Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Problem 3: The Working Success for the Nurses in the Ward - Coggle Diagram
Problem 3: The Working Success for the Nurses in the Ward
คำศัพท์ยาก
The supervision การนิเทศ
human relationship มนุษยสัมพันธ์
team management การจัดการทีม
reinforcement การเสริมแรง
morale การบำรุงขวัญ
time management การบริหารเวลา
team management การจัดการทีม
Team working
ความหมาย
ความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามเป้าหมายของ องค์การโดยสมาชิกของทีมมีการประสานงานสัมพันธ์กันอย่างดี ตั้งแต่กำหนดเป้าหมาย วิธีการทำงาน การ ปฏิบัติงาน และการประเมินผล
ทีม (Team) หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ต้องทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพื่อให้ประสบความสำเร็จตาม เป้าหมาย
ความจำเป็นในการทำงานเป็นทีม
การทำงานให้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบเพียงคนเดียว อาจจะทำให้เกิดความเสียหายหรือมีการทุจริตได้ ง่ายหรือบางครั้งอาจจะต้องใช้เวลามากกว่าที่ควรจะเป็นก็ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันความชำนาญ (Skill) เฉพาะของแต่ละคนแตกต่างกันไปด้วย จึงทำให้คนเราจะต้องมาทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายหรือ วัตถุประสงค์หลักในเรื่องเดียวกัน
สามารถเกื้อกูลให้งานในระบบประสบความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของทีมงาน
การเลือกสมาชิกเข้าร่วมทีม
ความไว้วางใจกัน
เป้าหมายของทีมควรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายส่วนตัวของสมาชิก
การเข้าใจบทบาทของตนเองและเพื่อนร่วมทีมงาน
วิธีการทำงาน
ระบบการให้รางวัล
บรรยากาศของกลุ่ม
จากงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการทำงานเป็นทีมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ปัจจัยที่ทำนายประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีม พบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีมของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ประกอบด้วย การได้รับการจัดสรรทรัพยากรในการทำงานอย่างเพียงพอ ความสามารถในการมอบหมายงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย บรรยากาศแห่งความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การตัดสิน และการปฏิบัติงาน การยิมรับฟังความคิดเห็นจากสามชิกในทีม การประเมินผล และให้รางวัลอย่งเป็นธรรม รวมถึงปัจจัยด้านองค์ประกอบและคุณลักษณะของทีม ประกอบด้วย สมาชิกในทีมมีความรับผิดชอบที่เหมาะสมกับภาระกิจของงาน สมาชิกให้ความสำคัญผลงานของทีมมากกว่าผลงานส่วนบุคคล สมาชิกในทีมมีความเปิดเผยต่อกัน มีความประนีประนอม มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความผูกพันเหนียวแน่นต่อกัน
( จิราภรณ์ เตชะอุดมเดช, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย และเดชา ทำดี, 2559).
การบริหารทีมงาน
การวิเคราะห์ความจำเป็น การสร้างทีมงานที่ดี ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดผลงานอันเป็นของหน่วยงานนั้น
การกำหนดวัตถุประสงค์ของทีมงาน เพราะหากเข้าใจวัตถุประสงค์ ใหญ่แล้ว จะทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วย
การวางแผนงานร่วมกัน เพื่อจะสามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนด
การสร้างทีมงานที่ดี
เน้นการปฏิบัติงานเป็นทีม ความสำเร็จของทีมงานจึงจะต้องมีการทำงานร่วมมือกันเป็นอย่างดี
แนวทางปฏิบัติของทีมการพยาบาลในหอผู้ป่วย
ผู้นำทีมควรเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่สามารถวางแผน ประสานงาน นิเทศและประเมินผลการ ปฏิบัติงานได้
หัวหน้าทีมจะต้องมีการมอบหมายงานให้แก่สมาชิกทีมโดยคำนึงถึงความต้องการการพยาบาล ของผู้ป่วยและความสามารถของสมาชิกทีมด้วย
หัวหน้าทีมใช้วิธีการประชุมปรึกษา เพื่อวางแผนให้การพยาบาลร่วมกับสมาชิกทีมทั้งก่อนและ หลังให้การพยาบาล
หากมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น สมาชิกทีมจะรายงานผ่านหัวหน้าทีม และในบางเรื่องหัวหน้าทีมก็ จะต้องรายงานต่อหัวหน้าตึกต่อไป
การทำงานเป็นทีมจะช่วยให้เกิด ประโยชน์ ดังนี้
สร้างผลงานให้องค์กร การทำงานทุกอย่างย่อมหวังที่จะให้ได้ผลงานรวมเป็นที่ถูกใจของทุกฝ่าย สามารถไปถึงเป้าหมายขององค์การได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด หรือเท่ากับ งบประมาณที่กำหนดไว้
สร้างผลผลิตแก่องค์กร ถึงแม้งานนั้นจะเป็นเพียงงานบริการแต่ผลที่ได้รับจากการให้บริการ หาก ไม่เป็นตัวเงิน ก็สามารถประสานต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเงินหรือรายได้ขององค์การนั้นได้
เกิดความประหยัดแก่หน่วยงานหรือองค์การ การทำงานเป็นทีมจะมีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย กัน มีความเกรงใจเป็นที่ตั้งทำให้เกิดการประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน เกิดความประหยัดแก่ ส่วนรวมในที่สุด
เกิดทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน คนเราหากทำงานเพียงคนเดียวอาจจะไม่เห็นข้อบกพร่องของ ตนเมื่อได้มาร่วมงานกับคนอื่นอาจจะมองเห็นศักยภาพของตนทั้งในทางที่ดีและทางที่ด้อย สามารถนำไป ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป รวมทั้งทีทัศนคติที่ดีกับเพื่อนร่วมงานอีกด้วย
สร้างระบบวินัยที่ดีในการปฏิบัติงาน การทำงานร่วมกันหลายคน จะเริ่มมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความสบายใจ เต็มใจที่จะช่วยเหลือในบางโอกาสที่ อำนวย ซึ่งระเบียบต่าง ๆ เหล่านั้น อาจจะสร้างด้วยกลุ่มหรือคณะทำงานรวมทั้งทีมงานเองก็ได้
จากงานวิจัยเรื่องผลของโปรแกรมการทำงานทำงานเป็นทีมต่อคุณภาพบริการพยาบาลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชนระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง พบว่าคุณภาพบริการพยาบาลของผู้ป่วยจะสูงขึ้น และ ผลงานบรรลุเป้าหมายถ้าผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการวางแผนการทำงานเป็นทีม กำหนดลักษณะการทำงานเป็นทีม การจัดการทำงานทีมพยาบาล มีการออกแบบกิจกรรมของทีมพยาบาล
(พีรยา คงรอด, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และเบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร, 2562)
ความแตกต่างของการทำงานแบบกลุ่มและทีม
การทำงานแบบกลุ่มกลุ่ม (Group) คือ การทำงานด้วยจำนวนบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มารวมกันและมีปฏิสัมพันธ์มีอิทธิพลซึ่งกัน และกัน โดยมีการรวมกันทั้งแบบทางการและแบบไม่เป็นทางการ
การทำงานแบบทีม (Team) คือ การท
การทำงานแบบทีม (Team) คือ การทำงานของกลุ่มบุคคลที่ต้องทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพื่อให้ประสบความสำเร็จตาม เป้าหมาย ความจำเป็นในการทำงานเป็นทีม
time management การบริหารเวลา
ประโยชน์จากการบริหารเวลา
เข้าใจถึงคุณค่าของเวลาที่มีต่อชีวิต
อาจเกิดความเครียดลดลง
เรียนรู้ที่จะวางแผนการใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม
มีเวลาให้กับบุคคลและกิจกรรมที่ต้องการได้มากขึ้น
จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่างๆ ได้
ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
ความหมาย
การกำหนดและการควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามเวลาและ วัตถุประสงค์ที่กำหนด เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในงานหน้าที่ที่รับผิดชอบ
การรู้จักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทํางานอย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นนักบริหารเท่านั้นที่จะสามารถบริหารเวลา ทุกคนก็สามารถ ทําได้เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะแบ่งเวลา โดยจัดสรรเวลาของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัน เวลาที่กําหนดและการควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามเวลาและวัตถุประสงค์ที่กําหนด เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในงานหน้าที่ที่รับผิดชอบ
วิธีการ บริหารเวลา
มีจุดยืนตัวเองเรื่องเวลา จงกำหนดกรอบเพื่อกำกับการทำงานทุกอย่างด้วยเวลาเสมอ
ค้นหาวิธีการใหม่ๆ จงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อลดเวลา หรือใช้เวลาเท่าเดิมแต่ได้ปริมาณและ คุณภาพมากขึ้น
ใส่ใจพัฒนางาน จงพัฒนางานให้ก้าวล้ำเสมอ
มุ่งมั่นสานต่อความคิด จงพยายามสานต่อความคิดให้เป็นจริงและปรากฏเห็นได้ในทางปฏิบัติงาน
จิตใจอยู่กับงาน จงมีสมาธิกับงานเสมอ
ตนและองค์การก้าวหน้าจงสรรสร้างพัฒนาตน องค์การให้มุ่งสู่ความสำเร็จตามที่ทุกฝ่ายปรารถนา
หลักและเทคนิคการบริหารเวลา
ตั้งจุดประสงค์ของการบริหารเวลา
ตั้งจุดมุ่งหมายของการบริหารเวลา
ทําแผนปฏิบัติการ
กําหนดตารางเวลาในการทํางาน
จัดลําดับความสําคัญของงานก่อน-หลัง
จัดระบบงานเอกสาร
ควบคุมการใช้โทรศัพท์
8.ควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย
หัฏฐกรณ์ แก่นท้าว.(2564). หลักและเทคนิคการบริหารเวลาสําหรับผู้บริหาร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
morale การบำรุงขวัญ
หมายถึง
เป็นความเต็มใจและความเชื่อมั่นของบุคคลในการทำงาน หรือ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการทำงาน เช่น ความกระตือรือร้น อารมณ์ ความหวัง ความมั่นใจ เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ภูมิหลังของพนักงาน รวมถึง สติปัญญา การศึกษา อุปนิสัย ขวัญและกำลังใจในการทำงานจะมาก หรือน้อยขึ้นกับความพึงพอใจในความต้องการ ดังกล่าวข้างต้น
สภาพแวดล้อมส่วนตัวของพนักงาน ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ส่วนตัวของพนักงานกับครอบครัว เพื่อน และชุมชน
ลักษณะและพฤติกรรมของผู้นำหรือผู้บริหาร มีผลต่อขวัญและกำลังใจของผู้ร่วมงาน เช่น ผู้นำแบบ สบายๆ ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย ทำให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานของผู้ร่วมงานต่ำ
ระเบียบของการจัดการ ที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการทำงานนั้นรวมถึงนโยบายหรือวิธีการ ทำงานที่เกี่ยวกับค่าจ้าง การพิจารณาความดี ความชอบ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การติดต่อสื่อสาร การ ร้องทุกข์ สวัสดิการ และผลประโยชน์ เพื่อดูแลเพื่อร่วมงาน
1) ลักษณะทำทีและบทบาทของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผู้ร่วมงาน หากผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์อันดีกับลูกน้องและเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกันย่อมจะทําให้บรรยากาศการทํางานร่วมกันมีชีวิตชีวาและลูกน้องจะมีขวัญที่ดี
2) การมอบหมายงานให้บุคคลปฏิบัติหรือรับผิดชอบ หากมอบหมายงานไม่เหมาะสมกับบุคคล จะทําให้ผู้ปฏิบัติเกิดความคับข้องใจเกิดความไม่พึงพอใจ ซึ่งเป็นการทําลายขวัญกำลังใจของเขา
3) การจัดสภาพการทํางาน สภาพการทํางานมีอิทธิพลต่อร่างกายและจิตใจของบุคคลเป็นอันมากและมีส่วนเสริมสร้างขวัญและทําลายขวัญเป็นอย่างยิ่ง การจัดสภาพการทํางานที่ดีถูกหลักอนามัย เช่น สถานที่สะอาด มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทได้สะดวก จะทําให้คนงานเกิดความสบายใจ ขวัญของเขาก็จะดี แต่ถ้าการจัดสภาพการทํางานไร้ระเบียบ ขาดสิ่งจูงใจ คนงานจะขาดความตั้งใจในการทํางานและเป็นการทําลายขวัญกำลังใจให้หมดไปด้วยสภาพของการปฏิบัติงาน
4) ระบบการวัดผลความสําเร็จในการทํางาน ระบบการเลื่อนตําแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การโยกย้าย สิ่งเหล่านี้ถ้าปฏิบัติอย่างไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์จะมีผลกระทบกระเทือนขวัญมากที่สุด
5) มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เป็นไปได้ไม่มีปัญหาใดๆ ที่ก่อให้เกิดข้อขัดแย้งกันขึ้น เข้าใจดีกับเพื่อนร่วมงาน หมู่คณะ
6) ไม่มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดๆ เกี่ยวกับศาสนาความคิดเห็นทางการเมือง สิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น ปัญหาจราจร แหล่งที่อยู่อาศัยและอื่นๆ
7) การควบคุมดูแลอย่างเพียงพอผู้บริหารทุกคนควรจะเป็นที่ปรึกษาแก่ลูกน้องได้อย่างดี เช่น ช่วยแนะนําแก้ไขปัญหา
8) ความพึงพอใจในผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและรางวัลที่ได้รับ การเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่งที่เหมาะสม การให้สวัสดิการ บําเหน็จ บํานาญ
9) โอกาสในการแสดงความคิดเห็นและการยอมรับฟัง หากคนงานไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นหรือมีแต่ว่าฝ่ายผู้บังคับบัญชาไม่ยอมรับฟังก็จะทําให้คนงานเกิดความคับข้องใจและทําลายขวัญของเขาด้วย
10) การให้บําเหน็จรางวัลและการลงโทษ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานดีต้องรับรู้ในความดีของเขาโดยให้บําเหน็จความดี ซึ่งอาจจะเป็นการเลื่อนขั้นหรือตําแหน่งให้สูงขึ้น เพิ่มเงินเดือนให้มากขึ้น ตลอดจนการชมเชยให้รางวัลเป็ยพิเศษจะเป็นการทําให้เขามีกําลังใจจูงใจให้กระตือรือร้นต่อการปฏิบัติงาน
(พรนพ พุกกะพันธุ์. 2544. ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
สิ่งที่ผู้บริหารช่วยให้ขวัญของบุคลากรดีขึ้น
สร้างความเข้าใจและพอใจในวัตถุประสงค์ของหน่วยงานร่วมกัน
แบ่งงานให้เหมาะสม โดยให้ทุกคนได้ใช้พลังและความสามารถเต็มที่ มีความภูมิใจในงานที่ปฏิบัติ
มีการนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิด
สัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันดี
ให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเป็นธรรม
จัดสถานที่ทำงานให้ดีและเหมาะสมกับงาน
จัดให้มีความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน
สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน
ให้ผู้ร่วมงานรับรู้ถึงโครงสร้าง แผนการดำเนินงานและมีส่วนร่วมในการทำงาน
สร้างมาตรฐานในการวัดความสำเร็จของงานอย่างเที่ยงธรรม
เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ระบายความรู้สึก ชี้แจงข้อขัดข้องในการทำงานได้เสมอ
togdill ได้ชี้ให้เห็นว่าสภาวะที่จะช่วยส่งเสริมขวัญในหน่วยงาน มี 2 ประการ คือ
จะต้องกำหนดบทบาทของบุคลากรให้ชัดเจน ให้ทุกคนทราบว่าหน่วยงานมีความหวังให้ตนทำอะไร
สมาชิกมีอิสระในการริเริ่มงาน เพื่อการปฏิบัติงานด้วยความเชื่อมั่น ภูมิใจในความสำเร็จของงาน
ประโยชน์ของขวัญและกําลังใจที่ดีต่อหน่วยงานและองค์กร
1) ทําให้เกิดความร่วมมือมือใจในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
2) สร้างความซื่อสัตย์จงรักภักดีให้มีต่อองค์กร
3) เสริมสร้างวินัยอันจะทําให้มีการปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และแบบแผน
4) ทําให้องค์กรเป็นองค์กรที่แข็งแกร่งสามารถพ้นผ่านอุปสรรค์ในยามคับขันได้
5) ทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในองค์กรมากขึ้น
6) ทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีความคิดริเริ่มในกิจกรรมต่าง ๆ
7) ทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเชื่อมั่นในองค์กรของตนเอง
(ชาญณรงค์ จิตธรรมมา. (2542). ขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตารวจระดับชั้นประทวน ฝ่ายปฏิบัติการทางเรือ กองตารวจน้า. ปริญญานิพนธ์ รป.ม.(นโยบายสาธารณะ) ชลบุรี: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา)
ขวัญและกำลังใจในการทำงาน
เป็นคุณลักษณะทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับ ยากที่ จะทำการวัด แต่อาจเสริมได้ด้วยการมีผู้บังคับบัญชาที่ดี
ระดับของขวัญและกำลังใจในการทำงาน ขึ้นอยู่กับความต้องการทั้งหมดของแต่ละบุคคลว่าได้รับการ ตอบสนองมากน้อยเพียงใด เพื่อให้กลุ่มมีขวัญและกำลังใจที่ดีในการทำงาน บุคคลแต่ละฝ่ายจะต้องมีการ เชื่อมั่นว่าความพึงพอใจในงานของตนย่อมมีผลต่อความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มแต่ละคน
การมีขวัญและกำลังใจต่ำ มักเป็นผลมาจากการมีระเบียบทางการจัดการที่ไม่ดี มีการแปรความหมาย ของหน้าที่ฝ่ายจัดการผิดไป
สภาพทางจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ความรู้สึกหรือความนึกคิดที่ได้รับอิทธิพล แรงกดดันหรือสิ่งเร้าจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในองค์การท่ีอยู่รอบตัวเขาและจะมีปฏิกริยาโต้กลับ คือ พฤติกรรมในการทํางานซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลงานของบุคคลนั้น
การเสริมแรง (Reinforcement)
ความหมาย
เป็นความพยายามของผู้บริหารที่จะให้ทำให้บุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ เลือกกระทำตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีการใช้รางวัลและการลงโทษ จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของ รูปแบบ ลักษณะงาน การอ่านรายงานงบประมาณ การมาทำงานตรงเวลา ซึ่งการเสริมแรงควรมีการกระทำ อย่างต่อเนื่อง หากไม่ต่อเนื่องพฤติกรรมบางอย่างก็จะค่อยลดลงไปหรือหมดไป
เป็นหลักการบริหารที่มีความสำคัญตามเงื่อนไข ผู้บริหารมักใช้การเสริมแรงทางบวกต่อ พฤติกรรมของผู้ร่วมงาน โดยจะใช้เมื่อเป็นการกระตุ้น ต้องการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของงาน แต่ขึ้นอยู่กับ คุณค่าของแต่ละคน
การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรงที่เหมาะสม
• การเสริมแรงมี 2 ทาง
การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
2.การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
การลงโทษมี 2 ทาง
การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
human relationship มนุษยสัมพันธ์
ความหมาย
มนุษย์สัมพันธ์ เป็นหลักการบริหารของผู้บริหาร เป็นหัวใจของการทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของบุคลากรให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ทั้งในและนอกองค์กร ให้ผลการทำงานดียิ่งขึ้น เนื่องจากทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กร
เป็นการรวมคนในองค์การบริหารให้ร่วมมือกันทำงาน ในลักษณะที่มุ่งหวังจะให้เกิด ความร่วมมือ ประสานงาน มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
เมย์สมิธ (Dr.May Smith) อธิบายว่ามนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญคือเพื่อให้การคบหาสมาคมเป็นไปด้วยความราบรื่นเพื่อให้เกิดความพึงพอใจยินดีให้ความร่วมมือในการทำงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จในกิจการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อให้มีความเข้าใจอันดีต่อมนุษย์ด้วยกันและเพื่อให้เกิดความเชื่อถือรักใคร่ซึ่งกันและกัน
แนวทางการศึกษามนุษย์สัมพันธ์ให้ได้ดี
จะต้อง รู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง รู้จักผู้อื่นและเข้าใจผู้อื่น เข้าใจสภาพสังคม เข้าใจลักษณะโครงสร้างของกลุ่ม และเข้าใจเทคนิคการปรับปรุงตนเองและการปรับปรุง ผู้อื่น ตลอดจนมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ดังนั้นต้องยึดหลัก ว่า รู้จัก ตน รู้จักคน เข้าใจตน เข้าใจคน เพื่อผลของงานที่ต้องการ
เทคนิคในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
มีความตั้งใจที่จะไม่ขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น
มองผู้อื่นในแง่ดี ด้วยความจริงใจ
ไม่ทำตัวให้เด่นจนเกินไปหรือด้อยจนเกินไป หากสิ่งใดเด่นจงถ่อมตัว สิ่งใดที่รู้ว่าด้อยจงเพิ่มให้เติม
เต็มใจรับฟังผู้อื่นสนทนาอย่างไม่เบื่อ
การพูดต้องไม่พูดอยู่คนเดียวมากเกินไป มีคำพูดแปลกใหม่หรือเรื่องน่าสนใจในการสนทนา
มีอารมณ์ขัน ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์หนักแน่น เก็บความรู้สึกได้ เป็นผู้ให้
รู้จักหน้าที่ในการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
(ณัฐกานต์ เเย้มชื่น.(2563).การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหาร.จริยธรรมและความเป็นมืออาชีพของนักบริหารการศึกษา:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การพัฒนาความมีมนุษย์สัมพันธ์ที่สำคัญ ในขั้นต้น
การเรียนรู้ตนเอง เข้าใจตนเอง ว่าเป็นคนอย่างไร วิธีการที่ตนแสดงต่อผู้อื่นเป็นอย่างไร ตนมี คุณธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจหรือไม่ ตนมีศิลปะในการฟังหรือไม่ ตนเป็นคนทันสมัยหรือไม่
เข้าใจผู้อื่น คือ เข้าใจในความต้องการของมนุษย์และความเป็นปัจเจกบุคคล
เข้าใจสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สภาพสังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ วิถีชีวิต บรรยากาศ เป็นต้น
ความสำคัญที่มีต่อการดำเนินชีวิตในสังคม
ช่วยให้ไม่โดดเดี่ยวอยู่เพียงลำพัง
ทำให้เกิดความผูกพันและยอมรับ
ทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
ทำให้เกิดความสามัคคีร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ความสำคัญที่มีต่อการบริหารงาน
ช่วยให้รู้หลักในการครองใจพนักงาน
ทำให้มีรู้และมีศิลปะในการบริหารงานเพิ่มขึ้น
ทำให้เกิดการยอมรับและมีความผูกพันในองค์การ
ทำให้เกิดความสามัคคีร่วมมือเพื่อความสำเร็จของงาน
ความสำคัญที่มีต่อการเมืองการปกครอง
ช่วยให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
ทำให้เกิดความสามัคคีร่วม
ทำให้เกิดการยอมรับและมีเชื่อมั่นเกิดขึ้น
ทำให้ประเทศชาติมีความเจริญมั่นคง
The supervision การนิเทศ
ความหมาย
การนิเทศ เป็นการทำงานร่วมกันเพื่อให้งานประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยมี ผู้นิเทศเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ ให้ความรู้ แนะนำ กระตุ้น สนับสนุนและให้บริการที่จำเป็นแก่บุคลากรเพื่อความเจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาตนเองในการทำงาน โดยเปิดโอกาสให้ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผน งานของตนเองเพื่อให้งานมีผลดีและบุคลากรได้พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพด้วย
การนิเทศทางการพยาบาล
เป็นการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลด้วยวิธีการชี้แนะ การนำ การ สอน การช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก การสนับสนุนให้กำลังใจ การโน้มน้าว การแก้ไขข้อผิดพลาดและ การประเมินผลงาน เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมาย นโยบายการ บริการการพยาบาลในหน่วยงานนั้นๆ
เป็นการกระทำที่ต้องมีความรับผิดชอบสูงในงานอย่าง เคร่งครัด มีความ ชัดเจน รอบคอบและมีการใช้ความรู้อย่างเป็นระบบขั้นตอนเพื่อการตัดสินใจและการปฏิบัติการพยาบาล เนื่องจากวิชาชีพการพยาบาลเป็นการกระทำต่อสุขภาพ ชีวิตของบุคคล ครอบครัวและสังคม ตลอดเวลา จึง ต้องมีการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบรายงานผลและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเอาจริงเอาจัง
การประเมินผลการปฎิบัติการพยาบาล
แบ่งผลลัพธ์ออกเป็น 3ด้าน
ผลลัพธ์ต่อผู้นิเทศ
ผู้นิเทศมีความรู้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางการพยาบาล และความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นิเทศ เนื่องจากผู้นิเทศต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติการนิเทศตามรูปแบบ ได้มีการถ่ายทอดความรู้ ให้คำแนะนำ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและเกิดการต่อยอดความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น
ผู้นิเทศมีทัศนคติต่อการนิเทศดีขึ้น
เมื่อผู้นิเทศได้รับการอบรม มีโอกาสได้พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของผู้นิเทศ ทำให้เข้าใจหลักการของการนิเทศที่ชัดเจนขึ้น ส่งผลให้เกิดความมั่นใจและได้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการนิเทศให้กับพยาบาลวิชาชีพได้มีความรู้ และให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้ผู้นิเทศเกิดทัศนคติที่ดีต่อการนิเทศมากยิ่งขึ้น
ผู้นิเทศมีความพึงพอใจต่อการนิเทศมากขึ้น
เนื่องจากมีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน ทำให้ผู้นิเทศมีแนวทางในการนิเทศ และมีความมั่นใจที่จะดำเนินการนิเทศ ทำให้ผู้นิเทศดำเนินการนิเทศโดยสะดวก และรู้สึกปลอดภัย เกิดความพึงพอใจมากขึ้น
2.ผลลัพธ์ต่อผู้รับการนิเทศ
ผู้รับการนิเทศมีความรู้เพิ่มขึ้น
เนื่องจากผู้รับการนิเทศได้รับความรู้จากผู้นิเทศ ด้วยวิธีการสอน การฝึกอบรม และการให้คำแนะนำ
ผู้รับการนิเทศมีทักษะการพยาบาลเพิ่มขึ้น
เนื่องจากผู้รับการนิเทศได้รับการให้ฝึกปฏิบัติ จนผู้รับการนิเทศเกิดทักษะที่เพิ่มขึ้น
ผู้รับการนิเทศมีชั่วโมงการฝึกปฏิบัติมากขึ้น
เนื่องจากมีการนิเทศ ติดตาม และผู้รับการนิเทศได้เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติ รวมถึงการมีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน ทำให้ผู้รับการนิเทศมีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นแนวทางเดียวกัน
ผู้รับการนิเทศมีเจตคติต่อการนิเทศดีขึ้น
เนื่องจากผู้รับการนิเทศได้เข้าใจเป้าหมายของการนิเทศ และเห็นประโยชน์ของการนิเทศทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการนิเทศมากขึ้น
ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจสูงขึ้น
เนื่องจากการนิเทศการพยาบาล เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การมีส่วนร่วม และสะท้อนกลับอย่างกัลยานิมิตกระบวนการเหล่านี้ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี และเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อการพยาบาล
ผลลัพธ์ต่อผู้ใช้บริการ
ผู้ใช้บริการมีความปลอดภัย
เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลมีรูปแบบที่ชัดเจนมี แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาของพยาบาลได้ทำให้ลดอุบัติการและความผิดพลาดลง
ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจสูง
เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลที่มีรูปแบบที่ชัดเจน มีแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาที่ชัดเจน ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัย ทำให้เกิดความพึงพอใจในบริการ
อรรถยา อมรพรหมภักดี. (2563). การนิเทศทางการพยาบาล: การทบทวนแบบกำหนดขอบเขต: วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.
ความสำคัญของการนิเทศทางการพยาบาล
ช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการพยาบาลให้ปฏิบัติการพยาบาลได้สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งบุคลากร ทางการพยาบาลที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา มีประสบการณ์น้อยในการแก้ปัญหาทางสุขภาพอนามัย ย่อม ต้องการการชี้แนะ หรือการสนับสนุน การประคับประคองจากพยาบาลนิเทศ จึงจะช่วยให้บุคลากรทางการ พยาบาลเกิดความมั่นใจและเติบโตขึ้นในวิชาชีพการพยาบาลด้วยความรู้สึกที่ดีและพร้อมที่จะสร้างพยาบาล ในยุคต่อไปได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้จะมีผลดีต่อประชาชนผู้รับบริการที่ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ
ช่วยประสานความเข้าใจระหว่างฝ่ายผู้บริหารและฝ่ายผู้ปฏิบัติการพยาบาล ในการนิเทศทางการ พยาบาลผู้นิเทศเปรียบเสมือนบุคคลผู้อยู่ตรงกลาง เช่น ในการนิเทศผู้นิเทศจะต้องอธิบาย ชี้แจง แปล ความหมายของนโยบายและแผนงานของหน่วยงานให้บุคลากรเข้าใจ พร้อมทั้งโน้มน้าวให้เกิดการยอมรับ และปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานนั้นๆ และนอกจากนี้ผู้นิเทศจะต้องนำความคิดเห็น ปัญหาและความ ต้องการของบุคลากรทางการพยาบาลเสนอแก่ผู้บริหารเพื่อให้ได้รับการแก้ไข
ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล โดยการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบบริการ พยาบาลให้มีมาตรฐานทางการพยาบาล
หลักการนิเทศทางการพยาบาล
ศึกษาสายงานการบังคับบัญชาของหน่วยงาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ของบุคลากรตามสายงาน และเข้าใจตนเองว่า อยู่ ณ. จุดใด รู้แนวทางในการรายงานหรือขอความช่วยเหลือ ตามลำดับขั้นได้
ศึกษานโยบายการดำเนินงานของหน่วยงาน ทำให้ผู้นิเทศทราบทิศทางการดำเนินงาน ของหน่วยงาน สามารถแปลความหมาย อธิบายนโยบายแก่ผู้ถูกนิเทศได้ และช่วยในการวางแผนงาน จัด โครงการได้สอดคล้องกับนโยบายและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ดำเนินการนิเทศงานการพยาบาลครบทุกขั้นตอนและเป็นไปตามลำดับ โดยควรใช้ กระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผนงาน ดำเนินการนิเทศงานและประเมินผลการนิเทศ โดยสามารถ ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการนิเทศ โดย ผู้เกี่ยวข้องในโครงการทุกคนควรมีส่วนร่วมและเกิดความตระหนักในการเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม โครงการ นิเทศ
ทำการนิเทศหรือทำการพัฒนาผู้ได้รับการนิเทศ ณ. แหล่งที่ปฏิบัติงานนั้นๆ โดยคำนึงถึง พื้นฐานความรู้ เจตคติ ทักษะ ขวัญและกำลังใจของบุคลากร
การคาดหวัง เป็นสิ่งที่ผู้นิเทศต้องวางเป้าหมายในการนิเทศว่าต้องการให้บรรลุในเรื่อง ใดบ้าง และพยายามร่วมมือกันเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายโดยใช้วิธีการและเทคนิคให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดย อาจมีการนิเทศแบบตัวต่อตัว และนิเทศแบบกลุ่ม
1 . การนิเทศตามแบบแผน(formative) มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏบิตักิารพยาบาล
การนิเทศตามมาตรฐาน (normative) ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติตามมาตรฐาน
การนิเทศตามหลักสมานฉันท์ (restorative) จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่างานวิจัยที่เกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิกยังมีคุณภาพน้อย
วิธีการนิเทศในการปฏิบัติการพยาบาล
นิเทศอย่างใกล้ชิด (close supervision) คือ การติดตาม ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานของ บุคลากรคนใดคนหนึ่งอย่างใกล้ชิด
นิเทศแบบทั่วไป (general supervision) จะไม่ติดตามดูแลใกล้ชิดแต่จะอยู่ห่างๆ ให้คำแนะนำ เป็นบางโอกาส
ผู้ที่มีหน้าที่ในการนิเทศต้องมีความสามารถ 3 ประการ คือ
ความสามารถทางด้านการบริหาร (administrative competence) หมายถึง มีความสามารถใน การวางแผน จัดการ สั่งการและกิจกรรมการบริหารอื่นๆ เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ
ความสามารถทางเทคนิค (technical competence) เป็นความสามารถเฉพาะ มีความรู้ ความสามารถในการดูแล การปฏิบัติการพยาบาลอย่างดี ตลอดจนนำความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อ ช่วยเหลือ แนะนำให้บุคลากรได้ใช้สิ่งเหล่านี้อย่างฉลาด ช่วยให้เกิดผลดี รวดเร็วและประหยัด
ความสามารถทางมนุษย์สัมพันธ์ (Human relations competence) ได้แก่ ความสามารถใน การเข้าใจคน รู้ว่าจะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร
โดยสรุปพยาบาลนิเทศควรมีคุณลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ มีทักษะ และแนวความคิด ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการพยาบาล
รูปแบบการนิเทศ
พบว่าการนิเทศทางการพยาบาลมีหลากหลายรูปแบบแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ นิเทศทางการพยาบาล และการนิเทศทางเชิงคลีนิก ซึ่งทั้งสองแบบมรกระบวนการไม่แตกต่างกัน แต่จะแตกต่างกันที่ผลลัพธ์ การนิเทศทางการพยาบาล จะเน้นผลลัพธ์ของการมีผลิตภาพ(productivity) ประสิทธิภาพ (efficiency)หรือประสิทธิผล (effectiveness)แต่ การนิเทศทางคลินิกจะเน้นผลลัพธ์ที่หอผู้ป่วย (clinical and patient outcomes)
จากการทบทวนวรรณกรรมของต่างประเทศโดยการวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศทางการพยาบาล ที่ยู่ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แนวคิดที่นำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกมากที่สุด คือ Proctor’s model (8 ใน 19 งาน)
ผู้นิเทศทางการพยาบาลแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1 . ผู้นิเทศทางการพยาบาลระดับโรงพยาบาล เช่น
หัวหน้าพยาบาล, หัวหน้ากล่มุงาน และผู้ตรวจการพยาบาล
ผู้นิเทศทางการพยาบาลระดับหน่วยงาน ๆด้แก่ หัวหน้าและรองหัวหน้าหอผู้ป่วย/หน่วยบริการพยาบาล
(อรรถยา อมรพรหมภักดี , ฐาศุกร์ จันทร์ประเสริฐ และ อมราพร สุรการ ( 2560 ).
การนิเทศทางการพยาบาล: การทบทวนแบบกำหนดขอบเขต : วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
พยาบาลหัวหน้าเวร
พยาบาลหัวหน้าเวร (Charge Nurse) เป็นผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหอผู้ป่วยอีกต่อหนึ่งทำหน้าที่จัดให้มีการบริการพยาบาลที่มีคุณภาพแก่ผู้ป่วยในทีมและใช้คนให้มีประสิทธิภาพ (ปรางทิพย์ อุจะรัตน,2541,หน้า67) ซึ่งทางการบริหารจัดว่าพยาบาลหัวหน้าเวรเป็นผู้บริหารระดับต้นเช่นเดียวกับพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยแตกต่างกันในขอบเขตและปริมาณงานที่รับผิดชอบเท่านั้น (Sullivan & Decker, 1997)
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพยาบาลหัวหน้าเวรที่มีประสิทธิภาพ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพยาบาลหัวหน้าเวรที่มีประสิทธิภาพมี 3 ด้านคือ บทบาทด้านการปฏิบัติการพยาบาลบทบาทด้านการบริหารจัดการ และบทบาทวิชาการ
(กองการพยาบาล 2539 ;สภาการพยาบาล, 2532)
คุณลักษณะของพยาบาลหัวหน้าเวร
1 มีทักษะความสามารถเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลในงานที่ได้รับผิดชอบเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่ยังไม่หมดอายุมีประสบการณ์ทางการพยาบาลอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
2 มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้บรรลุตามพันธกิจและนโยบายที่กำหนด 3 มีภาวะผู้นำมีความสามารถในการบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์
4 เข้าใจและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับงาน
5 มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมด้านการแต่งกายอารมณ์และจิตใจ
6 มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 7 มีความรู้ในด้านการวิจัยโดยแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อพัฒนางาน
8 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
ที่มา : พวงยุพา ยิ้มเจริญ, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และพรศรี ศรีอัษฎาพร. (2562). การพัฒนาบทบาทการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรหน่วยศัลยกรรมเด็ก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. สถานพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30 (1).117-130.
จากสถานการณ์เทคนิคที่หัวหนัวเวรไม่ควรนำมาใช้กับพยาบาลในหอผู้ป่วยนี้ คือ แบบการมอบหมายงานให้พยาบาลเป็นแบบตามหน้าที่ เนื่องจากพยาบาลคนที่2มีกิจกรรมทั้งต้องทำบันทึกและทำจำหน่ายผู้ป่วย โดยจำนวนผู้ป่วยในการดูแลหน้าที่ตรงนี้มีจำนวนมากจึงอาจไม่เหมาะในการจัดการให้พยาบาลที่วอร์ดแบบทำตามหน้าที่ก็จะเห็นได้จากที่สถานการณ์ที่พยาบาลจัดการเวลาไม่ทัน โดยจะเหมาะกับการจัดการดูแลแบบทีมมากกว่า
Empowerment
ความหมาย
กระบวนการที่สะท้อนให้เห็นความสามารถของบุคคลในการที่จะดึง สิ่งที่มีอยู่ภายในตัวเองในการควบคุม จัดการสร้างอิทธิพลกับตนเอง และ สังคมรอบข้างอันจะส่งผลเป็น รูปธรรมต่อชีวิตตนเอง
หลักการสําคัญของการเสริมสร้างพลังอํานาจ
เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กําหนดเป้าหมาย สร้างวิสัยทัศน์ กําหนดพันธกิจ และความร่วมมือในการกําหนดแผนงานต่างๆ รวมถึงกระบวนการลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
มีอยู่ 4 ขั้นตอน
การค้นพบความจริง การรู้จักตนเอง
การสะท้อนคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และเป็นเหตุเป็นผล
การตัดสินเลือกทางออกหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม
การคงไว้ซึ่งพฤติกรรม
ข้อดี : ช่วยให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงานมีการพัฒนาตนเองและมีความก้าวหน้าในการทำงาน
การสร้างเสริมพลังอำนาจมีปัจจัยที่สัมพันธ์ 2 ด้านคือ
ด้านการได้รับอำนาจ
1.1 การได้รับข้อมูลข่าวสาร
1.2 การได้รับการสนับสนุน
1.3 การได้รับทรัพยากร
ด้านการได้รับโอกาส
2.1การได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
2.2การได้รับการพัฒนาความสามารถและทักษะ
2.3การได้รับรางวัลและการยอมรับนับถือ
(เนตรนภา สาสังข์ และคณะ, 2559)
การบันทึกข้อมูลทางการพยาบาล
ความสำคัญ
-ข้อมูลที่บันทึกนำมาใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับภาวะและความก้าวหน้าในอาการผู้รับบริการระหว่างบุคลากรในทีม
-ข้อมูลที่บันทึกสามารถนำมารวบรวมเปรียบเทียบและประเมินความต้องการการ
ดูแลของผู้รับบริการช่วยในการวางแผนการพยาบาลและให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง รวมทั้งช่วยในการแยกแยะบทบาทของพยาบาลจากวิชาชีพอื่น
ประโยชน์
-ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการดูแลผู้รับบริการจากเจ้าหน้าที่หลาย ๆ ฝ่าย ป้องกันไม่ให้ผู้รับบริการได้รับการกระทำซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิมโดยไม่จำเป็น ,เช่น การซักประวัติ การสอน แนะนำในเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนุการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมบางอย่างที่ผู้รับบริการไม่พึงพอใจ
-ส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลถูกต้องมากขึ้น และช่วยลดความผิดพลาดที่
จะเกิดขึ้นจากการขาดข้อมูลในการประเมินปัญหาทำให้ผู้รับบริการได้รับการบริการที่สมบูรณ์ต่อเนื่อง ถูกต้อง
-ใช้เป็นหลักฐานทางด้านกฎหมายเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า วิจัยต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร เพราะจากการ บันทึกจะทำให้ทราบว่าบุคลากรมีจุดอ่อนหรือความสามารถในด้านใด เพื่อจะได้นำมา ช่วยเหลือและแก้ไขได้ถูกต้อง
(วินิตย์ หลงละเลิง.(2558).คู่มือบันทึกทางการพยาบาล : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
การบันทึกที่ดี
จะต้องประกอบด้วย การบันทึกข้อเท็จจริง ตามสภาพที่ได้เห็น ได้ยิน รู้สึก ได้กลิ่น สามารถวัดหรือสังเกตได้ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้รับบริการพูด (Subjective Data) สะท้อนข้อมูลการวัดที่ถูกต้องชัดเจน มีความสมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน ทำอย่างเป็นระบบ เป็นลำดับ
การบันทึกที่น่าเชื่อถือ
บันทึกทันทีและเซ็นชื่อกำกับ ไม่ลบข้อความที่บันทึกไว้แล้ว อย่าพยายามปิดบังสิ่งที่เกิดขึ้น บันทึกตามกฎการบันทึก ในเรื่องนั้นๆ ทุกอย่าง ลง วัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อผู้บันทึกทุกครั้ง การเว้นที่ว่างไว้หรือลืมบันทึก
อาจมีผลทางกฎหมาย ถ้าบันทึกไม่ถูกหลังจากบันทึกไปจนจบแล้ว ให้บันทึกใหม่อย่างถูกต้อง อย่าพยายามบันทึกลงในบริเวณที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก อย่าบันทึกให้คนอื่น / ผู้อื่นบันทึกแทน ถ้าจำเป็นให้ใส่ชื่อผู้บันทึกและลงลายมือชื่อกำกับด้วย (เกียรติกำจร กุศล,2564)
การประเมินผลทางการพยาบาล
เป็นการเขียน
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดที่ระบุไว้ในเกณฑ์การประเมินผล เป็นการตรวจสอบด้วยว่ากิจกรรมการพยาบาลที่ทำให้แก่ผู้รับ
บริการสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงและสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ ถ้าพบว่ามีอุปสรรคหรือมีปัญหาที่ส่วนใดจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงต่อไป การเขียนส่วนนี้ต่อเมื่อให้การพยาบาลสิ้นสุดลงแล้วเป็นการวัดผลการพยาบาล
(อรนันท์ หารยุทธ.(2559). กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้.วารสารทาหารบก.15 (3),137-143.