Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน…
การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม
การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านชาวมอญบ้านบางกระดี่
ความเชื่อของชาวมอญ
เมื่อเกิดแผลทางผิวหนัง ชาวมอญก็จะไปหาหมอเป่า เพื่อรักษาอาการป่วยทางผิวหนังให้หาย
โดยหมอเป่าจะใช้ปูนแดง หมาก พลู ตำให้ละเอียดแล้วเคี้ยวและนำไปพ่นพร้อมกับสวดคาถากำกับ เนื่องจากปูนแดง หมาก พลู มีคุณสมบัติที่เย็น และลดอาการอักเสบจากการปวดบวม
เมื่อทำการรักษาโดยการเป่าลงไปบริเวณแผลนำ้ร้อนลวกจะทำให้อาการบรรเทาลง
การให้การพยาบาล
พยาบาลจึงอธิบายให้ผู้ป่วยฟังว่า การเคี้ยวสมุนไพร แล้วนำไปพ่นบริเวณแผลที่อักเสบ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
พยาบาลจึงอธิบายให้ผู้ป่วยฟังว่า การเคี้ยวสมุนไพร แล้วนำไปพ่นบริเวณแผลที่อักเสบ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
แนวคิดการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของ Josepha Campinha Bacote (1999)
-
สมรรถนะด้านการรับรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
พยาบาลมีการเคารพสิทธิ์ของผู้ป่วย และมีความเข้าใจด้านความเชื่อของผู้ป่วย เช่น นายวัทพูดคุย
กับพยาบาลขอพานางฮินกลับไปรักษาตามความเชื่อหากไม่ดีขึ้นตนจะพากลับมารักษาที่โรงพยาบาล
สมรรถนะด้านการติดต่อสื่อสาร
พยาบาลไม่สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้ เนื่องผู้ใช้ภาษามอญในการสื่อสาร พยาบาลจึงสื่อสารกับแฟนที่พูดภาษากลางได้
สมรรถนะด้านการบริหารความเสี่ยง
พยาบาลสามารถวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้ เช่น ปัญหาพยาบาลกับผู้ป่วยคือ ผู้ป่วย
มีความต้องการที่จะกลับไปรักษาตามวัฒนธรรมความเชื่อในชุมชนของตน พยาบาลจึงช่วยอธิบายถึง
ความเสี่ยงที่เกิดจากการรักษาตามวัฒนธรรมความเชื่อของนางฮิน
สมรรถนะด้านกระบวนการพยาบาล
พยาบาลได้มีการอธิบายการรักษาให้ที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย โดยอธิบายว่าการเคี้ยวสมุนไพรแล้วนำไป
พ่นบริเวณแผลที่อักเสบ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เนื่องจากน้ำลายอาจเป็นส่วนที่แพร่กระจายเชื้อโรค
หรือเชื้อแบคทีเรียจนทำให้เกิดโรคติดต่อจากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่งได้
สมรรถนะด้านจริยธรรม
พยาบาลมีการให้เกียรติและเคารพในความเชื่อของผู้ป่วย โดยมีการให้ข้อมูลและอธิบายการรักษา
แนวคิดการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมโดยเน้นสมรรถนะทางวัฒนธรรมของผู้ให้บริการ
-
ด้านความรู้ทางวัฒนธรรม (Cultural knowledge)
พยาบาลรับรู้ความต้องการของผู้ป่วย ที่ต้องการกลับไปรักษาตามความเชื่อของหมอพื้นบ้านในชุมชนของตนเอง
ด้านความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม (Cultural awareness)
พยาบาลยอมรับในความเชื่อและความแตกต่างในการรักษาแบบพื้นบ้านของผู้ป่วย โดยปราศจากอคติ
ด้านทักษะในการดูแลทางวัฒนธรรม (Cultural skill)
พยาบาลได้พยายามสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านทางแฟนหนุ่มของผู้ป่วย เมื่อรับรู้ความต้องการของผู้ป่วย
ด้านความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการต่างวัฒนธรรม (Cultural encounter)
พยาบาลรับรู้ความสามารถของผู้ป่วยว่าไม่สามารถใช้ภาษากลางในการติดต่อสื่อสารได้ จึงเลือกที่จะ
สื่อสารกับผู้ป่วยผ่านทางญาติที่สามารถสื่อสารภาษากลางได้ โดยสื่อสารด้วยวาจาสุภาพ