Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปแนวคิดและหลักการพยาบาลแบบประคับประคอง, นางสาวพิชญ์ชิชา อ่อนชัยนพพล…
สรุปแนวคิดและหลักการพยาบาลแบบประคับประคอง
ความหมายการดูแลแบบประคับประคอง
การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) หมายถึง
การดูแลตามความต้องการของผู้ป่วยที่ไม่อาจรักษาโรคให้หายขาดได้ ซึ่งการดูแลจะรวมถึงการดูแลทางด้านจิตใจ สังคมและจิตวิญญาณตามความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดช่วงเวลาการป่วยรวมถึงการดูแลครอบครัวผู้ป่วยหลังการตายของผู้ป่วย
การพยาบาลแบบประคับประคองจึงมีเป้าหมายคือ เพิ่มคุณภาพชีวิต
บรรเทาอาการช่วยเหลือครอบครัวเมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (Bereavement care) เพื่อคงความสามารถในการทำหน้าที่
ดังนั้นความหมายการดูแลรักษาแบบประคับประคอง คือ การช่วยให้ผู้ป่วยสบายขึ้นทรมานน้อยลง แม้โรคนั้นจะรักษาไม่หาย มีแต่จะทรุดลงตามลำดับ ซึ่งแพทย์ พยาบาล ญาติ ศาสนาวัฒนธรรม สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด ความทุกข์ ความ วิตกกังวลลงได
หลักการพยาบาลแบบประคับประคอง
คือ การควบคุมความปวดและอาการหลักอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความทุกข์
ความไม่สบาย การมีอาการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ความไม่สบายเกิดขึ้น กลัวหรือกังวลว่าจะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลและใช้เวลาไปกับการเฝ้าระวัง รวมถึงเป็นการกีดกันการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม หรือสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
จึงประกอบด้วย
การวินิจฉัยโรค การพยากรณ์โรค แนวทางการรักษาที่มีอย
การตั้งเป้าหมายการ
รักษา (goal clarification)
การสื่อสารทำความเข้าใจ
(communication)
การวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาวาระสุดท้ายของชีวิต
( ประกอบด้วย advance care plan, advance directives)
การจัดการกับโรค ( disease
management)
การดูแลอาการทางกาย (symptoms control)
การดูแลจิตใจ จิตสังคม จิตวิญญาณ
(psycho-social-spiritual care)
Key element of palliative care ประกอบด้วย
Patient population : เป็นผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุที่มีความเจ็บป่วยอาการ หรือการบาดเจ็บที่เรื้อรัง หรือคุกคามชีวิต
Patient and family centered care : มีความเคารพความเป็นหนึ่งเดียวของผู้ป่วยและครอบครัว เป็นองค์ประกอบหน่วยการดูแลครอบครัวนิยามโดยผู้ป่วย กรณีที่ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจได้ จะสามารถตัดสินใจโดยผู้แทนของผู้ป่วย
Attention to relief of suffering : เป้าหมายเบื้องต้น ของการดูแล แบบประคับประคอง คือการป้องกันและการบรรเทาความทุกข์ที่มีอยู่มากมายจากโรคและการรักษาและความทุกข์ทรมานที่ตามมา
Communication skills : ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิผลเป็นสิง่ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยแบบ ประคับประคอง เช่น การฟังอย่างตั้งใจการช่วยในการตัดสินใจ และการสื่อสารที่มีประสิทธิผลกับทุกๆคนทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแล และครอบครัวของผู้ป่วย
List disease (Life threatening disease) : โรคที่คุกคามต่อชีวิตได้แก่1. Cancer 2. Neurological disease : Stroke 3. Renal replacement therapy 4 . Pulmonary and Heart disease
Multiple trauma patient 6. Infectious disease: HIV/AIDS 7 Pediatric 8. Aging/Dementia
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายของ WHO เน้น 6 ด้าน คือ
1) จุดเน้นในการดูแล คือ ผู้ป่วยและครอบครัวที่ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของการดูแล
4)เป็นการดูแลแบบเป็นทีม
3) มีความต่อเนื่องในการดูแล
5) เน้นส่งเสริมระบบสนับสนุนการดูแล
2) เป็นการดูแลแบบองค์รวม ที่เน้นการบรรเทาความทุกข์ทรมานในทุกด้าน
6) เป้าหมายในการดูแลเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
ความต้องการความช่วยเหลือในการดูแลแบบประคับประคอง
ผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญควรพิจารณาดังต่อไปน
ด้านร่างกาย การดูแลช่วยเหลือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บและปวด และทุกข์ทรมาน
ด้านจิตใจ ต้องการความอบอุ่นไว้วางใจผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตจะต้องการผู้ดูแลที่อบอุ่น ให้กำลังใจ
3 ด้านสิ่งสนับสนุนทางสังคม ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายต้องการสิ่งสนับสนุนทางสังคมทั้งตัวบุคคลผู้ให้การดูแลด้วยความอบอุ่นปลอดภัยจาdบุคลากรวิชาชีพ และจากผู้ดูแลในครอบครัว
4 ด้านจิตวิญญาณ ต้องการความมีศักดิ์ศรี ผู้รับบริการทุกคนต่างก็เป็นผู้ที่มีเกียรติ มีสถานภาพในสังคม
นอกจากนี้ การใช้หลักการทางศาสนาในการทำหน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษาบางครั้งอาจรู้สึกเครียดและทุกข์ไปกับภาวะทุกข์ของผู้รับบริการและครอบครัวผู้ให้คำปรึกษาจะต้องเข้าใจและยึดหลักการทางศาสนาหลักการของธรรมชาติ และความเป็นจริง ในการทำความเข้าใจ
หลักการดูแลแบบประคับประคองจนถึงวาระท้ายของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้านร่างกาย
ซึ่งการตรวจร่างกายทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดี ถึงความเอาใจใส่ที่ดีระหว่างบุคลากรทางสุขภาพและผู้ป่วยโดยต้องคำนึงถึงความสุขสบายของผู้ป่วยและ รบกวนผู้ป่วยน้อยที่สุด
ด้านร่างกาย : ผู้ป่วยระยะประคับประคอง มักมีอาการที่พบ ได้บ่อย ได้แก่ ปวด หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องอืด เหนื่อยล้า และ ซึมเศร้า เป็นต้น พยาบาลต้องมีความรู้และความสามารถในการประเมินอาการรบกวนโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นๆ เช่น
1.ประเมินอาการรบกวนต่างๆ โดยเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.การจัดการอาการรบกวนโดยใช้ยา เช่น การจัดการอาการปวด ตาม WHO 3-StepAnalgesic Ladder
3 การจัดการอาการรบกวนโดยโดยไม่ใช้ยา เช่น นวดผ่อนคลายแช่มือ แช่เท้าลดปวด
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้านจิตใจ
1.ภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีภาวะซึมเศร้าเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ อาการทุกข์ การนอนรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
ภาวะวิตกกังวล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักมีความวิตกกังวลจะส่งผลทำให้แสดงออกทางด้านร่างกาย คือ กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย
ภาวะสับสน เกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติทั้งในด้านการรับรู้ การคิด และการแสดงออก
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้านสังคม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว เพราะบทบาทจะส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของสมาชิก ในครอบครัวหรือศักยภาพในการจัดการปัญหาต่างๆ
ความรักและความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ป่วย (Caregiver) การประเมินเรื่องผู้ดูแลเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องจากผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักต้องการกลับไปอยู่ที่บ้าน อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิม
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม
ความต้องการของครอบครัว
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายในมิติจิตวิญญาณเกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต เป้าหมายชีวิต หรือสิ่งที่มีค่าสูงทางจิตใจ เป็นสิ่งสำคัญกับชีวิตเป็นความต้องการที่จะปฏิบัติกิจกรรมด้านศาสนาที่ตนเองนับถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะคงไว้ในเรื่องความผูกพันกับ พระเจ้าของแต่ละบุคคล เพื่อให้ได้รับการให้อภัยความหมายและเป้าหมาย สูงสุดหรือความต้องการที่จะปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองคิดว่าดีและหลีกเลี่ยงสิ่งที่ชั่ว
นางสาวพิชญ์ชิชา อ่อนชัยนพพล 190101146 นศ.ชั้นปีที่ 2