Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูก - Coggle Diagram
กระดูก
-
แบ่งตามลักษณะกระดูก
- กระดูกยาว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา
- กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า
- กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกสะบัก
- กระดูกยาว รูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน
-
-
-
-
ข้อต่อและกระดูก
กระดูกที่ละท่อนต่อเชื่อมกันด้วยเอ็นซึ่งต่อกันได้หลายแบบแล้วแต่การเคลื่อนที่ การที่กระดูกประกอบด้วยชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาต่อๆกัน ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวลราบรื่นมากขึ้น
-
-
-
-
การเคลื่อนไหวของข้อต่อ
- เคลื่อนได้ระนาบเดียวกัน(แบบบานพับ) เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
- เคลื่อนได้2 ระนาบ เช่น ข้อมือ กระดกขึ้น-ลง
- เคลื่อนได้ 3 ระนาบ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพกอาหารและยาที่เรากินหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะซึมผ่านกล้ามเนื้อไป การฉีดเข้าข้อต่อโดยตรงอาจเกิดอันตรายได้ เพราะยาบางชนิดสามารถทำลายกระดูกอ่อนได้ การนวดมีส่วนทำให้อาการและยาซึมผ่านข้อต่อได้เร็วขึ้นและมักไม่มีผลเสียใดๆ
-
หน้าที่ของกระดูก
โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญในการค้ำจุนและรักษารูปร่างให้ทรงตัวอยู่ได้ ช่วยป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่นกระดูกซี่โครงป้องกันหัวใจ ปอด และตับกะโหลกศีรษะป้องกันเนื้อเยื่อสมองเป็นต้นกระดูกยังเป็นที่ยึดเกาะของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเยื่อช่วยในการเคลื่อนที่ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือด ...
-
อาหารบำรุงกระดูก
อาหารช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก เช่นอาหารพวกที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมสด ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา ผักสด การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนากระดูกให้เจริญอย่างเต็มที่และแข็งแรง ระวังอย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุดเสื่อมสภาพเร็ว
ระบบโครงกระดูก
เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยป้องกันอวัยวะบอบบางต่างๆ ที่อยู่ภายในที่เกาะเกี่ยว อยู่ภายในกระดูกแต่ละส่วนของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งภายใน-กระดูกคือ ไขกระดูก ขณะเดียวกันกระดูกยังเป็นแหล่งเก็บสะสมเกลือแร่ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัส บริเวณรอบกระดูกจะมีเนื้อเยื่อหนาห่อหุ้มอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) ซึ่งเยื่อหุ้มกระดูกนี้ ประกอบด้วยเซลล์กระดูกและหลอด-เลือด ซึ่งจะนำเลือดมาเลี้ยงในส่วนของกระดูกชั้นนอก กระดูกชั้นนอกหรือเรียกว่า กระดูกทึบ (Compact bone) ประกอบด้วยเกลือแร่สะสมอยู่เป็นวงกลมล้อม รอบท่อขนาดเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า ท่อฮาเวอร์เชียน(Haversian canal) เซลล์กระดูกรอบๆท่อฮาเวอร์เชียน จะได้รับอาหารและ-ออกซิเจนจากหลอดเลือดที่ผ่านท่อฮาเวอร์เชียนที่ผ่านท่อเหล่านี้ และถ้าหากว่า กระดูกเกิดแตกหักเส้นประสาทในท่อเล็กๆ นี้ก็จะส่งกระแสประสาทไปยังสมองเราจึงรู้สึกถึงความเจ็บปวด ส่วนกระดูกชั้นในนั้นมองดูคล้ายรวงผึ้ง เพราะมีลักษณะเป็นร่างแหที่มีช่องว่างระหว่างกระดูก เรียกว่า กระดูกพรุน (Spongy bone) แต่ก็มีความแข็งแรงไม่แพ้ส่วนกระดูกทึบเช่นกันซึ่งถ้ากระดูกของคนเราเป็นกระดูกทึบทั้งท่อนร่าง-กาย คงหนักมาก ไขกระดูกจะมีปริมาณราวๆ 227 กรัม สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ประมาณ 5,000 เม็ด/วัน สำหรับทารกในครรภ์ โครงกระดูกทุกชิ้น มีไขกระดูกแดงบรรจุอยู่ แต่เมื่อเจริญเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่แล้วจะพบไข-กระดูกนี้เฉพาะในส่วนของกะโหลก ศรีษะ กระดูกหน้าอก กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและบริเวณตอนปลายของกระดูกชิ้นยาวๆ เท่านั้น