Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Bronchitis - Coggle Diagram
Acute Bronchitis
สาเหตุ
-
มีการติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น Mycoplasma pneumonia, Clamydia pneumonia, Streptococcus pneumonia, Hemophilus influenza, Moraxella catarrhalis )
การสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้ขนอ่อน (ciia) ที่เยื่อบุหลอดลม
เคลื่อนไหว ( โบกพัดเพื่อปกป้องผิวหลอดลม ) น้อยลง เยื่อบุหลอดลมถูกระคายเคือง ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้น มีเสมหะมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากควัน ไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง สารเคมี
-
-
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายหวัด ได้แก่ มีไข้ หรืออาจไม่มีไข้ก็ได้ มีน้ำมูกคัดจมูกนำมาก่อนในช่วง 3-5 วัน ตามมาด้วยอาการของหลอดลม โดยมีอาการไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด ระยะแรกจะไอแห้งๆ (dry and harshcough) ผู้ป่วยบางรายมีไอเสียงก้อง (brassy cough) ต่อมาไอมากขึ้นและมีเสมหะ (productive cough) โดยเสมหะมีลักษณะสีขาว หรือใสเหนียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเซลล์เม็ดเลือดขาว (infilammatory cells) มีการหลั่ง peroxidase enzyme ทำให้สีของเสมหะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ในเด็กเล็กที่มีการกลืนเสมหะอาจมาด้วยอาการไอจนอาเจียน เด็กโตสามารถไอขับเสมหะได้แต่อาจไอมากจนมีอาการเจ็บหน้าอก ระยะนี้นานประมาณ1-2 สัปดาห์และมักมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์)
-
อาการหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มักหายภายใน 2 สัปดาห์
และสามารถหายได้เอง ผู้ป่วยที่มีอาการไอนานมากกว่า 2-4 สัปดาห์ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรต้องซักประวัติตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อาการแสดงที่ตรวจพบขึ้นกับอายุของผู้ป่วยและระยะของโรค โดยระยะแรกมักตรวจพบไข้ต่ำ มีน้ำมูก กัดจมูก เยื่อบุตาอักเสบ คอแดงในระหว่างการดำเนินของโรค อาการการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจะลดลง ในระยะต่อมาจะไอมากขึ้น ฟังปอดได้ยินเสียง harsh breath sound เมื่อมีเสมหะมากขึ้น อาจฟังปอดได้ยินเสียง rhonchi หรือ coarse crepitation (crackle) ไม่มี
หายใจเร็วหรือหายใจ อกบุ๋ม ผู้ป่วยที่มีโรคหืดร่วมหรือเด็กเล็กที่มีเสมหะอุดกั้นในหลอดลมอาจตรวจได้ยินเสียง wheeze ร่วมด้วยในรายที่มีสาเหตุจาก Mycoplasma pneumoniae มักมีอาการไอมาก แต่ตรวจพบเสียงผิดปกติของปอดน้อย
กลไกการเกิดโรค
โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) ในเด็กเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อบริเวณหลอดลม ซึ่งอยู่ลึกลงไปจากกล่องเสียงไปยังปอดส่วนล่าง ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนอยู่ตรงกลางระหว่างทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก ลำคอ และท่อลม) และทางเดินหายใจส่วนล่าง (เนื้อปอด) โรคหลอดลมอักเสบเป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่งของเด็ก และพบได้ในช่วง 2 ขวบปีแรกโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงอายุ 6 เดือน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กเล็กต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
-
-
พยาธิสภาพ
เชื้อไวรัส เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยที่eosinophils Iymphocytes และ macrophages จะถูกกระตุ้นให้มีการหลั่ง Inflammatory mediator เช่นcytokine,interleukin-8 ทำให้เยื่อบุของทางเดินหายใจมีการบวม มีการสร้างเยื่อเมือกและสารคัดหลั่งเพิ่มมากขึ้น เกิดการกระตุ้นให้มีการหดเกร็งของหลอดลมเกิดการอุดกั้นของหลอดลมฝอยและทางเดินหายใจ (airway obstruction ) ส่งผลให้มีการไหลวนของอากาศภายในถุงลม(air-trapping) ทำให้หลอดลมแฟบยุบลง (lobular collapse) และมีปอดแฟบเป็นหย่อม ๆ การแลกเปลี่ยนก๊าชลดลงจึงส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนลดลง นอกจากนี้อาจมีการติดเชื้อลงสู่เนื้อเยื่อปอดทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบ (pneumonia) มีการสร้างน้ำและเมือกเพิ่มขึ้นบริเวณถุงลม ซึ่งจะมีเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงมารวมตัวบริเวณที่มีการอักเสบมากขึ้น จะพบการบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจและมีเสมหะจำนวนมากในถุงลมและและหลอดลมฝอย ทำให้ทางเดินหายใจเกิดการอุดกั้น ความยืดหยุ่นของปอดและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าชลดลง