Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปสาระการเรียนรู้ พ.ร.บ. วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle Diagram
สรุปสาระการเรียนรู้ พ.ร.บ. วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา 12 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ
ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ
แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาล (คนเดียว / -50 คน)
เลือกตั้ง รับเลือกตั้งหรือรับเลือกเป็นกรรมการ
ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และปฏิบัติตนตาม
พระราชบัญญัติน
มาตรา 13 สมาชิกภาพของสมาชิกสามัญสิ้นสุดลง
ตาย
ลาออก
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 11(1)
(ขาดคุณสมบัติของสมาชิกสามัญ 5 ประการ)
มาตรา 14 คณะกรรมการสภาการพยาบาล
กรรมการจากการแต่งตั้ง 16 คน
กรรมการจากการเลือกตั้ง16 คน
สมาชิกสามัญสภาการพยาบาล ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาล
และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ(โดยเลขาธิการไม่จ าเป็นต้องเลือก 1 ใน 32 คนก็ได้)โดยการเข้ามาของกรรมการทั้ง 2 ประเภท คือ แต่งตั้งจะมา
ก่อนเลือกตั้ง
มาตรา 15 กรรมการที่ปรึกษา
• คณะกรรมการอาจแต่งตั้งสมาชิกกิตติมศักดิ์หรือสมาชิกสามัญเป็นกรรมการที่ปรึกษาได้ ไม่เกินหนึ่งในสี่ของคณะกรรมการ (1 ใน 4 มีได้ไม่เกิน 8คน) สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่จำเป็นต้องเป็นพยาบาล เช่น แพทย์ นักบัญชี
• ให้กรรมการที่ปรึกษาด ารงต าแหน่งตามวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
มาตรา 16 ตำแหน่งต่างๆ ของกรรมการ
• ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่ง
นายกสภาการพยาบาล (จะเสนอชื่อได้คนนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น คือ เสนอชื่อได้แค่ 16 ชื่อ)
อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง
อุปนายกพยาบาลคนที่สอง ตำแหน่งละหนึ่งคน
มาตรา 18 กรรมการต้องมีคุณสมบัติดังตอไปนี้
ทุกคนต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอน
ใบอนุญาต
ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา 19 วาระของกรรมการสภาการพยาบาล
• ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
• อาจได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่
• แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 คราวติดต่อกันไม่ได้
มาตรา 20 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา 13
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 18
ลาออก
มาตรา 21 กรณีตำแหน่งกรรมการว่างลง
• ตำแหน่งกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงไม่เกินกึ่งหนึ่ง (ไม่เกิน 8 คนจาก 16 คน)ของจำนวนกรรมการดังกล่าวทั้งหมดก่อนครบวาระ
• ให้คณะกรรมการเลือกสมาชิกสามัญผู้มีคุณสมบัติตาม มาตรา 18 เป็นกรรมการแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง
• คณะกรรมการสภาเป็นคนเลือกสมาชิกสามัญมาเป็นแทน
มาตรา 24 การประชุม
• การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง(ไม่น้อยกว่า 17 คนจาก 33 คน)ของจำนวนกรรมการ
ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
• มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
• มติของที่ประชุมในกรณีให้สมาชิกสามัญพ้นจากสมาชิกภาพเนื่องจากขาดคุณสมบัติตามมาตรา 11 (1)(ค)(ง) และ (จ) ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม(2 ใน 3 คือ 22 คน)ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ
• คนเข้าประชุมไม่ถึง จะประชุม/ลงมติไม่ได้
มาตรา 26 มติที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษก่อน
การออกข้อบังคับ
การกำหนดงบประมาณของสภาการพยาบาล
การให้สมาชิกสามัญพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา 24 วรรคสาม
การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 41 วรรคสาม (4) และ (5)
มาตรา 27 ข้อห้ามที่สำคัญ
ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ
กระทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(หากฝ่าฝืนจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี /ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท)
1.การพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง เช่น ผู้ป่วยฉีด insulinให้ตัวเอง
2.การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน แต่การกระทำดังกล่าวต้องมิใช่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ
3.ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพนั้น
4.การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการหรือผู้สอนในสถาบันการศึกษา ซึ่งมีีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ ของต่างประเทศ
5บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ ในกรณีที่มีสาธารณภัยหรือเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง
6.บุคคลซึ่งช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ
มาตรา28
• การขึ้นทะเบียนการออกใบอนุญาตการต่ออายุใบอนุญาตการออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความาตรา มชำนาญเฉพาะทางและหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา 29
การขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แบ่งเป็นสามประเภท คือ
• ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
• ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
• ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
• ผู้ประกอบวิชาชีพในแต่ละประเภทตามวรรคหนึ่งให้แบ่งเป็นสองชั้น คือ ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง
• ใบอนุญาตทุกประเภทให้มีอายุห้าปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ชั้นสอง ต้อง
(ก) ได้รับประกาศนียบัตร... ระดับต้น จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ที่คณะกรรมการรับรองและสอบความรู้แล้ว หรือ
(ข) ได้รับประกาศนียบัตร...จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ตนได้รับประกาศนียบัตรซึ่งคณะกรรมการได้ตรวจสอบหลักฐานการศึกษาและสอบความรู้แล้ว แต่ถ้าเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ผู้นั้นได้รับประกาศนียบัตรก็ได้
มาตรา 30 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียน
ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องมีความรู้ดังนี้
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ชั้นหนึ่ง ต้อง
(ก) ได้รับปริญญา... จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการรับรองและสอบความรู้แล้ว หรือ
(ข) ได้รับปริญญา... จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ และได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ตนได้รับปริญญาฯ ซึ่งคณะกรรมการได้ตรวจสอบหลักฐานการศึกษาและสอบความรู้แล้ว แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยไม่ต้องเป็นผู้ได้รับ อนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรก็ได้
หลักในการพิจารณา ม.30
• จบในประเทศไทย
–ไม่ว่าจะสัญชาติอะไร
–จบการศึกษา ได้รัปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรฯ
–สอบความรู้ผ่าน 8 วิชา
• จบต่างประเทศ
–มีสัญชาติไทยหรือเปล่า (ถ้ามี...เหมือนคนจบในไทย)
–มิใช่สัญชาติไทย ต้องรับใบอนุญาตฯ จากประเทศที่จบมา
มาตรา 31
• ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญ
• เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพฯ ผู้ใดขาดจากสมาชิกภาพ ให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง
• ผู้ซึ่งขาดจากสมาชิกภาพตามวรรคสองส่งคืนใบอนุญาตต่อเลขาธิการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการขาดจากสมาชิกภาพ (หากฝ่าฝืนโทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท)
หลักเกณฑ์ความรับทางวิชาชีพมีหลักเกณฑ์สำคัญ5 ประการ
1) การรักษาจริยธรรม
2) ขั้นตอนการกล่าวหาและกล่าวโทษกรณีประพฤติผิดจริยธรรม
3) ขั้นตอนการพิจารณากรณีประพฤติผิดจริยธรรม
4) การวินิจฉัยชี้ขาด และลงโทษ
5) การควบคุมภายหลังที่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดและลงโทษ
มาตรา 33 ว.ท้าย
• การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษไม่เป็นเหตุให้ระงับการดำเนินการทางจริยธรรมมาตรา
**มาตรา34
• เมื่อสภาการพยาบาลได้รับเรื่อง
• หรือในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติการณ์อันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพฯ
• ให้เลขาธิการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อประธานอนุกรรมการจริยธรรมโดยไม่ชักช้า
มาตรา 35
• ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการจริยธรรม จากสมาชิกสามัญ ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกัน ไม่น้อยกว่าสามคนมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริง แล้วทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
มาตรา 36
• เมื่อคณะกรรมการได้รับรายงานและความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
(2) ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวน ในกรณีที่เห็นว่ามีมูล
(3) ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ ในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล
มาตรา 37
• ให้คณะกรรมการ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนจากสมาชิกสามัญ ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน มีหน้าที่สอบสวน สรุปผลการสอบสวน และเสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
มาตรา 38
• ให้อนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ และมีหนังสือแจ้งให้บุคคลใด ๆ ส่งเอกสาร หรือวัตถุเพื่อประโยชน์แก่การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ
มาตรา 39
• ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษ ให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
มาตรา 40
• เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จสิ้น
• ให้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการโดยไม่ชักช้าเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดมาตรา 41
• เมื่อคณะกรรมการได้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นของคณะอนุกรรมการสอบสวนแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและความเห็นดังกล่าวอาจให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำ การสอบสวนเพิ่มเติมก่อนวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้
มาตรา 42
• ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งสภาการพยาบาลตามมาตรา 41ไปยังผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษเพื่อทราบโดยไม่ชักช้า และให้บันทึกข้อความตามคำสั่งนั้นไว้ในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพฯ ด้วย
มาตรา 43
• ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพดังกล่าวหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสีทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าวนับแต่วันที่ทราบคำสั่งสภาการพยาบาลที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น (ฝ่าฝืนระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี /ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ )
มาตรา 44 (การเพิ่มโทษ)
• ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้
ใบอนุญาตผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 43 และถูกลงโทษจำคุกตามมาตรา 46โดยคำพิพากษาถึงที่สุด• ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
มาตรา 45 ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
อาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปี นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ถ้าถูกปฏิเสธจะยื่นคำขอใบอนุญาตได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต
ถ้าถูกปฏิเสธเป็นครั้งที่สองเป็นอันหมดสิทธิขอรับใบอนุญาตอีกต่อไป
มาตรา 46
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 หรือมาตรา 43ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 47
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา 48
ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่งตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล มาตรา 49
ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน ในสาขาการพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ หรือสาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์ อยู่แล้วให้ถือว่าผู้นั้นเป็นสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาลตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 50
ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผน
ปัจจุบัน ในสาขาการพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ หรือสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์และใบอนุญาตนั้นยังคงใช้ได้ให้ถือว่าผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเภทและชั้น แล้วแต่กรณี