Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย, นางสาวจินตาภา หม่อมปลัด 61101465 sec3…
การบริหารจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย
บทบาทหน้าที่
ด้านบริหารการพยาบาล
ด้านการวางแผนการบริหารการพยาบาล
หัวหน้าหอผู้ป่วยปฏิบัติ ลักษณะงานทุกกิจกรรม
ตั้งแต่การรับนโยบายจากผู้บริหาร สื่อสาร
นโยบาย และร่วมกับทีมงานในการกำหนดแผน
ปฏิบัติงานของหอผู้ป่วย (แก้วมณีจันทร์ ไชย
เพชร, สมใจ ศิระกมล และฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดช
อนันต์, 2558)
ด้านการจัดองค์กร
หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการปฏิบัติกิจกรรม การจัดแบ่ง
งานให้เจ้าหน้าที่พยาบาลในหอผู้ป่วยร่วมรับผิด
ชอบเกี่ยวกับการเป็นกรรมการต่างๆ
(แก้วมณีจันทร์ ไชยเพชร, สมใจ ศิระกมล
และฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, 2558)
ด้านการจัดบุคลากร
หัวหน้าหอผู้ป่วยปฏิบัติภารกิจในทุกกิจกรรม
โดยมีการวางแผนด้านอัตรากำลังประจำวัน และ
ร่วมปรึกษาหารือกับผู้บริหารทางการพยาบาลใน
ระดับที่สูงขึ้นไป ในกรณีที่ขาดอัตรากำลัง รวม
ทั้งจัดตารางเวลาการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่
พยาบาล (แก้วมณีจันทร์ ไชยเพชร, สมใจ ศิระ
กมล และฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, 2558)
ด้านการอำนวยการ
หัวหน้าหอผู้ป่วยปฏิบัติภารกิจด้านการอำนวยการ
เกือบทุกกิจกรรม ได้แก่การมอบหมายงานประจำ
วัน และหน้าที่พิเศษอื่นๆ ซึ่งการมอบหมายงาน
แก่บุคลากร ตามความสามารถ และความเหมาะ
สมนี้เป็นบทบาทของผู้บริหารระดับต้น (แก้วมณี
จันทร์ ไชยเพชร, สมใจ ศิระกมล และฐิติณัฏฐ์
อัคคะเดชอนันต์, 2558)
ด้านการควบคุม
หัวหน้าหอผู้ป่วยปฏิบัติภารกิจการบริหารจัดการ
ในด้านการควบคุม ทั้งการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการปฏิบัติงานทุกด้านของเจ้า
หน้าที่พยาบาล รวมถึงการพิจารณาความดี ความ
ชอบ ซึ่งอธิบายได้ว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยมีบทบาท
หน้าที่ในการเป็นทั้งผู้ประเมินผลการพยาบาล
และการ ปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อให้เกิดการ
ปรับปรุงคุณภาพบริการ (แก้วมณีจันทร์ ไชย
เพชร, สมใจ ศิระกมล และฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดช
อนันต์, 2558)
ด้านบริการพยาบาล
กำกับดูแลการให้บริการพยาบาลของบุคลากรทางการ
พยาบาล และให้บริการพยาบาลแก่ผู้ป่วยและญาติ การร่วม
สร้างมาตรฐาน คู่มือ และแนวปฏิบัติในการให้บริการพยาบาล
รวมถึงการปฏิบัติการพยาบาล อย่างถูกต้องเป็นองค์รวม การ
ควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติ การ
ประชุมปรึกษาหารือ วางแผนการพยาบาล การบันทึกการ
พยาบาล และการสอนและให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการ การ
ป้องกันความ เสี่ยงต่างๆ และการดูแลสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย
ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการตอบสนองความ
ต้องการของผู้ป่วยทุกด้านและทุกมิติ (แก้วมณีจันทร์ ไชย
เพชร, สมใจ ศิระกมล และฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, 2558)
ด้านวิชาการ
สอน และแนะนำผู้ป่วย นักศึกษา และบุคลากร
ทางการพยาบาล การถ่ายทอดความรู้ทางด้าน
วิชาการ และประสบการณ์การ สอน และแนะนำ
ให้ความรู้ทางด้านการพยาบาลการ และให้คำ
ปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่พยาบาล ทั้งนี้เนื่องจาก
หัวหน้า เข้าร่วมประชุมด้านวิชาการกับฝ่ายการ
พยาบาล และหน่วยงานอื่นๆ ให้ความร่วมมือ
และอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยทั้งภายใน
และภายนอกองค์กร (แก้วมณีจันทร์ ไชยเพชร,
สมใจ ศิระกมล และฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์,
2558)
ขอบเขตของการบริการผู้ป่วย
จัดการให้มีการปฏิบัติตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้องตามศาสตร์ทางการพยาบาล
จัดให้มีการตอบสนองต่อความตองการของผู้ใช้บริการทั้งในด้านการดูแลรักษา และการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันเป็นไปได้อย่างรวดเร็วทันเวลาและเป็นที่พอใจของผู้ใช้บริการและ
ญาติ
จัดการให้มีการปฏิบัติการพยาบาลที่สืบ
เนื่องจากกิจกรรมการรักษาเกิดขึ้นได้อย่าง
สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักแนวคิดทางการ
พยาบาล
จัดการให้กิจกรรมการรักษาดำเนินไปได้
ตามแผนและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามวิธีการเวลาและเป็นที่พอใจของผู้รักษาและผู้รับบริการ
จัดการที่ทําให้เกิดการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้บริการ
จัดการให้มีการใช้กระบวนการพยาบาลอย่างสมบูรณ์
จัดการให้ข้อมูลด้านการดูแลรักษา และให้มีความ
พร้อมสมบูรณ์ทันสมัย ทันเวลา ถูกต้องเกิดประโยชน์ต่อการวางแผน และประเมินการรักษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องรวมทั้งลด ความเสี่ยงด้านการเงินด้วย
ทักษะการบริหาร
การประสานงาน
ปัจจัยที่จะช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี
การทํางานต้องมีแผนงานที่ดี มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แน่นอน
การเข้าใจที่ตรงกันและพร้อมที่จะช่วยเหลือกัน
มีการติดต่อสื่อสารที่ดีตลอดจนการประชุมพบปะหารือกันอยู่เสมอ
ผู้บริหารควรเห็นความสําคัญของการประสานงานและเป็นผู้มองการณ์ไกล
ประโยชน์
ทําให้การดําเนินงานไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้นและมีบรรยากาศการทํางานแบบมีส่วนร่วม
ช่วยให้ทุกคนเข้าใจนโยบาย เป้าหมายที่ตรงกันเพื่อจะได้มีทิศทางในการทํางาน
ประหยัดเวลา วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณในการดําเนินงาน
ส่งเสริมการทํางานร่วมกัน การทํางานเป็นทีม ลดข้อขัดแย้งแต่ส่งเสริมความสามัคคีต่อกัน
ขจัดปัญหาที่ซับซ้อนและเหลื่อมล้ำกัน
สร้างขวัญและกําลังใจในการทํางานหากไม่มีความขัดแย้งกันในองค์กร
ลักษณะ
การประสานภายในองค์กร เช่น ประสานตามสาย
บังคับบัญชา ตามหน้าที่รับผิดชอบตามลักษณะงาน
การประสานงานภายนอกองค์กร เช่น ประสาน
งานเพื่อตกลงทํางานวิชาการ ทําวิจัยร่วมกัน
ระหว่างสถาบัน การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรง
พยาบาลเพื่อผู้ป่วยจะได้ดูแลอย่างต่อเนื่อง
การจูงใจ
กระบวนการจูงใจ
1.ความต้องการ(Needs) ได้แก่ ความต้องการทางกาย
จิตใจและสังคมเกิดเมื่อมีความไม่สมดุลทางสรีระหรือจิตใจ
2.แรงขับ (Drives) เป็นตัวเสริมกำลังให้ไปสู่เป้าหมาย
3.เป้าหมาย (goals) เป็นจุดปลายทาง
องค์ประกอบ
แรงจูงใจภายใน
เป็นแรงจูงใจภายในที่บุคคลต้องการทำงาน
เป็นความต้องการที่มาด้วยความปรารถนาของ
ตนเอง เป็นความรู้สึกส่วนตัวที่ต้องการทำงาน
นั้นนั้นให้เสร็จสมบูรณ์ด้วยตนเอง คนที่มีแรง
จูงใจภายในจะมีความมุ่งมั่นทำงานของตนเอง
โดยไม่มีการรีรอหรือไม่ต้องมีสิ่งมาเชิญชวน
แรงจูงใจภายนอก
เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นด้วยสิ่งเร้าภายนอก เช่น
เงินเดือน โบนัส โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
(โมลี สุทธิโมลิโพธิ, 2563)
ทฤษฎี
ทฤษฎีการจูงใจของ Herzberg
ปัจจัยอนามัย
เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่พอใจในงานที่ทำ
เช่น นโยบายการบริหาร การบังคับบัญชา ความ
สัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน เป็นต้น
ปัจจัยจูงใจ
เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจที่จะทำงาน
เช่น ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับ
ลักษณะของงาน โอกาสเจริญก้าวหน้า เป็นต้น
ทฤษฎีความต้องการของ Maslow
บุคคลคือสิ่งที่มีชีวิตที่มีความต้องการ
ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ความต้องการบุคคลจะถูกเรียงลำดับความ
สำคัญเป็นลำดับชั้นของความต้องการพื้นฐาน
ไปจนถึงความต้องการความสำเร็จ
บุคคลจะก้าวสู่ความต้องการระดับต่อไปต่อเมื่อความ
ต้องการระดับต่ำลงมาได้ถูกตอบสนองอย่างดีแล้ว
หลักการบริหารที่จะจูงใจ
พูดจูงใจ
คือพูดให้เห็นคุณค่าและความสำคัญจนเกิความซาบซึ้งยอมรับ อยากลงมือทำหรือยินดีที่จะปฏิบัติตาม
พูดเร้าใจ
คือพูดปลุกใจให้เกิดความมั่นใจและมีกำลังใจ
ที่กล้าหาญ กระตือรือร้น ที่จะทำให้สำเร็จโดยไม่
หวั่นไหว กลัวต่ออุปสรรค และความยากลำบาก
พูดแจ่มแจ้ง ชัดเจน
คือชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน มองเห็นเหตุผล
ทำให้ผู้ร่วมงานไม่สับสน สงสัย
พูดให้ร่าเริง
คือทำให้เกิดบรรยากาศแห่งเมตตาไมตรีมีความ
หวังดีและเกิดความรู้สึกที่สดชื่นร่าเริง เบิกบาน
ผ่องใส ชื่นใจในผลดีและหนทางที่สำเร็จ
การสื่อสาร
รูปแบบการสื่อสาร
รูปแบบวงล้อ (Wheel)
เป็นการสื่อสารกระจายรอบทิศ
รูปแบบวงกลม (Circle)
เป็นการสื่อสารสิ่งที่ต้องการให้รู้กันทั่วไป
รูปแบบเส้นตรง (Chain)
ในแนวดิ่ง (Vertical) แบบบนลงล่าง (Top down)
ลักษณะการสั่งการหรือจากล่างขึ้นบน (Bottom Up)
เป็นการนำเสนอผู้มีอำนาจหรือแนวระนาบ
(Horizontal) เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารในระดับเดียวกัน
รูปแบบทุกช่องทาง (AII Channel)
สามารถติดต่อกันได้ทุกมิติ
ประโยชน์
ข้อมูลข่าวสารที่ดีสามารถนำมาใช้
ประโยชน์ในการบริหารครั้งต่อไปได้
ช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดีช่วยให้การวินิจฉัย
ได้อย่างถูกต้องสั่งการได้รวดเร็วแม่นยำช่วย
ควบคุมงานให้เกิดผลดีเกิดเอกภาพในสายงาน
เกิดความสามัคคิในหมู่คณะ ผู้ร่วม
งานมีขวัญกำลัง ใจในการทำงาน
ประเภทของการสื่อสาร
การสื่อสารทางเดียว
เป็นการสื่อสารไปยังผู้รับแต่ไม่มีการตอบกลับจากผู้รับ
การสื่อสารสองทาง
มีผู้ส่งและผู้รับ
องค์ประกอบ
การสื่อสารต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือผู้ส่งสาร
(Sender) สาร (Message) ผู้รับสาร (Receiver)
โดยใช้ช่องทางกลางในการส่งสาร (Transmitter
และมีการแปลความหมายของข้อมูลออกมาตลอด
จนมีข้อมูลย้อนกลับอันเป็นการตอบสนองต่อสาร
การจัดการความขัดแย้ง
ข้อดี
เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ
ช่วยปรับปรุงการปฏิบัติงานในองค์กรได้
ข้อด้อย
เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานในองค์กร
ทำให้ทำงานไม่มีความสุข
การเจรจาต่อรอง
ลักษณะและรูปแบบ
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการร่วมมือ
(Win-Win)
ต่างฝ่ายต่างแสวงหาข้อตกลงที่จะให้ทุกฝ่ายที่
ร่วมเจรจาได้รับประโยชน์ด้วยกัน การเจรจาต่อ
รองในลักษณะนี้มีผลทำให้คู่เจรจาคบกันได้
นานเป็นมิตรหรือเป็นคู่ค้าถาวร
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกัน
(Win-Lose)
มุ่งที่จะให้ฝ่ายตนได้รับประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่
คำนึงว่าฝ่ายอื่นจะได้รับประโยชน์หรือไม่ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเน้นที่จะให้ได้ประโยชน์ทั้งหมดหรือไม่ก็ยอมสูญ
เสียทั้งหมดไปเลยการเจรจาในลักษณะนี้มักจะไม่ใช้การ
ประนีประนอม อาจมีผลเป็นการแข่งขันกลายเป็นคู่แข่งที่
ขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือกลายเป็นศัตรูกันไปเลย
ขั้นตอนของการเจรจา
2) ขั้นตอนในการดำเนินการเจรจา
ผู้เข้าร่วมการเจรจาต้องใช้ความสามารถเฉพาะ
ตัวอย่างเต็มที่ และจะต้องรักษากฎ ระเบียบ
และพิธีการในการเจรจาต่อรอง ตลอดจน
มารยาทด้วยความระมัดระวังอย่างมาก โดยใช้
เทคนิคในการเจรจาอย่างฉลาดและแนบเนียน
ต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี และ
วัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายที่อาจขัดกันได้
3) ขั้นบังคับใช้ผลของการเจรจาให้ปฏิบัติได้จริง
เป็นขั้นตอนที่จะให้มีการปฏิบัติตามผลของการ
เจรจาที่ได้ตกลงกันไว้ โดยทำสัญญาหรือความ
ตกลงระหว่างกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบ
ที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างระมัดระวัง ถ้าเป็นความ
ตกลงระหว่างประเทศหรือสัญญาข้ามชาติก็จะต้อง
คำนึงถึงการใช้กฎหมายของชาติใดบังคับด้วย
1) ขั้นเตรียมการเจรจา
ก่อนที่จะตัดสินใจเปิดการเจรจาต่อรองในเรื่องใด
จะต้องกำหนดกลยุทธ์โดยนำเอาสถานการณ์และ
สิ่งแวดล้อมทั่วไป ในการกำหนดยุทธศาสตร์ จำเป็น
ต้องเตรียมข้อมูลและศึกษาประเด็นปัญหาต่อไปนี้
ให้พร้อม กำหนดวันและเวลาสำหรับการเจรจา
การแก้ปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหา
การระบุปัญหา ต้องระบุให้แน่ชัดก่อนจึงจะ
แก้ปัญหาเพื่อจะได้ตรงตามความต้องการ
การวิเคราะห์และการค้นหาสาเหตุของ
ปัญหา ซึ่งเป็นสิงที่ต้องให้เวลากับส่วนนี้ เพื่อจะได้พบกับสาเหตุที่แท้จริงโดยละเอียด
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหา จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาเหล่านั้นเพียงใด เรื่องใดบ้าง และต้องการผลลัพธ์ออกมาอย่างไร
การค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา ผู้นำจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ อาจใช้วิธีการระดมสมอง จากผู้ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด
การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด โดยเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียเกี่ยวกับ เวลา งบประมาณที่ใช้
การดำเนินการแก้ปัญหา ควรแก้ไขตามทางเลือกที่กำหนดไว้ โดยต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ให้เพียงพอ
การประเมินผลการดำเนินงาน ควรทำทุกขั้นตอนการดำเนินงาน จนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการ
ปัญหา คือ ผลที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่าง
สถานการณ์ที่เป็นอยู่กับสถานการณ์ที่ไม่เป็นไป
ตามความคาดหวังที่ต้องการให้เป็น และการแก้ไข
ปัญหาคือการที่เจ้าของปัญหามีความรู้สึกมีความ
ต้องการที่จะแก้ไขเหตุการณ์หรือสถานการณ์ให้
เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
การตัดสินใจ
ลักษณะการตัดสินใจ
การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย
(Policy Decision)
เป็นการตัดสินใจเพื่อกําหนดแนวทางในการ
ปฏิบัติงานอย่างกว้าง ๆ ที่จะบอกถึงวัตถุประสงค์
และกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อให้ผู้ร่วมงานทราบ
ทิศทางหรือจุดหมายปลายทางที่จะต้องดําเนิน
การให้สอดคล้องกัน
การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (Management Decision)
เป็นการตัดสินใจเพื่อการจัดสรรทรัพยากรของ
องค์กรให้แก่ฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติ
หรือดําเนินการได้ตามนโยบาย หรือ
วัตถุประสงค์ ที่ผู้บริหารสูงสุดได้กําหนดไว้
การตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (Operational Decision)
เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานประ
จําในหน้าที่ของตน เพื่อให้การปฏิบัติงาน
สอดคล้องกับนโยบายหรือเป้าหมายของ
องค์กร โดยใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ
สูงสุด
รูปแบบการตัดสินใจ
การตัดสินใจที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า
ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจในทันทีทันใด
การตัดสินใจที่ได้เตรียมการล่วงหน้าผู้บริหาร
สามารถใช้เวลาในการคิดไตร่ตรองได้
ทฤษฎี
Normative Theory
จะคำนึงถึงแนวทางการตัดสินใจ น่าจะเป็นหรือควรจะเป็น
อย่างไร จึงสามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการตัดสินใจได้
ซึ่งการพิจารณาว่าแนวทางใดเป็นแนวทางที่น่าจะเป็น หรือ
ควรจะเป็นย่อมขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของบุคคลแต่ละคน
ซึ่งอาจจะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันก็ได้ จึงมีลักษณะที่ขึ้น
อยู่กับมารตฐาน จะเป็นเครื่องกำหนดว่ามีปัญหานั้น ๆ น่าจะ
หรือควรจะตัดสินใจอย่างไร จึงจะดีที่สุด ถูกต้องเหมาะสม
ที่สุด ซึ่งในความคิดของบุคคลอื่น ที่มีมารตฐานความพึง
พอใจที่แตกต่างกันอาจจะไม่เห็นว่าเหมาะสมด้วยก็ได้
Descriptive Theory
การตัดสินใจโดยทฤษฎีนี้จะพยายามหลีกเลี่ยง
การใช้ความรู้สึกนึกคิดใด หรือค่านิยมส่วนตัว
ของผู้ตัดสินใจมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสิน
ใจ โดยมุ่งเน้นให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมี
เหตุผล มีความถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของ
บุคคล (ปิยะนุช เหลืองาม,2552)
นางสาวจินตาภา หม่อมปลัด
61101465 sec3