Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้วิถีล้านนา - Coggle Diagram
ราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้วิถีล้านนา
ความเป็นชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่น
กลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา
ไทลื้อ
เรียกชื่อตนเองว่า ลื้อ แต่เดิมมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตสิบสองปันนา และได้ถูกกวาดต้อนมาตั้งแต่ยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” และตั้งถิ่นฐาน อยู่ในดินแดนล้านนาของประเทศไทยบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง และ ลำพูน การแต่งกายและลักษณะบ้านเรือน ของไทลื้ออาจถือได้ว่าเป็นต้นแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์พื้นเมืองของชาวไทย ล้านนาแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับ ไทยอง มิใช่ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่เป็นชื่อ เรียกของเมืองคือ “เมืองยอง” ดังนั้น “ยอง” จึงมิใช่ชื่อเรียกชาติพันธุ์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อเช่นเดียวกัน
ไทใหญ่
มีถิ่นกาเนิดอยู่ท่ีรัฐฉาน สหภาพพม่า จากประวัติความเป็นมาไทใหญ่ เป็นสาขาหน่ึงของกลุ่มตระกูลไตหรือไท เรียกตนเองว่า “ไตโหลง” หมายถึง “ไตหลวง” อันเป็นท่ีมาของช่ือชนชาติท่ีเป็นทางการว่า “ไทใหญ่” เป็นตระกูลไทกลุ่มใหญ่ มากกว่าไทกลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากพรมแดนท่ีแบ่งแยกแคว้นฉานกับล้านนาไทย ในอดีตกาลไม่ชัดเจน
ไทยวน
อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเฉพาะลุ่มแม่น้าปิงในเมืองเชียงใหม่ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา หลังจากได้อพยพ โยกย้ายมาจากเมืองเชียงแสน ชาวไทยวนมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายท่ีมีความพิเศษแสดงให้ เห็นชัดในเครื่องแต่งกายของสตรีที่เรียกว่า “ผ้าซิ่น” ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกาย หลักของสตรีในแถบภูมิภาคน้ี ผ้าซิ่นในชีวิตประจาวันของไทยวนส่วนใหญ่ เป็นซิ่นที่ประกอบจากผ้าร้ิวลายขวาต่อตีนด้วยผ้าสีแดงหรือดา และต่อหัว ซ่ินด้วยผ้าสีขาว สีแดงหรือดา และอาจจะเป็นผ้าสีเดียวก็ได้ โดยการเย็บ เข้าด้วยกัน เรียกซิ่นชนิดนี้ว่า “ซิ่นต๋า” หรือ “ซิ่นต่อตีนต่อเอว”
ลัวะ
ถิ่นอาศัยของลัวะในปัจจุบันมักอยู่บนภูเขาสูงของล้านนาไทย ลัวะเป็นชนเผ่าพื้นเมืองก่อนชาติพันธุ์ไท เป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมก่อนการสร้างชาติรัฐล้านนา
ไทเขิน
มีชื่อเรียกตัวเองว่า ไทขึน หรือ ไทเขิน คาว่า “ขึน” เป็นชื่อเรียกแม่น้า สายหนึ่งในเมืองเชียงตุง ประวัติความเป็นมากล่าวถึงการอพยพไทเขินจากเมือง เชียงตุงมาสู่ดินแดนล้านนาไทยเกิดข้ึนในสมัยพระเจ้ากาวิละ จนกลายเป็นชุมชน ไทเขินในเมืองเชียงใหม่ หลายแห่งด้วยกัน ในปัจจุบันการแต่งกายและการใช้ชีวิต ได้ผสมผสานกลมกลืนไปกับไทใหญ่และไทลื้อจนยากที่จะแยกลงไปให้ชัดเจน
ประวัติศาสตร์ล้านนา
สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
ดินแดนล้านนามีรัฐต่างๆกระจายตามที่ราบระหว่างหุบเขาในภาคเหนือ ในบริเวณแอ่งเชียงใหม่ลำพูนมีพัฒนาการเป็นรัฐขนาดเล็กหรือรัฐชนเผ่าเกิดขึ้นและพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าโบราณ 2 กลุ่มคือ ลั้วะและเม็ง
ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร
ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการปกครองจากแว่นแคว้นนคร-รัฐ
มาสู่รัฐแบบอาณาจักรโดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
1.สมัยสร้างอาณาจักร(พ.ศ.1839-1898) เป็นผลมาจากการรวมแคว้นหริภุญชัยเข้ากับแคว้นโยนในสมัยของพระยามังรายปฐมกษัตริย์
สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง(พ.ศ.1898-2068) ในราวกลางราชวงศ์มังรายนับแต่สมัยพระยาคือนาเป็นต้นมาอาณาจักรล้านนาเจริญขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเจริญสูงสุดในสมัยเจ้าปิติโลกราชและพระยาแก้วหรือพระเมืองแก้ว
สมัยเสื่อมและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย(พ.ศ.2068-2101) เกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังรายนับตั้งแต่พระญาเกสเชษฐราชขึ้นของราชย์จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าในช่วงเวลา 33ปีในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง4ปีเพราะขุนนางขัดแย้งกันเอง ตกลงไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์
ล้านนาสมัยพม่าปกครอง
ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครองแต่จะมีบางช่วงที่อยุธยายกทัพขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้
ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย
หลังจากเสร็จสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่พ.ศ.2317 พระเจ้าตากสินทรงตอบแทนความดีความชอบโปรดเก้า ฯ แต่งตั้ง “พระยาจ่าบ้าน” (บุญมา) เป็นพระยาวิเชียรปราการปกครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปางและส่งมอบอาญาสิทธิ์แก่เจ้าเมืองทั้งสองให้ปกครองบ้านเมืองตามธรรมเนียมเดิมของล้านนา
อัตลักษณ์ล้านนาสู่ความเป็นมาของเมืองเชียงใหม่
ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
จากโรงเรียนฝึกหัดครู...สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2466 มหาเสวกโท พระยาสุร บดินทร์สุรินทรภาไชย (อุปราช) อามาตย์เอกพระยาพายัพพิริยะกิจ (สุมหเทศาภิบาล) และอามาตย์ตรีหลวง วิสณห์ดรุณการ (ศึกษาธิการ มณฑลพายัพ) ได้ร่วมกันเพ่ือเตรียมการจัดต้ังโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจา มณฑลพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ขึ้น โดยซ้ือท่ีดินบ้านเวียงบัว ตาบลช้างเผือก อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จานวน 1 แปลง มีเนื้อท่ีประมาณ 15 ไร่ พร้อมด้วยเรือนไม้ 1 หลัง เป็นเงิน 318.75 บาท เพ่ือเตรียมจัดตั้ง โรงเรียน
สัญลักษณ์ล้านนาในราชภัฏเชียงใหม่
สถาบันล้านนาศึกษา (Lanna Studies)
สถาบันล้านนาศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธ์ุและวิถีชีวิตชาวล้านนา เม่ือประกอบกับ ความหมายของพิพิธภัณฑ์ข้างต้นจึงทาให้สถาบันล้านนาศึกษาเป็น พิพิธภัณฑ์ท้องถ่ิน ที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษา ดาเนินงานภายใต้ สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ในการนาเสนอเรื่องราว
ของกลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา ตลอดจนวิถีชีวิตและภูมิปัญญา ท้องถิ่นอันเป็นนโยบายท่ีสาคัญท่ีมุ่งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้าน ศิลปวัฒนธรรมและเอกสารโบราณ เพ่ือให้ความรู้แก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
สถาบันล้านนาศึกษา ต้ังอยู่ในอาคารเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สร้างข้ึนเพื่อใช้ ในการจัดแสดงองค์ความรู้และกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมล้านนาอันเป็นมรดกล้าค่า และยังปฏิบัติหน้าที่เป็น แหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศและภาษาไทย สู่สากล ประกอบด้วยนิทรรศการหลักๆดังนี้
หอจดหมายเหตุ ท่ีแสดงเอกสารทางประวัติศาสตร์ของล้านนา นิทรรศการแสดงวิถีชีวิตของกลุ่ม ชาติพันธ์ุล้านนาแปดจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ ไทยวน ไทล้ือ ไทเขิน ไทยอง ไทใหญ่ และชนเผ่าลัวะ นิทรรศการแสดงภูมิปัญญาพืนบ้าน อาทิ ภาษาและวรรณกรรมล้านนา ศิลปหัตถกรรม ดนตรี และนาฏศิลป์พื้นบ้าน นิทรรศการแสดงแพทย์แผนไทยล้านนา หรือที่เรียกกันว่า หมอเมือง นิทรรศการแสดงองค์ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสน์ และเครื่องสักการะแบบล้านนาจัดแสดงวัตถุทางพุทธศาสนาที่สาคัญของชาวล้านนา ห้องเกียรติคุณ แสดงรายช่ือ ของผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยและศูนย์ล้านนาศึกษา หอ้ งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ท่ีใช้จัดแสดงประวัติ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และวัตถุที่มีความเก่ียวข้องกับพระองค์
สถาบันล้านนาศึกษา ต้ังข้ึนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นหน่วยงานประสาน และสนับสนุนด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อบูรณาการด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม โดยการบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมหรือการวิจัย เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพ สามารถนาไปประยุกต์ใช้ทั้งภายใน มหาวิทยาลัยและในท้องถิ่น และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ท่ีมีความเป็นเลิศด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรม ในระดับ ภูมิภาคลุ่มน้าโขง
กิจกรรมด้านศาสนา
(1) ศูนย์ใบลานศึกษา มีหน้าที่ในการสารวจ รวบรวม ปริวรรต และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคัมภีร์ใบ ลาน พับสา เอกสารหายาก และเอกสารโบราณ
(2) ห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา มีหน้าที่ในการให้บริการข้อมูล องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนบริการสืบค้นหนังสือเก่ียวกับศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนา
(3) โครงการเพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา เพื่อสรรหาครูภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ ความสามารถและความเช่ียวชาญทางด้านศิลปวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “เพชรราชภัฏ- เพชรล้านนา” ได้มีกาลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
(4) โครงการสืบสานประเพณีรดน้าดาหัวในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย ราชภัฎเชียงใหม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสร้างสัมพันธ์ระหว่างกัน
(5) โครงการสืบสานประเพณีในการเข้าร่วมขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ในเทศกาลสงกรานต์ เพ่ือ ก่อให้เกิดการสืบทอด การอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถ่ิน
(6) โครงการฝึกอบรมด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมพ้ืนบ้าน ล้านนา และร่วมกันสืบทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
(7) โครงการจัดทาวารสารทางวิชาการเก่ียวกับศิลปวัฒนธรรม “ข่วงผญา” เพ่ือเผยแพร่ผลงานทาง วิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม สร้างความเข้าใจและความถูกต้องในข้อมูลด้านวัฒนธรรมท้องถ่ิน
(8) โครงการบรรพชา อุปสมบท-เนกขัมมะ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในฐานะท่ีทรงเป็นพุทธศาสนิกชนและองค์เอกอัคร ศาสนูปถัมภก
(9) โครงการธรรมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง
(10) โครงการหล่อเทียนและแห่เทียนเข้าพรรษา เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในฐานะสถาบันอุดมศึกษา เพื่อท้องถิ่น
ภูมิศาสตร์ล้านนา
ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น
ลักษณะภูมิประเทศของล้านนาประกอบด้วยทิวเขาสลับกับที่ราบระหว่างหุบเขา เรียงตัวขนานกันหลายแนวในแนวเหนือ-ใต้ โดยวางตัวจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกส่วนหุบเขาขนาดใหญ่ มีแนวในทิศทางเดียวกับทิวเขา กล่าวได้ล้านนามีพื้นที่เป็นภูเขามากกว่าพื้นที่อื่นๆของประเทศ กล่าวคือ บริเวณที่เป็นภูเขาประมาณ 3/4 ของภาคส่วนบริเวณที่ราบมีเพียง 1/4 เท่านั้น
ตำนานเมืองเชียงใหม่
พระเจ้ามังรายสร้างเชียงใหม่ขึ้นเมื่อพ.ศ. 1839 นับถึงปัจจุบันก็ได้ 724 ปีแต่เมื่อนับเชื้อสายของพระเจ้ามังรายที่ของเมืองเชียงใหม่ได้ก็ 262 ปีสิ้นรัชสมัยของพระราชวงศ์มังรายเมื่อพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ครองเมืองเป็นองค์สุดท้ายจึงเสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เวลา 9 โมง พ.ศ.2101
ชัยภูมิเมืองล้านนา
ดินแดนล้านนา ประกอบด้วย เมืองใหญ่น้อยแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มเมืองล้านนาพาตะวันตกซึ่งเป็นเกณฑ์สำคัญประกอบด้วยเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงรายพะเยา เมืองด้านล้านนาตะวันตกที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้นส่วนกลุ่มล้านนาตะวันออกประกอบด้วยเมืองแพร่และเมืองน่านทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาคล้ายกันคือในสมัยแรกเริ่มต่างมีฐานะเป็นอิสสละมีราชวงศ์ของตนเองมีความใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัยอาณาจักรล้านนา
อาณาจักรล้านนา หมายถึง อาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันทางเครือญาตหรือทางวัฒนธรรม
ภูมิศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่างๆของโลก
ชัยภูมิ 7 ประการกับการสร้างเมืองเชียงใหม่
พระเจ้ามังรายเชิญชวนพระสหายทั้งสองออกไปยังไชยภูมิเพื่อตรวจดูทำเลสถานที่ที่จะสร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรถาวรใหม่ เมื่อพระยาร่วงและพระยางำเมืองทรงเห็นดังนั้นก็กล่าวแก่พระเจ้ามังรายว่า ทำเลที่จะสร้างเมืองถูกต้องด้วยหลักไชยภูมิ 7 ประการซึ่งหายากยิ่งที่จะสร้างเป็นพระนครคือ
เคยมีกวางเผือกสองตัวแม่ลูกเคยมาอาศัยอยู่ที่นี่และมีคนพากันมาสักการบูชาเป็นอันมาก
มีฟาน(เก้ง)เผือกสองแม่ลูกมาอาศัยและได้ต่อสู้กับสูงสุนัขของผ่านซึ่งตามเสด็จพระเจ้ามังรายมา
ได้เห็นหนูเผือกพร้อมด้วยบริวาร 4 ตัววิ่งเข้าโคนต้นไม้นิโครธ(ไม้สูง)
4.พื้นที่สูงทางทิศตะวันตกเอียงลาดไปทางทิศตะวันออกเป็นทำเลที่ต้องด้วยลักษณะพื้นที่ที่จะสร้างเมือง
5.มีน้ำตกไหลจากดอกสุเทพ โอบล้อมตัวเมืองไว้เป็นการสะดวกในการที่ชาวเมืองจะได้ใช้สอยบริโภค
6.มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองปรากฏว่า เคยเป็นที่เคารพสักการะของท้าวพระยาเมืองต่างๆ
7.แม่น้ำระมิงค์ (แม่น้ำปิง) เป็นแม่น้ำที่เกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำและบนเทือกเขามีดอยชื่อว่า “ดอยอ่างสลุง”