Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Communication Information And Networks - Coggle Diagram
Communication Information And Networks
2. Introduction of Information Communication And Networking
2.1 บทนำ
ระบบเครือข่าย (Network Sysyem) มีการทำงานซับซ้อน จึงมีการสร้างแบบจำลองเพื่อให้เข้าใจง่าย
แบ่งออกเป็นชั้น แต่ละชั้นจะมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน โดยทำงานเรียงลำดับขั้นและไม่สามารถข้ามขั้นได้
แบบจำลองจึงช่วยให้ซอฟต์แวร์และฮาร์โแวร์ร่วมกันได้แม้อยู่บนแพลตฟอร์มเดียว
แบบจำลองเครือข่าย หรือชั้นสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่นิยมอยู่ในปัจจุบันและเป็นมาตรฐานสากล ได้แก่
ตัวแบบอ้างอิงโอเอสไอ (OSI Model)
ตัวแบบจำลองทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
2.2 การสื่อสารแบบระดับช้ัน (Layered Tasks)
- การสื่อสารที่มีการแบ่งเป็นชั้นๆ โดยในแต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานของตนเองอย่างชัดเจน โดยเรียงตามลำดับกระบวนการไม่สามารถข้ามได้
2.3 ตัวแบบอ้างโอเอสไอ (OSI)
มาตรฐานนำไปใช้ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์เพื่อให้อุปกรณ์ทุกตัวที่อยู่บนเครือข่าย แม้มีเครื่องหมายการค้า รุ่นที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้ภายใต้มาตรฐานการสื่อข้อมูลโครงสร้างการทำงานแบบระดับชั้น (Layered Tasks) แบ่งเป็น 7 ชั้น ดังนี้
ชั้นกายภาพ (Physical layer)
กำหนดคุณลักษณธของ Interface ที่จะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และชนิดของตัวกลาง (media) ที่ใช้ในการส่งข้อมูล
แทนค่าบิตข้อมูล อยู่ในรูปของเลขฐานสองใน bit steam ขณะที่อุปกรณ์กำลังสื่อสารกันต้องมีการเข้ารหัส (encoding) เพื่อใช้ในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญญาณดิจิทัล
กำหนดจำนวนรับส่ง บิตข้อมูลภายในหนึ่งนาที
ประสานเวลาการรับส่งบิตข้อมูล ในการสื่อสารเพื่อรับส่งบิตข้อมูลจะต้องมีการปรับจังหวะของนาฬิการให้ตรงกันทั้งสองฝั่งเพื่อให้สามารถรับส่งบิตข้อมูล
โครงสร้างการเชื่อมต่อ โดยกำหนดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กับตัวกลาง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point- to- Point) เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ตั้งแต่
การเชื่อต่อมต่อแบบหลายแบบ (Multipoint) เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์หลายตัวที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเชื่อต่อเครือข่าย
กำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลให้ อยู่ในรูปของสัญญาณ และแปลงข้อมูลจากเครือข่ายให้อยู่ในรูปแบบเลขฐานสอง
ชั้นเชื่อมข้อมูล (Data Link layer)
จัดการกลุ่มบิตข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของเฟรมข้อมูล กำหนดหมายเลขที่อยู่ประจำตัวของอุปกรณ์ จากอุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง และตรวจสอบข้อผิดพลาดในการสื่อสาร จากโหนดไปยังอีกโหนด มีหน้าที่ดังนี้
การจัดการเฟรมข้อมูล (Framing) จะนำกลุ่มบิตข้อมูลที่ได้จากชั้นกายภาพมาแบ่งและจัดรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปของเฟรมข้อมูล
กำหนดหมายเลขประจำตัวของอุปกรณ์ (Mac address) ซึ่งจะซำ้กันไม่ได้
ควบคุมอัตราการไหลของข้อมูล (Flow control) ต้องคอยควบคุมไม่ให้มากจนเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาข้อมูลท่วมท้นในฝ่ายผู้รับได้
ควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล (Error control) ป้องกันการส่งข้อมูลที่มีความซำ้ซ้อนและตรวจจับข้อมผิดพลาดในการส่งเฟรม โดยมีการเข้ารหัสควบคุมความผิดพลาดไว้ในเฟรม หากข้อมูลสูญหายจะมีการส่งซำ้อีกครั้ง
ควบคุมการเข้าถึง (Access control) ควบคุมและตรวจสองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอุปกรณ์แต่ละตัว
ชั้นเครือข่าย (Network layer)
ติดต่อกับอุปกรณ์ตินทางและปลายทาง และค้นหาเส้นทางในการขนส่งข้ามเครือข่าย ผ่าน Internet Protocol ทำหน้าที่สร้างที่อยู่ให้อุปกรณ์ที่อยู่บนเครือข่าย เพื่อใช้สำหรับอ้างอิงในการรับส่ง เรียกว่า IP address ข้อมูลในชั้นนี้ส่งข้ามข้อมูลเครือข่าย ดังนั้น ชั้นนี้จะถูกแบบ่งออกเป้นส่วนเล็กๆ เรียกว่า กลุ่มข้อมูล Packet เพื่อให้สะดวกในการขนส่งข้อมูลจึงมี Routing Protocol ซึ่งใช้ในการคำนวณและหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้ามเครือข่าย
กำหนด IP address ในการรับส่งแพ็กเก็ต ทำหน้าที่ในการกำหนดประเภทและขนาดของเครือข่ายตามระดับชั้น โดยชุด IP adderss ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับจะถูกเพิ่มลงไปใน Header ของแพ็กเก็ต
กำหนดเส้นทางที่ดีที่สุด (Routing) การสื่อสารระหว่างเครือข่าย คือการส่งเครื่องต้นทางอีกเครือข่ายหนึ่งส่งแพ็กเก็ตไปยังเครื่องปลายทาง ซึ่งอยู่ต่างเครือข่ายจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Router ทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด การแนะนำเส้นทางของเร้าท์เตอร์จะปรับเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ขั้นการขนส่ง (Transport layer)
ขนส่งแพ็กเก็ตจากต้นทางไปยังปลายทาง [รวมทั้งต้องรับประกันด้วยแพ็กเก็ตที่ถูกส่งออกไป มีความสมบูรณ์และสูญหายไปในระหว่างขนส่ง
ควบคุมอัตราการไหล (Flow control) และข้อผิดพลาด (Error control) เชื่อต่อกับชั้นต่างๆ ที่อยู่เหนือขึ้นไปเพื่อขอให้งานบริการต่าง
บริการแต่ละประเภทจะมีหมายเลขพอร์ท (port number)
มีโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสาร 2 ประเภท คือ
TCP (Transmission Control Protocol) ตรวจสอบก่อนว่าสามารถติดต่อเครื่องปลายภายทางได้หรือไม่ก่อนส่ง โดยจะสร้างทางเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับก่อน
UDP (User Datagram Protocol) จะทำการส่งทันที ดังนั้นยูดีพีจะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่า
การจัดการเซ็กเมนต์ (Segmentation) นำแพ็กเก็ตจากชั้นเครือข่ายมาแบ่งและจัดรูปแบบให้อยู่ในรูปเซ็กเมนต์ถูกแบ่งออกมาจะถูกระบุหมายเลขลำดับเอาไว้ เพื่อใช้ในการเรียงลำดับของข้อมูลเมื่อไปถึงปลายทาง และป้องกันแพ็กเก็ตสูญหายในระหว่างการขนส่ง
การกำหนดหมายเลขประจำตัวพอร์ท (Port addressing) ว่าบริการ (Services) นั้นเป้นการบริการประเภทไหนและจะต้องถูกส่งไปประมวลผลที่ใด
ควบคุมการเชื่อมต่อ (Connection kcontrol)
ควบคุมอัตราการไหลของข้อมูล (Flow control)
ควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล (Error control)
ชั้นช่วงเวลา (Sessions layer)
จัดดครงสร้างและควบคุมการสื่อ (dialog) และการทำงานแบบพร้อมเพียงกันประสานเวลาในการรับส่งบิตข้อมูลระหว่างกัน และกำหนดวิธีการและเปลี่ยนข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นด้วย
การควบคุมการสื่อสาร (Dialog control) จะช่วยให้เครื่องที่อยู่ต้นทางกับปลาย ที่แตกต่างกันสื่อสารกันได้
การประสานเวลาในการรับส่งข้อมูล (synchronization) จะอนุญาตให้มีการเพิ่มตรวจสอบหรือจุดประสานเวลาลงไปในข้อมูลได้ หากส่วนใดผิดพลาดก็จะให้ส่งเฉพาะที่ผิดพลาด
ชั้นการนำเสนอ (Presentation layer)
ตวรจสอบไวยากรณ์ (Syntax) และความหมาย (Semantics) ของชุดข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างระบบเครือข่ายที่แตกต่างกัน เช่น การเข้ารหัส
การแปล (Translation) การประมวลผลของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายมักจะมีระบบการเข้าและถอดรหัสที่แตกต่างกัน
การแปล (Translation) การประมวลผลของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายมักจะมีระบบการเข้าและถอดรหัสที่แตกต่างกัน
การเข้าและถอดรหัส (Encryption and Decryption) การขนส่งข้อมูลระหว่างต้นทางไปยังปลายทาง
การบีบอัดข้อมูล (Compression) การส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายจำเป็นที่ต้องมีการบีบอัดข้อมูลและลดจำนวนบิตข้อมูลให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความสะดวกในการขนส่งข้ามเครือข่าย
ชั้นการประยุกต์ (Application layer)
ทำหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่านส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้ (User interface) กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่างๆ (Application) มีการกำหนดวิธีการที่ซอฟต์แวร์ทำงานบนเครือข่ายได้ถูกต้อง
2.4 ตัวแบบ ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
ตัวแบบที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เป็นตัวแบบที่ใช้ในการสื่อสารแบบเป็นระดับชั้นเหมือนกับตัวแบบ OSI แต่ตัวแบบ TCP/IP จะมี 5 ระดับชั้น
จุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน
1.เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่าง 2.สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย
3.มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน
เชื่อมต่อ (Link layer)
เป็นดีไวซ์ไดรเวอร์ที่ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการแต่ละระบบทำหน้าที่รับผิดชอบในการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ระดับกายภาพ สัญญาณไฟฟ้า จนถึงการแปลความจากระดับสัญญาณไฟฟ้าจนเป็นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ โพรโตคอลระดับนี้ เช่น Etheneet และ SLIP (Serial Line Internet Protocol)
เครือข่าย (Network layer)
รับผิดชอบในการรับส่งข้อมูลเน็ตเวิร์คส่งต่อข้อมูลไปจนถึงจุดหมายปลายทาง โปรโตคอลระดังนี้ได้แก่ IP ICMP IGMP
ชั้นการขนส่ง (Transport layer)
ส่งข้อมูลจากกระบวนการของเครื่องต้นทางไปยังปลายทาง ผ่านทางหมายเลขที่อยู่ของพาร์ท โดยหมายเลยพอร์ทจะมีมากถึง 65,536 พอร์ท แต่จะถูกสงวนให้ใช้ได้เพียง 0-1,023 เพื่อใช้สำหรับบริการมาตรฐานของโฮสต์
UDP โพรโทคอลที่ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อก่อนส่งข้อมูล เน้นความรวดเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่าความถูกต้องและสมบูรณ์ เมื่อมีความเสียหายเนื่องจากไม่ได้มีการเรียงลำดับข้อมูลไว้ ข้อมูลที่ใช้ในโพโทรคอลนี้เรียกว่ว User datagram
TCP ต้องมีการสร้างเส้นทางการเชื่อมต่อ ข้อมูลที่ทำการรับส่งจากเครื่องต้นทางไปยังปลายทางนั้นจะต้องมีการเรียงลำดับและตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่ใช้ เรียกว่า Segment
ชั้นการประยุกต์ (Application layer)
ทำงานเกียวกับส่วนต่อประสานผู้ใช้และการให้บริการกับผู้ใช้ต้องมีการจัดเตรียมโพรโทคอลที่ใช้ในการสนับสนุนการทำงานร่วมกับซอฟท์แวร์ที่ให้บริการบนระบบเครือข่ายมีโพรโทคอลหลัดที่ใช้งาน ดังนี้
DHCP ใช้ในการบริการและจัดสรร IP address ให้กับโฮสต์ทุกตัวที่เชื่อมอยู่บนเครือข่ายแบบอัตโนมัติ (dynamic)
DNS ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชื่อโดเมนเนมกับ IP address
FTP ให้บริการทำสำเนาไฟล์ระหว่างโฮสต์ที่อยู่บนเครือข่าย
SMTP ใช้สำหรับให้บริการe-mail ให้อยู่ในรูปแบบ Client-Server
HTTP ใช้สำหรับให้บริการเข้าถึงข้อมูลบน World Wide Web ซึ่งทำงานร่วมกับเว็บบราวเซอร์
1. Introduction of Information Communication
1.1 วิวัฒนาการของการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ
Pre-Internet
ใช้อุปกรณ์โทรศัพท์หรือส่งข้อมูล ค่าบริการแพง เพราะเป็น Circuit Switching การติดต่อต้องจองสัญญาณก่อน
Internet of COMTENTS
อยู่ในรูปแบบ Circuit Switching ค่าบริการเริ่มถูก เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้พัฒนาสร้างเนื้อหาและเผยแพร่ให้เว็บไซต์ตัวเองเท่านั้น
Internet of SERVICES
Internet เริ่มสื่อสารได้สองทาง ผู้ชมเริ่มโต้ตอบกับเจ้าของได้ แบ่งปันเนื้อหา รูปภาพ
Internet of PEOPLE
เทคโนโลยีเริ่มได้รับการพัฒนามากขึ้น ราคาถูกลงประสิทธิภาพดีขึ้น การทำงานที่หลากหลายกว่าเดิม เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์
Internet of THINGS
อุปกรณ์ถูกพัฒนาให้สามารถสื่อสารกันเองได้โดยที่ไม่ต้องให้มนุษย์ควบคุมหรือสั่งการ
1.2 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
กระบวนการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง ผ่านช่องการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
1.3 ประเภทของเครือข่าย (Networking)
1.1.1 เครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Network : PAN)
เป็นเครือข่ายขนาดเล็กอุปกรณ์ไม่เเยอะ
เปลี่ยนอุปกรณ์ตามการใช้งานของแต่ละคน
ระยะทางในการเชื่อมต่ออยู๋ที่ 10 เมตร
ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกระจายสัญญาณ
อุปกรณ์ที่ใช้อยู่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง
1.1.2 เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
เป็นเครือข่ายเฉพาะที่มีการเชื่อมโยงกันภายในองค์กร
มีวัตถุประสงค์เพื่อการแบ่งปันทรัพยากรบนเครือข่ายระหว่างกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ
1.1.3 เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันขององค์กรต่างๆ หลายๆองค์กรเข้าด้วยกัน
โดยขนาดของพื้นที่จะครอบคลุมในระดับเมืองหรือจังหวัด
1.1.4 เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงของแลนหลายวงเข้าด้วยกัน - ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นองค์กรเดียวกัน
การเชื่อมเครือข่ายประเภทนี้ต้องใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย เช่น การสื่อสารผ่านดาวเทียม เซลลูลาร์ เคเบิล
อินเทอร์เน็ต (Internet)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆเครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้ในสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ เรียกว่า โพรโทคอล ผูู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายทาง
โพรโทคอล (Protocol)
ข้อกำหนดหรือข้อตกลงเพื่อให้การรับส่งข้อมูลระหว่างกันมีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ
เป็นตัวกำหนดเรื่องของความสามารถในการทำงานร่วมกัน
3. signal and transmission
3.1 บทนำ
การส่งผ่านข้อมูล (Data Transmission)
จัดเก็บได้ 2 วิธีคือ อนาล็อก (Analog) และ ดิจิทัล (Digital)
คอมพิวเตอร์ที่จะใช้ข้อมูลนั้นต้องอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ไม่ต่อเนื่อง
สัญญาณยังสามารถอยู่ในรูปแบบแอนะล็อคและดิจิทัล
ในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล จำเป็นต้องแปลงเป็นรูปแบบดิจิทัลก่อน
- Digital Transmission
แปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อใช้สำหรับการส่งของผ่านเครือข่ายคอมพิมเตอร์
- Analog Transmission
แปลงสัญญาณให้อยูู๋ในรูปแบบของอะนาล็อก เพื่อใช้สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โดยผ่านกระบวนการกลำ้สัญญาณ (Modulation)
3.2 การแปลงสัญญาณด้วยวิธีมอดดูเลชัน (Modulation)
มอดดูเลชันมีพื้นฐานสัญญาณอยู่ 3 ชนิด คือ
การเปลี่ยนแอมพลิจูดของสัญญาณ (Amplitude Modulation)
แอมพลิจูด คือตัวแสดงพลังงานของคลื่นถ้าสูงแสดงว่าคลื่นมีค่ามาก
การเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณ (Frequency Modulation)
ความถี่ คือจำนวนครั้งหรือจำนวนรอบของการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เกิดขึ้นในช่วงนี้
การเปลี่ยนเฟสของสัญญาณ (Phase Modulation) *เฟส คือลักษณธของคลื่นเสียง 2 สัญญาณเกิดในเวลาต่างกัน
Amplitude Modulation (AM)
ปรับเปลี่ยนตามลักษณะของแอมพลิจูดของสัญญาณ เพื่อให้เกิดเป็นคลื่นสัญญาณใหม่ที่ผ่านกระบวนการมอดดูเลชัน เช่น การกระจายเสียงวิทยุในระบบเอเอ็ม
Frequency Modulation (FM)
เปลี่ยนสัญญาณเฉพาะความถี่เท่านั้น เช่นการกระจายเสียงวิทยุในระบบเอฟเอ็ม
Phase Modulation (PM)
เปลี่ยนแปลงสัญญาณเฉพาะเฟสเท่านั้น
การเข้ารหัสสัญญาณ (Line Coding)
กระบวนาการแปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณดิจิทัล
ข้อมูลดิจิทัลอยู่ในรูปแบบไบนารี ข้อมูลนี้แสดง (จัดเก็บไว้) ภายในเป็นชุดของ 1 และ 0
Line Coding Methods
Unipolar
Uses only one voltage level (one side of time axis)
1 มีแรงดันไฟฟ้า , 0 ไม่มีแรงดันไฟฟ้า
Polar
Uses two voltage levels (negative and positive)
Non-return to Zero (NRZ), Return to Zero (RZ), Manchester,Differential Manchester
Bipolar
Uses three voltage levels (+,0,and -)for data bits
Multilevel
Unipolar encoding
การเเปลงบิตข้อมูลที่ค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน
แต่ปัจจุบันไม่มีการใช้งานแบบนี้แล้ว
ถ้าข้อมูลเป็น 1 จะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า มีแรงดันไฟฟ้าค่าหนึ่ง
ถ้าข้อมูลเป็น 0 คือจะไม่มีแรงดันไฟฟ้าในการส่ง
Polar encoding
การแปลงโดยใช้แรงดันไฟฟ้า 2 ระดับในการแทนบิตข้อมูลคือมีแรงดันไฟฟ้า ค่าบวก ค่าลบ 4 วิธี
Nonreturn to Zero (NRZ) มีรูปแบบการใช้งาน 2 อย่าง
NRZ -Level วิธีการนี้ถ้าบิตมีค่าข้อมูลเป็น 0 แรงดันจะมีค่าเป็นบวก ถ้าเป็น 1 แรงดันไฟฟ้าจะมีค่าเป็นลบ
NRZ- Invert วิธีนี้ไม่สนใจว่าลบหรือบวกจะเปลี่ยนเป็นแรงดันไฟฟ้า หรือบิตเป็น1เท่า ถ้าบิตเป็น 0จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
Return to zero (RZ) วิธีนี้ถ้าบิตข้อมูลมีค่าเป็น 1 แรงดันไฟฟ้าจะมีค่าบวก แต่ถ้า บิตเป็น 0 จะมีค่าลบ ไม่เหมือน NRZ-L แตกต่างกันที่ทุกครั้งเมื่อต้องการจะแปลงบิต ข้อมูลในแต่ละบิต หลังจากเปลี่ยนเป็นบวกหรือลบแล้ว จะต้องกลับมาเป็น 0 ก่อนเสมอ
Manchester
ถ้าข้อมูลมีค่าเป็น 1 จะเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจาก ลบ ไป บวก
ถ้าข้อมูลมีค่าเป็น 0 จะเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจาก บวก ไป ลบ
Different Manchester
ถ้าข้อมูลมีค่าเป็น 1 ไม่ต้องเปลี่ยนสัญญาณ
ถ้าข้อมูลมีค่าเป็น 0 เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า
จะมีการเปลี่ยนช่วงตรงกลางของข้อมูลบิต หรือคือทุกๆครึ่งบิตจะเปลี่ยนแรงดันจาก ลบ ไป บวก หรือ บวก ไป ลบ
Bipolar encoding
วิธีการนี้ใช้แรงดันไฟฟ้า 3 ระดับ คือ บวก ลบ และ 0
เมื่อบิตเป็น 0 แรงดันไฟฟ้าจะเป็น 0
เมื่อบิตเป็น 1 แรงดันไฟฟ้าจะสลับกันระหว่างเป็นบวกหรือลบ
Block coding
การเข้ารหัสที่ปรับปรุงประสิทธิภาพของ Line coding ให้ดีขึ้น ทำให้ความผิดพลาดจากการส่งน้อยลง โดยเพิ่มบิตพิเศษเข้าไปช่วยในการตรวจสอบความสอดคล้องกันในการส่งข้อมูลและตรวจสอบความผิดพลาดแบ่งออก 3 ขั้นตอน
การแบ่งบิตข้อมูล แบ่งข้อมูลออกเป็นย่อยๆ ตามการเข้ารหัสข้อมูลแบบ 8B/10B1 จะแบ่งกลุ่มละ 8 บิต
การแทนที่บิตข้อมูลคือขั้นตอนการเพิ่มบิตพิเศษเข้าไป เพื่อช่วยในการตรวจสอบความสอดคล้องกันในการส่งข้อมูล และตรวจความผิดพลาด แบ่ง 3 ขั้นตอน
Line coding คือการแปลงข้อมูลบิตเป็นสัญญาณดิจิทัล
Analog-to-Digital Conversion
ไมโครโฟนสร้างเสียงอนาล็อกและกล้องสร้างวิดีโออนาล็อก ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูล อนาล็อก
ในการส่งข้อมูลอนาล็อกนี้ผ่านสัญญาณดิจิทัล จําเป็นต้องมีการแปลงอนาล็อก เป็นดิจิทัล
ข้อมูลอนาล็อกเป็นกระแสข้อมูลต่อเนื่องในรูปคลื่นในขณะที่ข้อมูลดิจิทัลไม่ต่อเนื่อง
ในการแปลงคลื่นอนาล็อกเป็นข้อมูลดิจิทัล เราใช้ Pulse Code Modulation (PCM)
PCM เป็นวิธีการที่ใช้บ่อยที่สุดในการแปลงข้อมูลอนาล็อกให้เป็นรูป แบบดิจิทัล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
Sampling
Quantization
Encoding
การสุ่มสัญญาณ (Sampling)
เป็นกระบวนการในการแปลงอะนาล็อค เป็นดิจิทัล
อัตราการแซมปลิงต่ําสุดที่จะทําให้แปลงเป็นดิจิทัลได้โดย
การหาปริมาณ (Quantization)
การหาปริมาณจะทําระหว่างค่าแอมพลิจูดสูงสุดและค่าแอมพลิจูดต่ําสุด
การหาปริมาณเป็นการประมาณค่าอนาล็อกในทันที
การเข้ารหัส (Encoding)
การเข้ารหัส (Encoding)
ในการเข้ารหัส แต่ละค่าโดยประมาณจะถูกแปลงเป็นรูปแบบไบนารี
การแปลงสัญญาณอยู่ในรูปแบบของคลื่นสัญญาณข้อมูล
รับส่งจากต้นทางไปยังปลายทาง
เมื่อถึงปลายทางก็ถูกแปลงกลับให้เป็นข้อมูลด้วยวิธีการดีมอลดูเลชัน
การแปลงสัญญาณทำให้คลื่นสัญญาณมีกำลังส่งแรงขึ้น ทำให้ส่งสัญญาณได้ในระยะทางไกลขึ้น
อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายอาจจะมียี่ห้อที่แตกต่างกัน
แต่ก็สามารถใช้วิธีการมอดดูเลชันได้ กระบวนการมอดดูเลชันเป็นกระบวนการมาตรฐานที่อุปกรณ์เครือข่ายทุกยี่ห้อต้องสามารถทำได้
3.3 การสื่อสารข้อมูล
ใช้คลื่นสัญญาณในการรับส่งข้อมูล
ในปัจจุบันคลื่นสัญญาณที่ใ้ชในการรับส่งข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบของคลื่นสัญญาณดิจิทัล เพราะว่าคลื่นสัญญาณดิจิทัลไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลในปริมาณ
ใช้เพียงแค่ไบนารีเป็น 0 และ 1 ในการแทนค่าของข้อมูลในการสื่อสารข้อมูลดิจิทัลจะทำในระดับบิต แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ
การสื่อสารข้อมูลแบบคู่ขนาน (Parallel Transmission)
การส่งข้อมูลหนึ่งบิตต่อหนึ่งช่องทาง
ส่งข้อมูลรวดเร็วกว่าแบบอนุกรม
เพราะเป็นการส่งแบบหนึ่งบิตต่อหนึ่งช่องทางจึงไม่ต้องมีแถวคอย
แต่จะสิ้นเปลืองสายส่งมากว่าแบบอนุกรม
ใช้ในการส่งข้อมูลระยะสั้นผ่านพอร์ตคู่ขนาด โดยชุดข้อมูลที่ส่งมีทั้งหมด 8 บิต (ดังนั้นการขนส่งจึงมี 8 ช่องทาง)
จังหวะการส่งข้อมูล
การรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางไปยังปลายทางนั้นจําเป็นจะ ต้องใช้จังหวะในการรับส่งข้อมูลเพื่อใช้ในการลําดับข้อมูลให้ ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
เนื่องจากข้อมูลที่ใช้ส่งเป็นข้อมูลดิจิทัลมีลักษณะเป็นแบบ กระแสข้อมูล หรือ สตรีม (Stream)
ในการส่งข้อมูลปริมาณจะต้องมีการเรียงลําดับตามจังหวะ ของข้อมูล ซึ่งจังหวะที่ใช้ในการส่งข้อมูลจะมี 2 จังหวะ ดังนี้
อะซิงโครนัส (Asynchronous)
การส่งข้อมูลที่ไม่ได้อําศัยจังหวะ ในการรับส่งข้อมูล
แต่จะใช้วิธีการกําหนดบิตพิเศษ เพ่ือบอกจุดเริ่มต้น
เรียกว่า บิตเริ่มต้น (Start bit) และบิตสิ้นสุด (Stop bit)
โดยบิตเหล่าน้ีจะถูกใส่ไว้ในส่วนหัว และส่วนท้ายของกลุ่มข้อมูลตาม ลําดับ
ซิงโครนัส (Synchronous)
• การส่งข้อมูลท่ีอาศัยจังหวะในการรับส่งข้อมูล โดยจะมีการใส่ข้อพิเศษ เรียกว่า SYN Characters
• เพื่อใช้บอกลําดับของการรับส่งข้อมูลเพื่อรับประกันว่ากลุ่มข้อมูลที่ถูกส่งถึงปลาย ทางจะมีความถูกต้องและสมบูรณ์
• ส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก มีอัตราความเร็วและประสิทธิภาพมา
• เพราะพื้นที่ในบรรจุในกลุ่มข้อมูลน้อยกว่า และไม่จําเป็นจะต้องมีซิงคาเรคเตอร์
เท่ากับจํานวนช่องทางและบิตพิเศษแบบอะซิงโครนัส
4. Communication Network
4.1 การส่งผ่านข้อมูลภายในเครือขาย
กระบวนการที่มีเทคโนโลยีรองรับหลากหลาย ภายในการสื่อสารนั้นจะมีจุดเส้นทางที่เรียกว่า node เพื่อเป็นตัวกลางของการสื่อสาร มีการใช้งานอยู่ 3 รูปแบบ คือ
Packet Switching
Circuit Switching
Message Switching
1. Packet Switching
วิธีการสื่อสารข้อมูลในเครอืข่ายดิจทิัลที่รวมกลุ่มข้อมูลที่จะส่ง ทั้งหมดเป็นเนื้อหา,ชนิดหรือโครงสรา้งจัดให้เป็นบล็อกที่มีขนาด เหมาะสม เรียกว่า แพ็กเกต
ส่งกระแสข้อมูล (ลาดับของแพ็กเกต) ต่อเนื่องแบบ variable-bit-rate ผ่านทางเครือข่ายที่ใช้รว่มกัน
เมื่อข้อมูลไหลไปตาม Network Adapter Switch Router และ โหนดเครือข่ายอื่นๆ
แพ็กเกตจะถูกพักเอาไว้และเข้าควิ ซึ่งเป็นผลทาให้เกิดความล่าช้าและ ปริมาณแพ็กเกตตอ่หนว่ยเวลา(Throughput)ที่แปรไปตามปรมิาณ การจราจรในเครอื ข่าย
การรวมเอาขอ้ดขีองเครือข่ายเซอร์กติสวติชิง (Circuit Switching) และเครือข่ายแมสเสจตส์ วิตชิง (MessageSwitching)เข้าดว้ยกนักาจดัขอ้เสยีของ เครือขา่ยทั้งสองชนิดนี้ด้วย
แต่ลักษณะทวั่ไปแลว้เครือขา่ยแพ็กเกตสวติชงิจะมี ลักษณะคลา้ยคลงึกบั เครือขา่ยแมสเสจสวติ ชิงมากกว่า
มี 2 โหมดที่สำคัญคือ
1. แบบดาต้าแกรมสวิตชิง (connectionless)
โหมดนี้แต่ละแพ็กเกตจะประกอบด้วยข้อมูลที่อยูู่หรือเส้นทางทั้งหมดแพ็กเกตจะถูกส่งแยกกันไปในแต่ละเส้นทาง บางครั้งไม่เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง โพรโทคอล connection less ได้แก่ Ethernet , IP และ UDP
2. แบบเซอร์กิตสวิตชิงเสมือน (connection- oriented)
โหมดนี้เส้นการเชื่อมต่อจะถูกกำหนดล่วงหน้าในโหมดที่ต่อเนื่องกันก่อนที่จะแพ็กเกตใดๆ จะถูกส่งออกไป ก็แพ็กเกตจะมี connection identifier
แทนที่จะเป็นข้อมูลแอดเดรสเหมือนแบบ connectionless
มีการส่งข้อมูลเรียงตามลำดับก่อนหลัง โพรโทคอล connection oriented ได้แก่ x.25 , frame relay , MPLS และ TCP
X.25 เปรียบเทียบกับ Frame Relay packet switching
X.25 และ Frame Relay
ให้การเชื่อมต่อแบบ connection- oriented หรือที่เรียกว่า virtual circuit switching
X.25 เป็นโพรโทคอลที่เชื่อถือได้โดย การร้องขอซ้าอัตโนมัตทิ ีละโหนด
Frame Relay เป็นโพรโทคอลท่ีไม่ น่าเชื่อถือและแพ็กเกตสูงสุดคือ 1,000 ไบต
2. Circuit Switching
การรับส่งข้อมูลจากจุดกนึ่งไปยังจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (point-to-poinr) โดยใช้การตรวจสอบและติดตั้งเส้นทางการเชื่อมต่อ (Circuit Establishment) ภายใน node ที่ว่าง
สามารถส่งข้อมูลกันได้ตลอดเวลา จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะทำการปลดการเชื่อมต่อของตัวเองออก จึงสิ้นสุด เช่น การติดต่อทางสายโทรศัพท์
3. Message Switching
เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล
การส่งข้อมูล จะนำข้อมูลมารวมกันเป็นบล็อกข้อมูล มีขนาดเท่าใดก็ได้เรียกว่า Message
ผู้ส่งจะส่ง Message ไปยังโหนดแรกในเครือ ข่าย ซึ่งโหนดแรกนนั้ จะเก็บ ข้อมลู ไว้ จนกว่าโหนด ถัดไปมีที่ว่าง (Buffer) พอสาหรับข้อมูลนั้น จึงทาการส่งข้อมลูไปใหข้อมูลจะถูกส่งไป เรื่อยๆจนถึงปลายทาง
เครือข่ายส่งผ่านข้อมลู เเบบนี้ เรียกวา่เครือข่ายเเบบเก็บรอเเละส่งออก (Store and Forward Network)
ช่วงการเก็บข้อมูลไว้ในแตล่ะโหนดจะมี การประมวลผลข้อมูล เช่น การตรวจสอบ ความผดิ พลาดข้อมูล หากข้อมูลนั้นถูกต้อง จะส่งการตอบรับ (Acknowledge) กลับไปยังผู้ส่ง
ค่าบริการในการส่งผ่านข้อมูล ในเครือ ข่าย เมสเสจสวิตชิงขึ้นอยู่กับขนาดข้อมูลที่ส่ง เช่น e-Mail
5. Transmission Media
5.1 บทนำ
สื่อการส่งข้อมูลคือเส้นทางกายภายระหว่างจัวส่งและตัวรับ สื่อสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1. สื่อกลางประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง
สายคู่บิดเกลี่ยว (Twisted- Pair Cable)
มีราคาถูกที่สุด
ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดบางเพียง 1 มิลลิเมตร
มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกดันเป็นเกลียวและนิยมใช้กันแพร่หลาย
หัวเชื่อต่อ (Modular Plugs)
ใช้หัว แบบ RJ-45 คล้ายกับ RJ-11 ที่เป็นหัวใช้กับโทรศัพท์ทั่วไป ซึ่งหัว RJ-45 มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ไม่สามารถเสีอบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และจะเชื่อมสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ แต่หัว RJ-11 ใช้ได้เพียงแค่ 2 คู่เท่านั้น
สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)
มี 2 ชนิด 50โอเมก้า และ 75
ประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลัก 1 เส้น หุ้มด้วยตัวนำฉนวนลวดตาข่ายทองแดงฉนวนหุ้มภายนอก
นิยมใช้เชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลหรือใต้ดิน
สายโคแอ็กเชียลแบบบาง (Thin Coaxial Cable)
ขนาด 0.64 cm.
ขนาดเล็ก มีความยืดหยุ่นสูง
นำสัญญาณได้ไกลประมาณ 185 m.
ใช้เชื่อมต่อกับ computer โดยใช้มาตรฐาน Ethenet
สายโคแอ็ดเชียลแบบหนา (Thick Coaxial Cable)
- ขนาด 1.27 cm.
ขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่า
นำสัญญาณได้ไกลถึง 500 m.
นิยมใช้เป็นสายส่งสัญญาณหลัก (Backbone) ของเครือข่าย
คอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมและถูกแทนด้วยเส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable)
หัวเชื่อมต่อสายโคแอ็กเชียลทั้ง 2 ประเภทจะใช้หัววเชื่อมต่อชนิดเดียวกันเรียกว่า หัว BNC ซึ่งมีหลายแบบดังนี้
หัวเชื่อมต่อแบบ BNC (BNC Connector)
เป็นหัวที่เชื่อมเข้ากับปลายสาย
หัวเชื่อมสายรูปตัวที (T Connector)
ใช้เชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณ
หัวเชื่อมสาย Barrel (BNC Barrel Connector)
ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณเพื่อให้สายมีขนาดยาวขึ้น
ตัวสิ้นสุดสัญญาณ (BNC Terminator)
ใช้ในการสิ้นสุดสัญญาณที่ปลายสายเพื่อเป็นการสิ้นสุดสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับ เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสัญญาณรบกวน ที่ใช้นำข้อมูลจริงซึ่งจะทำให้เครือข่ายล้มเหลวในที่สุด
เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable)
มีแกนของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพาสติกขนาดเล็กหลายๆเส้นอยู่ด้วยกัน
การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่ของสัญญาณข้อมูลสูงมาก
ไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
มีความปลอดภัยในการส่งสูง
ข้อเปรียบเทียบ
Broadband Transmission
แบ่งสายสัญญาณออกเป็นช่องสัญญาณขนาดเล็กจำนวนมาก ใช้ส่งโดยมีช่องสัญญาณกันชนป้องกันการรบกวน
แต่ละช่องรับ-ส่งข้อมูลได้พร้อมกัน
สัญญาณ Analog
ส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้หลายร้อยช่อง
Baseband Transmission
มีช่องสัญญาณเดียว
มีความกว้างของสัญญาณมาก
การรับส่งสัญญาณเป็นแบบ Half Duplex
ใช้ในระบบ LAN ส่งสัญญาณแบบ Digital
2. สื่อกลางประเภทไร้สาย ได้แก่ คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นอินฟาเรด
มีข้อกำหนดในเรื่องการติดตั้งและเดินสายสัญญาณในบางพื้นที่ ระยะไกลทำได้ยาก จึ่งได้พัฒนาสื่อกลางแบบไร้สาย โดยใช้อากาสเป็นตัวนำพาสัญญาณ ได้แก่
คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นแม่เเหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าใน
สายอากาศ ทำให้เกิดคลื่นแพร่กระจายไปรอบทิศทางของสายอากาศ
สัญญาณไมโครเวฟเดินทางเป็นแนวเส้นตรง (Line-of-Sight Thansmission)
เรียกว่า สัญญาณทิศทางเดียว (Unidirectional)
โดยลักษณะการแพร่กระจายของคลื่นวิทยุจะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ
1. การแพร่กระจายตามพื้นดิน (Ground Propagation)
คลื่นวิทยุความถี่ตำ่น้อยกว่า 2 MHz โดยคลื่นจะถูกเคลื่อนตามแนวโค้งของพื้นโลก
2. การแพร่กระจายตามท้องฟ้า (Sky Propagation)
คลื่นวิทยุความถี่สูง ระหว่าง 2 ถึง 30 MHz คลื่นส่งขึ้นไปชั้นบรรยากาศไอโอเนสเฟียร์ และสะท้อนกลับมายังโลก
3. การแพร่กระจายระดับสายตา (Line-of-Sight Propagation)
คลื่นวิทยุความถี่สูงกว่า 30 MHz โดยในการรับสัญญาณจะใช้เสาอากาศช่วยเพื่อหลบแนวความโค้งของโลก
สื่อกลางประเภทไร้สาย
คลื่นไมโครเวฟ
คลื่นวิทยุความถี่สูงมาก (1-300 GHz)
เสาอากาศที่รับส่งต้องอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน เป็นสัญญาณทิศทางเดียว (Unidirectional)
การรับส่งสัญญาณผ่านไมโครเวฟซึ่งเป็นคลื่นวิทยุความถี่สูง
เหมาะสมในการสื่อสารระยะใกล้ไม่เกิน 30 ไมล์ ใช้ในบริเวณที่ไม่สามารถเดินสายสัญญาณได้และไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น อาคารสูง
ช่วยให้สืื่อสารในพื้นที่ที่สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้
ช่วงความถี่กว้างสำหรับการใช้งานจึงถูกนำไปใช้ในการสื่สารระยะไกล แต่ข้อจำกัดที่คลื่นเดินทางเป็นเส้นตรงจึงไม่สามารถทะลุสิ่งกีดขวางและควงามโค้งของโลกได้
ข้อดี
ใช้ในพื้นที่ที่เดินทายไม่สะดวก
ราคาถูก
ติดตั้งง่าย
อัตราการส่งข้อมูลสูง
ข้อเสีย
1.สัญญาณถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากธรรมชาติ
คลื่นอินฟราเรด (Infrared)
รังสีใต้แสง เป็นคลื่นวิทยุความถี่สูง (300 GHz - 400 THz) แต่มีความยาวคลื่นตำ่ (1 มิลลิเมตร - 770 นาโนเมตร)
การเดินทางของคลื่นเป็นเส้นตรง และมักถูกนำมาใช้ในการสื่อสารระยะใกล้ประมาณ 30 ถึง 80 ฟุต
ไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุได้
บลูทูธ (Bluetooth)
คลื่นวิทยุความถี่สูงประมาณ 2.4 GHz
ใช้พลังงานเพียง 0.1 วัตต์
รับส่งข้อมูลที่เป็นทั้งภาพและเสียงได้
ระยะการสื่อสารไม่ไกลมากอยู่ในระยะ 5 - 10 เมตร
-นำมาใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายส่วนบุคคล
เซลลูล่าร์ (Cellular)
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในระบบการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่
มีแถบคลื่นความถี่ระหว่าง 300 MHz - 3 GHz
ใช้การแบ่งช่องสัญญาณความถี่
กำหนดระยะห่างระหว่างช่องสัญญาณอยู่ที่ 30 KHz
แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นคลื่นความถี่ผ่านไปยังเซลล์ แต่ละเซลล์เป็นทอดๆออกไปคล้ายรังผึ้ง
แต่ละเซลล์มาตรฐานจะมีพื้นที่ให้บริการประมาณ 20 - 50 km
ถ้าขนาดเล็กจะมีพื้นที่ให้บริการประมาณ 5 -15 km
ถ้าขนาดจิ๋ว จะมีพื้นที่ให้บริการประมาณ 1 - 5 km
พื้นที่เซลล์ที่อยู่ติดกันจะให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในเซลล์นั้น
การสื่อสารจะใช้สัญญาณความถี่สูงที่ไม่ซำ้กันเพื่อป้องกันการรบกวนกัน ขนาดพื้นที่ของเซลล์จะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นในการใช้งานขณะนั้น
ระบบเซลลูล่าร์ได้เปลี่ยนจากแอนะล็อกเป็นดิจิทัล เพราะในระบบดิจิทัลจะทนต่อสัญญาณรบกวนและสามารถเพิ่มช่องสัญญาณได้มากขึ้น
ใช้หลักในการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นช่วงเวลา TDMA ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ความถี่เดียวกันได้ในการรับส่งสํญญาณ เรียกว่า GAM
ต่อมามีการพํมนาระบบการรับส่งสัญญาณแบบหลายช่องทางขึ้นใหม่โดยต้องมีการใส่รหัส ของสัญญาณเพื่อช่วยให้ประหยัดความถี่อีกด้วย เรียกว่า ระบบ CDMA