Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย, ความต้องการ (Need) - Coggle Diagram
การบริหารจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย
บทบาทหน้าที่
ด้านการวางแผน
1.วางแผนการดำเนินนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพยาบาลโดยบูรณาการกับยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล
2.วางแผนการด่าเนินการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลทั้งแผนระยะยาว ระยะสั้น
3.วางแผนอัตรากำลังทางการพยาบาลให้เพียงพอและสอดคล้องกับการจัดบริการพยาบาล
4.วางแผนด้านโครงสร้างการจัดบริการพยาบาล เพื่อให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง
5.วางแผนร่วมกับสถาบันการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติ
ด้านการบริการ
1.เป็นที่ปรึกษาทางการพยาบาลให้คำแนะนำ วินิจฉัยและแก้ปัญหาที่สำคัญทางการพยาบาล
2.ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ข้อมูลแก่ผู้บริหารทั้งภายในและภายนอก เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
3.ร่วมกิจกรรมเยี่ยมตรวจโรงพยาบาล (hospital round)
4.ส่งเสริมการจัดหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ตามแผนของโรงพยาบาล
ด้านการประสานงาน
1.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการบริการ
2.ประสานงานกับอาจารย์ประจําหอผู้ป่วยในการจัดฝึกปฏิบัติ
3.เป็นผู้ประสานการดำเนินงานบริการพยาบาลทุกรูปแบบ
4.ให้ข้อคิดเห็นและเป็นที่ปรึกษาหรือให้คำแนะนำแก่หน่วยงานหรือล่านักงานต่างๆ
ด้านการปฏิบัติการ
1.เป็นผู้นำในการกำหนดพันธกิจ กำหนดเป้าหมายในการพยาบาลและเป็นผู้กำหนดแนวทางในการพัฒนาองค์กร
2.เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการพยาบาล
3.เป็นผู้จัดสรรค์บุคลากรในหน่วยงานให้เหมาะสมและตรวจสอบคุณสมบัติพยาบาล
4.วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรและปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่ทุกระดับ
5.นิเทศ ติดตาม ประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน
6.ควบคุมดูแล การจัดหาครุภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์และดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ
7.พิจารณาบำเน็จ ความดีความชอบ และพิจารณาลงโทษทางวินัย
8.ติดตาม ประเมินผลคุณภาพการบริการทางการพยาบาล
9.เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานบริการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
10.ดำเนินการและส่งเสริมให้มีการจัดทำวิจัยทางการพยาบาล
ทักษะการจัดการทางการพยาบาล
การจัดการกับความขัดแย้ง (Conflict Administration)
วิธีการบริหารความขัดแย้งอ
การลตหรือการระงับความขัดแย้งเมื่อระดับของความขัดแย้งสูงจนเกินไป
การกระตุ้นความขัดแย้งภายในแผนกงานหรือองค์การที่ผลการปฏิบัติงานล้าหลังเพราะว่าระดับของความขัดแย้งต่อนข้างจะต่ำ
การยุติความขัดแย้ง
แหล่งที่มาของความขัดแย้ง
แหล่งที่มาของความขัดแย้งขององค์การเกี่ยวพันกับความขัดแย้งระหว่างกลุ่มมากที่สุดแหล่งที่มาของความขัดแย้งขององค์การที่สำคัญคือความต้องการทรัพยากรที่ จำกัด ความแตกต่างของเป้าหมายระหว่างแผนกงานขององค์การการขึ้นอยู่ระหว่างกันของงานภายในองค์การและความแตกต่างของคำนียมหรือการรับรู้ระหว่างแผนกงานขององค์การ
รูปแบบของความขัดแย้ง
4.ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มภายในองค์กรเดียวกัน
2.ความขัดแย้งะหว่างบุคคล
3.ความขัดแย้งระหว่างบุคคลและกลุ่ม
5.ความขัดแย้งระหว่างองค์กร
1.ความขัดแย้งภายในบุคคล
ข้อดีข้อเสียของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งอาจจะช่วยปรับปรุงหรือทำให้เกิดผลเสียกับผลการปฏิบัติงานขององค์การได้ โดยขึ้นอยู่กับความขัดแย้งถูกจัดการอย่างไร เช่น ผู้จัดการต่างๆ อาจจะมีความขัดแย้งเกี่ยวกับงานงบประมาณประจำปี ควรจะมีการจัดสรรค์อย่างไรระหว่างแผนกงาน การจัดการอย่างเหมาะสมกับความขัดแย้งสามารถ นำไปสู่การจัดสรรงบประมาณที่ให้ประโยชน์กับองค์การโดยส่วนรวมได้
ความขัดแย้งขององค์การ คือความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิกหรือกลุ่มขององค์ความร่วมมือ
การประสานงาน (Co-ordinating)
ความหมายการประสานงาน (Co- ordinating)
การประสานงาน เป็นการจัดระเบียบการทำงานที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้บุคลากรร่วมมือกัน ทำงานด้วยความสามัคคี และงานต่างๆ ที่มีอยู่ไม่ซ้ำซ้อนกัน ขัดแย้งกันหรือเหลื่อมล้ำกัน เพื่อเป้าหมายให้งาน ออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด
ลักษณะของการประสานงาน มี 2 ลักษณะ
การประสานภายในองค์กร เช่น ประสานตามสายบังคับบัญชา ตามหน้าที่รับผิดชอบตามลักษณะ
งาน
การประสานงานภายนอกองค์กร เช่น ประสานงานเพื่อตกลงทำงานวิชาการ ทำวิจัยร่วมกัน ระหว่างสถาบัน การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วยจะได้ดูแลอย่างต่อเนื่อง
ความล้มเหลวในการประสานงาน
ความไม่สามารถร่วมมือกับผู้อื่นได้
วัฒนธรรมไทยไม่ชอบทำงานเป็นทีม
การเคารพผู้อาวุโสกว่า ส่วนใหญ่ผู้น้อยมักทนฟังเสียงจากผู้ที่อาวุโสกว่า
การปฏิบัติงานที่ไม่มีแผนงานล่วงหน้า
การมอบหมายงานที่ซ้ำซ้อนและก้าวก่ายหน้าที่กัน
ปัจจัยที่จะช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี
การทำงานต้องมีแผนงานที่ดี มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แน่นอน
การเข้าใจที่ตรงกันและพร้อมที่จะช่วยเหลือกัน
มีการติดต่อสื่อสารที่ดีตลอดจนการประชุมพบปะหารือกันอยู่เสมอ
ผู้บริหารควรเห็นความสำคัญของการประสานงานและเป็นผู้มองการณ์ไกล
ประโยชน์ของการประสานงาน
ทำให้การดำเนินงานไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้นและมีบรรยากาศการทำงานแบบมีส่วนร่วม
ช่วยให้ทุกคนเข้าใจนโยบาย เป้าหมายที่ตรงกันเพื่อจะได้มีทิศทางในการทำงาน
ประหยัดเวลา วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณในการดำเนินงาน
ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีม ลดข้อขัดแย้งแต่ส่งเสริมความสามัคคีต่อกัน
ขจัดปัญหาที่ซับซ้อนและเหลื่อมล้ำกัน
สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานหากไม่มีความขัดแย้งกันในองค์กร
การแก้ปัญหา (Problem Solving Skills)
ความหมาย
เป็นความสามารถในการคิดและลงมือปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องมีการนำองค์ความรู้และทักษะต่างๆมาใช่ร่วมกันเพื่อที่จะส่งผลให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดี
ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์
ทักษะในการหาข้อมูล
ทักษะการคิดเชิงหลักการ
ขั้นตอนการแก้ปัญหา
3.วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
5.เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
2.กำหนดประเด็นปัญหา
6.วางแผนปฏิบัติการแก้ปัญหา
1.ทำความเข้าใจปัญหา
7.ติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหา
4.ระบุวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้
การเจรจาต่อรอง
ความสำคัญ
จะมีการเจรจาต่อรองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายของคู่สัญญามีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่ฝ่ายตนกำลังได้รับอยู่แล้วในขณะนั้น
เมื่อเราต้องการอะไรบางอย่างจากผู้ใดและผู้นั้นจะยินยอมให้ต่อเมื่อเรามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งแลกเปลี่ยนโดยผู้นั้นอาจเป็นฝ่ายตั้งเงื่อนไขเรียกร้องสิ่งแลกเปลี่ยนนั้นหรือเราอาจเป็นฝ่ายเสนอให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งเพื่อแลกเปลี่ยนทดแทนก็ได้
ลักษณะและรูปแบบ
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการร่วมมือ (Win-Win) คือต่างฝ่ายต่างแสวงหาข้อตกลงที่จะให้ทุกฝ่ายที่ร่วมเจรจาได้รับประโยชน์ด้วยกันการเจรจาต่อรองในลักษณะนี้มีผลทำให้คู่เจรจาคบกันได้นานเป็นมิตรหรือเป็นคู่ค้าถาวร
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกัน (Win-Lose) คือมุ่งที่จะให้ฝ่ายตนได้รับประโยชน์เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงว่าฝ่ายอื่นจะได้รับประโยชน์ การเจรจาในลักษณะนี้มักจะไม่ใช้การประนีประนอมอาจมีผลเป็นการแข่งขันกลายเป็นคู่แข่งที่ขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือกลายเป็นศัตรูกันไปเลย
ขั้นตอนของการเจรจาต่อรอง
ขั้นเตรียมการ
ขั้นเตรียมการ
ก่อนที่จะตัดสินใจเปิดการเจรจาต่อรองในเรื่องใดจะต้องกำหนดกลยุทธ์โดยนำเอาสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมทั่วไปในการกำหนดยุทธศาสตร์จำเป็นต้องเตรียมข้อมูลและศึกษาประเด็นปัญหาต่อไปนี้ให้พร้อมกำหนดวันและเวลาสำหรับการเจรจา
ขั้นตอนในการดำเนินการ
ขั้นตอนในการดำเนินการเจรจา
ผู้เข้าร่วมการเจรจาต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวอย่างเต็มที่และจะต้องรักษากฎระเบียบและพิธีการในการเจรจาต่อรองตลอดจนมรรยาทด้วยความระมัดระวังอย่างมากโดยใช้เทคนิคในการเจรจาอย่างฉลาดและแนบเนียนต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายที่อาจขัดกันได้
ขั้นการมีผลบังคับใช้
เป็นขั้นตอนที่จะให้มีการปฏิบัติตามผลของการเจรจาที่ได้ตกลงกันไว้โดยทำสัญญาหรือความตกลงระหว่างกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างระมัดระวังถ้าเป็นความตกลงระหว่างประเทศหรือสัญญาข้ามชาติก็จะต้องคำนึงถึงการใช้กฎหมายของชาติใดบังคับด้วย
การตัดสินใจ ( Decision making
เป็นการตัดสินใจเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจในลักษณะต่างๆ ซึ่งเเต่ละคนอาจใช้เทคนิควิธีการตัดสินใจเเตกต่างกัน ผู้บริหารควรมีข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์มาประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจที่เหมาะสม
ชนิดของการตัดสินใจ
1) การตัดสินใจด้วยวิธีที่ทำให้ได้ผลเท่าที่พอใจ
คือ ตัดสินใจเลือกทางเลิอกเพื่อที่จะให้บรรลุมาตรฐานขั้นต่ำตามวัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนา ซึ่งไม่ใช่ทางเลือกที่เป็นอุดมการณ์เเต่เพื่อบรรลุมาตรฐานขั้นต่ำของการยอมรับ การตัดสินใจเเบบนี้อาจจะเสียโอกาสได้หากรีบตัดสินใจไปก่อน
2) การตัดสินใจที่ให้ผลดีที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลา เพื่อลดความผิดพลาด เเละได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า โดยสามารถพิจารณาประสิทธิภาพของการตัดสินใจ โดยดูจากคุณภาพการตัดสินใจ เเละการยอมรับการตัดสินใจของผู้ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจนั้น
ลักษณะของการตัดสินใจทางการบริหาร
1) การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย ( Policy Decision )
เป็นการตัดสินใจเพื่อกำหนดเเนวทางในการปฏิบัติงานอย่างกว้างๆ
2) การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ ( Management decisions ) เป็นการตัดสินใจเพื่ออจัดสรรทรัพยากรขององค์กรให้เเก่ฝ่ายต่างๆ
3) การตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
( operational decisions )
เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
ปรัจำในหน้าที่ของตน
องค์ประกอบของการตัดสินใจ
1) ผู้ทำการตัดสินใจ
2) ประเด็นเรื่องราว
3) ทางเลือกต่างๆ
4) เวลา
5) สถานการณ์หรือสถาพเเวดล้อม
รูปเเบบของการตัดสินใจ
1) การตัดสินใจที่ได้เตรียมการล่วงหน้า
2) การตัดสินใจที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
1) ช่วยลดความเสี่ยงให้น้อยลง
2) ช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
3) ช่วยในการเตรียมงานสำหรับงานที่จะทำ
4) ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีการยั้งคิดหรือพิจารณาถึงเหตุผล
5) ช่วยให้งานสามารถดำเนินไปได้ไม่ล่าช้า
การสื่อสาร (Communication)
ความหมาย
เป็นการนําสาระ (Message/Source) หรือ เรื่องราวต่างๆ (Content) ต่างๆ ของคนหนึ่ง ให้ผู้อื่นได้รู้ ได้เข้าใจ โดยอาศัยสื่อ (Media) ต่างๆ เป็นตัวนําสาระที่ต้องการไปสู่ผู้รับสาระ (Receiver) โดยผู้ ที่รับสาระสามารถรู้และเข้าใจสาระที่ส่งไปให้ตรงกับที่ผู้ส่งสารต้องการ
รูปแบบการสื่อสาร
รูปแบบเส้นตรง (Chain) ในแนวดิ่ง (Vertical) แบบบนลงล่าง (Top down) ลักษณะการสั่งการ หรือจากล่างขึ้นบน (Bottom Up) เป็นการนําเสนอผู้มีอํานาจ หรือแนวระนาบ (Horizontal ) เป็นการแจ้ง ข้อมูลข่าวสารในระดับเดียวกัน
รูปแบบวงล้อ (Wheel) เป็นการสื่อสารกระจายรอบทิศ
รูปแบบวงกลม (Circle) เป็นการสื่อสารสิ่งที่ต้องการให้รู้กันทั่วไป
รูปแบบทุกช่องทาง (All Channel) สามารถติดต่อกันได้ทุกมิติ
องค์ประกอบการสื่อสาร
ผู้ส่งสาร (Sender) สาร (Message) ผู้รับสาร (Receiver) โดยใช้ช่องทางกลางในการส่งสาร (Transmitter)
ประโยชน์การสื่อสาร
ข้อมูลข่าวสารที่ดีสามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการบริหารครั้งต่อไปได้
ช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี ช่วยให้การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง สั่งการได้รวดเร็ว แม่นยํา ช่วย ควบคุมงานให้เกิดผลดี เกิดเอกภาพในสายงาน
เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ผู้ร่วมงานมีขวัญกําลังใจในการทํางาน
มีความเข้าใจได้ตรงกัน เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในหมู่คณะ
การจูงใจ (Motivation)
ประเภทของการจูงใจ แบ่งเป็น 2 ประเภท
การจูงใจจากภายนอก (Extrinsic motivation)
เป็นการจูงใจโดยใช้สิ่งเร้าจากภายนอก
เช่น การให้ผลตอบแทน รางวัล เงินเดือน เพื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
การจูงใจภายใน (Intrinsic motivation)
เป็นการใช้แรงจูงใจที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลเอง เช่น
ความต้องการชื่อเสียง ความต้องการอำนาจ ซึ่งมีผลให้บุคคลแสดงพฤติกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการนั้น
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
การจูงใจแบบอิงเกณฑ์
การจูงใจแบบไม่อิงเกณฑ์
การจูงใจในทางบวก
การจูงใจในทางลบ
กระบวนการจูงใจ
ความต้องการ (Needs) ได้แก่ ความต้องการทางกาย จิตใจและสังคมเกิดเมื่อมีความไม่สมดุลทางสรีระหรือจิตใจ
แรงขับ ( Drives) เป็นตัวเสริมกำลังให้ไปสู่เป้าหมาย
เป้าหมาย (Goals) เป็นจุดปลายทางหรือจุดเป้าหมาย ที่แรงขับลดลความต้องการบรรเทาลงการบรรลุเป้าหมายจึงมีแนวโน้มที่จะช่วยให้ภาวะสมดุลทางกาย หรือจิตใจกลับมีขึ้นใหม่ โดยเป้าหมายอาจจะเป็นเป้าหมายส่วนตัวบุคคล และ/หรือ เป้าหมายขององค์การ
การจูงใจ เป็นกระบวนการที่ใช้การกระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมหรือปฏิบัติกิจกรรมตามที่ต้องการ
การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึง เป็นกระบวนการคิดที่มีเป้าหมายนำไปสู่การค้นหาความจริง การ เปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่า ถูกต้อง เหมาะสมกับการดำเนินงานและบริบทแวดล้อม และเกิดผลดีต่อ ส่วนรวม
ขั้นตอนและเทคนิคการคิดวิพากษ์ มี 5 ขั้นตอน
1.เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (Trigger) ซึ่งการเผชิญหน้าทำให้เปลี่ยนมุมมองและเรียนรู้ที่จะ คิดในเชิงโต้แย้ง
2.การประเมินสถานการณ์ (Appraisal) โดยตรวจสอบด้วยตนเองอย่างละเอียดว่าเกิดสิ่งใดขึ้นเพื่อ ประเมินค่าว่าจะตอบสนองอย่างไร
3.การวินิจฉัยตรวจสอบอย่างละเอียด (Exploration) เริ่มยอมรับและพยายามหาทางอธิบายสิ่งที่ เกิดขึ้นเพื่อลดความรู้สึกไม่สบายใจ
4.พัฒนามุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม (Development of Alternative Perspectives) เป็นการค้นหา ทางเลือกใหม่ แนวคิดใหม่ จัดระเบียบโลกทัศน์ใหม่ โดยคิดว่าจะต้องดีกว่าเดิม
5.บูรณาการวิธีคิดและพฤติกรรมใหม่ (Integration) โดยคิดว่าสิ่งนั้นถูกต้องและสมเหตุสมผล
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
พื้นฐานสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
สร้างอุปนิสัยเป็นนักคิด และจัดระเบียบความคิดของตนได้
การมีประสบการณ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมอย่างเพียงพอ
มองโลกในแง่ดีเพราะความคิดสร้างสรรค์อยู่บนพื้นฐานของความสวยงามและความดีงาม
การรับรู้ในความแตกต่างกันของมนุษย์และรู้จักมองตนเองให้รู้แจ้ง เพราะจำทำให้เป็นนักคิดที่มีจุดยืน แน่นอน
สร้างอุปนิสัยช่างสังเกต เพื่อให้เห็นสิ่งที่แตกต่างออกไปได้จากการรับรู้ทั่วไป
การสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)
ความหมาย
กระบวนการที่สะท้อนให้เห็นความสามารถของบุคคล
ในการที่จะดึงสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวเอง จัดการสร้างอิทธิพล
กับตัวเอง
องค์ประกอบ
การมอหรือดำเนินชีวิตเชิงรุก
การเชื่อมั่นในตัวเอง
การรับรู้ศักยภาพของตนเอง
หน้าที่
ช่วยให้คนกำหนดชีวิตตนเองได้
เป็นวิธีกระตุ้นให้สังคมมีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
หลักการ
เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย สร้างวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ และสร้างความร่วมมือในการกำหนดแผนงานต่างๆ
คุณลักษณะของหัวหน้าหอผู้ป่วย
เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาลมีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลมาไม่น้อยกว่า 5 ปีต้องมีประสบการณ์ในสาขานั้นไม่น้อยกว่า 1 ปี
คุณสมบัติทั่วไปต้องเป็นผู้นำหรือควบคุมการปฏิบัติงานบริหารบุคลากรจัดการโครงการของหน่วยงานตามขอบข่ายและความรับผิดชอบ ร่วมให้คำแนะนำและแสดงความคิดเห็นในงานที่มีความรับผิดเป็นที่ปรึกษาให้กับบุคลกรในหน่วยงาน คิดค้นวิธีการนำจุดเน้นของหน่วยงานลงสู่การปฏิบัติ และเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในหน่วยงาน
ความต้องการ (Need)
แรงขับ (Drive)
เป้าหมาย (Goals)
บุคคล
องค์กร