Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Tumor, Cancer and Neoplasm image, นายวีระพล อินทะชัย 164245753…
Tumor, Cancer and Neoplasm
Tumor ตามรากศัพท์ภาษาลาติน มีความหมายว่า เป็นก้อนเนื้อที่เกิดจากการบวมของเนื้อเยื่อ (Tissue Swelling) แต่โดยทั่วไปแล้วถูกนำมาใช้ในความหมายว่า เป็นก้อนเนื้องอก Neoplasm หรือ Neoplasia (neo = new, plasia = tissue or cells) (Technical term) หมายถึง ก้อนเนื้อผิดปกติที่เกิดจากความผิดปกติของการเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ อันเป็นผลเนื่องจากสิ่งกระตุ้นใด ๆ และ แม้ว่าสิ่งกระตุ้นดังกล่าวนั้นจะถูกกำจัดไปแล้ว แต่เซลล์ที่ ผิดปกตินั้นก็ยังเพิ่มจำนวนอยู่ตลอด ซึ่งจะตรงกันข้ามกับกลไกการปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้นของเซลล์เนื่องจากสิ่ง กระตุ้นนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของสารพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเพิ่มจำนวนของเซลล์
Cancer
“มะเร็ง” ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 โดยมีความหมายดังนี้ เนื้องอกชนิดร้ายเกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมไม่ได้ แล้วแทรกไปตามเนื้อเยื่อข้างเคียงและสามารถหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนที่บริเวณอื่นๆ ได้รักษาไม่ค่อยหาย”
Benign Neoplasm
Benign Tumor (non-cancerous) หมายถึง เนื้องอกไม่ร้ายแรงแม้ขนาดก้อนจะโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะไม่พบมีการแทรกหรือรุกรานเนื้อเยื่อปกติข้างเคียงและเกิดขึ้นเฉพาะที่โดยไม่มีการกระจายไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่น ๆ และลักษณะการเจริญทั้งรูปร่างและการทำงานของเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ คล้ายกับเซลล์หรือเนื้อเยื่อปกติที่เป็นต้นกำเนิดมากแสดงถึงการพัฒนาที่เกือบปรกติของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ ดังกล่าว (Well differentiation)
Malignant Neoplasm
Malignant Tumor เรียกอีกอย่างว่า Cancer ซึ่งหมายถึง เป็นเนื้องอกร้ายหรือมะเร็ง ที่มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์อย่างควบคุมไม่ได้และพบมีการแทรกหรือรุกรานของเซลล์มะเร็งไป ยังเนื้อเยื่อปกติ ที่เรียกว่า Invasion (Direct extension to neighboring organs and/or tissues)
Differentiation คือ ลักษณะของเซลล์เนื้องอก เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติที่เป็นเซลล์หรือ เนื้อเยื่อต้นกำเนิดทั้งในด้าน ลักษณะรูปร่างหน้าตาและการทำงาน (Function) Well differentiation – เซลล์เนื้องอกนั้น มีลักษณะรูปร่างและการทำงานใกล้เคียงกับเซลล์หรือ เนื้อเยื่อต้นกำเนิดมาก แสดงถึงว่า เนื้องอกชนิดดังกล่าวมีการเจริญที่ดี Moderately differentiation – เซลล์เนื้องอกนั้น มีการเจริญที่ก้ำกึ่งระหว่าง Well differentiation และ Poorly differentiation Poorly differentiation – เซลล์เนื้องอกนั้น มีลักษณะรูปร่างและการทำงานแตกต่างจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อปกติมากจนแทบจะบอกเซลล์หรือเนื้อเยื่อต้นกำเนิดไม่ได้ เนื้องอกที่ Lack of differentiation, Undifferentiated หรือ Anaplasia หมายถึง เนื้องอกที่มี ลักษณะรูปร่างและการทำงานของเซลล์หรือเนื้อเยื่อแตกต่างจากเซลล์ต้นกำเนิด และไม่สามารถบอกเซลล์ต้น กำเนิดได้เลย
-
-
-
Mixed tumor หรือ Pleomorphic adenoma
เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมน้ำลาย ประกอบด้วยเซลล์เนื้องอก 2 กลุ่มคือ ส่วนที่เป็น Myxoid stroma และ ส่วนที่เป็น Epithelial sheets หรือ glands โดยมีเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิดเพียงชนิดเดียว คือ Myoepithelial cells
Teratoma
เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของ Germ cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่จะเจริญเป็นเนื้อเยื่อในกลุ่มทั้ง Ectoderm, Mesoderm and Endoderm ดังนั้นเนื้องอกดังกล่าวจะประกอบด้วย เซลล์เนื้องอกหลากหลาย ชนิดที่เจริญมาจาก Ectoderm, Mesoderm and Endoderm เช่น ผิวหนังพร้อมทั้งขน และต่อมไขมันที่ ผิวหนัง เนื้อเยื่อไขมัน เนื้อเยื่อสมอง และ เยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหารเป็นต้น และ ถ้าเนื้องอก ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายถุงน้ำจะเรียกว่า Dermoid cyst
Cancer
มะเร็งเป็นโรคของเซลล์ที่มีความผิดปกติในระดับพันธุกรรม (genetic aberration) ทำให้มีการ เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของเซลล์อย่างผิดปกติ และอยู่นอกเหนือควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนมะเร็งขึ้นมา
กลไกการเกิดมะเร็ง (Carcinogenesis, oncogenesis)
Proto-oncogene ยีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนซึ่งออก ฤทธิ์ฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมาย บางชนิดมีหน้าที่ในการควบคุมการสร้างตัวรับสัญญาณ (Signal receptor) และการถ่ายทอดสัญญาณลงไปในนิวเคลียส (Signal transduction) ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ตามปกติสำหรับยีนก่อมะเร็ง (Oncogene) คือ Proto-oncogene ที่เกิดการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดการผลิตโปรตีนเพิ่มขึ้น (gain of function
Tumor suppressor gene มีหน้าที่ควบคุมการสร้างสัญญาณและฮอร์โมนในการหยุดการแบ่งเซลล์ เพื่อให้เกิดการซ่อมแซมสารพันธุกรรมก่อนจะส่งผ่านไปยังเซลล์รุ่นต่อไป
DNA repair genes ควบคุมการสร้างโปรตีนซึ่งทำหน้าที่ในการแก้ไขซ่อมแซมสาย DNA ที่เกิดความเสียหายในขั้นตอนการสร้างสาย DNA ในระหว่างขบวนการแบ่งเซลล์การกลายพันธุ์ของยีนกลุ่มนี้น าไปสู่ความ ไม่เสถียรทางพันธุกรรม (genetic instability)
สาเหตุของมะเร็ง
ความผิดปกติของเซลล์จนเกิดเป็นมะเร็งนั้นประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนต่อเนื่องกัน
ซึ่งโดยมากจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงก็คือการผ่าเหล่าของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนของเซลล์
-
-
-
DNA virus ที่ก่อมะเร็ง
Hepatitis B virus (HBV) DNA virus ที่ก่อมะเร็งการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ที่ตับแบบเรื้อรังจะเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง ตับ ชนิด Hepatocellular carcin
RNA virus ที่ก่อมะเร็ง
Human T-Cell Leukemia Viruses I (HTLV I) ซึ่งจะติดเชื้อที่เซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัย ชนิด T ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์ดังกล่าว ร่วมกับการผ่าเหล่าของยีน จึงเกิดมะเร็งของ เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัย ชนิด T ทั้งที่เป็นชนิด T cell leukemia และ lymphoma
-
-
โรคมะเร็งที่พบบ่อย
มะเร็งตับ
-
- Hepatocellular carcinoma
- Intrahepatic cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย ในระยะเริ่มต้นผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอากรผิดปกติ มักแสดงอาการเมื่อมีการลุกลามของโรคมากขึ้น อาการที่พบได้แก่ เบื่ออาหาร น้ าหนักลด ปวดท้องช่วงบน คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยเพลีย ท้องบวมโต ตา เหลือง ตัวเหลือง อุจจาระสีซีด
การคัดกรองมะเร็งตับ Hepatocellular carcinoma ไม่แนะนำในประชาชนทั่วไป เนื่องจากไม่มี ข้อมูลที่ยืนยันว่าช่วยลดการตายจากมะเร็งตับในประกรทั่วไป แต่แนะนำให้คัดกรองมะเร็งตับในประชากรกลุ่ม เสี่ยง เช่น ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Chronic HBV or HCV infection, ผู้ป่วย Liver Cirrhosis เป็นต้น ซึ่งจะทำการคัดกรองโดยการตรวจเลือด และ การทำอัลตราซาวด์ช่องท้องทุก 6 เดือน
การวินิจฉัย อาศัยการตรวจเลือด ภาพถ่ายทางรังสี และการตรวจชิ้นเนื้อ (liver biopsy) เพื่อยืนยัน คำวินิจฉัย และประเมินระยะของโรค เพื่อวางแผนการรักษา
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม ชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ มะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์ของท่อน้ำนม (milk-producing ducts) ที่เรียกว่า invasive ductal carcinoma พบประมาณร้อยละ 80 ของ Invasive Breast Cancer ส่วน มะเร็งที่มีกำเนิดจากเซลล์ของต่อมน้ำนม (Milk producing gland) ที่เรียกว่า invasive lobular carcinoma พบไม่บ่อย ประมาณร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือซึ่งพบน้อยเป็นมะเร็งอื่นๆที่เกิดจากเซลล์ชนิดอื่นๆ ที่พบในบริเวณ เต้านม เช่น Phylloides tumor เกิดที่ connective tissue ของเต้านม ส่วนใหญ่ เป็น benign แต่มีส่วนน้อย ที่เป็น Malignant
อาการและอาการแสดง
- คลำได้ก้อนที่เต้านม (breast lump)
- ขนาดและรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป
- มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น ผิวหนังบวมแดง อักเสบ คล้ายผิวส้ม - หัวนมบุ๋มยุบ จาก
ปัจจัยเสี่ยง
-
-
- มีประวัติเคยตรวจพบเซลล์เต้านมที่ผิดปกติ
-
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Screening for Women at Average Risk 2015 Guideline From the American Cancer Society, JAMA. 2015;314(15):1599-1614. doi:10.1001/ jama.2015.12783)
การรักษามะเร็งเต้านม
การผ่าตัด การรักษาด้วยยาต้าน มะเร็ง การฉายแสง และแบบผสมผสาน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์
-
นายวีระพล อินทะชัย