Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 โรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้า และบรฐจุของขาออก Inland…
บทที่ 6 โรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้า และบรฐจุของขาออก Inland Container Depot (ICD)
การแลกเปลี่ยนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Data Interchange (EDI)
1CD (Inland Container depot)
หมายถึง สถานที่ให้บริการด้านขนถ่ายและกักเก็บ สินค้ารวมทั้งตู้สินค้าภายใต้พิธีการทางศุลกากร มีที่ตั้งอยู่บริเวณแผ่นดินส่วนในไม่ติดทะเลหรือ แม่น้ําแต่จะมีการเชื่อมต่อโดยตรงกับท่าเรือโดยระบบขนส่งทางบกและอาจมีที่ตั้งอยู่ทั้งในประเทศ ชายฝั่งทะเลหรือประเทศที่ไม่มีอาณาเขตติดทะเล ก็ได้ เนื่องจากท่าเรือต่างๆ
แยกออกเป็น 2 ประเภท
สถานที่ตรวจและบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์เพื่อส่งออก เท่านั้นซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า “สตส." กรมศุลกากรโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เป็นผู้อนุมัติให้เอกชนเป็นผู้ประกอบการ โดยมีเงื่อนไขสําคัญกําหนดให้ผู้ประกอบการต้องเป็นนิติบุคคลที่ประกอบกิจการขนส่งหรือกิจการ ที่เกี่ยวข้อง และต้องมีพื้นที่สําหรับประกอบการไม่น้อยกว่า 30 ไร่ พร้อมสิ่งอํานวยความสะดวก ต่างๆ อย่างเหมาะสม
โรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตทําเนียบท่าเรือ ซึ่งนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “รพท.หรือ ICD” ซึ่งกรมศุลกากร โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เป็นผู้อนุมัติให้เอกชนเป็นผู้ประกอบการ ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไข สําคัญที่กําหนดให้ผู้ประกอบการต้องเป็นนิติบุคคลที่ประกอบกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศหรือ กิจการที่เกี่ยวข้อง และต้องมีพื้นที่สําหรับประกอบการไม่น้อยกว่า 50 ไร่ พร้อมสิ่งอํานวยความ สะดวกต่างๆ
การประกอบธุรกิจ รพท.
บริการในลักษณะ รพท. เริ่มมีขึ้นในประเทศไทยมากกว่า 10 ปี โดยเริ่มต้นจากบริการ ผ่านด่านศุลกากรรถไฟย่านพหลโยธินไปยังท่าเรือสัตหีบ ในขณะนั้นยังไม่มีการกําหนดลักษณะ รพท. อย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี 2533 คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2533 เห็นชอบในหลักการกับข้อเสนอของกรมศุลกากรให้จัดตั้ง รพท.ทางถนนขึ้น 4 มุมเมืองรอบเขต กรุงเทพฯ เพื่อลดความแออัดของท่าเรือกรุงเทพ และเพื่อให้ท่าเรือกรุงเทพสามารถให้บริการสินค้า ผ่านท่าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยรายชื่อ สถานที่ตั้ง ความสามารถของผู้ประกอบการ รพท.
การประกอบธุรกิจ สตส.
ในปี 2531 บริการ สตส.ได้ริเริ่มขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2531 ทั้งนี้เพื่อลดความแออัดของท่าเรือกรุงเทพและเพื่อใช้เป็นกลไกใน การสนับสนุนส่งออก โดยในปี 2532 กรมศุลกากรได้อนุมัติให้เอกชนประกอบกิจการจํานวน 15 ราย
ขั้นตอนการดําเนินงานใน ICD
องค์ประกอบและกิจกรรมขั้นพื้นฐาน กิจกรรมและขั้นตอน การปฏิบัติใน ICD สามารถ แยกเป็นหน้าที่หลักๆ ได้
รับและส่งสินค้า 2. การปฏิบัติงานของรถบรรทุก 3. พิธีการทางศุลกากร 4. ด่านตรวจและการรักษาความปลอดภัย 5. การเก็บสินค้าและตู้สินค้า 6. การซ่อมตู้สินค้า 7. การติดต่อและการสื่อสาร 8. การเก็บสถิติข้อมูล 9. การเก็บเงิน นอกจากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นส่วนสนับสนุน ดังนี้ 1. การขนส่งแบบราง เป็นระบบที่ตู้สินค้าถูกขนส่งไปและรับมาจากรถไฟ
ลานตู้สินค้า(Container Yard (CY) เป็นสถานที่สําหรับวางตู้สินค้าเพื่อส่งให้กับ ลูกค้าหรือที่รับมาจากพาหนะต่างๆ
สถานีตู้สินค้า Container Freight Station (CFS) เป็นสถานที่ที่ใช้บรรจุ และเปิดตู้สินค้า
การตรวจทางศุลกากร เพื่อตรวจสอบสินค้า มีลําดับขั้นตอน ดังนี้
สินค้าเข้า รับมาจากพาหนะ (ส่วนใหญ่โดยรถไฟ) - แจ้งผู้นําเข้า
ตรวจสอบโดยศุลกากร - เอกสารต่างๆ - ส่งสินค้าให้ผู้สั่งเข้า
สินค้าออก รับตู้สินค้า - ตรวจสอบโดยศุลกากร - ส่งไปยังท่าเรือ
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตลอดจนงานด้านเอกสารจะเสร็จสมบรูณ์ใน ICD ผู้ส่งออกและผู้นํา เข้า ไม่ต้องไปดําเนินงานต่างๆ ที่ท่าเรือ
การขนส่ง การยก และการซ้อนตู้สินค้า
มีตารางการขนส่งที่แน่นอน ต้องมีการระบุเวลามาและเวลาส่ง แสดงทั้งที่ท่าเรือและ ICD ถ้าเป็นการขนส่งแบบรถไฟ ตารางการขนส่งตู้สินค้าต้องจัดให้สัมพันธ์กับเส้นทางเดินรถไฟ ปกติด้วย มิฉะนั้น อาจเกิดปัญหาการทับเส้นทางและการจราจร
การขนส่งทางรถไฟ ควรจะกระทําในช่วงเช้า เพื่ออํานวยความสะดวกในการปฏิบัติ งานอย่างต่อเนื่อง และเสร็จสมบรูณ์ภายในวันเดียว
ระบบการผนึกและตรวจตู้สินค้า การรถไฟและศุลกากร ควรมีการปฏิบัติงานอย่าง มีรูปแบบที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง
ควรมีการตรวจสอบระบบขนส่ง เพื่อป้องกันการล่าช้าระหว่างจุดขนส่ง
การซ่อมใหญ่ของพาหนะบรรทุกตู้สินค้า ควรกระทําภายนอกที่ตั้ง แต่อนุโลม สําหรับการซ่อมเล็กน้อยเท่าที่จําเป็นจริงๆ เท่านั้น
ประโยชน์ของ ICD
เพิ่มการไหลเวียนของสินค้า ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อพื้นที่บริเวณที่ตั้งของ ICD หรือ อาจจะถึงระดับประเทศ
ลดค่าภาระการขนส่งแบบรับส่งถึงที่ การขนส่งโดยใช้ตู้สินค้าในปัจจุบันเป็นที่นิยม ซึ่งมีข้อดีในเชิงเศรษฐศาสตร์ ในการลดอัตราค่าขนส่ง และจํานวนเที่ยวให้น้อยลง
3 หลีกเลี่ยงค่าภาระของตัวแทนบริษัทเรือ เนื่องจากเอกสารที่ออกโดยบริษัทเรือจะมี ผลบังคับใช้ที่ท่าเรือเท่านั้น
หลีกเลี่ยงค่าปรับกรณีที่นําสินค้าออกจากโรงพักสินค้าล่าช้ากว่ากําหนด ในระบบการ ขนย้ายแบบเดิมนั้น ปัญหาเรื่องการล่าช้าของเอกสารและพิธีการทางศุลกากรอาจเป็นสาเหตุที่ทําให้ เสียค่าปรับมากขึ้น ในกรณีที่ขนส่งสินค้า ICD บวกกับพิธีการทางด้านเอกสารการขนส่งและใบตรา ส่งสินค้า กรณีดังกล่าวจะถูกตัดทิ้ง
หลีกเลี่ยงการต่ออายุประกัน โดยปกติช่วงเวลาของการประกันนั้นจะใช้เวลา 60 วัน นับจากวันขนถ่ายสินค้าลงไปในเรือจากท่าเรือต้นทางการสิ้นสุดของเวลาประกันอาจเกิดขึ้นได้ ที่ 1CD ถ้าระบุว่าเป็นผู้รับปลายทาง
สามารถใช้ประโยชน์ของการขนส่งโดยรถยนต์, รถไฟได้สูงสุดในการขนส่งระยะ ไกลการใช้รถไฟแทนรถยนต์อาจช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ซึ่งสามารถคํานวณได้จากค่าความ แตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายรวมโดยทางรถไฟและรถยนต์ เปรียบเทียบกับค่าขนส่งตลอดเส้นทาง โดยรถไฟ
ลดอัตราการบรรทุกเปล่า ICD ช่วยลดอัตราการบรรทุกเปล่า โดยรถไฟและรถบรรทุก โดยทําตัวเหมือนศูนย์รวบรวมสินค้าออก ซึ่งจะช่วยประหยัดในด้านค่าขนส่ง
เพิ่มการใช้ตู้สินค้าบรรทุกสินค้า เนื่องจากมีการติดตั้งอุปกรณ์เฉพาะสําหรับยกตู้สินค้า จึงมีผลทําให้เกิดความนิยมในการใช้ระบบตู้สินค้ามากขึ้น
ลดค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินค้า
มีประโยชน์ต่อท่าเรือ นอกเหนือจากช่วยลดอัตราการแออัดของตู้สินค้าแล้ว ยัง ช่วยลดอัตราการขนถ่ายสินค้าบริเวณท่าเรืออีกด้วย ผลจากการขนถ่ายโดยใช้ตู้สินค้าวิธีนี้จะช่วย เพิ่มผลผลิตของสินค้าผ่านท่า และลดภาระค่าขนถ่ายต่อตัน
ประหยัดค่าภาระการเก็บสินค้า เนื่องจาก ICD จะมีการเร่งการขนส่งสินค้า และ เพิ่มอัตราการรับสินค้า เนื่องจากความแปรปรวนของเวลาการขนถ่ายบวกกับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ที่ขึ้นๆ ลงๆ ความคล่องตัวและการใช้เวลาขนถ่ายสินค้าที่สั้นอาจช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเสีย ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเก็บสินค้าได้
ปรับปรุงการติดต่อสื่อสารที่เร็วโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในด้านการขนย้ายสินค้าและพิธีการทางศุลกากร
ประโยชน์อื่นๆ ที่ได้จาก ICD และไม่สามารถแจกแจงออกมาเป็นค่าของจํานวน เงินได้
การแลกเปลี่ยนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Data Interchange (EDI)
การแลกเปลี่ยนเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐาน สากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญในระบบ EDI
การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาแทนเอกสารที่เป็นกระดาษ
เอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากลด้วยสองปัจจัยนี้ ทุกธุรกิจสามารถเปลี่ยนแปลงเอกสารกันได้ทั่วโลก และงานในด้าน การพาณิชยนาวี เป็นอีกงานหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับ EDI เป็นอย่างมาก เพราะมีความ สะดวกในการดําเนินงาน และมีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับกัน โดยผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ สัญญาณดาวเทียม เป็นต้นลักษณะการดําเนินงานของระบบ EDI
การดําเนินงานของระบบ EDI มีขั้นตอนซึ่งทําหน้าที่ในการประสานงานกันหลาย อย่างที่สําคัญ คือ
มี EDI Gateway ซึ่งมีหน้าที่เปรียบเหมือน เป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมระบบของ การรับ-ส่ง และแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน การดําเนินธุรกิจทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนจากต้นทาง (ผู้ส่ง) ไปยังปลายทาง (ผู้รับ)
มี (Value Added Networks) ทําหน้าที่เหมือนเป็นศูนย์ย่อยตามเขตต่างๆ ที่ คอยให้บริการและดูแลระบบ ED! ตามขอบเขตและหน้าที่ของแต่ละบริษัทย่อย ด้วยการดูแล และรับผิดชอบเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ทําให้รับส่งและแลกเปลี่ยนกันจนถึงปลายทางได้อย่าง ถูกต้อง รวมทั้งได้รับความปลอดภัยทางด้านข้อมูลที่สามารถแสดงผลด้วยการบันทึกรายการใน แต่ละวันและทํางานตลอด 24 ชั่วโมง
เอกสารธุรกิจที่รับส่ง โดยผ่านทางระบบ EDI นั้น จะต้องผนึกด้วยซองอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นของที่ได้รับมาตรฐานของการใช้รับส่ง และแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีใช้กันแพร่หลายทั่วโลก หรือที่สากลยอมรับในนามของ UN/EDIFACTมาตรฐานเอกสาร EDI เปรียบเสมือนภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคู่ค้า มาตรฐาน เอกสาร EDI ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก มีอยู่หลายมาตรฐาน
ANSI X12 ซึ่งใช้แพร่หลายในอเมริกาและออสเตรเลีย
ODDETTE, TRADACOMS ซึ่งใช้กันในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป
UN/EDIFACT (United Nation/Electronic Data Interchange for Administration, Commerce, and Transportation) ส่วนใหญ่ใช้กันในทวีปเอเชีย รวมถึง ไทย เป็นมาตรฐานที่กําหนดโดย United Nation ขณะนี้หลายๆ ประเทศ กําลังปรับมาตรฐาน ของตนให้เข้ากับมาตรฐานนี้ เนื่องจากมีการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้