Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงไทย อายุ 70 ปี, การพยาบาลหลังการผ่าตัด, Dx. Congestive Heart Failure…
-
การพยาบาลหลังการผ่าตัด
-
-
-
-
-
-
-
8.D-method
Diagnosis
การผ่าตัด CABG เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยง
ของทางเดินเลือดใหม่
เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจในเส้นทางใหม่
สาเหตุที่ต้องผ่าตัดเพราะหลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจของผู้ป่วยตีบไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถบีบตัวได้ หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หน้ามืด ให้มาพบแพทย์ทันที
Treatment
แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลแผลผ่าตัด
ควรดูแลแผลให้สะอาด ไม่ทำให้บริเวณเปียกชื่น
หรือทาแป้งบริเวณแผลผ่าตัด ควรทำความสะอาดแผลทุกวัน วันละ 1ครั้ง เพื่อเป็นการลดสิ่งปนเปื่นที่อาจทำให้แผลติดเชื้อได้
แนะนำอาการที่ผิดปกติ ได้แก่ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ขา บวม แน่นอึดอัดท้อง นอนราบไม่ได้หายใจหอบ เหนื่อยใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ไอแห้งๆ ให้ผู้ป่วยรีบมาพบแพทย์ทันที
สอนให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนักทุกวัน หรือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ในช่วงเช้า เพื่อประเมินภาวะน้ำเกิน ถ้าหากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 1-1.5 กิโลกรัม จากเดิมในภาวะปกติภายใน 1 หรือ 2 วัน แสดงว่ามีภาวะน้ำเกิน
สอนการนับและจับชีพจรในแต่ละวัน และทำการบันทึกไว้เป็น
ระยะๆโดยเฉพาะ เมื่อผู้ป่วยได้รับยาดิจิทาลิส หากมีการเต้นของชีพจรน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ให้มาพบแพทย์ หากมีชีพจรมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้มาพบแพทย์
Diet
ให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง งดเค็ม ควรควบคุมอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูงโดยการจำกัดเกลือไม่เกิน 2 กรัม/วัน เพราะทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม เหนื่อย น้ำท่วมปอดอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำได้
Environment
จัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้หมาะสมกับภาวะสุขภาพ โดยดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณที่พักให้สะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ลดสิ่งรบกวนที่มีผลต่อการพักผ่อนนอนหลับของผู้ป่วย เช่น แสงไฟ เสียงดังรบกวน เป็นต้น และควรนอนหลับอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง/วัน
Health
ฝึกการหายใจ (Breathing exercises) อย่างถูกวิธีช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เพิ่มความยืดหยุ่นของการขยายตัวของผนังทรวงอก เพิ่มการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ป้องกันภาวะปอดแฟบ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อในการหายใจ เพิ่มการผ่อนคลาย เพิ่มความสามารถการทำงานในชีวิตประจำวัน
-
-
-
-
-
-
-
7 กรณีหลังผ่าตัดช่วงแรก อาจจะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยประคองแผล โดยการใช้หมอนใบเล็กวางแนบสนิทบริเวณรอยแผลผ่าตัด จากนั้นใช้มือกดให้ แน่น เพื่อให้เกิดแรงกระชับ เป็นการลดแรงดันและควบคุมความเจ็บปวดขณะฝึกการหายใจ
ฝึกการหายใจแบบปากจู๋ (Pursed lip breathing exercises) ป็นเทคนิควิธีการฝึกการหายใจที่สำคัญอย่างมาก เพื่อลดภาวะหลอดลมตีบหรือเกร็ง ประโยชน์ของเทคนิคนี้ ทำให้ลมมีการย้อนกลับไปในดันหลอดลมที่ตีบแคบให้ขยายตัวออก ทำให้อากาศสามารถเข้าออกอย่างช้าๆ ได้มากขึ้น ช่วยลดอาการหอบเหนื่อย และช่วยผ่อนคลาย
-
-
-
3 ให้หายใจเข้าเต็มที่ปิดปาก จากนั้นให้หายใจออกช้าๆ ให้ลมดันกระพุ้งแก้มให้ป่องออกมา จากนั้นค่อยๆ เปิดปากเป็นลักษณะปากจู๋ ให้ลมค่อยๆ ออกมา นับ 1-2-3-4
-
การออกกำลังกายแบบคาลิสเทนิก
การออกกำลังกายแบบคาลิสเทนิกเหมาะสมในการฟื้นฟูสภาพหัวใจผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากเป็นการออกกำลังที่ไม่มีแรงต้าน และเริ่มจากการใช้พลังงานน้อยไปสู่การใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้น โดยเป้าหมายในการออกกำลังกายจะคำนึงตามความเหมาะสมและอาการแสดงของผู้ป่วยเฉพาะรายไป
วิธีการ
ออกกำลังกายอุ่นเครื่อง (Warm up) โดยการออกกำลังกาย จากท่าที่ 1 ไปสู่ท่าที่ 9 และออกกำลังกายเบาเครื่อง(Cool down) โดยการออกกำลังกายจากท่าที่ 9 ไปสู่ท่าที่ 1
-
-
-
นั่งย่ำเท้าอยู่กับที่ สลับขา 2 ข้าง= 20 ครั้ง
ยืนย่ำเท้าอยู่กับที่สลับขา 2 ข้าง= 10-20 ครั้ง
ยืนโยกตัวไปทางซ้าย-ขวา = 10-20 ครั้ง
-
-
Medicine
warfarin : เป็นยาในกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด ใช้ป้องกันการแข็งตัวของเลือด รวมถึงการเกิดลิ่ม
เลือดที่อาจไปอุดตันของหลอดเลือด
อาการข้างเคียงของยา : ระคายเคืองต่อทางเดินหาร อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นควรรับประทานยาหลังอาหารทันที ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยา ไม่ควรหยุดยาหรือลดขนาดยาเอง
กรณีที่ลืมรับประทานยาหากยังไม่เลยเวลาที่เคยรับประทานตามปกติ12 ชม. ควรรีบรับประทานยาทันทีกรณีที่ลืมรับประทานยาแต่เลยเวลาที่เคยรับประทานตามปกติมากกว่า 12 ชม. ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และ
รับประทานยามื้อต่อไปตามเวลาปกติในขนาดยาเท่าเดิม
ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูง มักพบในอาหาร
ประเภทผักใบเขียว แต่น้อยเพราะวิตามินเคมีผลทำให้
ยาวาร์ฟารินออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลงได้
เช่น การสูบบุรี่ การดื่ม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น
aspirin : ใช้เพื่อต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด
หากผู้ป่วยไม่เคยได้รับยาแอสไพรินมาก่อน ในวันแรกที่มีอาการแพทย์ผู้ให้การรักษาจะแนะนำให้ผู้ป่วยเคี้ยวยาแอสไพรินขนาด 300-325 มิลลิกรัมเพื่อให้ระดับยาในเลือดมากพอและเกิดการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดอย่างรวดเร็ว10 เพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันหลอดเลือดซ้ำอีก จากนั้นจะลดขนาดยาลงเป็นแอสไพรินขนาดต่ำ คือ 81 มิลลิกรัม และรับประทานตามปกติ (หลังอาหารทันทีและกลืนยาทั้งเม็ด) โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาแอสไพรินขนาดต่ำต่อเนื่องไปตลอดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของภาวะหลอดเลือดอุดตันผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการใช้ยาแอสไพรินในข้อบ่งใช้เพื่อการต้านเกล็ดเลือด คือ ระคายเคืองทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถป้องกันหรือบรรเทาได้โดยการรับประทานหลังอาหารทันที
Out patient
แจ้งวันนัดผู้ป่วยให้ชัดเจน วันและเวลา รวมถึงการเดินทางมาโรงพยาบาลหากผู้ป่วยไม่สามารถมาตามนัดได้ควรรายงานแพทย์เพื่อเลื่อนวันนัด หรือประสาทงานกับ รพ.สต.เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วย และถ้าหากเกิดเหตุฉุกเฉินให้ผู้ป่วยโทร 1669
-
-
-
-
-
-
คณาจารย์กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. (2563). เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 3. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์