Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา : Head Injury - Coggle Diagram
กรณีศึกษา : Head Injury
พยาธิสภาพ จากการบาดเจ็บที่ศีรษะอาจเกิดขึ้นจากการมีแรงกระแทกที่ศีรษะทันทีหรือเป็น
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามมาภายหลัง เช่น ภาวะสมองบวม ภาวะความดันในสมองสูง การมีเลือดออกใน
สมอง เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยต่อเนื่องระยะยาว
ประเมินความต้องการการดูแลระยะยาวจากผู้ป่วยและครอบครัว และศึกษาข้อมูลทางการแพทย์จากแผนการจำหน่าย และแฟ้มประวัติ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนการช่วยเหลือร่วมกับทีมสุขภาพ
ให้ข้อมูลแหล่งทรัพยากร เช่น สถานพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้าน ซึ่งสามารถไปใช้บริการในกรณีฉุกเฉิน เบอร์โทรศัพท์ในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เว็บไซต์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สถานฝึกอาชีพ
ดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัว และเรียนรู้การดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมหลังการบาดเจ็บ ด้วยการสนับสนุนแหล่งข้อมูลหรือทรัพยากรที่จำเป็น ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย และครอบครัวในการหาทางเลือกที่เหมาะสม และสามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
การเตรียมสถานที่อุปกรณ์ให้เหมาะสมก่อนที่ผู้ป่วยจะกลับบ้าน เช่น ห้องน้ำมีราวจับ เตียงนอนสามารถปรับหัวเตียง และมีราวจับยึด พื้นทางเดินไม่ลื่น ไม่มีของวางเกะกะ ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่าง มีอุปกรณ์ช่วยเดิน เป็นต้น
การเตรียมหาผู้ดูแล อาจเป็นญาติหรือเจ้าหน้าที่ตามศูนย์บริการ ก่อนนำผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองให้มากที่สุด จะช่วยให้การฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่อาจคอยช่วยเหลือเป็นกรณีไป
การดูแลในเรื่องอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ จัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารไขมันสูง อาหารเค็มจัด หวานจัด ให้เหมาะกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย หากมีปัญหากลืนลำบากควรเตรียมอาหารชิ้นเล็ก ๆ อาหารนิ่ม ๆ อาหารเหลว เช่น โจ๊ก ผลไม้สุก นม เป็นต้น
การดูแลผู้ป่วยผ่าตัด พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
ทำความสะอาดร่างกายประจำวัน ช่วยเช็ดตัว หากผู้ป่วยไม่สามารถเช็ดตัวได้ทั่วถึง เช่น บริเวณแผ่นหลัง ดูแลความสะอาดเมื่อผู้ป่วยขับถ่าย ดูแลความสะอาดของช่องปาก และฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
ทำกายภาพบำบัดเกี่ยวกับปัญหาแขนขาอ่อนแรง ควรทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวมากขึ้น โดยการจัดท่านอน การบริหารข้อ ฝึกนั่ง ยืน เดิน และขึ้นลงบันได นอกจากนี้ ควรฝึกการเคลื่อนไหวของมือและแขน ฝึกทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รับประทานอาหาร ใส่เสื้อผ้าและกางเกง อาบน้ำ เป็นต้น
ใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม หากผู้ป่วยฟังไม่เข้าใจ ควรพยายามพูดช้า ๆ ชัด ๆ มีน้ำเสียงที่ปกติไม่ตะโกน หากผู้ป่วยพูดไม่ชัด ควรตั้งใจฟังอย่างใจเย็น หรือหาวิธีสื่อสารอื่น ๆ ช่วย เช่น ชี้รูปภาพให้เขียนหากเขียนได้
ดูแลการรับประทานยา ด้วยการเตรียมยา และกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างถูกต้อง
การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมองด้านจิตใจ ครอบครัวจะต้องเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย ไม่แสดงความรู้สึกโกรธ เคร่งเครียดต่อหน้าผู้ป่วย พยายามปรับอารมณ์ของตนเอง ยอมรับสภาพที่ผู้ป่วยเป็น ให้กำลังใจผู้ป่วย จะช่วยให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพ
พบแพทย์ตามนัด เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อน และติดตามการรักษาโรคประจำตัว หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หายใจเหนื่อยหอบ ปัสสาวะขุ่น รับประทานอาหารไม่ได้ ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรงมากขึ้น หรือซึมลง ควรพาไปพบแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
การช่วยออกกำลังกายแขนและขา ฝึกหัดให้ลุกจากเตียง สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยจะทำได้
ปัญหาด้านการกลืน ในระยะแรกผู้ป่วยที่ยังดูดกลืนอาหารไม่ได้ ควรใช้สายยางให้อาหารก่อน หลังจากอาการทั่วไปดีขึ้น ควรฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการรับประทานอาหาร ฝึกกลืนโดยใช้อาหารดัดแปลง ถ้าแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้ปลอดภัย และเพียงพอ จึงพิจารณาไม่ใช้สายยางให้อาหาร