Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม - Coggle Diagram
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม
สาเหตุ
การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องและทายาทสายตรง
ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง และ สารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (มากกว่า 25 หรือมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว)
พยาธิสภาพ
มีก้อนเนื้องอกในชั้น mucosa และ submucosa มะเร็งอาจจะกระจายเข้าไปชั้นที่ลึกกว่า
และกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
โรคมะเร็งลำไส้แบ่งเป็น 4 ระยะ
คือระยะที่ 1 พบมะเร็งในผนังลำไส้
ระยะที่ 2 มะเร็งผ่านลำไส้เข้าไปในชั้นที่ลึกกว่า
ระยะที่ 3 กระจายไปต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่ 4 กระจายไปต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นพบบ่อยที่สุดคือตับ
อาการ
พฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไป จากปกติของบุคคลอาจจะถ่ายบ่อยครั้งขึ้น หรือท้องผูกมากขึ้น นอกจากนี้จะมีถ่ายไม่สุดหรือปวดเบ่งได้
มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก
มีเลือดสดๆ หรือเลือดแดงคลํ้าปนออกมากับอุจจาระ
อุจจาระมีลักษณะผิดปกติจากเดิม ลักษณะก้อนเปลี่ยนเป็นเส้นแบนคล้ายตังเม
มีท้องอืด ปวดท้องแน่นท้อง จุกเสียด มีลมในลำไส้มาก(Abdominal Discomfort)
เหนื่อย อ่อนเพลียไม่สามารถทำงานที่เคยทำตามปกติได้
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะลำไส้อุดตัน (Obstruction)
ภาวะลำไส้แตกทะลุ (Perforation)
ก้อนมะเร็งติดอวัยวะใกล้เคียง (Locally advanced)
ก้อนมะเร็งกระจายทั่วท้อง (Peritoneal metastasis
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไหม้เกรียมซึ่งมีสารก่อมะเร็ง
รับประทานผัก เช่น แครอท ผักใบเขียว ฟักทอง ให้มากขึ้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ชีพจรจะต้องเต้นเร็วขึ้น ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจควรเป็น (220-อายุ) x 80% และต้องออกกำลังกายต่อเนื่อง 20-40 นาที
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีประวัติเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือตรวจบ่อยกว่าคนทั่วไป
การรับประทานแอสไพรินต่อเนื่องนานๆ มีผลช่วยป้องกันมะเร็งได้ถ้าอายุเกิน 50 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปัญหาที่ 1 เสี่ยงต่อการขาดสารน้ำ สารอาหาร เนื่องจาก มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย
2.ไม่มีอาการของภาวะขาดน้ำ และอาหาร เช่นกระสับกระส่าย ตาลึก ปากแห้ง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ชัก เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ตรวจสัญญาณชีพ
ดูแลการไหลเวียนเลือดให้เพียงพอ โดยการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา หรือการให้เลือดทดแทน
ลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงหรือทำกิจกรรมบนเตียง โดยจัดให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ประเมินสภาวะการขาดอาหาร น้ําหนักลด หรือต่ํากว่าเกณฑ์ปกติตามอายุความ สูงและโครงสร้าง อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
ปรึกษาโภชนคลินิก/โภชนากร เพื่อคํานวณสารอาหารที่เหมาะกับสภาพผู้ป่วย และ กําหนดแผนในการให้อาหารในแต่ละมื้อและแต่ละวัน
สังเกตการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาดสารอาหาร
ข้อมูลสนับสนุน
OD: -
SD: รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
ปัญหาข้อที่ 3 เสี่ยงต่อเซลล์ในร่างกายอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากตัวนำออกซิเจน ลดลง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เซลล์ในร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ข้อมูลสนับสนุน
SD: ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดผสมกากเล็กน้อย
OD: อุณหภูมิร่างกาย 36.6 องศาเซลเซียส ชีพจร 82 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ 20 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 150/90มิลลิเมตรปรอท ร่างกายมีภาวะซีด
เกณฑ์การประเมิน
1.ไม่มีเลือดออกทางระบบขับถ่ายอุจจาระ
2.ไม่มีภาวะซีด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนประเมินอัตราการหายใจชีพจร สีของเล็บปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนังลักษณะการซีดเขียว เพราะอาการหายใจหอบชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้าเยื่อบุผิวหนังลักษณะการซีดเขียวแสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจนเพื่อรายงานแพทย์พิจารณาการให้ออกซิเจน
จัดท่านอนศีรษะสูงเพราะทำให้กระบังคมเคลื่อนต่ำลงปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียงเพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรมทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
Vital sign ทุก 4 ชมเพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
ประเมิน O2 saturation ทุก 4 ชมเพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
ประเมิน
ผู้ป่วยขับถ่ายได้เป็นปกติ ไม่มีเลือดปนกับอุจจาระ
ไม่มีอาการซีด
ปัญหาที่ 5 เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงในระหว่างและภายหลังการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
OD: ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ 256 mg/dl ระดับไขมันในเลือด Total cholesterol 289 mg/dl, Triglyceride 202 mg/dl. รับประทานยารักษาต่อเนื่อง Glibenclamide (5mg.) 2 เม็ด ก่อนอาหารเช้า ความดันโลหิต 150/90 มิลลิเมตรปรอท
SD: ผู้ป่วยน้ำหนัก 82 กิโลกรัม ส่วนสูง 176 เซนติเมตร BMI 25.24 กิโลกรัม/ ตาราง เซนติเมตร ให้ประวัติรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ค่อยออกกำลังกายเพราะคิดว่าป่วยเบาหวาน ไม่ควรทำกิจกรรมมาก
วัตถุประสงค์
ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนผ่าตัด
ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนผ่าตัด
ผู้ป่วยปลอดภัยเข้ารับการผ่าตัดได้ตามกำหนด
เกณฑ์การประเมินผล
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 110 mg/dl.
ระดับ Total cholesterol น้อยกว่า 200 mg/dl
ระดับ Triglyceride น้อยกว่า 150 mg/dl.
ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ค่าประเมินความเสี่ยงในการผ่าตัด และการให้ยาระงับความรู้สึกตาม American Society of Anesthesiologists (ASA classification)
กิจกรรมการพยาบาล
จัดโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดัน โลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ตามแนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเอง (Self-management support โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 อาหาร แนะนำผู้ป่วยให้ได้รับประทานอาหารหลัก 5 หมู่ให้ได้พลังงานและสารอาหารเพียงพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และควบคุมระดับความดันโลหิต
1.2 กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายโดยคำนวณจากน้ำหนักตัว 82 กิโลกรัม x 30 มิลลิลิตร ผู้ป่วยควรได้รับน้ำวันละ 2,460 มิลลิลิตร
1.3 ออกกำลังกาย ในผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่รับการรักษาทุกประเภทช่วยกระตุ้นภาวะโภชนาการ กระตุ้นภูมิต้านทานโรค เน้นการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต และส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
1.4 อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ก่อนนัด ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) จะมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน หอบ ซึมลง รู้สึกตัวลดลง หมดสติ
1.5 รับประทานยาอินซูลินให้ถูกต้องตรงตามคำสั่งการรักษาของแพทย์โดยระดับน้ำตาล ในเลือดควรอยู่ในเกณฑ์ 70-110 mg/dl
ประเมินผลการพยาบาล
ระดับน้ำตาลในเลือด 105 gm/dl.
ระดับ Total cholesterol 198 mg/dl
ระดับ Triglyceride น้อยกว่า 126 mg/dl.
ความดันโลหิต 135/80 mmHg.
ค่าประเมินความเสี่ยง ตาม American Society of Anesthesiologists (ASA classification) = 2
ปัญหาที่ 6 มีภาวะเครียด เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต
วัตถุประสงค์
ภาวะเครียดลดลงและสามารถปรับตัวให้เข้ากับแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงได้
เกณฑ์การประเมิน
สามารถบอกวิธีปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและให้ความร่วมมือในการรักษา
มีสีหน้าที่กังวลน้อยลง สดชื่น
ข้อมูลสนับสนุน
SD:ผู้ป่วยเล่าว่ามักจะพูดคุยและปรึกษากับภรรยา และแสดงอาการร้องไห้เพื่อเป็นการระบายออกมา
OD:ผู้ป่วยมีสีหน้าที่กังวล หม่นหมอง ไม่สดชื่น
กิจกรรมการพยาบาล:
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจว่าผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติและสามารถมีชีวิตยืนยาวได้อย่างมีคุณภาพที่ดี ถ้ามีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติซักถามในสิ่งที่สงสัยและตอบปัญหาต่างๆให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจ
แนะนำให้ญาติมาเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงการพูดคุยในสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล
แนะนำวิธีการผ่อนคลายความเครียดโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น การฟังเทปธรรมะ การฟังวิทยุที่ชอบ การทำสมาธิ เป็นต้น
การประเมินผลการพยาบาล:
ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ สีหน้าที่กังวล หม่นหมอง ไม่สดชื่น พูดคุยกับพยาบาลและญาติมากขึ้น ยิ้มมากขึ้น สามารถบอกวิธีปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและให้ความร่วมมือในการรักษา
ปัญหาที่ 2 เสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด เนื่องจากมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณช่องท้องจากการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
OD: แผลผ่าตัดมีสารคัดหลั่งสีแดงจางๆ ซึมเปื้อนผ้าปิดแผล
SD: -
วัตถุประสงค์
เพื่อลดการติดเชื้อของแผลผ่าตัดและบริเวณท่อระบาย
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการอักเสบ ติดเชื้อ
แผลแห้ง ไม่มีสารคัดหลั่งและส่งกลิ่นเหม็น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลทำความสะอาดแผล โดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะ ตามแผนการรักษาของแพทย์
การประเมินผล
แผลแห้ง ไม่มีสารคัดหลั่งและส่งกลิ่นเหม็น
ปัญหาที่ 4 ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลบริเวณผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
SD: ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวดแผล
OD: ประเมิน Pain score = 7 คะแนน
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาอาการปวด
เกณฑ์การประเมิน
สีหน้าท่าทางดีขึ้น ไม่บ่นปวดแผล
ผู้ป่วยขอยาแก้ปวดน้อยลง
กิจกรรมการพยาบาล
ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
สังเกตบริเวณแผลผ่าตัดลักษณะอาการแสดงของการอักเสบติดเชื้อ
ดูแลทำความสะอาดแผลด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงสังเกตและประเมินอาการผิดปกติ
แนะนำผู้ป่วยไม่ควรแกะผ้าปิดแผลขณะเช็ดตัวทำความสะอาดร่างกายระมัดระวังไม่ให้ผ้าปิดแผลเปียกน้ำ
ประเมิน
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น ยิ้มแจ่มใส ไม่บ่นปวดแผล
ผู้ป่วยไม่ขอยาแก้ปวด