Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ - Coggle Diagram
โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ
ความผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะออกบ่อย
(frequency of urine)
ถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติหรือปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน(Nocturia)
ปัสสาวะตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
ปัสสาวะบ่อย คือ ปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณน้ำปัสสาวะปกติ เกิดจากไปขับน้ำออกมามาก
พบได้ในกรณี ดื่มน้ำมากเกินไปหรือได้รับยาขับปัสสาวะ
เป็นโรคเบาหวาน โรคเบาจืด
ปัสสาวะลำบาก(dysuria)
มีความลำบากหรืออาการปวด ขณะขับถ่ายปัสสาวะ
เนื่องจากมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ
ปัสสาวะขัด(Painful Urination)
อาจมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ปัสสาวะลำบาก(difficulty urination)
การปวดปัสสาวะเต็มที่ที่ต้องรอนานกว่า 5วินาที จึงจะสามารถถ่ายปัสสาวะออกมาได้หรือต้องออกแรงเบ่ง
หรือปัสสาวะมากกว่า30วินาที หรือ อาการปัสสาวะสะดุดหรือปัสสาวะไม่พุ่ง
ปัสสาวะกระปิดกระปอย(Polakiuria)
เป็นการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง ในแต่ละครั้งออกน้อยกว่าปกติ
ส่วนใหญ่เกิดจากการระคายเคืองบริเวณกระเพาะปัสสาวะความจุของกระเพาะปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือปัสสาวะแคบ
ภาวะคั่งของน้ำปัสสาวะ(Urinary retention)
การถ่ายปัสสาวะไม่ออกกะทันหัน ทำให้มีการค้างของน้ำปัสสาวะอย่างเฉียบพลัน
การอุดตันผู้ป่วยเรื้อรัง
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่(Incontinance of urine)
น้ำปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว
พบในผู้สูงอายุ
ปัสสาวะมีหนองปน(pyuria)
มีสีขาวขุ่นคล้ายนม
มีกลิ่นเหม็น
สาเหตุจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection หรือ UTI)
กลไกการติดเชื้อ
ทางกระแสเลือด
ทางน้ำเหลือง
การแพร่กระจายโดยตรง
เป็นทางที่พบบ่อยที่สุด
มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
ปัจจัยเสี่ยง
นิ่วหรือการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะไหลย้อนกลับ
ปัสสาวะที่ค้าง
เบาหวาน
ชาย = ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต หญิง = วัยหมดประจำเดือน
พฤติกรรม
การติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะ
การสูบบุหรี่
อาการและอาการแสดง
มีอาการเช่นเดียวกับ lower tract infection รวมถึงการปวดบั้นเอว มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียนและอ่อนแรง ร่วมด้วย
การตรวจเพื่อการวินิจฉัย
การเก็บปัสสาวะ(UA)
การใช้แถบวัด Nitrite
การเพาะเชื้อจากปัสสาวะ(UC)
โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
สาเหตุ : การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะตอนบน
อาการ :ไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง เคาะเจ็บบริเวณหลัง และเอว มักจะมีปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย แสบ หรือขัด และมีปัสสาวะขุ่นร่วมด้วย
ถ้าหากอาการไม่มากก็อาจรักษาโดยการรับประทานยาฆ่าเชื้อได้ แต่ถ้ามีอาการมากจำเป็นจะต้องนอนในโรงพยาบาลและฉีดยา
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis)
สาเหตุหลักที่พบมากที่สุด คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล(Escherichia coli : E. coli), เคล็บซิลลา(Klebsiella), สูโดโมแนส (Pseudomonas), เอนเทอโรแบกเตอร์(Enterobacter)
อาการ : มีอาการขัดเบา ปวดบริเวณท้องน้อยหรือหัวหน่าว ปวดแสบ ขัด ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน มักไม่มีไข้
การรักษา : การรับประทานยาปฏิชีวีนะ หรือ การใช้ยาทาช่องคลอด
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน(Acute glomerulonephritis/AGN)
สาเหตุ :โรคนี้มักเกิดตามหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ (beta-hemolytic streptococcus group A) เช่น ทอนซิลอักเสบ แผลพุพอง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นลึกอักเสบ ไฟลามทุ่ง
อาการ : ปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อหรือน้ำหมาก และจำนวนปัสสาวะมักออกน้อยกว่าปกติ บวมที่หน้า หนังตา เท้า และ ท้อง มักมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
การรักษา : การตรวจเลือดอาจพบความผิดปกติต่างๆ เช่น สารบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินีน (creatinine) สูง ซึ่ง แสดงว่าไตขับของเสียไม่ได้เต็มที่
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury)
สาเหตุ : ภาวะที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ ไตบาดเจ็บโดยตรง อุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
อาการ : ปัสสาวะออกลดลง บวม เหนื่อยง่าย สับสน ซึมลง หัวใจเต้นผิดปกติ
การรักษา : รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ให้เป็นปกติ ปรับขนาดยาตามการทำงานของไตที่ลดลง หลีกเลี่ยงการฉีดสารทึบรังสีหรือยาที่มีผลเสียต่อไตที่ไม่มีความจำเป็น การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต กรณีที่มีอาการสารน้ำเกิน หรือเกลือแร่ผิดปกติร้ายแรงที่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต
โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease)
สาเหตุ : เบาหวานประเภท 1 และประเภท 2
ภาวะความดันเลือดสูง เกิดการติดเชื้อในกลไกลการกรองของเสียของไต
เกิดการติดเชื้อบริเวณท่อไตและโครงสร้างโดยรอบมีความผิดปกติที่มีผลต่อไตและอวัยวะอื่นๆ การอุดตันอย่างต่อเนื่องในระบบทางเดินปัสสาวะ มีการไหลของปัสสาวะย้อนกลับเข้าไต เกิดการติดเชื้อซ้ำในไต
อาการ : เจ็บหน้าอก ผิวแห้ง อาการคันหรือชา รู้สึกเหนื่อย
ปวดศีรษะ ปัสสาวะเพิ่มขึ้นหรือลดลง
เบื่ออาหาร ตะคริวที่กล้ามเนื้อ
คลื่นไส้ หายใจลำบาก
ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ ไม่มีสมาธิ
อาเจียน
การรักษา : โรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม โดยปกติแล้วการรักษาจะประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยควบคุมอาการแสดงและอาการ ลดภาวะแทรกซ้อน และชะลอการดำเนินโรค
โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ : กรรมพันธุ์ ความผิดปกติของต่อมพาราทัยรอยด์ ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ การดื่มน้ำน้อย หรือการสูญเสียน้ำจากร่างกายมาก การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกหรือสารออกซาเลตมากเกิน การอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ยาบางชนิด
อาการ : ปัสสาวะลำบากหรือแสบขัด ปัสสาวะไม่ออกหรือมีเลือดปน ปวดบริเวณบั้นเอวหรือท้อง
การรักษา : การรับประทานยาละลายนิ่วและการสลายนิ่วโดยการใช้คลื่นกระแทก
โรคต่อมลูกหมากโต
สาเหตุ :อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย
อาการ : ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะทันที ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยดๆ รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
การรักษา : ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ยาบางชนิดให้ เช่น Proscar (finasteride) รักษาด้วยความร้อน รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุ : ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
อาการ : ปัสสาวะปนเลือด มีการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ เมื่อมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดกระดูก เท้าบวม มีความอ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อย
การรักษา : การรักษาขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค
ระยะที่ 1 การรักษามะเร็งกลุ่มที่ยังไม่มีการลุกลาม รักษาโดยการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อไปตัดเนื้องอกภายในกระเพาะปัสสาวะ
ระยะที่ 2 การรักษามะเร็งที่กลุ่มที่มีการลุกลาม รักษาโดยผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ (Radical Cystectomy)
ระยะที่ 3 การรักษา โดยการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ (Radical Cystectomy) ร่วมกับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดหลังจากการผ่าตัด
ระยะที่ 4 การักษาโดยการประคับประคองอาการผู้ป่วยให้เจ็บปวดน้อยที่สุดจาการรักษา และใช้เคมีบำบัดผ่านทางเส้นเลือด
ปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งชนิดนี้มีดังต่อไปนี้
สูบบุหรี่
อายุที่เพิ่มมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังหรือติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
ประวัติการเป็นโรคในกระเพาะปัสสาวะการใช้ยาเคมีบำบัด
การใช้รังสีรักษาบริเวณกระดูกเชิงกราน