Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 12 ห้องผ่าตัด(ลืมเครื่องมือ),…
กรณีศึกษาที่ 12 ห้องผ่าตัด(ลืมเครื่องมือ)
ข้อบังคับสภาการพยาบาล
หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล
หลักจริยธรรม
2) การทำประโยชน์ (Beneficence)
1)การเคารพเอกสิทธิ์/ความเป็นอิสระ (Respect For Autonomy)
3)การไม่ทำอันตราย (Non-malfeasance)
4)ความยุติธรรม / เสมอภาค (Justice)
5)การบอกความจริง (Veracity)
6) ความซื่อสัตย์ (Fidelity)
หลักจรรยาบรรณ
พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพ
พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตา กรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงานและประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล
พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ
พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาล
พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล
พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น
พระราชบัญญัติวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา 22 ข้อ 12
ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
มาตรา 22 ข้อที่ 6
ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมไม่ประพฤติกรรมหรือกระทำการใดๆอันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
ความผิดทางกฎหมายอาญา
แง่มุมด้านกฎหมายของเวชระเบียน
ทำดี บันทึกดี (รอดคุก)
ทำไม่ดี บันทึกไม่ดี (นอนคุก)
ทำดี ไม่บันทึก (รอนอนคุก)
ทำไม่ดี บันทึกดี (นอนคุกถ้าจับได้)
การกระทำผิด
ปอ.มาตรา 390 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปอ.มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
พยาบาลประมาท โดยการที่พยาบาลไม่ได้นับเครื่องมือหลังเสร็จการผ่าตัด และขณะเปลี่ยนเวรเช้าเป็นเวรบ่าย
การผิดวินัยข้าราชการ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551
มาตรา 83
ข้อ4 ต้องไม่ประมาทเลินล่อในหน้าที่ราชการ
โทษทางวินัยมี 5 สถาน
โทษอย่างไม่ร้ายแรง
2 ตัดเงินเดือน
3 ลดเงินเดือน
1 ภาคทัณฑ์
โทษอย่างร้ายแรง
5 ไล่ออก
4 ปลดออก
ความผิดทางกฎหมายแพ่ง
ความรับผิดเพื่อละเมิด
มาตรา 420
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
มาตรา 443
ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ อีกด้วย ถ้ามิได้ตาย ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย
มาตรา 444
ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันนั้นและในเวลาอนาคตด้วย
ถ้าในเวลาที่พิพากษาคดี เป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ว่าความเสียหายนั้นได้มีแท้จริงเพียงใด ศาลจะกล่าวในคำพิพากษาว่ายังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษานั้นอีกภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีก็ได้
การผิดวินัยข้าราชการ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน2551
มาตรา83
ข้อ4ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
โทษทางวินัยมี5สถาน
โทษวินัยอย่างไม่ร้ายเเรง
ลดเงินเดือน
ภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน
โทษวินัยอย่างร้ายเเรง
ปลดออก
ไล่ออก
สถานการณ์
ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ แพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการม้ามแตก ต้องทำการผ่าตัดโดยเร่งด่วน
โดยทำการผ่าตัดตั้งแต่เวลาประมาณ 15.45 น.-17.00 น. ซึ่งอยู่ในช่วงการส่งต่อเวรระหว่างเวรเช้ากับเวรบ่าย พยาบาลเวรเช้าประจำห้องผ่าตัดทำหน้าที่เป็นทีมพยาบาลช่วยผ่าตัด และพยาบาลเวรบ่ายรับช่วงต่อซึ่งไม่ได้นับเครื่องมือผ่าตัด และขณะเปลี่ยนตัวผู้ช่วยส่งเครื่องมือขณะผ่าตัดก็ไม่ได้นับเครื่องมือผ่าตัด
ต่อมาหลังจาก
การผ่าตัดเสร็จสิ้นไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ล้างเครื่องมือแจ้งให้พยาบาลหัวหน้าทีมช่วยผ่าตัดทราบว่าเครื่องมือหายไป 1 ชิ้น เจ้าหน้าที่ในคณะช่วยผ่าตัดช่วยกันค้นหาแต่ไม่พบ จึงแจ้งให้หัวหน้าเวรห้องผ่าตัดทราบ และรอสอบถามพยาบาลเวรเช้าซึ่งเป็นผู้นับเครื่องมือก่อนเริ่มการผ่าตัดและได้รับคำตอบว่าเครื่องมือผ่าตัดครบตามรายการที่ระบุไว้ในห่อเครื่องมือ Steriled
หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ หัวหน้างาน Supply ของห้องผ่าตัดได้รายงานหัวหน้าพยาบาลห้องผ่าตัดว่าเครื่องมือหายไป 1 ชิ้นพยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าทีมช่วยผ่าตัดในวันเกิดเหตุได้จ่ายเงินชดใช้ค่าเครื่องมือที่หายไปตามระเบียบของห้องผ่าตัด
ต่อมาในวันที่ 25มิถุนายน 2540 ผู้ป่วยถูกส่งตัวเพื่อผ่าตัดเอาเครื่องมือผ่าตัดออกจากช่องท้อง พบว่ามี Curved Artery Clamp ค้างอยู่ในช่องท้อง 1ชิ้น จากการผ่าตัดเมื่อวันที่ 10เมษายน 2538
(กรณีโรงพยาบาาลรัฐ)