viral Load: VL)
เป็นการตรวจปริมาณไวรัสในเลือด หากมีไวรัสอยู่ในเลือดสูง ย่อมมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มมากขึ้น จะตรวจพบเชื้อได้ภายใน 2-6 สัปดาห์ของการติดเชื้อ
การตรวจหาภูมิต้านทานโรคต่อเชื้อ (HIV Antibody Tests)
เป็นการตรวจเลือดหรือของเหลวที่อยู่ในปากเพื่อดูการทำงานของระบบภูมิต้านทานโรคในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ต้านทานต่อเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยการตรวจเลือดจะเห็นผลได้เร็วกว่า และสามารถตรวจพบเชื้อได้ภายใน 3-12 สัปดาห์ ของการติดเชื้อ โดยกว่า 97% ของผู้ที่ติดเชื้อจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อในระหว่างระยะที่ยังตรวจไม่พบเชื้อ ฉะนั้น หากมีผลตรวจออกมาเป็นลบในการตรวจครั้งแรก ควรตรวจซ้ำอีกใน 3 เดือนให้หลัง หลังจากได้รับเชื้อ
การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส (Nucleic Acid Test: NAT)
ใช้ตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวีและปฏิกิริยาที่ภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนองต่อเชื้อไวรัส เป็นวิธีการตรวจที่มีค่าใช้จ่ายสูง และจะใช้ตรวจต่อเมื่อพบผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมาก หรือสงสัยอาการเบื้องต้นของการติดเชื้อเอชไอวี จะตรวจพบเชื้อได้ภายใน 1-4 สัปดาห์ของการติดเชื้อ
การตรวจหา Anti-HIV
หลักการวินิจฉัยว่าเด็กติดเชื้อเอชไอวี จึงแบ่งกันเป็น 2 กลุ่ม คือ อายุน้อยกว่า18 เดือน ต้องตรวจยืนยันการหาเชื้อเอชไอวี แต่เด็กที่อายุมากกว่า 18 เดือน ใช้การตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี
การรักษา
การรักษาโรคติดเชื้อหรือมะเร็งที่เกิดขึ้น
การให้ยาป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส
ให้ยากระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
ให้ยารักษาโรคอื่นๆ เช่น ยาแก้คัน ยารักษาโรคปวดข้อ สเตรียรอยด์ ยากันชัก เป็นต้น
การให้ยาต้านไวรัส
โดยสูตรยาต้านไวรัส HIV จะใช้รวมกันตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป ตัวยาจะทำหน้าที่ในการหยุดการแบ่งตัวเพื่อไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวน ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
Non nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)
Protease inhibitors (PIs)
Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs)
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัย : ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากเบื่ออาหาร เหนื่อย ถ่ายเหลว มีการติดเชื้อราในช่องปาก
กิจกรรมการพยาบาล
อาหารควรมีลักษณะเป็นอาหารอ่อนหรือเหลวข้นไม่ควนเป็นน้ำเพื่อช่วยให้กลืนได้ง่ายไม่สำลัก
หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารในมื้อเดียวได้ปริมาณมากพอ ควรแนะนำให้อาหารครั้งละน้อยๆ และเพิ่มจำนวนมื้ออาหารเป็นวันละ 5-6 มื้อ และไม่ควรเร่งรีบในการรับประทานอาหาร
ดูแลความสะอาดช่องปากและฟันเพื่อเพิ่มความอยากอาหาร
ชั่งน้ำหนักผู้ป่วยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
ประเมินและติดตามสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดและสุขสบาย
ข้อวินิจฉัย : เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้ดูแลความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า ของใช้ ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อม
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรค การดำเนินของโรคและการป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส
แนะนำให้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ เพื่อประเมินภาวะการติดเชื้อในร่างกาย
แนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงขึ้นหรือภูมิต้านทานลด เช่น ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
กระตุ้นให้มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
แนะนำให้รับประทานยาต้านไวรัสอย่างถูกวิธี
ให้การพยาบาลโดยใช้หลัก universal precaution
ข้อวินิจฉัย : ผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ในการดูแลเด็ก
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีแคลอรีและโปรตีนสูง
มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
ให้คำปรึกษากับผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรค และการดำเนินของโรค
แนะนำผู้ดูแลเด็กให้รู้จักการสังเกตการติดเชื้อ เช่น ไข้ หนาวสั่น ไอ ท้องเดิน มีแผลที่ปาก ผิวหนัง นํ้าหนักลด
ตรวจสุขภาพฟันปีละครั้ง และแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
หลีกเลี่ยงอยู่ในที่ชุมชนแออัด และหากอยู่ร่วมกับผู้อื่น อธิบายให้ผู้ดูแลเด็กทราบว่าการใช้ห้องนํ้าสามารถใช้ร่วมกันได้ และให้ใช้ผงฟอกขาวทำความสะอาดห้องนํ้า เจือจางในอัตราส่วน 1:10 ไม่จำเป็นต้องแยกจานข้าว แก้วนํ้า เสื้อผ้าซักได้ตามปกติ