Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 6 การบริหารงานหอผู้ป่วย, นางสาวบุษยารัตน์ พันยา รหัสนักศึกษา…
หน่วยที่ 6
การบริหารงานหอผู้ป่วย
1.การจัดรูปแบบหอผู้ป่วย
ความสำคัญของการจัดหอผู้ป่วย
หอผู้ป่วยเป็นหน่วยงานที่ให้บริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของผู้มารับบริการ ได้แก่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล ทีมสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ เภสัชกร
นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
1.2.การจำแนกประเภทของหอผู้ป่วย*
เมื่อผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จะอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของบุคลกรทางการแพทย์ และการพยาบาล และจะถูกเรียกว่า “ผู้ป่วยใน” (inpatient) โดยมีระยะเวลาในการเข้ารับรักษาในหอผู้ป่วย เป้นระยะเวลสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
1) จำแนกตามประเภทของการให้บริการ เช่น หอผู้ป่วยศัลยกรรม
หอผู้ป่วยอายุรกรรม หอ ผู้ป่วยกุมารเวชกรรม หอผู้ป่วยสูติกรรม
หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม หอผู้ป่วยจิตเวช เป็นต้น
2) จำแนกตามโรคและการบำบัดของผู้ป่วยที่มารับบริกาารเช่น
หอผู้ป่วยโรคหัวใจ หอผู้ป่วย โรคปอด หอผู้ป่วยหู-คอ-จมูก
หอผู้ป่วยโรคติดเชื้อ เป็นต้น
3) จำแนกตามเพศของผู้ป่วยที่มารับบริการ เช่น หอผู้ป่วยชาย
หอผู้ป่วยหญิง แต่ไม่แยกโรค ซึ่งพบบ่อยในโรงพยาบาลขนาดเล็ก
ที่มีจำนวนผู้ป่วยน้อย
4) จำแนกตามระยะเวลาการเจ็บป่วย เช่น หอผู้ป่วยเรื้อรัง
ผู้ป่วยพักฟื้น เป็นต้น
5) จำแนกตามลักษณะการจัดเตียงของหอผู้ป่วย ได้แก่
หอผู้ป่วยแบบเตียงรวม หอผู้ป่วย แบบเตียงเดี่ยวหรือห้องเดี่ยว
หอผู้ป่วยใน (In patient ward) เป็นสถานที่สำหรับผู้ป่วยที่พักค้างคืนเพื่อรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยจะได้รับบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติคือ มิติด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ
1.3.การจัดหอผู้ป่วยมีหลักการในการจัดหอผู้ป่วย
ประกอบด้วย 6 ดังนี้
1) ความเป็นสัดส่วน (privacy)
2) ความปลอดภัย (safety)
3) การควบคุมเชื้อโรค (infection control)
4) การควบคุมเสียง (noise control)
5) หลักการเอื้อต่อการรักษาพยาบาล
(convenience to nursing service)
6) หลักความสะอาดต่อการเคลื่อนย้าย
(convenience to move)
7) หลักความสะอาดต่อการทำความสะอาด (easy to clean)
1.4.รูปแบบของการดูแลผู้ป่วย
รูปแบบของการดูแลผู้ป่วยที่นิยมใช้ในการบริการพยาบาลในหอผู้ป่วยมี 5 รูปแบบ
1) การดูแลผู้ป่วยโดยรวม (Total patient care) เป็นการดูแลให้การพยาบาล
ผู้ป่วยหนึ่งรายหรือหลายราย โดยพยาบาลทำหน้าที่ในการดูแล
และให้การพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่างตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยปฏิบัติงานในแต่ละเวร (1 เวร เท่ากับ 8 ชั่วโมง) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย
2) การพยาบาลตามหน้าที่ (Functional nursing) เป็นรูปแบบในการดูแลผู้ป่วย
ที่เน้นหน้าที่และกิจกรรมการพยาบาลเป็นสำคัญ โดยพยาบาลวิชาชีพแต่ละคน
จะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ หน้าที่ 1-2 อย่าง เช่น
หน้าที่ให้ยาทางหลอดเลือด หน้าที่จัด-แจกยารับประทาน หน้าที่ทำแผล
หน้าที่ทำหัตถการ เป็นต้น
3) การพยาบาลเป็นทีม (Team or Modular nursing) เป็นรูปแบบการพยาบาล
ที่มอบหมายให้กลุ่มบุคลากรทางการพยาบาลระดับต่าง ๆ ทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้บริการพยาบาลตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน โดยมีพยาบาลวิชาชีพเป็นหัวหน้าทีมหรือผู้นำทีม
4) การพยาบาลเจ้าของไข้(Primary nursing) เป็นการมอบหมายให้พยาบาลวิชาชีพทำหน้าที่เป็นพยาบาลเจ้าของไข้ และดูแลผู้ป่วยตลอดระยะเวลา
ที่อยู่ในโรงพยาบาลตั้งแต่แรกรับเข้าไว้ในโรงพยาบาล
จนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลหรือสิ้นสุดการรักษา
5) การจัดการรายกรณี (Case management) เป็นกระบวนการประสานงาน
การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทั้งในสถานบริการสุขภาพและในชุมชน
โดยวางแผนและออกแบบการดูแลให้แก่ผู้ป่วย เฉพาะรายแบบองค์รวมในทุกระยะของการเจ็บป่วย
2.การจัดการพัสดุในหอผู้ป่วย
การจัดการพัสดุและเวชภัณฑ์เป็นงานสนับสนุนหลัก
ของโรงพยาบาลเพราะพัสดุเป็นองค์ประกอบที่จำเป็น
ต่อการจัดให้บริการการพยาบาล และความต้องการพัสดุ
จะมีตลอดเวลาทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน
2.1 ประเภทความต้องการของพัสดุแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
คือ
1) ความต้องการขั้นต้น
2) ความต้องการการทดแทน
3) ความต้องการสำรอง
4) ความต้องการพิเศษ
5) ความต้องการเพื่อชดเชยเวลาในการจัดหาหรือเวลาในการเบิก
2.2 มาตรฐานวัสดุครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ในหอผู้ป่วย
มาตรฐานนี้อาจจะยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1) มาตรฐานการใช้วัสดุเปิดหมุนเวียนและเบิกเป็นครั้งคราวต่อเดือน ได้แก่ วัสดุงานบ้าน วัสดุ สำนักงาน และแบบฟอร์มต่าง ๆ
2) มาตรฐานการใช้วัสดุถาวร ได้แก่ วัสดุงานบ้าน วัสดุสำนักงาน
วัสดุเสื้อผ้า ครุภัณฑ์ทั่วไป และ ครุภัณฑ์การแพทย์ถาวร
3) มาตรฐานการใช้เวชภัณฑ์ได้แก่ ยาน้ำรับประทาน ยาใช้ภายนอก
สารน้ำยาฉีด และยาเม็ด
การจัดเก็บรักษาและควบคุมเวชภัณฑ์มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ให้ยามีไว้ใช้อย่างครบถ้วนและมี คุณภาพในการใช้งาน
ได้อย่างเต็มที่
2) มีปริมาณยาพอสมควรที่จะเบิกจ่ายได้โดยไม่มียาค้าง
หรืออยู่เกินความจำเป็น
3) มีการจัดเก็บรักษาและควบคุมอย่างถูกต้อง
4) สามารถหยิบยาได้อย่างสะดวกตรวจสอบได้อย่างง่าย
หลักการแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
1) สถานที่เก็บ
2) การจัดเก็บ
3) การเก็บรักษา
4) การควบคุม
2.3 บทบาทพยาบาลในการบริหารพัสดุ
1) ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพัสดุต้องรู้วิธีการใช้พัสดุเป็นอย่างดีใช้พัสดุถูกต้องและ แนะนำผู้ร่วมงานได้
2) สามารถวางแผนความต้องการใช้พัสดุรวมทั้งแผนงบประมาณในการจัดหาพัสดุได้
4) ใช้พัสดุอย่างประหยัดและระมัดระวังป้องกันมิให้พัสดุเสียหาย
5) ตรวจรับพิจารณาคุณภาพและประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของพัสดุ
6) ควบคุมเก็บรักษาและจ าหน่ายพัสดุมิให้มีของคลังพัสดุมากเก่าเก็บและใช้แต่ของใหม่
8) ให้ความร่วมมือในการท าวิจัยเกี่ยวกับพัสดุ
3) มีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการพัสดุเบิกใช้เท่าที่จำเป็น
7) เก็บหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารพัสดุ
3.การจัดระบบงานของหอผู้ป่วย
เป็นการจัดระเบียบการปฏิบัติงานให้สามารดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย กล่าวถึง หลักการจัดระบบงาน
4.การบริหารกิจกรรมการให้บริการในหอผู้ป่วย
การบริหารการพยาบาลมีเป้าหมายหลักคือ
ต้องการให้เกิดบริการพยาบาลที่มีคุณภาพสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้คำนึงถึงความพอใจ
ในการปฏิบัติงานของพยาบาลตลอดจนพยาบาลต้องมี
ความพร้อมที่จะก้าวหน้าและพัฒนาวิชาชีพ
สรุป
การบริหารงานในหอผู้ป่วยเป็นการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทุกระดับที่ปฏิบัติงานใน หอผู้ป่วยเพื่อให้การใช้งาน
บุคลากรดำเนินไปในทิศทางที่เหมาะสมและมีการดูแล
ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ตลอดทั้งมีการบำรุงรักษาบุคลากรที่ดี
ให้ปฏิบัติงานนานที่สุดและมีสวัสดิการเกื้อกูลตามสมควร
ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลควรคำนึงถึงหลักการจัด
รูปแบบหอผู้ป่วย การจัดการพัสดุในหอผู้ป่วย การจัดระบบงานของหอผู้ป่วย การบริหารกิจกรรมการให้บริการในหอผู้ป่วย การควบคุมคุณภาพการบริการพยาบาลของหอผู้ป่วย
และการประเมินตนเองและแผนพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ปฏิบัติงานและต่อผู้ป่วย
นางสาวบุษยารัตน์ พันยา รหัสนักศึกษา 61440101047
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4