Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน และสิ่งแปลกปลอมเข้าหู ตา คอ จมูก,…
กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน
และสิ่งแปลกปลอมเข้าหู ตา คอ จมูก
กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน
กระดูกหัก
ความหมาย
ภาวะที่กระดูกได้รับแรงกระแทกมากเกินไป
ส่งผลให้กระดูกไม่สามารถ
รองรับน้ำหนักได้ และเกิดการหักขึ้น
ชนิด
หักแบบปิด และแบบเปิด
กระดูกหักแบบปิด หรือแบบไม่มีแผล (Closed fracture)
กระดูกหักแบบเปิด หรือแบบแผลเปิด (Opened fracture)
หักแบบสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์
กระดูกหักโดยสมบูรณ์ (Complete fracture)
กระดูกหักไม่สมบูรณ์ (Incomplete fracture)
สาเหตุ
เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร รถชน
เกิดจากพยาธิสภาพ (pathological fracture) เช่น ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) มะเร็งกระดูก (primary bone tumor)
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป: ชื่อ-สกุล เพศ อายุ เพศ อายุ เชื้อชาติศาสนา อาชีพ
อาการสำคัญ (Chief complaint: C.C.):
อาการสำคัญ 1-3 อาการและระยะเวลาที่มีอาการ
อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness: PI)
โดยใช้หลักของ OLDCART
Onset: เริ่มเกิดอาการเมื่อไหร่ เช่น ค่อยๆปวดขึ้นเรื่อยๆ หรือเกิดแบบทันทีทันใด
Location: ตำแหน่งที่มีอาการ
Duration: ระยะเวลาที่มีอาการ,
ความถี่ของอาการที่เป็น
Characteristic: ลักษณะของอาการ เช่น
ปวดแบบตื้อๆ ปวดเสียดแทง ปวดแสบ ปวดบิด
Associated symptom: ลักษณะอาการร่วม
Relieving factor: ปัจจัยที่ช่วยให้อาการบรรเทา หรือเป็นมากขึ้น เช่น ถ้าอยู่นิ่งจะปวดลดลง
Treatment: การรักษาที่ได้รับมาก่อน เช่น การรับประทานยา หรือทายาลดปวด
ตรวจร่างกาย
ประเมินสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต และความเข้มข้น
ของออกซิเจนในเลือด (O2 saturation)
ดู: อาการบวมบริเวณกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ มีรอยช้ำและเลือดออกจากผิวหนัง ดูภาวะซีด (pallor), อวัยวะผิดรูป (deformity)
คลำ: จับกระดูกอาจได้ยินเสียงกระดูกหักเสียดสีกันกรอบแกรบ,
ประเมินการไหลเวียนเลือดส่วนปลาย
ขยับ: ประเมิน ROM ของผู้ป่วย
วัด: กรณีที่เป็นกระดูกหักแบบปิด รยางค์ที่หักจะสั้นกว่าข้างที่ปกติ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การทำ MRI หรือ X-Ray เพื่อดูตำแหน่งที่หัก และประเภทของการหัก
การรักษาโรคเบื้องต้น
ห้ามดึงข้อหรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตัวเอง
หากจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้า ควรใช้กรรไกรตัดตามตะเข็บผ้า
ใช้วัสดุที่พอหาได้หรือดามเฝือกชั่วคราว เพื่อให้บริเวณที่บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ในท่าที่สบาย
ห้ามเลือดผู้ป่วย โดยใช้ผ้าขนหนูแห้งสะอาดวางปิดแผล หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้กดห้าม เลือด
ไปตรงบริเวณที่เลือดไหลออกมา
ประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยความเย็น และยกอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บให้สูง เพื่อลดอาการปวดบวม
ทำความสะอาดแผล โดยใช้หลัก sterile technique
ประเมินการไหลเวียนเลือดของผู้ป่วย โดยกดเบาๆ เหนือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ส่งต่อโรงพยาบาลโดยเร็ว
การใส่เฝือกชั่วคราว
ควรเลือกใช้วัสดุสำหรับทำเฝือกชั่วคราว เช่น ไม้กระดาน, กิ่งไม้
มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอที่จะประคองส่วนที่หักได้ อย่าให้แน่นจนเกินไปเพราะ
จะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด
จัดวางตำแหน่งให้เหมาะสม ในกรณีกระดูกแขนหัก ควรให้มือยกสูงกว่าข้อศอกเสมอ
บริเวณที่เข้าเฝือกจะต้องจัดให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด อย่าจัดกระดูกให้เข้ารูปเดิม ไม่ว่า
กระดูกที่หักจะโค้ง โก่ง หรือ คด ก็ควรเข้าเฝือกในท่าที่เป็นอย
ข้อเคล็ด
ความหมาย
การที่ข้อต่อมีการเคลื่อนตัวมากเกินไป ท าให้เนื้ออ่อนๆ ที่อยู่รอบข้อต่อ เช่น เยื่อเอ็นหุ้มข้อ หรือ
กล้ามเนื้อรอบๆ มีการฉีกขาด มักได้พบเสมอทุกข้อต่อ
สาเหตุ
การหกล้ม ข้อบิด ถูกกระแทก ตกจากที่สูง หรือการยกของหนักอาจท าให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่ยึด
อยู่รอบๆ ข้อต่อฉีกขาด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การเล่นกีฬา/ การออกำลังกาย หรือน้ าหนักเกิน
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป: ชื่อ-สกุล เพศ อายุ เพศ อายุ เชื้อชาติศาสนา อาชีพ ลักษณะงาน
อาการสำคัญ (Chief complaint: C.C.): อาการสำคัญ 1-3 อาการและระยะเวลาที่มีอาการ เช่น ปวดข้อมือ 5 นาทีก่อนมา
อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness: PI) โดยใช้หลักของ OLDCART เป็นกรอบใน
การซักประวัติ
Onset: เริ่มเกิดอาการเมื่อไหร่ เช่น ค่อยๆปวดขึ้นเรื่อยๆ หรือเกิดแบบทันทีทันใด โดยผู้ที่มี
ข้อเคล็ดจะมีการปวดเล็กน้อยจนถึงปวดรุนแรงมาก และปวดทันทีทันใด ถ้ากดดูจะยิ่งเจ็บมาก
Location: ตำแหน่งที่มีอาการ
Duration: ระยะเวลาที่มีอาการ, ความถี่ของอาการที่เป็น
Characteristic: ลักษณะของอาการ เช่น ปวดแบบตื้อๆ ปวดเสียดแทง ปวดแสบ ปวดบิด
Associated symptom: ลักษณะอาการร่วม
Relieving factor: ปัจจัยที่ช่วยให้อาการบรรเทา หรือเป็นมากขึ้น
Treatment: การรักษาที่ได้รับมาก่อน เช่น การรับประทานยา หรือทายาลดปวด
ตรวจร่างกาย
ประเมินสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต และความเข้มข้น
ของออกซิเจนในเลือด (O2 saturation)
ดู: อาการบวม หรือรอยฟกช้ำบริเวณที่มีข้อเคล็ด
คลำ: ร้อนบริเวณที่มีข้อเคล็ด
ขยับ: ประเมิน ROM ของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยที่มีข้อเคล็ดจะเคลื่อนไหวข้อไม่ได้ เพราะ
จะมีอาการเจ็บ อาจเกิดการชาไปทั่วบริเวณนั้น แสดงว่าเส้นประสาทถูกฉีกขาดไปด้วย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
X-Ray เพื่อดูตำแหน่ง และความรุนแรงของข้อเคล็ด
การรักษาโรคเบื้องต้น
พักการใช้ข้อ ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ ขยับเขยื้อนให้น้อยที่สุด ถ้าเป็นที่ข้อเท้าแพลงก็พยายามหลีกเลี่ยง
การเดิน
ใช้ผ้าพันส่วนที่บวม เพื่อลดการบวม จำกัดการเคลื่อนไหว
ในกรณีที่เพิ่งได้รับบาดเจ็บในระยะ 48 ชั่วโมงแรก ให้ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น นาน 15-30 นาที วันละ 3-4 ครั้ง
ถ้าปวดมาก ให้ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล หรือIbruprofen เพื่อบรรเทาปวด
ในระยะหลังบาดเจ็บ 48 ชั่วโมง หรือเมื่อข้อบวมเต็มที่แล้ว ให้ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ นาน 15-30
นาที วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อลดอาการอักเสบ
ใช้ผ้ายืดพันยึดรอบข้อเท้า อาจให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์แบบสวมพยุง
ข้อเท้า (Brace)
ถ้าเป็นมากจนเคลื่อนไหวข้อนั้นไม่ได้เลย หรือสงสัยกระดูกแตกร้าว หรือเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อขาด
หรือดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วไม่รู้สึกดีขึ้นให้รีบส่งต่อโรงพยาบาล
ข้อเคลื่อน
ความหมาย
ภาวะที่หัวกระดูกหรือปลายกระดูกสองอัน ที่มาชนกันเป็นข้อเคลื่อนหรือหลุดออกจากต าแหน่งปกติ
สาเหตุ
เกิดจากความพิการแต่กำเนิด พยาธิสภาพ
หรือการกระแทกที่บริเวณข้อ
เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์
รถจักรยานยนต์
เกิดจากกีฬาที่มีการปะทะกัน เช่น รักบี้ ฟุตบอล
เกิดจากการถูกตี หกล้ม หรือการเหวี่ยง การบิด
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป: ชื่อ-สกุล เพศ อายุ เพศ อายุ เชื้อชาติศาสนา อาชีพ ลักษณะงาน
อาการสำคัญ (Chief complaint: C.C.): อาการสำคัญ 1-3 อาการและระยะเวลาที่มี
อาการ เช่น ปวด บวมข้อศอก 15 นาทีก่อนมา
อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness: PI) โดยใช้หลักของ OLDCART เป็นกรอบใน
การซักประวัติ
Onset: เริ่มเกิดอาการเมื่อไหร่ เช่น ค่อยๆปวดขึ้นเรื่อยๆ หรือเกิดแบบทันทีทันใด
Location: ตำแหน่งที่มีอาการ
Duration: ระยะเวลาที่มีอาการ, ความถี่ของอาการที่เป็น
Characteristic: ลักษณะของอาการ จะปวดมาก จากการฉีกขาดของเอ็น พังผืด
Associated symptom: ลักษณะอาการร่วม
Relieving factor: ปัจจัยที่ช่วยให้อาการบรรเทา
Treatment: การรักษาที่ได้รับมาก่อน เช่น
การรับประทานยา
ตรวจร่างกาย
ประเมินสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต และความเข้มข้น
ของออกซิเจนในเลือด (O2 saturation)
ดู: ข้อมีรูปร่างผิดปกติไปจากเดิม สีของบริเวณข้อที่ได้รับบาดเจ็บเปลี่ยนไป มีอาการบวม
รอบๆ ข้อ จากการฉีกขาดของเอ็น พังผืด
คลำ: กดเจ็บ จากการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อต่อตรงตำแหน่งที่
หลุด อาจคลำพบปลายหรือหัวกระดูกที่เคลื่อนออกมา
ขยับ: ประเมิน ROM ของผู้ป่วย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ: MRI หรือ X-Ray
การรักษาโรคเบื้องต้น
ใช้วัสดุที่หาได้หนุนหรือประคองข้อ และกระดูกที่เคลื่อนให้อยู่ในท่าที่สบาย
ใช้ผ้าพยุงหรือดามไว้ ให้ส่วนนั้นให้อยู่ในท่าพัก ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ
ประคบด้วยน้ำแข็งบริเวณข้อ
ถ้าเป็นข้อเคลื่อนครั้งแรก อย่าพยายามดึงให้เข้าที่เอง เพราะอาจเกิดอันตรายถึงกระดูกหักได้
ส่งต่อโรงพยาบาล
ถ้าปวดมากให้ทานยา Ibuprofen (Advil) หรือ Acetaminophen (Tylenol)
NPO เผื่อกรณีที่จำเป็นต้องมีการรักษาโดยการผ่าตัด
RICE
การพัก (Rest) หยุดพักการใช้งานโดยเฉพาะในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ
การใช้ความเย็น (Ice) โดยการประคบเย็น
การพันผ้ายืด (Compression bandage)
การยก (Elevation) ส่วนของร่างกายที่ได้รับการบาดเจ็บ ให้สูงกว่าระดับหัวใจ
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู ตา คอ จมูก
สิ่งแปลกปลอมเข้าคอ
สาเหตุ
ความเผอเรอ
อายุของเด็ก สิ่งแปลกปลอมติดมากที่สุดในเด็กช่วงอายุ 1-10 ปี เป็นระยะที่เด็กชอบหยิบ ของทุก
ชนิดที่ไม่ใช่อาหารเข้าปากจึงติดคอได้
อื่นๆ เช่น อุบัติเหตุระหว่างทำฟัน
ผ่าตัดในช่องปาก ดมยาสลบ
อาการและอาการแสดง
พูดไม่ได้ไปชั่วขณะ
เจ็บคอ
หายใจไม่ออก หอบ ริมฝีปากเขียวคล้ำ
ตัวเขียว ทุรนทุราย
เจ็บคอ ไอ เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดัง
อาการเริ่มแรกจะสำลัก ไออย่างรุนแรงเสียงดังกังวาน
การรักษาโรคเบื้องต้น
ซักประวัติเกี่ยวกับสิ่งแปลกปลอม ว่าคืออะไร
ถ้าเป็นก้างหรือกระดูกขนาดเล็ก ให้ดื่มน้ำมากๆ กลืนก้อนข้าวสุก
ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้าง ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมชัดเจน ให้ใช้ไม้กดลิ้นที่พันผ้าก็อซ หรือผ้าสะอาด กดที่โคนลิ้นแล้วใช้ปากคีบ (forceps) คีบสิ่งแปลกปลอมออกมา
ห้ามใช้มือแคะ หรือล้วง เพราะจะท าให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีสิ่งแปลกปลอมฝังอยู่บวม แดง
ถ้ามองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมเลย ควรส่งต่อโรงพยาบาลทันที
หลังจากเอาสิ่งแปลกปลอมออก ให้ส่งต่อโรงพยาบาล
สิ่งแปลกปลอมเข้าตา
อาการและอาการแสดง
เคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง
อาจติดเชื้ออักเสบเป็นหนอง
อาจทำให้กลายเป็นแผลที่กระจกตา หรือเชื้อโรคอาจลุกลามเข้าไปในลูกตา
การรักษาโรคเบื้องต้น
ระคายเคืองเล็กๆ น้อยๆ
ควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา เพราะการขยี้ตาจะทำให้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าตาสัมผัสกับข้างในตามากขึ้นจนอาจไปขูดกับเลนส์ตาได้
กระพริบตาเร็วๆ เมื่อมีฝุ่นผง เศษผม หรือบางสิ่งที่มีขนาดเล็กเข้าไปติดในตา
ล้างตาด้วยน้ำสะอาด ลืมตาและปล่อยให้น้ำจากก๊อกไหลผ่านตาเบาๆ
ใช้สำลีหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดตา ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมได้
ใช้น้ำตาเทียม (Artificial tears) เพื่อการล้างตาในกรณีที่ไม่มีน้ำตาหรือน้ำ
ถ้าตาแดงอักเสบให้ป้ายหรือหยอดตาด้วยยาปฏิชีวนะ
มีขนาดใหญ่
ล้างตาด้วยวิธีน้ำไหล (flowing water) ใช้0.9% Normal saline หรือ Boric acid 3% เป็นเวลา 15-30 นาที
สังเกตสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตา ถ้าสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ แทรกอยู่ในตาหรือเป็นสิ่งที่เป็น
อันตราย เช่น เศษแก้ว, สารเคมี, หรือวัตถุมีคม/ เป็นพิษ ต้องรีบส่งต่อทันที
เขี่ยเอาสิ่งแปลกปลอมออก
ส่งต่อโรงพยาบาล
ความหมาย
ภาวะที่เศษวัตถุหรือสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น ผงดิน ทราย เส้นใย เศษเหล็ก เศษไม้เล็กๆ แมลง
หรือขนตา เป็นต้น ปลิวหรือกระเด็นเข้าตา
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
อาการและอาการแสดง
ไม่มีอาการ ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
เศษพืช หรือเมล็ดผลไม้ติดอยู่นานๆ ทำให้ช่องหูอักเสบ ปวด หนองไหล และหูตึง
สิ่งแปลกปลอมชิ้นโต อุดแน่น ทำให้หูตึง
สิ่งมีชีวิตคลานเข้าไปกระแทกช่องหูหรือแก้วหู รู้สึกรำคาญและเจ็บ หมัดสุนัขที่เกาะติดแน่นจะปวดมาก
สิ่งของอาจกลิ้งไปมา หรือแมลงดิ้นไปมา ทำให้มีเสียงในหู เวลาอ้าปาก หุบปาก หรือเคี้ยวอาหาร
จะมีเสียงดังขลุกขลักในหู
เลือดออก พบในพวกที่ใส่ของแหลมเข้าไป หรือเกิดจากอุบัติเหตุ เศษเหล็ก เศษลูกระเบิดหรือ
ลูกปืนที่เข้าในหูจะมีเลือดออกได้มาก
การรักษาโรคเบื้องต้น
ถ้าสังเกตเห็นสิ่งแปลกปลอมได้ด้วยตาเปล่าชัดเจน และไม่ได้เป็นของแข็ง ให้ใช้ปากคีบ คีบสิ่ง
แปลกปลอมนั้นออกอย่างเบามือ
แนะนำผู้ป่วยห้ามใช้ไม้พันสำลี ก้านไม้ขีดไฟ
หรือวัตถุอื่นใด เขี่ยวัตถุออกเอง
ให้ผู้ป่วยเอียงเอาหูข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมลงต่ำ และค่อยๆโยกหรือเคาะศีรษะในแนวดิ่งเบาๆ
เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาเอง
หากเป็นแมลงเข้าหู ให้เอาศีรษะข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมขึ้น และใช้น้ำอุ่น น้ำมันทาตัวเด็ก
น้ำมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง กลีเซอรีนโบแรกซ์ยาหยอดหู
ห้ามใช้น้ำหรือน้ำมัน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือของเหลวอื่นๆ ใส่ไปในรูหู ในกรณีอื่น
โดยเฉพาะถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยมีการใส่ท่อระบายน้ำในหูหรือแก้วหูทะลุ เช่น มีเลือดออก มีน้ำไหล
การล้างออกด้วยน้ำ (ear irrigation)
การดูดออก (suction catheter) สำหรับสิ่งแปลกปลอมที่ไม่มีชีวิต มีขนาดเล็กและเบา
หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหรือน้ำมันในการนำเอาวัตถุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แมลงออกจากใบหู
สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
อาการและอาการแสดง
1.น้ำมูกหรือหนองไหลจากจมูกข้างเดียว เป็นๆ หายๆ
จามระคายเคืองจมูก
จมูกมีกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีหนองปน
คัดแน่นจมูก
ปวดจมูกข้างเดียวแบบเป็นๆ หายๆ และมักหายใจทางปากตลอดเวลา
มีเสมหะไหลลงคอ ไอบ่อยๆ
การรักษาโรคเบื้องต้น
ใช้มือปิดรูจมูกอีกข้างแล้วสั่งน้ำมูกแรงๆ
กสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นมีผิวที่ขรุขระ และหยิบจับด้วยเครื่องมือได้ง่ายก็สามารถใช้ forcepsคีบออกได้
กรณีที่สั่งน้ำมูกแล้วสิ่งแปลกปลอมไม่หลุดออกมา หรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ลึก ให้รีบส่งต่อทันที
การจำแนก
สิ่งแปลกปลอมที่ไม่มีชีวิต
สิ่งแปลกปลอมที่มีชีวิต
สิ่งแปลกปลอมประเภท Rhinolith
• Endogenous rhinolith
• Exogenous rhinolith
นางสาวปลายฟ้า ทาอามาตย์ 61105359 Sec.2