Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหืดในระยะเฉียบพลัน (Acute Asthmatic attack), นางสาวณัฏฐ์พัชร์ …
โรคหืดในระยะเฉียบพลัน
(Acute Asthmatic attack)
ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลันในทางที่เลวลงของอาการหืด โดยจะเกิดการหดเกร็งของหลอดลม หลอดเลือดขยายตัว มีการรั่วซึมของของเหลวจากหลอดเลือดเข้าท่อทางเดินหายใจทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุหลอดลมเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน
สาเหตุของโรคหอบหืด
ปัจจัยภายในตัวเอง
ปัจจัยทางกรรมพันธุ์เป็นโรคหืด หรือภูมิแพ้อื่น ๆ
ปัจจัยทางด้านเพศโดยในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ เด็กชายจะเป็นโรคหอบหืดมากกว่าในเด็กผู้หญูิง
ประวัติผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้
ปัจจัยภายนอก
มลพิษจากการทํางาน เช่น ก๊าซพิษต่าง ๆ ฝุ่นแป้ง ฝุ่นจากการไสไม้
การได้รับสารที่ก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น เศษโปรตีนจากสัตวเลี้ยง
มลภาวะทางอากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โอโซน ไนโตรเจนออกไซด์
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติป่วย
มีอาการไอ หอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก หรือหายใจมีเสียงวี้ด (wheeze) โดยเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
จากอาการและการตรวจร่างกาย
หน้าอกโป่ง ถ้าเป็นเรื้อรังมานาน
มักจะมีอาการของโรคภูมิแพ้อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผื่นแพ้อาหาร ผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมแพ้
ผู้ป่วยมีอาการไอเหนื่อยหอบ หายใจลําบาก หายใจมเสียงวี๊ด (wheeze) ตอนหายใจเขาหรือหายใจออกแรง ๆ
อาการและอาการแสดง
หอบเหนื่อยหายใจลําบาก หายใจมีเสียงดังวี้ด ๆ ไอมาก ตื่นมากลางดึกโดยมีอาการจับหืดเฉียบพลัน
พยาธิสภาพ
การอักเสบของเซลล์สารตัวกลาง และเนื้อเยื่อบุผิวทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดลมหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองะกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์หลั่งสารอิมมูโนโกลบูลินอีทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมมีการหดตัวอย่างเฉียบพลัน เยื่อบุหลอดลมบวมเมื่อหลอดลมตีบ ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด
แนวทางการรักษาโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน
การให้ออกซิเจน เพื่อแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจน
การให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดการบวมและการอักเสบของหลอดลม
การให้ยาขยายหลอดลม เพื่อแก้ไขภาวะหลอดลมหดเกร็ง
การพยาบาล
การช่วยในภาวะฉุกเฉิน ให้ยาพ่นขยายหลอดลม
ถ้าหายใจลำบากมาก ควรให้ออกซิเจนพร้อมกับการพ่นยาขยายหลอดลม
รายที่หอบเมื่อออกกำลังกาย ป้องกันโดยพ่นยาขยายหลอดลมก่อนออกกำลังกาย 15 นาที
แนะนำในการพ่นยาขยายหลอดลมชนิด Metered dose inhaler เมื่อมีอาการหอบ และก่อนออกกำลังกาย
ให้คำแนะนำในการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
ช้ยาควบคุมอาการ (กลุ่มสเตียรอด์) อย่างสม่ำเสมอ
เด็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปี ควรให้เด็กพ่นยาโดยใช้กระบอกพ่นยา
ในผู้ป่วยที่ไอ มีเสมหะมาก ถ้ามีอาการหอบควรพ่นยาขยายหลอดลม
นางสาวณัฏฐ์พัชร์ หนูจัน เลขที่ 23