Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ( Student - Center…
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
( Student - Center Instruction )
แบบเน้นตัวผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง ( Self - Directed Learning )
หลักการ
สามารถช่วยฝึกให้ผู้เรียนพึ่งพาตนเอง และพัฒนาตนเองได้ะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจภายใน และช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีจุดหมาย
ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ( Learning Style ) การให้ผู้เรียนเลือกวิธีการเรียนรู้เองจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น
นิยาม
การให้โอกาสผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูอยู่ในฐานะกัลยาณมิตร
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ของตน ( learning needs )
ผู้เรียนมีการตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ( learning goals )
ผู้เรียนมีการเลือกวิธีเรียนด้วยตนเอง ( learning strategies )
ผู้เรียนมีการแสวงหาแหล่งความรู้ด้วยตนเอง ( learning resources )
ผู้เรียนมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ( learning evaluation )
ผู้สอนมีการสนับสนุน ส่งเสริม ให้คำแนะนำ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เรียน
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลโดยใชผลการประเมินของตนเองและผู้เรียนประกอบกัน
การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ
( Individualized Instruction )
หลักการ
การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับภูมิหลังของผู้เรียน ลักษณะของผู้เรียน และสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
นิยาม
การจัดสภาพการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผู้สอนจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยผู้เรียนและและทดสอบก่อนเรียน และใช้ผลวินิจฉัยในการวางแผนการเรียนให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการวินิจฉัยความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ผู้สอนมีการทดสอบผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียนรู้
ผู้สอนมีการจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการคล้ายคลึงกัน
ผู้สอนมีการวางแผนในการเรียนให้สนองความต้องการของผู้เรียน
ผู้สอนมีการจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนมีการให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ตามแผน
ผู้เรียนมีการทำแบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
ผู้สอนมีการจัดทำแฟ้มการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
แบบเน้นความรู้ ความสามารถ
การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง ( Mastery Learning )
หลักการ
การเรียนรู้แบบนี้ ได้มาจากแนวคิดของ จอห์น คาร์รอล ผู้มองการเรียนรู้ว่ามีความสัมพันธ์กับเวลาที่ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ เขาเชื่อว่าผู้เรียนทุกคนที่จะเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หากผู้เรียนได้รับเวลาที่จะเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ อย่างเพียงพอต่อความต้องการของตน
ต่อมา บลูม ได้เพิ่มเติมแนวคิดว่า ในการเรียนรู้เรื่องใด ๆ ก็ตาม ผู้เรียนที่มีความสามารถทางสติปัญญาหรือความถนัดแตกต่างจากความสามารถก็จะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้เช่นเดียวกันทุกคน
นิยาม
กระบวนการในการดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคน ซึ่งมีความสามารถและสติปัญญาที่แตกต่างกัน
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการกำหนดจุดประสงค์อย่างละเอียดในการเรียนรู้
ผู้สอนมีการวางแผนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละคน
ผู้สอนมีการชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย
ผู้สอนมีการดำเนินการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดไว้
หากผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จึงจะดำเนินการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อถัดไป
หากผู้เรียนยังไม่บรรลุวัตุประสงค์ ผู้สอนจะต้องวินิจฉัยปัญหาและความต้องการของผู้เรียน
ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ไปอย่างต่อเนื่องตามลำดับของวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ผู้สอนมีการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล (Verification Teaching)
นิยาม
การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ ที่สามารถทดสอบได้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอนอย่างชัดเจน
ผู้เรียนมีการได้รับวัตถุประสงค์ดังกล่าวทั้งก่อนเรียนและก่อนรับการทดสอบ
ผู้สอนมีการทดสอบผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ผู้สอนมีการดำเนินการสอนซ้ำหรือสอนใหม่อีกครั้งหนึ่งให้แก่ผู้เรียนที่ไม่ผ่านวัตถุประสงค์
หลักการ
การที่ผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถที่จะพิสูจน์ทดสอบได้
การทดสอบช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลดกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ และสามารถประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้
การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ (Concept - Based Instruction )
หลักการ
เป็นการเรียนรู้ความคิดเชิงนามธรรม ช่วยให้ผู้เรียนถ่ายโอนความรู้ได้มาก
ช่วยให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบองค์รวม และมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ
จำเป็นต้องใช้วิธีการและกระบวนการในการเรียนการสอนที่ซับซ้อนมากกว่าการเรียนรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง
นิยาม
การวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยการระบุมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการสร้างความรู้และความเข้าใจในมโนทัศน์ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการสรุปมโนทัศน์ที่เรียนรู้ด้วยต้นเอง
ผู้สอนมีการระบุกระบวนการและทักษะต่าง ๆ
ผู้เรียนนำมโนทัศน์ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
ผู้สอนมีการคิดและเขียนรายการคำถามที่สำคัญ ๆ
ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้มโนทัศน์ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้
ผู้สอนมีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระอย่างชัดเจน
แบบเน้นปัญหา
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem - Based Instruction )
นิยาม
เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย โดยผู้สอนอาจนำผู้เรียนไปเผชิญปัญหาสถานการณ์จริง
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
ผู้สอนมีการให้คำปรึกษาแนะนำ และช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนในการแสวงหาข้อมูล
ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และสาเหตุ
ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนและผู้เรียนมีการออกไปเผชิญสถานการณ์ปัญหาจริง
ผู้สอนมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย
ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมมือกันเลือกปัญหาที่ตรงความสนใจ
ผู้เรียนมีการลงมือแก้ปัญหา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและประเมินผล
ผู้สอนมีการติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรียน และให้คำปรึกษา
ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งด้านผลงาน และกระบวนการ
หลักการ
ปัญหาสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดภาวะงุนงงสงสัย และความต้องการที่จะแสวงหาความรู้เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าว
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก (Project - Based Instruction )
นิยาม
การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงารที่ตนสนใจ
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการดำเนินงานตามแผนงานที่ได้กำหนด
ผู้สอนและผู้เรียนมีการนำผลงานของผู้เรียนออกมาแสดง
ผู้เรียนมีการเขียนโครงการและนำเสนอผู้สอน
ผู้เรียนมีการปรับปรุงผลงานและเขียนรายงาน
ผู้เรียนมีการร่วมกันวางแผนการจัดทำโครงการ
ผู้เรียนมีการนำผลงานออกมาแสดงต่อหน้าสาธารณชน
ผู้เรียนมีการร่วมกันศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่จะทำ
ผู้สอนมีการจัดให้ผู้เรียนนำผลงานมาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ผู้สอนมีการชี้แจงหรือทำความเข้าใจกับผู้เรียน
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลทั้งทางด้านผลผลิต คือ ชิ้นงานจากการทำโครงการ และเนื้อหาความรู้ ทักษะต่าง ๆ
ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน
หลักการ
การให้ผู้เรียนทำโครงการหรือโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบสอบ
ช่วยให้ผู้เรียนได้ผลิตงานที่เป็นรูปธรรมออกมา
โครงการหรือโครงงาน เป็นกิจกรรมที่มีบริบทจริงเชื่อมโยงอยู่
การแสดงงานต่อสาธารณชน สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการทำงานให้แก่ผู้เรียนได้
นอกจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการในการสืบสอบและแก้ปัญหาแล้ว ยังช่วยดึงศักยภาพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ด้วย
แบบเน้นการบูรณาการ
หลักการ
การบูรณาการการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านประกอบกัน
การบูรณาการช่วยเปิดโลกทัศน์ของทั้งผู้เรียนและผู้สอนให้กว้างขึ้น
ในธรรมชาติและชีวิตจริง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์กัน การเรียนรู้ที่ดีจึงควรมีลักษณะเช่นเดียวกัน
นิยาม
การนำเนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องกันมาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกัน สามารถทำได้หลายลักษณะ
การบูรณาการภายในวิชา (intradisciplinary) คือ การนำเนื้อหาสาระในวิชาเดียวกัน หรือกลุ่มประสบการณ์เดียวกันมาสัมพันธ์กัน
การบูรณาการระหว่างวิชา (interdisciplinary) คือ การนำเนื้อหาสาระของหลาย ๆ วิชามาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกัน
ตัวบ่งชี้
1.ผู้สอน หรือผู้สอนและผู้เรียนมีการจัดเตรียมหน่วยบูรณาการ โดยมีการวิเคราะห์ อภิปรายเกี่ยวกับหลักสูตร เนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ และนำเนื้อหาสาระภายในวิชา/ระหว่างวิชา มาสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวกัน
ผู้สอน หรือผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถสนองวัตถุประสงค์ที่กำหนด กิจกรรมควรมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
2.1. เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ครบทุกเรื่อง
2.2.เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความรู้
2.3. เป็นกิจกรรมที่เน้นความเข้าใจ
2.4. เป็นกิจกรรมที่เน้นความสัมพันธ์เป็นภาพรวม
ผู้เรียนมีการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้คำปรึกษาแนะนำของผู้สอน
ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปราย สะท้อนความคิด และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครบถ้วนทุกด้านตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
แบบเน้นประสบการณ์
การจัดการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม ( Service Learning )
นิยาม
การดำเนินการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปมีประสบการณ์ในการรับใช้สังคม
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการศึกษาความต้องการของชุมชน และเลือกกิจกรรมที่จะรับใช้สังคม
ผู้เรียนมีการวางแผนการรับใช้สังคมในกิจกรรมที่เลือก
ผู้เรียนมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาชุมชน เพื่อเรียนรู้ในเรื่องที่กำหนด
ผู้เรียนมีการจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัตการรับใช้สังคม
ผู้เรียนมีการวิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติการรับใช้สังคม
ผู้เรียนมีการนำความคิดรวบยอด/หลักการ/สมมติฐานที่ได้ไปทดลองใช้
ผู้สอนมีการติดตามผลการนำความรู้/ความคิด/หลักการ/สมมติฐาน ไปใช้ส่งเสริมให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการนำไปใช้
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้ผลการประเมินการเรียนรู้ของตนเองของผู้เรียน ประกอบกับการประเมินผลของผู้สอนด้วย
นิยาม
การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมอันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิด ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง จึงทำให้มีความหมายต่อตนเอง และต้องที่จะนำไปใช้ ประสบการณ์ในในด้านการรับใช้สังคม นับเป็นประสบการณ์ที่คุณค่าสูงต่อการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ( Authentic Learning )
นิยาม
การดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยให้เผชิญกับ
สภาพการณ์จริง ปัญหาจริง ในบริบทจริง
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
ผู้เรียนได้รับผลการตัดสินใจและการกระทำของตนจากสังคม
ผู้เรียนมีการร่วมกันคิดวิเคราะห์ปัญหา แสวงหาความรู้
ผู้เรียนมีการอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของตน
ผู้สอนมีการนำผู้เรียนเข้าไปเผชิญสถานการณ์จริง
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผล ทั้งความรู้ ทักษะและเจตคติ
หลักการ
สภาพการณ์จริง ปัญหาจริง เป็นโลกแห่งความเป็นจริง
การเรียนรู้ความเป็นจริง ของจริง เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย เพราะสามรถนำไปใช้ได้
การเรียนรู้เรื่องใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีความสัมพันธ์กับบริบทของเริ่องนั้น ๆ
การให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาและแก้ปัญหา จะช่วยผู้เรียนพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจำนวนมาก
การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning )
หลักการ
ประสบการณ์เป็นแหล่งที่มาของการเรียนรู้และเป็นพื้นฐานสำคัญของการเกิดความคิด ความรู้ และการกระทำต่าง ๆ
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการสะท้อนความคิด (reflect) และอภิปลายร่วมกัน
ผู้เรียนมีการสร้างความคิดรวบยอด/หลักการ/สมมติฐานจากประสบการณ์ที่ได้รับ
ผู้สอนจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมในเรื่องที่เรียนรู้
ผู้เรียนมีการนำความคิดรวบยอด/หลักการ/สมมติฐานต่าง ๆ ที่สร้างขึ้น ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
ผู้สอนมีการติดตามผล และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการทดลอง/ประยุต์ใช้ความรู้ เพื่อขยายขอบเขตการเรียนรู้
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผล โดยใช้ผลการเรียนรู้ของตนเองและของผู้เรียนประกอบกัน
นิยาม
การดำเนินการอันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และให้ผู้เรียนสังเกต ทบทวน และนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาพิจารณา จนกระทั่งสร้างความคิดรวบยอดหรือสมมติฐานต่าง ๆ ได้
แบบเน้นทักษะกระบวนการ
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสอบ (Inquiry - Based Instruction )
นิยาม
การดำเนินการเรียนการสอน โดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม เกิดความคิด และลงมือเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อนำมาประมวลหาคำตอบหรือข้อสรุปด้วยตนเอง
ตัวบ่งชี้
ผู้เรียนมีการศึกษาหาความรู้/คำตอบโดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม
ผู้สอนมีการช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุป
ผู้สอนมีเอกสาร วัสดุ หรือสื่่อที่ผู้เรียนสามารถใช้ประกอบการคิด วิเคราะห์ในเรื่องที่เรียน
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนทั้งด้านเนื้อหาสาระ และกระบวนการสืบสอบหาความรู้
ผู้สอนมีกระบวนการสอน/กิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิเคราะห์ในเรื่องที่เรียน
หลักการ
เป็นกระบวนการที่จำเป็นต่อการแสวงหาและศึกษาข้อความรู้ต่าง ๆ คำถามที่เหมาะสม สามารถนำผู้เรียนไปสู่การค้นพบข้อความรู้ใหม่ได้
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย (Research - Based Instruction )
หลักการ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ การให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนมีเครื่องมือการเรียนรู้ตลอดชีวิต
นิยาม
การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน ที่ให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัย หรือผลการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการนำผลการวิจัยมาใช้ประกอบการสอน
ผู้สอนมีการให้ผู้เรียนประมวลผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา สาระที่เรียน
ผู้สอนมีการใช้กระบวนการวิจัยในการสอน
ผู้สอนมีการฝึกฝนทักษะการวิจัยที่จำเป็น หรื่อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนให้แก่ผู้เรียน
ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายร่วมกันดกี่ยวกับกระบวนการวิจัย และผลการวิจัย
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้งด้านเนื้อหาสาระ และกระบวนการวิจัย
การจัดการการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม (Group Process-Based Instruction )
หลักการ
เป็นกระบวนการในการทำงานร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน และมีการดำเนินงานร่วมกัน
นิยาม
การดำเนินการเรียนการเรียนการสอนโดยที่ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงาน/กิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม พร้อมทั้งสอน/ฝึก/แนะนำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการทำงานเป็นกลุ่ม
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการฝึก/ชี้แนะ/สอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม
ผู้เรียนมีการวิเคราะห์การเรียนรู้ของตนเองทั้งในด้านเนื้อหา สาระทีเรียน และกระบวนการทำงานร่วมกัน
ผู้เรียนมีการปฏิสัมพันธ์/ทำงาน/ทำกิจกรรม ร่วมกันเป็นกลุ่ม
ผู้สอนมีการวิเคราห์และประเมินผลการเรียนทั้งด้านเนื้อหาสาระ และกระบวนการกลุ่ม
การจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด ( Thinking- Based Instruction )
นิยาม
การดำเนินการเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้รูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการสอนต่าง ๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการใช้รูปแบบ วิธีการ หรือเทคนิคการสอนต่าง ๆ ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิด
ผู้สอนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด และกระบวนการคิดต่าง ๆ
ผู้สอนมีการให้โอกาส และเวลาแก่ผู้เรียนในการใช้ความคิด และแสดงความคิด
ผู้สอนและผู้เรียน หรือผู้เรียนและผู้เรียน มีการอ๓ิปรายโต้ตอบกันเกี่ยวกับความคิดที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน
ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้จากกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน
ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนทั้งด้านเนื้อหาสาระ และกระบวนการคิด
หลักการ
เป็นกระบวนการทางสติปัญญา ซึ่งอาศัยสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อที่เหมาะสม
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ( Instruction Emphasizing Self-Learning Process)
หลักการ
ผู้เรียนทุกคนมีการใฝ่รู้อยู่เป็นธรรมชาติ หากได้รับการเสริมให้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนและได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจได้ตลอดชีวิต
นิยาม
การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนดำเนินการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
ตัวบ่งชี้
ผู้สอนมีการพูดคุยกับผู้เรียนเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีการดำเนินการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนมีการจัดเตรียม หรือออกแบบเนื้อหา/วัสดุ/สื่อ/กิจกรรม ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนมีการพบปะพูดคุยกับผู้เรียนเป็นระยะ ๆ
ผู้เรียนมีการเลือกหัวข้อ เนื้อหา วิธีการ ได้ความความสนใจ
ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียน ทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง