Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารทางการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย, นางสาวสุภัสสร พรหมมี…
การบริหารทางการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย
ลักษณะการประสานงาน
:silhouette:
ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายต่างๆ ภายในโรงพยาบาล
ประสานงานกับหัวหน้า เจ้าหน้าที่องค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล ผู้ตรวจการและหัวหน้าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ประสานงานกับทีมบุคลากรในสุขภาพ
ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้อง หรือส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน
เป็นผู้ประสานการดำเนินงานบริการพยาบาลทุกรูปแบบ
ให้ข้อคิดเห็นและเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานหรือสำนักงานต่างๆ
คุณสมบัติ
:check: :check:
:check: คุณลักษณะที่ควรมี คือ มีความรู้ การศึกษาในด้านบริหารเฉพาะทางการพยาบาล ประสบการณ์ในการทำงาน มีคุณวุฒิ มีไหวพริบ ความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ
ด้านภาวะผู้นำ
เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง กล้าตัดสินใจในการแก้ปัญหา ใส่ใจ ดูแลผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา
ด้านการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ
มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายได้
ด้านการเป็นวิชาชีพ
สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ทันสมัย ใช้ข้อมูลทางวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีและวิจัย มาพัฒนาทางการพยาบาล
ด้านการบริหารการจัดการ
มีการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีการพัฒนาและปรับปรุงแผนงานให้มีความทันสมัย
ด้านการตัดสินใจและแก้ปัญหาความเสี่ยง
สามารถระบุปัญหาหรือความเสี่ยงได้อย่างชัดเจน รวบรวมข้อมูล จัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้
ด้านทักษะเชิงธุรกิจการตลาด
มีการใช้เศรษฐศาสตร์ทางสุขภาพ บริหารบุคคล ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
การสื่อสาร
:<3:
รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบเส้นตรง (Chain)
เป็นการนำเสนอผู้มีอำนาจ หรือแนวระนาบ (Horizontal) เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารในระดับเดียวกัน
รูปแบบวงล้อ (Wheel)
เป็นการสื่อสารกระจายรอบทิศ
รูปแบบวงกลม (Circle)
เป็นการสื่อสารสิ่งที่ต้องการให้รู้กันทั่วไป
รูปแบบทุกช่องทาง (All Channel)
สามารถติดต่อกันได้ทุกมิติ
ประโยชน์ของการสื่อสาร
:tada:
ข้อมูลข่าวสารที่ดี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารครั้งต่อไปได้
ช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี ช่วยให้การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง สั่งการได้รวดเร็ว แม่นยำ ช่วยควบคุมงานให้เกิดผลดี เกิดเอกภาพในสายงาน
เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ผู้ร่วมงานมีขวัญกำลังใจในการทำงาน
มีความเข้าใจได้ตรงกัน เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในหมู่คณะ
ความหมายของการสื่อสาร
เป็นการนำสาระ (Message/Source) หรือ เรื่องราวต่างๆ (Content) ต่างๆ ของคนหนึ่งให้ผู้อื่นได้รู้ ได้เข้าใจ โดยอาศัยสื่อ (Media) ต่างๆ เป็นตัวนำสาระที่ต้องการไปสู่ผู้รับสาระ (Reciever) โดยผู้ที่รับสาระสามารถรู้และเข้าใจสาระที่ส่งไปให้ตรงกับที่ผู้ส่งสารต้องการ
ทักษะในการบริหารจัดการ
:explode:
:check: ทักษะในการแก้ปัญหา
:check: ทักษะการจูงใจหรือการชักชวน
:check: ทักษะการสื่อสาร
:check: ทักษะในการประสานงาน
:check: ทักษะการตัดสินใจ
:check: ทักษะการเจรจาต่อรอง
:check: ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และความคิดสร้างสรรค์
:check: ทักษะการจัดการความขัดแย้ง
การจูงใจ หรือการโน้มน้าวใจ
:<3:
เป็นการกระทำทุกวิธีทางที่จะให้พนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานเกิดพฤติกรรมไปในทางที่ต้องการ
เป็นการกระตุ้นหรือใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่นเพื่อให้ปฏิบัติกิจกรรม
ประเภทของการจูงใจ
แบ่งเป็น 2 ประเภท
การจูงใจจากภายนอก (Extrinsic motivation)
เป็นการจูงใจโดยใช้สิ่งเร้าจากภายนอก เช่น การให้ผลตอบแทน รางวัล เงินเดือน เพื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
การจูงใจภายใน (Intrinsic motivation)
เป็นการใช้แรงจูงใจที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลเอง เช่น ความต้องการชื่อเสียง ความต้องการอำนาจ ซึ่งมีผลให้บุคคลแสดงพฤติกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการนั้น
:<3:
กระบวนการจูงใจ
:<3:
ความต้องการ(Need) >> แรงขับ(Drives) >> เป้าหมาย(Goal) อาจจะเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะบุคคลหรือองค์กรก็ได้
:star:
ความคิดเชิงสร้างสรรค์และความคิดเชิงวิพากษ์
ความคิดเชิงวิพากษ์
:no_entry:
เป็นมิติการคิดที่ทุกคนควรเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างผู้มีเสรีภาพในการรับรู้และแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง
เป็นกระบวนการคิดที่มีเป้าหมายนำไปสู่การค้นหาความจริง การเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่า ถูกต้อง เหมาะสมกับการดำเนินงานและบริบทแวดล้อม และเกิดผลดีต่อส่วนรวม
ความคิดเชิงสร้างสรรค์
:confetti_ball:
เป็นกระบวนการทางความคิดที่ใช้ในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นด้วยวิธีการที่ริเริ่มแปลกใหม่และได้ผลดีกว่าเดิม
การตัดสินใจ
:red_cross:
เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารเลือกแนวทางที่คิดว่าดีที่สุดมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา การตัดสินใจ
:red_flag:
ชนิดของการตัดสินใจ
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
การตัดสินใจด้วยวิธีที่ทำให้ได้ผลเท่าที่พอใจ
คือ ตัดสินใจเลือกทางเลือก เพื่อที่จะให้บรรลุมาตรฐานขั้นต่ำตามวัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนา บรรลุมาตรฐานขั้นต่ำของการยอมรับ การตัดสินใจแบบนี้อาจจะเสียโอกาสได้หากรีบตัดสินใจไปก่อน
การเลือกตัดสินใจที่ให้ผลดีที่สุด
ต้องใช้เวลา เพื่อลดความผิดพลาด และได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า สามารถพิจารณาประสิทธิภาพของการตัดสินใจ โดยดูจากคุณภาพการตัดสินใจ และการยอมรับการตัดสินใจ
ลักษณะของการตัดสินใจทางการบริหาร
เกี่ยวข้องกับการบริหารใน 3 ลักษณะ
การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย (Policy Decision)
เป็นการตัดสินใจเพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างกว้างๆ ที่จะบอกถึงวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อให้ผู้ร่วมงานทราบทิศทางหรือจุดหมายปลายทางที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกัน
การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (Management Decision)
เป็นการตัดสินใจเพื่อการจัดสรรทรัพยากรขององค์กรให้แก่ฝ่ายต่าง ๆ สามารถปฏิบัติหรือดำเนินการได้ตามนโยบาย หรือ วัตถุประสงค์ที่ผู้บริหารสูงสุดได้กำหนดไว้
การตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (Operational Decision)
เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานประจำในหน้าที่ของตน เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายหรือเป้าหมายขององค์กร โดยใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
ช่วยลดความเสี่ยงให้น้อยลงต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากได้ทำการคัดอย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากได้มีการพิจารณาก่อนดำเนินการ
ช่วยในการเตรียมการสำหรับงานที่จะทำ ว่าควรมีลักษณะอย่างไร ดำเนินการอย่างไร
ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีการยั้งคิดหรือพิจารณาถึงเหตุผล
ช่วยให้งานสามารถดำเนินไปได้ไม่ล่าช้า
การเจรจาต่อรอง
:warning:
กระบวนการที่บุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อเสนอ - สนองในเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างมีประโยชน์ได้เสีย เพื่อแสวงหาข้อยุติ ที่ทุกฝ่ายตกลงยอมรับกันได้ โดยใช้การโน้มน้าว ความอะลุ้มอล่วย การประนีประนอม ในลักษณะต่างตอบแทนกัน เป็นวิถีทางไปสู่ความตกลง
ลักษณะเเละรูปแบบในการเจรจาต่อรอง
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการร่วมมือ (Win-Win)
ต่างฝ่ายต่างแสวงหา ข้อตกลงที่จะให้ ทุกฝ่ายที่ร่วมเจรจาได้รับประโยชน์ด้วยกัน การเจรจาต่อรอง ในลักษณะนี้มีผลทําให้คู่เจรจาคบกันได้นาน เป็นมิตรหรือเป็นคู่ค้าถาวร
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกัน (Win-Lose)
มุ่งที่จะให้ฝ่ายตนได้รับประโยชน์ เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คํานึงว่าฝ่ายอื่นจะได้รับประโยชน์หรือไม่
การแก้ไขปัญหา
:question:
ความหมาย
เป็นความสามารถในการคิดและลงมือปฏิบัติซึ่งจำเป็นต้องมีการนำองค์ความรู้และทักษะต่างๆมาใช้ร่วมกัน เพื่อที่จะส่งผลให้สามารถแก้ไขปัญหาในแต่ละปัญหาได้อย่างเหมาะสม
:recycle:
กระบวนการแก้ปัญหา
:recycle:
การระบุปัญหา
มีการระบุให้แน่ชัด เพื่อแก้ปัญหา
การวิเคราะห์และการค้นหาสาเหตุของปัญหา
เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหา
เพื่อให้ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาและผลลัพธ์ที่ออกมา
การค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา
โดยอาจจะใช้ความคิดสร้างสรรค์และระดมสมองจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
โดยเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียเกี่ยวกับเวลา งบประมาณที่ใช้
การดำเนินการแก้ปัญหา
ควรแก้ไขตามทางเลือกที่กำหนดไว้ เพื่อให้ดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
การประเมินผลการดำเนินงาน
ควรทำทุกกระบวนการจนเสร็จสิ้นกระบวนการ
การจัดการความขัดแย้ง
:!?:
ความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิกหรือกลุ่มขององค์ความร่วมมือจะเกิดขึ้นสองฝ่ายหรือมากกว่าทำงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จของเป้าหมาย เป็นไปได้ที่ฝ่ายต่าง ๆ อาจจะมีทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือในระยะเวลาเดียวกัน
ข้อดีและข้อเสียของความขัดแย้ง
อาจจะช่วยปรับปรุงหรือทำให้เกิดผลเสียกับผลการปฏิบัติงานขององค์การได้ โดยขึ้นอยู่กับความขัดแย้งถูกจัดการอย่างไร
การจัดการอย่างเหมาะสมกับความขัดแย้งสามารถนำไปสู่การจัดสรรที่ให้ประโยชน์กับองค์การโดยส่วนรวมได้
วิธีการยุติความขัดแย้ง
อาจใช้อำนาจและการระงับ การประนีประนอมและการแก้ปัญหาร่วมมือ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ต้องดำเนินการ
นางสาวสุภัสสร พรหมมี รหัสนักศึกษา 60116811 Section 2 เลขที่ 42