Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖, นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์…
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า“ พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๖
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปมาตรา
มาตรา ๔
ในพระราชบัญญัตินี้
“กระทรวง”
หมายความว่ากระทรวงศึกษาธิการ
“วิชาชีพ”
หมายความว่าวิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ
“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา”
หมายความว่าครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น
“ครู”
หมายความว่าบุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้
“ผู้บริหารสถานศึกษา
” หมายความว่าบุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
“ผู้บริหารการศึกษา”
หมายความว่าบุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
“บุคลากรทางการศึกษาอื่น”
หมายความว่าบุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา
“หน่วยงานการศึกษา”
หมายความว่าสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่กำกับดูแลสนับสนุนส่งเสริมให้บริการ
“สถานศึกษา”
หมายความว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยโรงเรียนวิทยาลัยสถาบันมหาวิทยาลัย
“ใบอนุญาต”
หมายความว่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา
“เจ้าหน้าที่”
หมายความว่าบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี”
หมายความว่ารัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
การประกอบวิชาชีพต้องอยู่ภายใต้บังคับหลักเกณฑ์การมีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงระเบียบและประกาศ
หมวด ๑ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่วนที่ ๑ บททั่วไปมาตรา
มาตรา ๗
ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเรียกว่า
“ คุรุสภา”
มาตรา ๘
คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพออกและเพิกถอนใบอนุญาต
(๒) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
(๓) ประสานส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๙
คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(๒) ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพ
(๓) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
(๔) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(๕) สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรจาบรรณของวิชาชีพ
มาตรา ๑๐
คุรุสภาอาจมีรายได้ดังนี้
(๑) ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(๓) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
(๔) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
(๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
มาตรา ๑๑
ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามประกาศของรัฐมนตรีทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการคุรุสภามาตรา
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการคุรุสภา
มาตรา ๑๓
ประธานกรรมการกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา ๒๐
ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์
(๒) ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
ส่วนที่ ๓ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา ๒๑
ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วย
(๑) ประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน
(๔) กรรมการจากคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์
(๕) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๒๕
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
(๒) กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ
(๓) ส่งเสริมพัฒนาและเสนอแนะ
(๔) ส่งเสริมยกย่องและพัฒนา
(๕) แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการหรือมอบหมาย
**ส่วนที่ ๔ การดำเนินงานของคุรุสภา
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการคุรุสภามีการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๒๗
ในการประชุมถ้าประธานกรรมการคุรุสภาไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
มาตรา ๓๔ ให้มีสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา
(๒) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอื่นที่คุรุสภามอบหมาย
๓) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานเสนอต่อคุรุสภา
มาตรา ๓๕
ให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภามีเลขาธิการคุรุสภาคนหนึ่งบริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
มาตรา ๓๖
เลขาธิการคุรุสภาต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้แก่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้เต็มเวลาและต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา ๓๗
เลขาธิการคุรุสภามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
มาตรา ๓๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระเลขาธิการคุรุสภาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) สาออก
(๓) คณะกรรมการคุรุสภาให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่
มาตรา ๓๙
เลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไปตามกฎหมาย
มาตรา ๔๐
เลขาธิการคุรุสภามีอำนาจดังนี้
๑) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือน หรือค่าจ้างลงโทษทางวินัยพนักงานเจ้าหน้าที่
(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
มาตรา ๔๑
ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นผู้แทนของคุรุสภา
มาตรา ๔๒
ให้คณะกรรมการคุรุสภาเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการคุรุสภา
ส่วนที่ ๕ การประกอบวิชาชีพควบคุม
มาตรา ๔๓
ให้วิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๔
ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) คุณสมบัติ
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่าหรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
(๓) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา
(ข) ลักษณะต้องห้าม
๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
มาตรา ๔๕
การขอรับใบอนุญาตการออกใบอนุญาตการกำหนดอายุใบอนุญาตการต่ออายุใบอนุญาตการขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๔๙
ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วย
(๑) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
(๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน
(๓) มาตรฐานการปฏิบัติตน
มาตรา ๕๐
มาตรฐานการปฏิบัติตนให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพประกอบด้วย
(๑) จรรยาบรรณต่อตนเอง
(๒) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(๓) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(๔) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕) จรรยาบรรณต่อสังคม
มาตรา ๕๔
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ยกข้อกล่าวหา
(๒) ตักเตือน
(๓) ภาคทัณฑ์
(๔) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินห้าปี
๕) เพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๕๗
ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นห้าปีนับ แต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน
ส่วนที่ ๖ สมาชิกคุรุสภามา
มาตรา ๕๘
สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภทดังนี้
(๑) สมาชิกสามัญ
๒) สมาชิกกิตติมศักดิ์
มาตรา ๖๐
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญมีดังต่อไปนี้
(๑) แสดงความเห็นและซักถาม
(๒) เลือกรับเลือกตั้งหรือรับแต่งตั้งเป็นกรรมการ
(๓) ชำระค่าธรรมเนียมตามประกาศของคุรุสภา
(๔) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
มาตรา ๖๓
สมาชิกภาพของสมาชิกย่อมสิ้นสุดเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
๓) คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติ
๔) คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
(๕) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด ๒ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
มาตรา ๖๒
ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๖๓
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑) ดำเนินงานด้านสวัสดิการสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น
๒) ส่งเสริมสนับสนุนยกย่องและผดุงเกียรติ
(๓) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๔) ให้ความเห็นคำปรึกษาและคำแนะนำ
(๕) ดำเนินงานและบริหารจัดการองค์
มาตรา ๖๔
ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วย
(๑) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน
(๔) กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนสิบสองคน
ส่วนที่ ๒ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๖๗
ให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรา ๖๘
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีรายได้ดังต่อไปนี้
(๑) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(๒) เงินค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมต่างๆ
๓) เงินผลประโยชน์ต่าง ๆ
(๔) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น
(๕) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สิน
(๖) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕)
มาตรา ๗๒
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจดังนี้
(๑) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างลงโทษทางวินัย
(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๗๔
ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทน
หมวด ๓ การกำกับดูแล
มาตรา ๗๕
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กำกับดูแลการดำเนินงานของคุรุสภาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๒) สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริง
(๓) สั่งเป็นหนังสือให้คุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๗๖
ให้คุรุสภาเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆของคุรุสภา
มาตรา ๗๗
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของคุรุสภาเป็นประจำทุกปีแล้วรายงานให้รัฐสภาทราบ
หมวด ๔ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๗๘
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๙
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ แพรวกลาง รหัส ๐๔๗ ปี ๔ หมู่ ๒ ภาษาไทย คณะครุศาสตร์