Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 รายการที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้, นางสาวธัญญลักษณ์ เรืองรัมย์ …
บทที่ 8
รายการที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้
ความหมาย
การวิเคราะห์และสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการสร้างเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการห้องสมุดให้สามารถสืบค้นได้สะดวกและรวดเร็ว
การสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศลงในแผ่นงาน(Worksheet) ซึ่งเดิมเป็นการลงรายการระบบมือในรูปแบบของบัตรรายการ
งานสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบงานห้องสมุดอัตโนมัติ เพราะงานหลักที่สามารถนำไปใช้ในงานบริการอื่นๆ ได้ เช่น งานบริการสืบค้น (Online Public Access Catalog: OPAC) งานบริการยืม คืน (Circulation) โดยการลงรายการดังกล่าวเป็นการลงรายการแบบมีโครงสร้างที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ เป็นการลงรายการโดยใช้มาตรฐาน MARC (Machine Readable Cataloging)
MARC ย่อมาจากคำว่า Machine Readable Cataloging ซึ่งมีความหมายแยกออกได้
ดังนี้ 1. Machine Readable หมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านและตีความข้อมูลที่ลงไว้ในระเบียนได้
Cataloging เป็นการลงรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ตามหลักเกณฑ์ของการลงรายการแบบ AACR2 (Anglo-American Cataloging Rule 2nd ed)ดังนั้น MARC (Machine Readable Cataloging) จึงหมายถึงรูปแบบของการลงรายการของทรัพยากรสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ของการลงรายการแบบ AACR2 ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ ซึ่งปัจจุบัน MARC ได้พัฒนามาเป็น MARC 21
พัฒนาการของ MARC 21
MARC 21 เป็นมาตรฐานการลงรายการให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ ที่พัฒนามาจาก USMARC และ Can/MARC ซึ่งหอสมุดแห่งชาติอเมริกันและหอสมุดแห่งชาติแคนาดาปรับเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบของบัตรรายการที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้
โครงสร้างของ MARC
มีการกำหนดชื่อเขตข้อมูลให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักด้วยการใช้ตัวเลขจาก 000-999แทนชื่อเขตข้อมูล เรียกว่า Tag
ในแต่ละเขตข้อมูลมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย เรียกว่า เขตข้อมูลย่อย (Subfield)
ในแต่ละเขตข้อมูล มีการลงรายการตัวบ่งชี้ (Indicator) ซึ่งเป็นรหัส 2 ตัว อาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้วางไว้หน้าแต่ละเขตข้อมูล สำหรับการประมวลผลต่างๆ
1.มีการแบ่งข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศออก เป็นส่วนๆ เรียกว่า เขตข้อมูล (Field)
ประเภทของระเบียน
3.MARC 21 Format for Classification Data
4.MARC 21 Format for Community Information
2.MARC 21 Format for Bibliographic Data
5.MARC 21 Format for Holding Data
1.MARC 21 Format for Authority Data
MARC 21 Format for Bibliographic Data
Book (BK) หมายถึง วัสดุตีพิมพ์ ต้นฉบับ ตัวเขียน วัสดุย่อส่วนที่มีเนื้อหาลักษณะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
Map (MP) หมายถึง วัสดุที่มีลักษณะเป็นแผนที่ ทั้งที่เป็นฉบับพิมพ์และต้นฉบับตัวเขียน วัสดุย่อส่วน ประกอบด้วยสมุดแผนที่ (Atlases) แผนที่แผ่น (Sheet Maps) ลูกโลก (Globes)
Music (MU) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นดนตรี ทั้งที่เป็นฉบับพิมพ์และต้นฉบับตัวเขียน วัสดุย่อส่วน รวมทั้งแถบบันทึกเสียงทั้งที่เป็นดนตรีและไม่ใช่ดนตรี
Serial (SE) หมายถึง วัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ วารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือรายปี เป็นต้น
Visual Materials (VM) หมายถึง โสตทัศนวัสดุ ทั้งสื่อที่ใช้เครื่องฉายและไม่ต้องใช้เครื่องฉาย รูปภาพ 2 มิติ สิ่งประดิษฐ์ 3 มิติ
Mixed Materials (MX) หมายถึง collection ของจดหมายเหตุ ต้นฉบับตัวเขียนซึ่งอยู่ในรูปแบบวัสดุต่างๆ อาจออกเป็นเนื้อหาเดียว (Monograph) หรือ ออกต่อเนื่อง (Serial)
Computer File (CF) หมายถึง ข้อมูลที่ลงรายการในรูปแบบที่ต้องประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างและลักษณะของระเบียน MARC 21
1.ป้ายระเบียน (Leader) คือส่วนของข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลประกอบด้วย ตัวเลข และรหัสที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆ
2.นามานุกรมเขตข้อมูล (Directory) คือ ส่วนของข้อมูลที่ระบุให้ทราบถึงรายละเอียดของแต่ละเขตข้อมูล
3.ข้อมูล (Variable Fields) เป็นส่วนของข้อมูลในเขตข้อมูลต่างๆ ที่เป็นรายละเอียดทางบรรณานุกรม
กลุ่มเขตข้อมูลต่างๆ ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
Variable Control Field มีทั้งหมด 9 เขตข้อมูล คือเขตข้อมูลกลุ่ม 0XX ได้แก่ เขตข้อมูลหมายเลข 001 – 009 ซึ่งเขตข้อมูลเหล่านี้ปรากฏในนามานุกรมเขตข้อมูล แต่ไม่มีตำแหน่งตัวบ่งชี้ (Indicator) และรหัสเขตข้อมูลย่อย
Variable Data Field คือเขตข้อมูลที่เป็นรายละเอียดทางบรรณานุกรม ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนใหญ่ของระเบียน ข้อมูลได้รับการบันทึกเป็นข้อความที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ บางระเบียนมีเขตข้อมูลมาก บางระเบียนมีเขตข้อมูลน้อย ภายในเขตข้อมูลจะมีความยาวไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่ลงรายการ เช่น Tag 245 เป็นชื่อเรื่องซึ่งมีความยาวไม่เท่ากัน บางรายการมีชื่อเรื่องยาวมาก เป็นต้น
ตัวบ่งชี้ (Indicator)
ตัวบ่งชี้สั่งให้เรียงข้อมูล ได้แก่ Tag 245 ตัวบ่งชี้จะบอกให้ทราบจำนวนตัวอักขระที่ไม่ต้องการให้นำมาเรียงข้อมูล
ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการควบคุมการแสดงหมายเหตุ /รายการเพิ่ม ในเขตข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่องและรายการเพิ่มต่างๆ มีตัวบ่งชี้ที่สั่งให้โปรแกรมควบคุมการแสดงหมายเหตุที่ประมวลจากเขตข้อมูลชื่อเรื่องและรายการเพิ่ม มีทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบ A ,รูปแบบ B,รูปแบบ C,รูปแบบ D
ป้ายระเบียน (The Leader)
ป้ายระเบียน คือส่วนแรกของระเบียน แทนด้วยเขตข้อมูล 000 มีความยาวทั้งหมด 24 อักขระ ทำหน้าที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลภายในระเบียน ทุกระเบียนจะมีขนาดความยาวคงที่เสมอ
เขตข้อมูลที่มีความยาวไม่คงที่ (Variable Fields)
เขตข้อมูลสำหรับการควบคุมระเบียน (Variable Control Field) จะระบุข้อมูลที่เป็นส่วนของการประมวลผลข้อมูลโดยระบบ จะเริ่มต้นด้วยเขตข้อมูล (Tag) 001, 003, 005
เขตข้อมูลสำหรับการบันทึกและสืบค้นข้อมูล (Variable Data Field) เป็นส่วนที่บันทึกรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป และมีรายการเพิ่มด้วย เช่น รายการหลัก หัวเรื่อง เลขเรียกหนังสือ เป็นต้น
รหัสประเทศที่ใช้ใน MARC 21
รายการรหัสประเทศต่างๆ นั้น จะกำหนดจาก MARC Code List Countries หรือสามารถกำหนดได้ จาก
http://www.loc.gov/marc/countries
การให้รหัสส่วนใหญ่ยึดหลักระดับประเทศเป็นสำคัญ แต่ผู้ทำรายการก็สามารถให้รหัสย่อยภายในประเทศหรือภายในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของการทำรายการแต่ละแห่ง
รหัสพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ใน MARC 21
รหัสพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นี้ ใช้ในส่วนของเขตข้อมูล 043 ซึ่งระบุข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของรายการสิ่งพิมพ์หนึ่งๆ รหัสรายการที่สมบูรณ์ครบถ้วน สามารถค้นได้จากสิ่งพิมพ์ชื่อ USMARC
Code List for Geographic Areas หรือ
http://www.lcweb.loc.gov/marc/geoareas
รหัสภาษาที่ใช้ใน MARC 21
รหัสภาษาที่นำมาใช้ในการทำรายการนี้ เป็นเพียงภาษาที่ใช้กันโดยทั่วไปเท่านั้น ถ้าต้องการรหัสภาษาที่สมบูรณ์ครบถ้วนสามารถค้นได้จาก MARC Code List for Language
หรือ
http://www.loc.gov/marc/language
นางสาวธัญญลักษณ์ เรืองรัมย์ บรรณารักษ์ ปี3 620112205008