Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มที่ 1 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมศาสนาอิสลาม ในประเทศไทย - Coggle Diagram
กลุ่มที่ 1
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมศาสนาอิสลาม
ในประเทศไทย
ที่มาและความสำคัญ
พยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่นับถือศาสนาอิสลามจะให้การพยาบาลเช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยอื่น
แต่ความแตกต่างของภาษาวัฒนธรรมและศาสนาของผู้ป่วยในอิสลาม ทำให้พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย ต้องเรียนรู้และปรับแผนการดูแลให้สอดคล่องกับความต้องการของผู้ป่วยที่มีลักษณะเฉพาะทั้งด้านความเชื่อต่างๆแบบแผนการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ
ถิ่นกำเนิดของศาสนาอิสลาม
ดินแดนที่เป็นแหล่งรับวัฒนธรรมด้านศาสนาอิสลามที่เข้ามาในช่วงแรก ๆ ใน
ประเทศไทย ก็คือ บริเวณทางใตสุดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดปัตตานี
การสื่อสารของศาสนาอิสลาม
มีภาษาอาหรับเป็นมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม
การสื่อสารและการทักทาย
เมื่อพบปะกันให้ทักทายกันว่า “อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะมะตุลลอฮ์ วะบะเราะกาตุฮฺ’’
ผู้ถูกทักทายกล่าวตอบว่า “วะอะลัยกุมุสลาม วะเราะหฺมะตุลลอฮ์ วะบะเราะกาตุฮฺ”
บทบาททางเพศและสถาบันครอบครัว
1.ผู้ชายมีอำนาจตัดสินใจยินยอมการรักษา
2.ผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลามมีภรรยาได้มากกว่า 1 คน
3.ผู้ชายและผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว บทบาททางเพศเท่าเทียมกันทุกประการ
4.ผู้ชายบางคนใช้อำนาจการปกครองครอบครัว
นิเวศวิทยาทางชีววัฒนธรรม
1.ศาสนาอิสลามไม่มีการเหยียดสีผิว
2.ส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เรื่องการโคลนนิ่งมนุษย์
3.ชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองทุกคนถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
4.มีโลกทัศน์ที่ดีด้านต่างๆต่อการพัฒนาชีวิตยกเว้นเรื่องการบริโภคอาหาร
อาหารฮาลาล
คือ อาหารที่ได้ ผ่านกรรมวิธีในการทำผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพตามศาสนบัญญัติ
ซึ่งเป็นการรับประกันว่าชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหารหรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆได้
โดยสนิทใจและยังมั่นใจได้ด้วยว่ามีความสะอาดถูกหลักอนามัย รวมถึงเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่ม สาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องหนัง รองเท้า และการใช้จ่ายการเงิน เป็นต้น
การถือศีลอด
ในช่วงเดือนรอมฎอน (เดือนแห่งการถือศีลอด)
ชาวมุสลิมจะงดการรับประทานและการดื่มในช่วงเวลาระหว่าง
พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาพระอาทิตย์ตก
การถือศีลอดในผู้ที่เป็นเบาหวาน
1.ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่หนึ่งและผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรงดเว้นจากการถือศีลอด
2.ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่สอง ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อรับคำแนะนำในการปรับรูปแบบ
การใช้ยา-อินซูลินและการรับประทานอาหาร
การเติมเต็มพลังด้วยอิฟฏอรที่เพียงพอดี
1.การรับประทานอินทผลัม 3 ผลกับนํ้าเปล่าก่อนไปละหมาดมักริบ
2.หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานและการดื่มเครื่องดื่มที่มีนํ้าตาลปริมาณมาก
3.สามารถชดเชยนํ้าในร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีนํ้ามาก
4.เลือกอาหารหมวดข้าวแป้งที่ไม่ขัดสีสำหรับมื้อค่ำ
5.ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ
6.หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงประกอบด้วยวิธีการทอดและอาหารแปรรูปต่างๆ
ที่มีนํ้าตาลและไขมันปริมาณมาก
7.มีความสุขกับการรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงการรับประทานที่มากเกินไป
8.หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ต้องรออย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง
การสะสมพลังงานให้เพียงพอด้วยซาโฮร
1.รับประทานอาหารหมวดข้าวแป้งที่ไม่ขัดสี
2.รับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
4.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด
5.รับประทานอาหารอย่างช้าๆให้เพียงพอต่อความต้องการ
ของร่างกายของแต่ละบุคคล
6.ดื่มนํ้าเปล่าให้มาก
7.หลีกเลี่ยงการดื่มเครืองดื่มที่มีคาเฟอีน
พิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
พิธีงานศพของชาวมุสลิม จะต้องจัดขึ้นภายในเวลา 24 ชั่วโมงหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ชาวมุสลิมถือว่า “ความตาย”ไม่ใช่เป็นการสิ้นสุดหรือจุดสุดท้ายของชีวิต
แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะก้าวไปสู่ชีวิตที่แท้จริงและเป็นนิรันดร์
พิธีกรรมและแบบแผนการปฏิบัติเกี่ยวกับความตาย
การจัดการศพ —> ห่อศพ —> ละหมาดให้ศพ —> ฝังศพ
ข้อห้ามเกี่ยวกับการทำศพ
1.ห้ามเก็บศพไว้นาน ตายแล้วต้องรีบทำพิธี
2.การมาร่วมงานศพ ไม่มีการว่าจ้างหรือสินน้ำใจ
3.ห้ามก่ออิฐถือปูนบนหลุมฝังศพหรือสร้างอาคารต่างๆ
4.ไม่มีการทำบุญ 3 วัน 7 วันหรือแผ่กุศลให้คนตาย
5.ผู้มาร่วมงานนำอาหารมาเผื่อแก่ญาติผู้ตาย เป็นเวลา 3 วัน
6.ห้ามญาติหรือผู้ใดตีอกชกหัว ร้องไห้โหยหวน
ความเชื้อด้านการตั้งครรภ์
และการคลอดบุตร
การดูแลมารดาขณะตั้งครรภ์
เพศของผู้ให้บริการตรวจครรภ์
สตรีชาวมุสลิมส่วนใหญ่ ต้องการให้ผู้ตรวจครรภ์เป็นเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขที่เป็นเพศเดียวกับตน
การฝากครรภ์
หญิงชาวมุสลิมจะนิยมฝากครรภ์ทั้ง 2 แห่ง คือ
ฝากกับผดุงครรภ์โบราณและฝากกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การดูแลมารดาขณะคลอด
การตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ
ภรรยาสามารถตัดสินใจเองได้หรือตัดสินใจร่วมกันกับสามี
ขณะตัดสายสะดือ
มารดาต้องการให้ผู้ทำคลอดเป็นชาวมุสลิม ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลกับเด็ก
วิธีกรรมเกี่ยวกับรก
รกที่คลอดต้องทำความสะอาด ห่อด้วยผ้าขาวและทำพิธีฝัง
การดูแลระยะหลังคลอด
หญิงหลังคลอดต้องรักษาความสะอาดของอวัยวะที่ปกปิดตลอดเวลาและ
ห้ามสามีนอนหลับกับภรรยาหลังคลอดบุตร 40 วัน
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ
1.ห้ามทำแท้ง ทำได้ในกรณีที่ต้องรักษาชีวิตของแม่
2.การขลิบอวัยวะเพศชายเป็นเรื่องที่แนะนำให้ปฏิบัติ
3.การช่วยให้ฆ่าตัวตายเป็นเรื่องต้องห้าม
4.การผ่าศพชันสูตร เป็นสิ่งต้องห้ามยกเว้นข้อบังคับทางกฎหมาย
5.หลังคลอดอาจมีการขอรกเอาไปฝัง ต้องแจ้งให้ทราบหากไม่สามารถให้นำรกไปได้
การพยาบาลที่ปฏิบัติด้านการดูแลสุขภาพต่อผู้ป่วย
การมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพ ทั้งในระยะรุนแรงหรือการป้องกัน
การรับประทานยา
ต้อมมีการแจ้งแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยก่อน เมื่อแพทย์อนุญาต พยาบาล
ต้องแจ้งแพทย์ให้เปลี่ยนเวลายาให้ตรงกับมื้ออาหารของชาวมุสลิม
ลักษณะเฉพาะในการดูแลผู้ป่วย
พยาบาลต้องให้การดูแลให้ใกล้เคียงกับการ
ใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยให้เหมือนอยู่บ้านของตนมากที่สุด
การดูแลทางจิตวิญญาณ
1.จัดสถานที่ละหมาด
2.มีสถานที่ล้างเท้าก่อนทำพิธี
3.ควรเอาสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาอื่นออกจากห้องผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยศาสนาระยะสุดท้าย
1.การตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย ปรึกษาญาติก่อนการตัดสินใจ
2.ดูแลผู้ป่วยให้มีความสุขสบาย ไม่มีความเจ็บป่วย มีอิหม่านสวดบทสวดทางศาสนา
3.ควรแจ้งญาติเพื่อให้มีการเตรียมการเกี่ยวกับการฝังศพ
การให้บริการทางการแพทย์และพยาบาล
1.จำกัดการสบตา ไม่จ้องตาผู้ป่วยมากเกินไป
2.หากต้องการตรวจหญิงชาวมุสลิมควรมีเสื้อคลุมที่ยาวสามารถปกปิดร่างกายได้ทั่ว
3.ชาวมุสลิมไม่ได้มีการห้ามได้รับบริการจากเพศตรงข้าม หากเป็นไปได้ให้มี
ผู้ให้บริการที่เป็นเพศเดียวกันกับผู้ป่วย