Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาระบบเลือด Hemato Phisiology image, ตับมีบทบาทในการสร้างเลือ…
พยาธิสรีรวิทยาระบบเลือด Hemato Phisiology
หน้าที่ของระบบเลือด
- การขนส่ง (Transportation) การขนส่งสารอาหาร
-
- การควบคุม (Regulation)
ควบคุมความเป็นกรด-เบสของร่างกาย (Regulation of body pH) ขบวนการ เมแทบอลิซึมและปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย รวมทั้งการเผาผลาญอาหารหรือผล จากการได้รับยาหรือสารเคมีต่างๆ เข้าไป จะมีผลทำให้ความเป็นกรด-เบส ของร่างกายเปลี่ยนแปลง
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย (Regulation of body temperature) เลือดควบคุม อุณหภูมิหรือความร้อนภายในร่างกายโดยการกระจายความร้อนและการขับเหงื่อ
การควบคุมน้ำในร่างกาย (Regulation of water balance) เลือดทำหน้าที่รักษาสมดุลของของเหลวในกระแสเลือดกับของเหลวในเนื้อเยื่อโดยการแลกเปลี่ยนของน้ำ
การป้องกันการสูญเสียเลือด (Protection of blood loss) เมื่อเกิด บาดแผลขึ้นกับ ร่างกายไม่ว่าจะเป็นที่ผิวหนังหรืออวัยวะภายในของร่างกายเลือดจะมีกลไกการห้ามเลือด โดยอาศัยปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดรวมถึงเกล็ดเลือดช่วยให้เกิดการอุดปิดบาดแผล
การป้องกันสิ่งแปลกปลอม (Protection of foreign body) เลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรค ตลอดจนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย โดยอาศัยกลไกการทำงานของเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และแอนติบอดี (antibodies) ที่ไหลเวียนในกระแสเลือดลักษณะทางกายภาพของเลือด (Physical characleristics of blood)
ความหนืด (Viscosity) 4.5-5.5 (เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำ) อุณหภูมิ 37-38 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-เบส (pH) 7.35-7.45 องค์ประกอบของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (Salinity) 0.9 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก 8 % ของน้ำหนักร่างกาย ปริมาตร : เพศหญิง 5-6 ลิตร เพศชาย 4-5 ลิตร
องค์ประกอบของเลือด
-
-
-
- พลาสมา (Plasma)
ส่วนที่เป็นน้ำเลือด เป็นของเหลวที่เป็นตัวกลางให้เม็ดเลือดแขวนตัวลอยอยู่ คิดเป็นสัดส่วน ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ของเลือดมีลักษณะ เป็นของเหลวสีเหลืองใส ซึ่งมีสารต่างๆ ละลายอยู่ได้แก่ โปรตีนชนิดต่างๆ รวมถึงปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดคารโบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ (อิเล็กโทรไลต์) ฮอร์โมนและสาร อื่นๆ
-
-
- เม็ดเลือด (Corpuscles หรือ formed elements)
เซลล์เม็ดเลือดมีหลายชนิดส่วนที่เป็นเม็ดเลือด (Corpuscles หรือ formed elements) คือส่วนที่เป็นตัวเซลล์แขวนลอยไหลเวียนในหลอดเลือดทั่วร่างกายคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของเลือด โดยแบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ
-
-
-
• เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte , red blood cell)
ในเม็ดเลือดห่อหุ้ม สารละลายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) เอ็นไซม์ (enzyme) อิออน (ion)
เพื่อทำหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอด และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่ปรับความ สมดุลของกรดและเบส (acid - base buffer) ของเลือด
-
-
-
-
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
-
จึงมักใช้ค่าทั้งสองนี้เป็นดัชนีจำแนกชนิดของ anemia ชนิดของ anemia แบ่งได้หลายชนิดตามขนาดและปริมาณฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง
- Normocytic normochromic anemia
- Microcytic hypochromic anemia (iron deficiency anemia)
- Macrocytic hypochromic anemia (pernicious หรือ mononuclear anemia)
- Aplastic anemia เกิดจาก bone marrow ผิดปกติอาจจะเกิดขึ้นเองหรือ ได้รับรังสีมากเกินไป
- Hemolytic anemia เกิดจากเม็ดเลือดแดงถูกท าลายมากกว่าปกติ อาจจะเนื่องมาจาก
สารเคมี ระบบ reticuloendothelial ทำงานมากเกินไป
เม็ดเลือดขาว (Leucocyte , white blood cell)
เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดมีหลายชนิด
โดยมีหน้าที่หลัก คือ ป้องกัน และ ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
คุณสมบัติ 3 ประการ
1) เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยสู่เนื้อเยื่อไปยัง บริเวณที่มีเชื้อโรค (Diapedesis)
2) เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนเข้าไปหาเชื้อโรค โดยการดึงดูดของสารเคมีที่ถูกปล่อยจากเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย (Chemotaxis)
3) เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีคล้ายอะมีบา เข้าโอบล้อม และย่อยเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมนั้น (Phagocytosis)
-
เกล็ดเลือด (Thrombocyte , platelet)
มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ เมกะคาริโอไซต (megakaryocyte) ในไขกระดูก ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ช่วยทำให้เลือดหยุดไหลหรือห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผลกลไกห้ามเลือด (Homeostasis)
ขั้นตอนที่สำคัญ 3 ประการ
- หลอดเลือดหดตัว (Vasoconstriction) เมื่อเกิดบาดแผลสารซีโรโทนิน (serotonin) จากเกล็ดเลือดจะกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว
- การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation) คือ เซลล์ที่ได้รับความเสียหาย และ เกล็ดเลือด จะปล่อยสาร ADP (adenosine diphosphate) ออกมาท าให้เกล็ดเลือดเกิดการ เปลี่ยนรูปร่าง และรวมกัน (aggregate) อุดหลอดเลือดที่เกิดบาดแผล
- การแข็งตัวของเลือด (Coagulation, clot) เกิดจากปฏิกิริยาของเกล็ดเลือด สารต่างๆในพลาสมา และสารจากเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผล
-
-
การเปลี่ยนไฟบริโนเจน (fibrinogen) เป็นไฟบริน (fibrin) ทรอมบินที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไฟบริโนเจนเป็นไฟบริน โดยใช้แคลเซียมอิออน (Ca 2+) และปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดต่างๆ
การเกิดการหดตัวของก้อนเลือด (clot retraction) มีการหดตัวของก้อนเลือดและร่างแห ทำให้น้ำเลือด (ซีรั่ม) ออกจากก้อนเลือดและเป็นผลให้เกิดการเชื่อมติดบาดแผลมากขึ้น บาดแผลหลังจากเกิดก้อนเลือดอุดบาดแผลและไม่มีเลือดไหลออกมา
หมู่เลือดระบบ ABO
จัดเป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด เป็นหมู่เลือดระบบแรกที่มีการตั้งชื่อไว้ โดยอาศัยโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นแอนติเจน (antigen, Ag) บนผิวของเม็ดเลือดแดง ที่มีชื่อว่า Ag-A และ Ag-B สามารถแบ่งได้เป็นหมู่เลือดชนิดย่อย คือ หมู่เลือด กลุ่ม A B O และ AB สามารถตรวจสอบหมู่เลือดโดยอาศัยปฏิกิริยาทางวิทยาภูมิคุ้มกัน ระหว่าง แอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดง และแอนติบอดีในน้ำเลือด ที่จำเพาะต่อกันเกิดปฏิกิริยาการเกาะกลุ่ม (agglutination) ของเม็ดเลือดแดงทำให้สามารถทดสอบได้ว่าเลือดของคน มีหมู่เลือดอยู่ในกลุ่มใด
-
หมู่เลือดระบบ Rh
แอนติเจน D C E C และ e จัดเป็น หมู่เลือดที่มีความสำคัญมากในคนผิวขาว ในคนไทยพบว่า 99.9 เปอร์เซ็นต์ มีหมู่เลือด Rh+ จากการที่ผู้ที่มีหมู่เลือด Rh จะไม่มีแอนติบอดี ต่อ แอนติเจนของหมู่เลือด Rh จึงเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเม็ดเลือดแดงสลายในเด็กแรกเกิด (hemolytic disease of the newborn) มักพบในลูกคนที่สองของเแม่ที่มีหมูเลือด Rh- และได้รับการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี (immune antibody) จากลูกคนแรกที่มีหมูเลือด เป็น Rh+ เมื่อเลือดของแม่ที่มีแอนติบอดีนี้ผ่านรกไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ซึ่งมีแอนติเจนที่จำเพาะกันจึงก่อให้เกิดการสลายเม็ดเลือดแดงของลูกทำให้เกิดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด
-
ตับมีบทบาทในการสร้างเลือดช่วงประมาณสัปดาห์ ที่ 6 หรือเกือบปลายเดือนที่ 2 และจะสร้างเม็ดเลือดต่างๆ ได้สูงสุดใน เดือนที่ 4 และเดือนที่ 5 และจะ ค่อยๆ ลดบทบาทลงจนกระทั่งถึง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด
ม้ามในระยะเวลาไล่เลี่ยกันม้ามจะเริ่มมีหนาที่ในการสร้างเม็ดเลือด แต่เป็นเม็ดเลือดแดงมากกว่าเม็ดเลือดขาว ประมาณเดือนที่ 5 การสร้างเม็ดเลือดจะลด น้อยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งคลอด
หลังคลอดม้ามจะมีหน้าที่ในการสร้างลิมโฟไซต์ (lymphocyte) อย่างเดียวไปตลอดชีวิต
ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นอวัยวะแรกที่สร้างเม็ดเลือดพวกลิมโฟไซต์ก่อนอวัยวะน้ำเหลือง (lymphatic organ) อื่นๆ และเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างยิ่งในการให้กำเนิดลิมโฟไซต์ในร่างกาย
ต่อมน้ำเหลือง เป็นอวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดลิมโฟไซต์เริ่ม จาก เดือนที่ 4 และ 5 และจะคงสร้างไปตลอดชีวิต
นายวีระพล อินทะชัย UDA6380009