Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 นางสาวกุหลาบ - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 1
นางสาวกุหลาบ
การลักทรัพย์ในครั้งนี้ ผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้อง
ให้นางสาวกุหลาบชดใช้ค่าเสียหายได้หรือไม่ อย่างไร
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิด
กฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี
ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้อง
ใช้ค่าสินไหมทดแทน
สามารถยื่นฟ้องโดยให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด
เพียงใดนั้นให้ศาลวิฉัยตามควรแก่พฤติการณ์
และความร้ายแรงแห่งละเมิด
อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สิน
อันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด รวมทั้งค่าเสียหาย
อันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายใด ๆ
อันก่อให้เกิดขึ้นนั้นด้วย
อ้างอิง
สำนักงานพีศิริ ทนายความ. (2564).
ลักษณะ 5 ละเมิด หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด, หมวด 2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
.
สืบค้น 5 สิงหาคม 2564. จาก
https://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538627946&Ntype=10
โทษสูงสุดที่นางสาวกุหลาบควรได้รับคือเท่าใด
ผู้ที่กระความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๓๓๔ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น
หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี และปรับไม่เกิน ๖๐๐๐ บาท
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
อ้างอิง
สถาบันนิติธรรมาลัย. (2014-2021).
หมวด ๑ ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ (มาตรา ๓๓๔ - ๓๓๖ ทวิ)
.
สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก
https://www.drthawip.com/criminalcode/1-51
เพราะเหตุใด นางสาวกุหลาบ
จึงถูกศาลตัดสินจำคุกเพียง 6 เดือน
ตามมาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท กรณีจำเลยให้การรับสารภาพก่อนสืบพยาน ถือว่ามีเหตุบรรเทาโทษ โดยปกติลดโทษกึ่งหนึ่ง
อ้างอิง
สำนักงานกฎหมาย. (2562).
จำเลยรับสารภาพต่อศาลในคดีอาญา
.
สืบค้น 8 สิงหาคม 2564. จาก
https://www.kobkiat.com
Keybookme. (2560).
มาตรา344ประมวลกฎหมายอาญา
.
สืบค้น 8 สิงหาคม 2564 ,
จาก
https://www.keybookme.com/criminal-law/get?matra=334&wrds=
การเป็นเจ้าหน้าที่ข้าราชการของนางสาวกุหลาบ
จะเกิดผลกระทบอะไรหรือไม่ อย่างไร
เนื่องจากนางสาวกุหลาบ
ได้กระทำความผิด ถูกจำคุก 6 เดือน
พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดวินัย ตามมาตรา ๘๕ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน
พ.ศ.๒๕๕๑
มาตรา ๘๕ (๖) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือ
โทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคดีพิพากษาถึงที่สุด
เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
จะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้
ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก
ประพฤติชั่ว ลักทรัพย์/ฉ้อโกง
/ทำให้เสียทรัพย์
โทษ ตัดเงินเดือน ๕%
เป็นเวลา ๓ เดือน
อ้างอิง
พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 หมวด 6 ว่าด้วยวินัยและการรักษา วินัย และหมวด 7 ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย.
(2564).
เรื่อง วินัยและการรักษาวินัย ของข้าราชการ
. สืบค้น 6 สิงหาคม 2564.
จาก
https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/mjaw/mdmx/~edisp/webportal16200031785.pdf
กองเจ้าหน้าที่องค์บริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. (2564).
คู่มือ กรณีศึกษาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางวินัยและการลงโทษ
. สืบค้น 6 สิงหาคม 2564.
จาก
http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER20/DRAWER057/GENERAL/DATA0002/00002125.PDF
สภาการพยาบาลจะพิจารณาความผิดทางจริยธรรมอย่างไร
นางสาวกุหลาบมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืน
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรม
แห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2550
หมวด 1 บททั่วไป ข้อที่ 4 และข้อที่ 6
โดยข้อบังคับข้อที่ 4 กล่าวว่า ผู้ประกอบอาชีพ
ย่อมดำรงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรม
และเคารพต่อกฎหมายของบ้านเมือง
ข้อบังคับข้อที่ 6 กล่าวไว้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพ
ย่อมไม่ประพฤติหรือกระทำการใด ๆ
อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
อ้างอิง
ส่วนนิติการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2563).
ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550
.
สืบค้น 12 สิงหาคม 2564. จาก
https://dla.wu.ac.th/elaw/2331/
นางวารุณี สุรนิวงศ์. (2563).
กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพของพยาบาล
. สืบค้น 12 สิงหาคม 2564.
จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/premwadee_ka/pluginfile.php/238/block_html/content/ตำรา%20กม%20ปรับ%20มิย%20๖๓ของพยาบาล.pdf
กองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564).
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528
. สืบค้น 12 สิงหาคม 2564. จาก
https://www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&Itemid=814&func=fileinfo&id=1317
จากความผิดของนางสาวกุหลาบ ต้องเพิกถอนใบอนุญาต
เนื่องจากขาดคุณสมบัติในการเป็นสมาชิกตามมาตรา ๑๑
คือการกระทำให้เกิดความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ต่อวิชาชีพ
ตามข้อบังคับข้อที่ 6
การตัดสินโทษทางพระราชบัญญัติวิชาชีพ
นางสาวกุหลาบจะพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสามัญ
( มาตรา๑๓ ) เนื่องจากขาดคุณสมบัติในการเป็นสมาชิกตามมาตรา ๑๑ กล่าวคือการกระทำให้เกิดความเสื่อม
เสียเกียรติศักดิ์ต่อวิชาชีพ
คณะกรรการการสภาการพยาบาลจะเป็นผู้พิจารณา
โดยจะต้องมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกด้วยคะแนนเสียง
ไม่น้อยกว่าสองในสามของคณะกรรมการทั้งคณะ
และต้องผ่านความเห็นชอบของสภานายกพิเศษด้วย
จึงจะมีผลทำให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกสภาพ
ต้องส่งคืนใบอนุญาตฯ
อ้างอิง
นางวารุณี สุรนิวงศ์. (2563).
กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพของพยาบาล
. สืบค้น 12 สิงหาคม 2564.
จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/premwadee_ka/pluginfile.php/238/block_html/content/ตำรา%20กม%20ปรับ%20มิย%20๖๓ของพยาบาล.pdf
สภาการพยาบาล. (2564).
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
.
สืบค้น 12 สิงหาคม 2564. จาก
https://www.tnmc.or.th/news/122
นางสาวกุหลาบจะสามารถกลับมาทำงานได้หรือไม่
ไม่ได้
เพราะ จากมาตรา ๑๑ คุณสมบัติของสมาชิกสามัญ
กล่าวไว้ว่า ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยต้องโทษจำคุก
โดยพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้จำคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมา
ซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
อ้างอิง
นางวารุณี สุรนิวงศ์. (2563).
กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพของพยาบาล
.
สืบค้น 12 สิงหาคม 2564.จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/premwadee_ka/pluginfile.php/238/block_html/content/ตำรา%20กม%20ปรับ%20มิย%20๖๓ของพยาบาล.pdf
เมื่อนางสาวกุหลาบพ้นโทษแล้ว
จะสามารถการขอใบอนุญาตใหม่ได้หรือไม่
นางสาวกุหลาบ ต้องรอให้พ้นโทษ ๒ ปี
นับแต่วันที่ถูกเพิกถอน จึงจะยื่นคำขอใบอนุญาตใหม่ได้
เมื่อพ้น ๑ ปี นับแต่วันที่คณะกรรมการสภาการพยาบาล
ได้ปฏิเสธการออกใบอนุญาตครั้งที่ ๑
ถ้ากรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาตเป็นครั้งที่ ๒
ตามมาตรา ๔๕ ผู้นั้นจะหมดสิทธิขอรับใบอนุญาตอีกต่อไป
อ้างอิง
กองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
(2564).
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528
.
สืบค้น 12 สิงหาคม 2564. จาก
https://www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&Itemid=814&func=fileinfo&id=1317
นางวารุณี สุรนิวงศ์. (2563).
กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพของพยาบาล
. สืบค้น 12 สิงหาคม 2564.
จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/premwadee_ka/pluginfile.php/238/block_html/content/
ตำรา%20กม%20ปรับ%20มิย%20๖๓ของพยาบาล.pdf
นางสาวกุหลาบ ไม่ได้ประกอบอาชีพที่โรงพยาบาลแล้ว สามารถเปิดคลินิกได้หรือไม่
นางสาวกุหลาบไม่สามารถเปิดคลินิกได้
ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
และ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตราที่ ๑๗
กล่าวไว้ว่าผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลได้
จะต้องไม่เคยต้องโทษให้จำคุก โดยคำพิพากษา
หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ
หากนางสาวกุหลาบแอบเปิดสถานพยาบาล
ที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนแล้วถูกจับได้ จะมีโทษคือ
ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง
(ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ) หรือมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง
(ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการ) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี
หรือปรับ ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของ
ที่ใช้ในการประกอบ กิจการสถานพยาบาลด้วยก็ได้ (มาตรา ๕๗)
อ้างอิง
นางวารุณี สุรนิวงศ์. (2563).
กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพของพยาบาล
. สืบค้น 12 สิงหาคม 2564.
จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/premwadee_ka/pluginfile.php/238/block_html/content/ตำรา%20กม%20ปรับ%20มิย%20๖๓ของพยาบาล.pdf