Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระยะที่ 2 และ 4 ของการคลอด - Coggle Diagram
ระยะที่ 2 และ 4 ของการคลอด
ระยะที่ 2 (Stage of expulsion)
นิยาม
ครรภ์แรก : คลอดภายในเวลา 1 ชั่วโมงแต่ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง
ครรภ์หลัง : คลอดภายใน 30 นาทีแต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง
fully - ทารกคลอดทั้งตัว
อาการแสดงว่าเข้าสู่ระยะที่สองของการคลอด
Positive sign
คลำไม่พบขอบของปากมดลูกคือปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตรหรือปากมดลูกเปิดหมด
Probable signs
การเบ่ง (bearing down) : ผู้คลอดจะมีความรู้สึกอยากเบ่งหรืออยากถ่ายอุจจาระเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะที่สองของการคลอด
การแตกของถุงน้ำคร่ำ (membranes rupture) : โดยปกติถุงน้ำจะแตกในปลายระยะที่หนึ่งหรือต้นระยะที่สองของการคลอด
การหดรัดตัวของมดลูก (Uterine contraction) : มีความถี่ทุก2-3 นาทีนาน 45-60 วินาที หรือมีระยะพักน้อยลงและมีความรุนแรงมากขึ้น
การเปิดอ้าของปากช่องคลอด (gaping of the vulva) : ลักษณะปากช่องคลอดจะอ้าออกเล็กน้อย
การมีมูกปนเลือดออกจากช่องคลอด (trickle of blood) : เกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดบริเวณปากมดลูก เมื่อปากมดลูกเปิดขยายเกือบหมด
การโป่งตึงของฝีเย็บ (bulging of the perineum) : ลักษณะผิวหนังบริเวณฝีเย็บเป็นมันใส ซึ่งเป็นอาการแสดงของการคลอดจะเกิดขึ้นแล้ว
การมองเห็นส่วนนำของทารก (head seen) : พบส่วนนำของทารกบริเวณปากช่องคลอดในรายที่ศีรษะทารกเป็นส่วนนำ
การบานของทวารหนักในขณะที่ผู้คอดเบ่ง (anus dilatation during beating down) : อาการแสดงนี้ไม่แน่นอนสำหรับผู้คลอดครรภ์หลังที่มีพื้นเชิงกรานหย่อน และส่วนนำทารกเคลื่อนต่ำลง
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะที่สองของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงของแรงผลักดันทารก
1.1 การหดรัดตัวของมดลูก : มีการหดรัดตัวถี่นานและรุนแรงขึ้นทุก 1 นาที 30 วินาทีถึง 2 นาทีหดรัดตัวนาน 60-90 วินาทีมีความรุนแรงระดับมากทำให้ส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงมาและมีการแตกของถุงน้ำทูนหัวได้
1.2 การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลมเมื่อส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงมากดกับพื้นเชิงกรานและทวารหนักจะทำให้ผู้คลอดรู้สึกอยากเบ่ง
การเปลี่ยนแปลงของพื้นเชิงกรานและฝีเย็บ เมื่อศีรษะทารกมีการเคลื่อนต่ำลงมาจะถ่างขยายช่องคลอดทำให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อบุช่องคลอดและมีเลือดออกเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงของทารกระยะนี้ทารกจะอยู่ในลักษณะก้มมากขึ้น และเคลื่อนผ่านช่องเชิงกรานลงมาตาม
กลไกการคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมในระยะที่สองของการคลอด
พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
ผู้คลอดไม่ค่อยสนใจสิ่งแวดล้อมและเคลิ้มหลับเมื่อมดลูกคลายตัว
พฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม
มีพฤติกรรมก้าวร้าวมากร้องเอะอะโวยวาย มีอาการกลัวว่าจะคลอดเองไม่ได้ กลัวว่าบุตรจะพิการหรือเสียชีวิต
ระยะที่ 4 ของการคลอด
นิยาม
2 ชั่วโมงแรกหลังรกคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาในระยะที่สี่ของการคลอด
มดลูกภายหลังรกคลอดทันทีมดลูก จะหดรัดตัวมีขนาดเล็กลงและอยู่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าสะดือประมาณ 2 เซนติเมตร
ปากมดลูกจะหุบลงหนาขึ้น แต่ยังคงนุ่มอยู่รูปร่างคล้ายปากเป็ด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่สำคัญ
โพรงมดลูก
การมีน้ำคาวปลา
ปากมดลูก
มดลูก
ช่องคลอด และแผลฝีเย็บ
กระเพาะปัสสาวะ
การเผาผลาญสารอาหาร
ระบบหายใจและหลอดเลือด
โพรงมดลูก บริเวณที่รกเกาะมีการเปลี่ยนแปลงทันทีที่รกลอกตัว ขนาดของแผลบริเวณที่วกเกาะจะมีขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดความกว้างของรก
ช่องคลอดและแผลฝีเย็บ มีลักษณะบวมเล็กน้อย เนื่องจากการชอกช้ำของเนื้อเยื่อและการคั่งของยาชา ซึ่งจะค่อย ๆ ยุบลงได้เอง
กระเพาะปัสสาวะ มารดาสามารถถ่ายปัสสาวะได้เองภายหลังคลอด แต่ในมารดาที่คลอดยาก ระยะการคลอดนาน ส่วนนำลงมากดกระเพาะปัสสาวะนาน ทำให้ผนังด้านในของท่อปัสสาวะบวมหรือมีเลือดคั่งใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก
การเผาผลาญสารอาหาร มารดาหลังคลอดส่วนใหญ่มีอาการอ่อนเพลีย จากการสูญเสียพลังงานไปในระยะเบ่งคลอด สูญเสียน้ำ และเกลือแร่ไปทางเหงื่อมาก ทำให้อาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้เล็กน้อย
ระบบหายใจและหลอดเลือด ภายหลังคลอดทันที่จะมีการเปลี่ยนแปลง คือ ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน เป็นผลมาจากการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อไล่เลือดที่ขังในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกกลับเข้าระบบไหลเวียน และเส้นเลือดดำใหญ่พ้นจากการถูกกดทับด้วยขนาดของมดลูกที่โตขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมในระยะที่สี่ของการคลอด
คลอดปกติในระยะนี้ความกลัว ความเครียด และความวิตกกังวลจะลดลงมารดาจะหันมาสนใจตนเอง และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า อยากรู้อยากเห็น และต้องการแสดงความรู้สึกที่ผ่านมาต้องการเห็นหน้าบุตร และสัมผัสบุตร