Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อน(Intellectual Disabilities: ID/Mental Retardation: MR)
สาเหตุการเกิดภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ภาวะแทรกซ้อนในระยะก่อนคลอดและระหว่างคลอด ได้แก่การติดเชื้อ การเสพสารเสพติดที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง
สาเหตุที่เกิดขึ้นภายหลัง การติดเชื้อ เนื้องอกในสมองและผลกระทบจากการรักษา การขาดสารอาหารบางชนิด
พันธุกรรมได้แก่ ดาวน์ซินโดรม โรคทูเบอรัส สเคลอโรซิส
ความผิดปกติของสมองที่ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน
อาการและอาการแสดงของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา แบ่งระดับความรุนแรงตามระดับเชาวน์ปัญญา และระดับความสามารถที่วัดได้ เป็น 4 ระดับ 1) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับเล็กน้อยเด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ พูดช้ากว่าปกติ
2) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลางมีปัญหาด้านการพูด สามารถฝึกให้ช่วยเหลือตนเองในด้านต่างๆ และทำงานง่ายๆ
3) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญ ญา/ภาวะปัญ ญาอ่อนระดับรุนแรงเด็กกลุ่มนี้จะมีการเคลื่อนไหวช้ามาก พูดได้น้อยมากหรือไม่ได้
เลย ใช้ท่าทางและเสียงในการสื่อความหมาย
4) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมากมีความพิการทางกายซ้ำซ้อน ความสามารถในการเคลื่อนไหวต่ำ ประสาทรับรู้ช้า ช่วยเหลือตนเองได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย ต้องให้การดูแลเช่นเดียวกับเด็กเล็ก
ความหมาย
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือภาวะปัญญาอ่อน หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีความสามารถด้านสติปัญญาและพฤติกรรมด้านการปรับตัวต่ำกว่าบุคคลปกติ มีค่าระดับสติปัญญาและพฤติกรรมด้านการปรับตัวต่ำกว่าบุคคลปกติ มีค่าระดับสติปัญญา (Intelligent Quotient: IQ) ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 70 ลงมา
การบำบัดทางการพยาบาลของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) สอน แนะนำ หรือให้คำปรึกษาครอบครัวในเรื่องโรคแนวทางการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทาง
สติปัญญาให้ได้รับการตอบสนองพื้นฐานทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
2) การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการโดยเน้นทักษะด้านร่างกาย และทักษะในการดำรงชีวิตประจำวัน
อย่างต่อเนื่อง
3) จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยไม่เกิดอันตราย
4) การให้คำปรึกษาครอบครัวในการระบายความรู้สึก
5) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นรายบุคคล
6) การทำกายภาพบำบัดเนื่องจากเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนมักมีพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายช้ากว่าวัย
7) การทำกิจกรรมบำบัด เป็นการฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
8) การฝึกพูด เริ่มจากการฝึกใช้กล้ามเนื้อช่วยพูด
โรคออทิสติกหรือออทิสซึม (Autistic/Autism Disorder)
ออทิสติกหรือออทิสซึมเป็นปัญหาทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่พบได้บ่อย หมายถึง การขาดการติดต่อกับผู้อื่น สิ่งแวดล้อม และโลกภายนอก
หันเหความสนใจเข้าหาตนเอง ออทิสซึมเป็นโรคที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร
สาเหตุการเกิดภาวะออทิสติก
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors)1) ปัจจัยทางพันธุกรรม2) ปัจจัยโครงสร้างทางสมอง3) ปัจจัยทางสารสื่อประสาท
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychological factors) ได้แก่ การเลี้ยงดู ซึ่งในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นปัจจัยเสริมที่
ทำให้เด็กออทิสติกมีอาการมากขึ้นหรือช่วยให้อาการมากขึ้นหรือช่วยให้อาการของเด็กออทิสติกดีขึ้นได้
อาการและอาการแสดงภาวะออทิสติก
ภาวะออทิสติก เป็นกลุ่มอาการที่มีพัฒนาการล่าช้าและมีความผิดปกติ 3 ด้าน ได้แก่
ความบกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
การสื่อสารกับผู้อื่นทั้งการพูดและภาษาท่าทาง
พฤติกรรมและความสนใจแบบจำเพาะซ้ำเดิมเดิม อาจเป็นพฤติกรรมทางกายและการเคลื่อนไหวที่จำกัดอยู่กับความสนใจในกิจกรรมหรือสิ่งของไม่กี่ชนิด
การบำบัดรักษา
การดูแลรักษาในปัจจุบันนี้ สามารถช่วยเหลือให้เด็กออทิสติกมีพัฒนาการดีขึ้นได้มาก สามารถเรียนรู้
ปรับตัว ใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคม และประกอบอาชีพได้โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุดโดยการรักษาต่างๆ มีดังนี้
1) การกระตุ้นพัฒนาการ การปรับพฤติกรรม ฝึกพูด และให้การศึกษาที่เหมาะสมช่วย
2) การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการเพื่อลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาในการดูแล
3) โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)
โรคสมาธิสั้นประกอบด้วยอาการซนอยู่ไม่นิ่ง (hyperactive) หุนหันพลันแล่น (impulsivity) และอาการขาดสมาธิ (inattentiveness)
สาเหตุการเกิดโรคสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันและมีการสืบทอดทางพันธุกรรม
1.พันธุกรรม
การทำงานของระบบสมอง
สิ่งแวดล้อม
อาการและอาการแสดงของโรคสมาธิสั้น
อาการซน (hyperactivity) เด็กจะมีลักษณะซน ยุกยิก อยู่ไม่สุข นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือ
ขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย
อาการหุนหันพลันแล่น (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นขาดความระมัดระวัง
ขาดสมาธิ (inattention) เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน
การบำบัดรักษา
การช่วยเหลือด้านครอบครัว (Family intervention)
1) การให้ความรู้
2) การฝึกอบรมผู้ปกครองโดยให้ความรู้และฝึกทักษะในเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยในการปรับตัวของเด็ก
การช่วยเหลือด้านโรงเรียน (School intervention)
1) ไม่ควรให้เด็กนั่งติดหน้าต่างหรือประตู เพราะจะทำให้เด็กเสียสมาธิง่าย
2) ควรมีกิจกรรมให้เด็กได้ผ่อนคลายหากเห็นว่าเด็กหมดสมาธิ
3) หากเด็กมีสมาธิสั้นมาก ให้ลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง แต่ให้ทำบ่อยกว่าคนอื่น
4) ไม่ประจาน หรือลงโทษด้วยความรุนแรง
5) ให้ความสนใจและชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
การใช้ยาปัจจุบันนิยมใช้ยา เช่น Methylphenidate (RitalinR, RubifenR) ในการ รักษาโรค ADHD ยาจะออก
ฤทธิ์ที่สมองทำให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีสมาธิจดจ่อนาน นิ่ง มากขึ้น
4) โรคพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder: CD)
โรคพฤติกรรมเกเร หรือ Conduct Disorder (CD) หมายถึง ผู้ที่มีความประพฤติฝ่าฝืนกฎระเบียบทาง
สังคมอย่างรุนแรง แสดงพฤติกรรมต่อต้าน ก้าวร้าว รุนแรงทั้งต่อบุคคล สัตว์ ทรัพย์สิน สิ่งของ
สาเหตุการเกิดของโรคพฤติกรรมเกเร
3) ถูกบิดามารดาทอดทิ้งอยู่ในสถานสงเคราะห์ตั้งแต่อายุน้อย
4)บิดาติดสุรา
2) กรรมพันธ์
5) บิดามีบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม
1) ผู้ที่เคยเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) มาก่อน
อาการและอาการแสดงของโรคพฤติกรรมเกเรเด็กกลุ่มนี้จะมีความประพฤติผิดปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีอาการต่อไปนี้
เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 อย่าง
1) ลักขโมยปลอมลายมือ
2) หนีออกจากบ้าน
3) พูดโกหก
4) ลอบวางเพลิง
5) หนีโรงเรียน
6) ลอบเข้าไปขโมยของในบ้านคนอื่น
7) ทารุณสัตว์
8) ข่มขืน
9) ใช้อาวุธในการต่อสู้
10) ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท
11) ลักทรัพย์จนถูกจับได้ และ
12) ทำอันตรายต่อผู้อื่น
การบำบัดรักษา
การป้องกันได้ผลดีกว่าการรักษา และการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกจะได้ผลดีกว่าเมื่อมีปัญหามานานแล้ว การรักษาต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกันไปทั้งการรับเป็นคนไข้ใน พฤติกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด และการใช้ยาในกลุ่มยารักษาโรคจิต ลิเทียม หรือยากันชักบางประเภทในรายที่มีอาการก้าวร้าวรุนแรงเกินกว่าควบคุมได้