Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง - Coggle Diagram
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึด
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
แบบเน้นตัวผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self-Directed Learning)
หลักการ
สามารถช่วยฝึกฝนให้ผู้เรียนพึ่งพาตนเองและพัฒนาตนเองได้
เนื่องจากผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้แตกต่างกัน การให้ผู้เรียนนำตนเองและเลือกวิธีการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดี
นิยาม
การให้โอกาสผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยครูอยู่ในฐานะกัลยาณมิตร ทำหน้าที่สนับสนุนผู้เรียน รวมทั้งร่วมเรียนรู้ไปกับผู้เรียนและติดตามประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนมีการสนับสนุน ส่งเสริม ให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือแก่ผู้เรียน
ผู้เรียนมีการแสวงหาแหล่งความรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการเลือกวิธีเรียนด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง
ผู้เรียนมีการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผล โดยใช้การประเมินผลของตนเองและผู้เรียนประกอบกัน
การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ (Individualized Instruction)
นิยาม
การจัดสภาพการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผู้สอนจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยผู้เรียนและทดสอบผู้เรียนก่อนเรียน
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการวางแผนการเรียนให้สนองความต้องการของผู้เรียน
ผู้สอนมีการจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
ผู้สอนมีการจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการคล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน
ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ตามแผนผู้สอนดูแล และให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคล
ผู้สอนมีการทดสอบผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียนรู้ก่อนการเรียน
ผู้สอนจัดทำแฟ้มการเรียนของผู้เรียนเป้นรายบุคคลและใช้ผลทดสอบวางแผนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนต่อไป
ผู้สอนมีการวินิจฉัยความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ผู้เรียนทำแบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้
ผู้สอนมีการให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับระบบและวิธีการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลักการ
ผู้เรียนแต่ละคนมีภูมิหลัง สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด แบบการเรียนรู้ ความสนใจ การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี พัฒนาไปตามความสามารถ และศักยภาพของแต่ละบุคคล
แบบเน้นทักษะกระบวนการ
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม (Group Process-based Instruction)
นิยาม
การดำเนินการเรียนการสอน โดยที่ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงาน กิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม พร้อมทั้งสอน ฝึก แนะนำผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์ ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ผู้สอนมีการชี้แนะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ผู้เรียนมีการวิเคราะห์การเรียนรู้ของตนเอง
ผู้สอนวิเคราะห์และประเมินผลการเรียน
หลักการ
เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน และมีการดำเนินงานร่วมกัน
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย (Research-Based Instruction))
นิยาม
การจัดสภาพของการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนให้ผู้เรียนประมวลผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการสอน
ผู้สอนฝึกฝนทักษะวิจัยที่จำเป็นหรือเกี่ยวข้องให้ผู้เรียน
ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกัน
ผู้สอนนำผลวิจัยมาใช้ประกอบการสอน
ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้
หลักการ
เป็นกรับวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนมีเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การจัดการเรียนการสอน โดยเน้นกระบวนการสืบสวน (Inquiry-Based Instruction)
นิยาม
การดำเนินการเรียนการสอน โดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม ความคิด และลงมือหาความรู้ เพื่อหาคำตอบและสรุปด้วยตนเอง
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีกระบวนการ กิจกรรมที่จะกระตุ้นผู้เรียน
ผู้สอนมีสื่อที่สามารถใช้ประกอบได้
ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้าโดยใช้กระบวนการ
ผู้สอนช่วยพัฒนาทักษาะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน
ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียน
หลักการ
การสืบสวนเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำเป็นต่อการแสวงหาและศึกกษาข้อความรู้ต่าง ๆ
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Instruction Emphasizing Self-Learn Process)
นิยาม
การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนดำเนินการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนเลือกศึกษาได้ตามความสนใจ
ผู้สอนจัดเตรียมสื่อกิจกรรมให้ผู้เรียน
ผู้สอนพูดคุยกับผู้เรียน
ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนพบปะพูดคุยกับผู้เรียนเป็นระยะ ๆ
ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียน
หลักการ
ผู้เรียนทุกคนมีความใฝ่เรียนรู้อยู่เป็นธรรมชาติ หากได้รับการส่งเสริมให้รับผิดชอบและฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้ตลอดชีวิต
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด (Thinking-Based)
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน
ผู้สอนมีการใช้รูปแบบ วิธีการ หรือเทคนิคการสอนต่าง ๆ ในการกระตุ้นผู้เรียน
ผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิด และกระบวนการคิดต่าง ๆ ให้ผู้เรียน
ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายโต้ตอบกัน
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปประเด็น
ผู้สอนมีโอกาสและเวลาให้ผู้เรียนในการใช้ความคิด
ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้
หลักการ
กระบวนการคิดเป็นกระบวนการทางสติปัญญา ซึ่งอาศัยสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
นิยาม
การดำเนินการเรียนการสอนโดบผู้สอนใช้รูปแบบ วิธีการและเทคนิคการสอนต่าง ๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดขยายต่อเนื่อง
แบบเน้นการบูรณาการ
นิยาม
การนำเสนอเนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องกันมาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกัน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม
ลักษณะการบูรณาการ
การบูรณาการภายในวิชา (intradiscilinary)
การบูรณาการระหว่างวิชา (interdiscciplinary)
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้คำปรึกษาแนะนำของผู้สอน
ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนองวัตุประสงค์
เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความรู้ที่นำมาบูรณาการ
เป็นกิจกรรมที่เน้นความสัมพันธ์ภาพรวม
เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ที่นำมาบูรณาการครบ
เป็นกิจกรรมที่เน้นความเข้าใจไม่ใช่เพียงจำเนื้อหา
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายสะท้อนความคิดและสรุปการเรียนรู้
ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้สอนและผู้เรียนมีการจัดเตรียมหน่วยบูรณาการ
หลักการ
การบูรณาการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ การแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านประกอบกัน
การบูรณาการช่วยเปิดโลกทักศน์ของผู้สอนและผู้เรียนให้กว้างขึ้น ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะด้าน เฉพาะทาง
ในธรรมชาติและชีวิตจริง ทุกสิ่งมีความสัมพันธ์กัน การเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะเป็นองค์รวมไม่ใช่แบ่งเป็นแท่งหรือเป็นท่อน
แบบเน้นประสบการณ์
การจัดการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม (Service Learning)
นิยาม
การดำเนินการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปมีประสบการณ์ในการรับใช้สังคม
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนวางแผนการรับใช้สังคมในกิจกรรม
ผู้เรียนจดบันทึกข้อมูลการรับใช้สังคม
ผู้เรียนศึกษาความต้องการของชุมชน
ผู้เรียนวิเคราะห์เหตุการณ์และคิดพัฒนาสร้างข้อสรุปเป็นความคิดรวบยอด
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ผู้เรียนกำหนดขอบเขตการศึกษาชุมชน
ผู้เรียนนำความคิดรวบยอดไปทดลองหรือประยุกต์ใช้
ผู้สอนติดตามผลและให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการนำไปใช้
หลักการ
การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม อันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิด ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning)
นิยาม
การดำเนินการอันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย โดยให้ผูเรียนได้รับประสบการณ์ สังเกต ทบทวน และนำไปพิจสรณา ไตร่ตรอง จนสร้างความคิดรวบยอดหรือสมมติฐาน
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการสร้างความคิดรวบยอด
ผู้เรียนนำความคิดรวบยอดไปทดลองหรือประยุกต์ใช้
ผู้สอนติดตามผล และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการทดลอง
ผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผล
ผู้เรียนมีการสะท้อนความคิด
หลักการ
ประสบการณ์เป็นแหล่งที่มาของการเรียนรู้และเป็นพื้นฐานสำคัญของการเกิดความคิด ความรู้ และการกระทำต่าง ๆ
การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning)
นิยาม
การดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปเผชิญกับสภาพการณ์จริง ปัญหาจริง ในบริบทจริง และร่วมกันศึกษาเรียนรู้ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหานั้น
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนได้รับผลการตัดสินใจ
ผู้เรียนแลกเปลี่ยนและสะท้อนการเรียนรู้
ผู้เรียนมีการตัดสินใจแก้ปัญหา
ผู้สอนวัดและประเมินผล
ผู้เรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์ปัญหา
ผู้สอนนำผู้เรียนไปเผชิญสภาพจริง ปัญหาจริง ในบริบทจริง
หลักการ
ผู้เรียนได้เผชิญสภาพการณ์จริง
การเรียนรู้โดยคำนึงถึงบริบทแวดล้อม เป็นการเรียนรุ้ที่สัมพันธ์ถึงความเป็นจริง นำไปใช้ได้
การเรียนรู้ความเป็นจริง
การให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาและแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษาะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
แบบเน้นความรู้ ความสามารถ
การจัดการเรียนรู้แบบจริงจัง
(Mastery Learning)
หลักการ
ใช้หลักการจัดการเรียนการสอนแบบเอกัตภาพ หรือการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล
การเรียนรู้แบบนี้ได้มาจากแนวคิดของจอห์น คาร์รอล เขาเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตามวัตุประสงค์ หากผู้เรียนได้รับเวลาที่จะเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ อย่างเพียงพอตามความต้องการของตน
ต่อมา บลูม ได้เพิ่มเติมแนวคิดว่าในการเรียนรู้เรื่องใด ๆ ก็ตาม ผู้เรียนที่มีความสามารถทางสติปัญญาหรือความถนัดแตกต่างกัน สามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้เช่นเดียวกันทุกคน
นิยาม
กระบวนการในการดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ไปอย่างต่อเนื่อง
ผู้สอนมีการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์
ผู้เรียนดำเนินการเรียนรู้ตามแผนที่ผู้สอนวางไว้และมรการประเมินผลตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
หากผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่กำหนดไว้แล้ว จึงมีการดำเนินการในข้อถัดไป
หากผู้เรียนยังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ ผู้สอนต้องวินิจฉัยปัยหาและจัดโปรแกรมสอนเสริมในส่วนที่ยังไม่สัมฤทธิ์ผล แล้วจึงทำการประเมินผลอีกครั้ง
ผู้สอนมีการวางแผนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละคน
ผู้สอนชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย วิธีการใรการเรียนรู้
ผู้สอนมีการกำหนดวัตุประสงค์อย่างละเอียด
การจัดการเรียนสอนแบบเน้นมโนทัศน์ (Concept-Baded Instruction)
นิยาม
การวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยการระบุมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการสร้างความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการสรุปมโนทัศน์ที่้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการระบุกระบวนและทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้
ผู้เรียนมีการนำมโนทัศน์ไปประยุกต์ใช้ได้
ผู้สอนมีการคิดและเขียนรายการคำถามที่สำคัญ
ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้
ผู้สอนมีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ต้องการสอน
หลักการ
ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ึลึกซึ้ง
ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบองค์ความรู้
เป็นการเน้นการเรียนรู้ความคิดเชิงนามธรรม
จำเป็นจะต้องใช้วิธีการ กระบวนการที่ซับซ้อนมากกว่าการเรียนรู้ข้อมูล
การจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล
นิยาม
การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถพิสูจน์ผู้เรียนได้
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนรับรู้วัตถุประสงค์ทั้งก่อนเรียนและก่อนรับการทดสอบ
ผู้สอนทดสอบผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ผู้สอนกำหนดวัตุประสงค์ในการสอนที่ชัดเจนและสามารถทดสอบได้
ผู้สอนสอนซ้ำหรือสอนใหม่อีกครั้งหนึ่งให้แก่ผู้เรียนที่ไม่ผ่านวัตถุประสงค์
หลักการ
ผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนจะพิสูจน์ทดสอบและแจ้งผู้เรียนให้รู้ความคาดหวังของตน ผู้เรียนจะเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
การทดสอบช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนของผู้เรียน
ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้และสามารถประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้ หากได้รับความช่วยเหลือตามปํญหาและความต้องการของเขา
แบบเน้นปัญหา
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction)
นิยาม
เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในหารช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา
ผู้เรียนวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
ผู้สอนและผู้เรียนมีการออกไปเผชิญสถานการณ์ปัญหาจริง
ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันเลือกปัญหา
ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ผู้สอนกระตุ้นผู้เรียน
ผู้เรียนลงมือแก้ปัญหา วิเคราะห์ สรุป และประเมินผล
ผู้สอนติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรียน
ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้
ผู้สอนให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวก
หลักการ
ปัญหาสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดภาวะงุนงงสงสัย และความต้องการที่จะแสวงหาความรู้เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าว
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก (Project-Based Instruction)
นิยาม
การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนเองสนใจ
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการชี้แจงหรือทำความเข้าใจกับผู้เรียน
ผู้เรียนร่วมกันศึกษาหาความรู้
ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน
ผู้เรียนร่วมกันวางแผนการจัดทำโครงงาน
ผู้เรียนเขียนโครงการและนำเสนอผู้สอน
ผู้เรียนดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด
ผู้สอนและผู้เรียนนำผลงานของผู้เรียนออกมาแสดง
ผู้เรียนปรับปรุงผลงานและเขียนรายงาน
ผู้เรียนนำเสนอผลงานออกสู่สาธารณชน
ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการเรียนรู้
ผู้สอนวัดและประเมินผล
หลักการ
ช่วยให้ผู้เรียนได้ผลิตงานที่เป็นรูปธรรมออกมา
การแสดงผลงานต่อสาธารณชน สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการทำงานให้แก่ผู้เรียน
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสอบ
ช่วยดึงศักยภาพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนออกมาใช้
เป็นกิจกรรมที่บริบทเชื่อมโยงอยู่