Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ในผู้สูงอายุและการพยาบาล 💪 - Coggle…
หน่วยที่ 5 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย
ในผู้สูงอายุและการพยาบาล
💪
4. ปัญหาระบบประสาท (Dementia or Alzeimer / Parkinson / Delirium หรือ acute confusion state / Depression)
4.1 ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
ความหมาย : American Psychiatric Association ให้ความหมายว่า เป็นลักษณะของกลุ่ม อาการที่มีความบกพร่อง ทางเชาวน์ปัญญาหลายด้านรวมทั้งความจําและมีความผิดปกติด้านการใช้ภาษา การกระทํากิจกรรมที่มี เป้าหมาย การรับรู้ของการใช้ประสาทสัมผัส และการทําหน้าที่บริหารจัดการ อย่างน้อยหนึ่งด้าน ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ
สาเหตุ
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)
โรคสมองเสื่อมจากปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง
โรคติดเชื้อเรื้อรังบางชนิดในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ซิฟิลิส เอดส์ เป็นต้น
การใช้สารพิษหรือยาเสพติด เช่น ภาวะพิษสุราเรื้อรัง การใช้สารเสพติดหรือผลิตภัณฑ์จําพวก hydrocarbon เช่น ทินเนอร์
ภาวะพร่องฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ 6. โรคอื่นๆที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน โรค Huntington เป็นต้น
การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมนิยมใช้หลักเกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental, 4thEdition(DSM-IV) ดังนี้
1) การทํางานของสมองด้านเชาวน์ปัญญาบกพร่อง (Cognitive Deficits)
1.1) ความจําเสื่อมลง (Memory Impairment)
1.2) มีความผิดปกติด้านเชาวน์ปัญญา (Cognitive disturbance)
ความผิดปกติด้านการใช้ภาษา (Aphasia) ตัวอย่างเช่น การไม่สามารถ บอกชื่อ สิ่งของได้
การสูญเสียทักษะในการทํากิจกรรม (Apraxia) โดยที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติ ของ Motor system และ Extrapyramidal System
การไม่รับรู้ในสิ่งที่เคยรู้มาก่อน (Agnosia) เช่น เห็นสิ่งของแล้วไม่รู้ว่าคือ อะไร เห็นหน้าคนคุ้นเคยแต่นึกหน้าไม่ออก เป็นต้น
ความผิดปกติในการบริหารจัดการ (Disturbance of Executive Function) ได้แก่ ความผิดปกติในการวางแผนงาน (Planning) การจัด จัดระบบงาน (Organizing) เรียงลําดับงาน (Sequencing) การคิด อย่างเป็นนามธรรม (Abstract Thinking)
2) ความบกพร่องด้านเชาวน์ปัญญาที่เกิดขึ้นในข้อ 1.1 และ 1.2 มีมากถึงกับส่งผลกระทบต่อการ ทํา หน้าที่ทางสังคมหรือการประกอบอาชีพ และมีความสามารถที่ลดลงจากเดิม
3) ความผิดปกติเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะทรุดลงเรื่อยๆ
4) ความผิดปกติด้านเชาวน์ปัญญา โดยไม่มีสาเหตุมาจากอาการทางระบบประสาทส่วนกลางอื่นๆ และ ระบบอื่นๆที่ทําให้เกิดภาวะสมองเสื่อม หรือสารเคมีหรือยาอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
5) ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในขณะที่มีภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน (Delirium)
6) ความผิดปกติไม่ได้มาจาก Axis | Disorder เช่น Depression หรือ Schizophrenia นอกจากนี้จะมีการซักประวัติโดยดูประวัติปัจจุบัน
ระยะการดําเนินโรคอัลไซม์เมอร์
ระยะที่ 1 (Early stage) อาการระยะแรกนี้ครอบครัวและเพื่อนของผู้ป่วยมักจะไม่ทราบ สังเกต ไม่ได้ เนื่องจากผู้ป่วยจะพยายามปรับสภาพ อาการในระยะนี้คือ ความจําเสื่อมเล็กน้อย ลืมสิ่งที่เพิ่งผ่านไป (recent memory) ไม่ค่อยมีสมาธิ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆลําบาก อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
ระยะที่ 2 (Middle stage) ระยะนี้บุคคลใกล้ชิดจะสังเกตความผิดปกติได้ อาการต่างๆได้แก่ ความจํา เสื่อมมากขึ้นจําได้เฉพาะเหตุการณ์ในอดีต การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาลําบากมากขึ้น ความสามารถทาง ทักษะต่างๆลดลง การคิดเลข การเขียน มีอาการลังเล สองจิตสองใจ พูดช้าลง พูด ลําบากมากขึ้น ความคิดไม่ ต่อเนื่อง อารมณ์ฉุนเฉียวมาก ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แยกตัวจากสังคม
ระยะที่ 3 (Later stage) เป็นระยะที่รุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยต้องมีผู้คอยช่วยเหลือ ประกอบด้วย อาการ ดังต่อไปนี้ พฤติกรรมและบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง วิตกกังวล ตื่นเต้น ซึมเศร้า อาจแสดงโดย ด่าว่า พูดคําหยาบ ก้าวร้าว หรือเซื่องซึม ไม่รับรู้บุคคล สถานที่ และเวลา สามารถทําตามคําสั่งง่ายๆได้แต่ต้อง พูดซ้ําๆ จําได้เฉพาะเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมานานมาก
ระยะที่ 4 (Final stage) ระยะสุดท้ายเป็นระยะที่รุนแรง ผู้ดูแลอาจไม่สามารถดูแลในบ้านได้ จําเป็นต้องนําผู้ป่วยเข้าพักในสถานพักฟื้นสําหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้ จําเหตุการณ์ ปัจจุบันและอดีตไม่ได้ จาไม่ได้ว่ารับประทายอาหารแล้วหรือยัง ไม่สามารถจําชื่อและหน้าคนในครอบครัว เพื่อนหรือผู้ดูแล
การรักษาภาวะสมองเสื่อม
การรักษาโดยการใช้ยา (Pharmacological treatment) ปัจจุบันยาหลักที่ใช้ในการรักษา สมองเสื่อม ได้แก่ยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors, N-methylD-aspartatereceptors Antagonist
1.1 Donepezil เป็นยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors ออกฤทธิ์ยับยั้ง Enzyme Cholinesterase
1.2 Rivastigmine เป็นยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors ออกฤทธิ์ยับยั้งได้ทั้ง cethylcholinesterase (AChE) และ Butyrylcholinesterase (BuChE)
1.3 Galantamine เป็นยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors ออกฤทธิ์ยับยั้งอย่างจําเพาะ ต่อ AChE )
1.4 Memantine เป็นยาในกลุ่ม N-methyl-D-aspartate receptors Antagonist ออกฤทธิ์ ยับยั้งที่ NMDA receptors ป้องกันเซลล์ประสาทไม่ให้ถูกทําลาย และส่งผลให้การ เรียนรู้ และความจํา ของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมดีขึ้น
1.5 Vitamin E เนื่องจากสาเหตุหนึ่งของการที่เซลล์ประสาทถูกทําลาย คือ การสร้างอนุมูล อิสระ ซึ่ง Vitamin E มีคุณสมบัติเป็น antioxidant
1.6 ยาที่ใช้รักษาปัญหาด้านพฤติกรรม และอาการทางจิตที่ผิดปกติ ได้แก Antidepressant, Antipsychotics bla: Antiepileptic drugs
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
(Non Pharmacological treatment)
เลือกวิธีการให้เหมาะสมกับขีดความสามารถของผู้ป่วยและ ความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม โดยมีการ สื่อสารกับญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยให้เข้าใจและยอมรับเรื่อง ขีดจํากัด และขีดความสามารถในการรับรู้และ ความเข้าใจของผู้ป่วยซึ่งเปลี่ยนไปตามระยะเวลาดําเนินของโรค การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องอาศัยความ อดทนความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจใน การเจ็บป่วยของผู้ป่วย วิธีการรักษามีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การรักษาที่มุ่งเน้นไปที่ปัญหาการรับรู้ และความเข้าใจของผู้ป่วยโดยการกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับรู้ วัน เวลา สถานที่ และบุคคล
4. ปัญหาระบบประสาท (Dementia or Alzeimer / Parkinson / Delirium หรือ acute confusion state / Depression)
ต่อ
โรค Dementia แบบ Non-pharmacological treatment มี หลักการดังนี้
Diet and ife style การ ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมต้องประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย
การดูแลจากครอบครัว
การป้อง โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมา
ผู้ดูแลควรทราบถึงความรู้สึกของผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะเริ่มแรก ได้แก่
ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกสับสน รู้ตัวว่าตนเองเสียความทรงจํามากขึ้น สมรรถภาพการทํางานเสื่อมลง แต่ไม่ แน่ใจว่าเกิดได้อย่างไร
มีความกดดัน ความเครียดสูง เพราะมีความพยายามที่จะทําอะไรให้ เหมือนเดิมแต่ทําไม่ได้
4.2 พาร์กินสัน (Parkinson)
ความหมาย : เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ที่ส่งผลต่อการ เคลื่อนไหวและการพูด ประกอบไปด้วยอาการสําคัญคือ อาการสั่น (Tremor) อาการเกร็ง (rigidity) อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) และการเสียการทรงตัว (Postural Instability)
สาเหตุ : ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่าในผู้ป่วย โรคพาร์กินสันจะมีการเสื่อมของเซลล์ประสาท บริเวณก้านสมอง จนส่งผลให้โดปามีน มีปริมาณลดลง
อาการ : อาการของโรคพาร์กินสันจะมีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหว (motor problem) ที่สําคัญ 4 อาการ คือ
อาการสั่น (Rest Tremor) เป็นอาการเริ่มแรกที่ ตรวจพบได้ใน ผู้ป่วย จะเริ่มที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายซึ่งจะ เกิดขึ้นเมื่ออยู่เฉย ๆ เช่น เมื่อดูทีวี สนทนากับเพื่อน
อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) เป็นอาการ หลักที่ผู้ป่วยหรือญาติสังเกตได้ว่าทําช้าลงหรือมีช่วงการ เคลื่อนไหวที่แคบหรือเล็กลง (Akinesia) ซึ่งมักเกิดในด้านเดียว กับที่มีอาการสั่น และใช้เวลาระยะหนึ่ง ก่อนการเคลื่อนไหว จะเกิดขึ้น
อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) มักสังเกตได้ยาก ด้วยตาเปล่า แต่พบได้จาก การตรวจร่างกาย ตั้งแต่ผู้ป่วยเดิน ข้อศอกงอขึ้นด้านใดด้านหนึ่งจากอาการแข็งเกร็งของข้อศอก ไม่ สามารถเหยียดออกได้เต็มที่
การทรงตัวไม่สมดุล (Postural Instability) มักไม่เกิดกับผู้ป่วยพาร์กินสัน ในระยะแรก จะเกิดเมื่ออาการ ผ่านไป 2 - 5 ปี การทรงตัวไม่ดีทําให้การยืนและเดินเสี่ยงต่อ การหกล้ม ซึ่งก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพ
การรักษา เป็นการรักษาตามอาการ มี 3 วิธี คือ รักษาทางยา กายภาพบําบัดและการผ่าตัด 1. การรักษาทางยา เป็นวิธีที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ
1.1 ยาที่ยับยั้งการออกฤทธิ์ของอเซทิลโคลีนในสมอง
อโตรปืน ซัลเฟต กินในขนาด 3.0-1.8 มก./วัน
ไตรเฮกซี่พี่นี้ดิลไฮโดรคลอไรด์ (Trihexphenidyl HCI ; artane) กินวันละ 1-10 มก.นิยมใช้ในรายเป็นน้อย และระยะแรกทําให้คอแห้ง สับสนท้องผูก ตามัว
ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine ; benadry 25,20 มก.) กินหรือฉีดใน ขนาด 25-200 มก./วัน มักเป็นยาตัวแรกที่ใช้รักษามีฤทธิ์ค่อนข้างอ่อน ยาจะลดอาการสั่นดีกว่าอย่างอื่น มีอาการข้างเคียง คือ ปากแห้ง ท้องผูก วิงเวียน ตาพร่ามัว ห้ามใช้ในพวกโรคต้อหิน หรือชายสูงอายุที่ต่อม ลูกหมากโต จะทําให้ปัสสาวะคั่ง
1.2 ยาที่เพิ่มฤทธิ์ของโดปามีน เช่น ยาที่เพิ่มการสังเคราะห์โดปามีน ได้แก่ ลีโวโดปา (LEVODOPA) ยากระตุ้นการหลั่งโดปามีนจากปลายประสาท
การรักษาโดยการผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอาต่อมหมวกไตหรือเซลล์ประสาทบริเวณคอไปปลูก เลี้ยงในโพรงสมอง เพื่อให้เนื้อเยื่อเหล่านี้สร้างโดปามีนขึ้นมาทดแทนส่วนที่สมองขาด
การรักษาทางกายภาพบําบัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับคืนมาสู่สภาพชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติให้ได้ มากที่สุด สามารถเข้าสังคมได้ ช่วยตนเองได้ และมีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย การทํา กายภาพบําบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวถูกต้องและสมส่วน ในเรื่องท่าเดิน นั่ง การทรงตัว ตลอดจนกาย บริหารเพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
การวินิจฉัยการพยาบาล
การช่วยเหลือตัวเองบกพร่อง เนื่องมาจากอาการพาร์กินสัน
การติดต่อทางวจนะภาษาและการเขียนบกพร่อง เนื่องจากพูดลําบากอาการสั่น และ เคลื่อนไหวเชื่องช้า
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากการสูญเสียการทรงตัวและมีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
ได้รับอาหารน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย เนื่องจากกลืนลําบาก
ท้องผูกเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง
ไม่สามารถเผชิญกับปัญหาอันเนื่องมาจากอาการเป็นๆ หายๆ และกําเริบรุนแรง
แผนการพยาบาล มีจุดประสงค์และเกณฑ์ดังนี้
ผู้ป่วยปฏิบัติภารกิจประจําวันได้สามารถเคลื่อนไหวและไม่เกิดอุบัติเหตุ
สามารถติดต่อกับผู้อื่นได้ตามสมควร
ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
สามารถบอกชื่อยา ขนาด ฤทธิ์และอาการข้างเคียงของยาที่รักษาได้ และจัดตารางควบคุมการ รับประทานยาได้
ผู้ป่วยและครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจ การดําเนินโรคและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่เป็นได้
4.4 ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ความหมาย : ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ หมายถึง กลุ่มอาการ ซึ่งมีอาการแสดงจากการ เปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และ การคิดรู้ รวมทั้งความผิดปกติด้าน อารมณ์จากสาเหตุต่างๆ โดยมี อารมณ์เศร้า รู้สึกหมด หวัง บกพร่องความจําระยะสั้น ขาดความสนใจ หรือไม่มีความสุขในกิจกรรมเกือบ ทั้งหมดนานอย่าง น้อย 2 สัปดาห์ติดต่อกันขึ้นไป แยกตัวออกจากสังคม และอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยส่วนบุคคล เพศหญิง สถานภาพสมรสหรือหม้ายเป็นปัจจัยสําคัญของการเกิดภาวะ ซึมเศร้าในผู้สูงอาย การได้รับความเกื้อหนุนจากคู่สมรส การช่วยเหลือให้ กําลังใจปลอบใจ ทําให้ผู้สูงอายุ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวมีที่พึ่ง เกิดความรู้สึกมั่นคงทางอารมณ์คู่สมรสจึงเป็นบุคคลที่ ใกล้ชิดมากที่สุด
ปัจจัยด้านชีวภาพ ความผิดปกติของสารสื่อประสาทและการรับความรู้สึกต่างๆ ในผู้สูงอายุจะมีสารสื่อ ประสาท นอร์เอพิเนพฟิน (Norepinephrine) และ เซโรโทนิน (Serotonin) ลดลงและใน ผู้สูงอายุที่มีภาวะ ซึมเศร้าก็มีสารสื่อประสาทสองชนิดนี้ทํางานลดลง
ปัจจัยด้านจิตสังคมและสิ่งแวดล้อม
a. การขาดการสนับสนุนทางสังคม
b. การสูญเสียบุคคลใกล้ชิด
C. ยาหลายชนิดมีผลข้างเคียง
อาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
อาการและอาการแสดงด้านร่างกาย
1.1 การบ่นเรื่องอาการเจ็บป่วยทั้งที่ไม่มีโรคชัดเจน เช่น ไม่สุขสบาย หายใจลําบาก ใจสั่น ปวดท้อง แน่นอึดอัดท้อง การมีปัญหาของระบบ ทางเดินอาหาร เช่น กลืนลําบาก แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร รับประทานได้น้อย อิ่มเร็ว น้ําหนักตัว ลดลง หรือ รับประทาน มาก น้ําหนักตัวเพิ่มมาก
1.2 การนอนหลับผิดปกติ เช่น นอน มากเกินไป นอนหลับยากโดยเฉพาะในช่วง ที่เริ่มนอน ตื่นกลางดึก หรือ ตื่นนอนเช้ามากประมาณ 2 ชั่วโมง หรือมากกว่าจากเวลาตื่นนอนปกติ
1.3 การเคลื่อนไหวผิดปกติ กระวน กระวาย นั่งนิ่งไม่ได้ กระทํากิจกรรมซ้ําๆ เช่น เข้าห้องน้ํา ล้างมือ หรือ มี ลักษณะเชื่องช้า พูดโต้ตอบช้า อ่อนเพลียมาก ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
อาการและอาการแสดงด้านจิตสังคม
2.1 มีอารมณ์เศร้า ร้องให้ได้โดยไม่มี สิ่งกระตุ้น ขาด ความสนใจไม่ทํากิจกรรมในสิ่งที่เคยชอบ ไม่รู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่ทํากิจกรรมที่ เคยชอบ แยกตัว จากครอบครัว
2.2 สมาธิและความตั้งใจสั้น ไม่กล้า ตัดสินใจ ความรู้สึกมีคุณค่าและความเชื่อมั่นในตนเอง ลดลง หลงผิด มองอนาคตในแง่ร้าย มีความกลัวและ ความวิตกกังวลมากเกินไป
การประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าสําหรับ ผู้สูงอายุ (Geriatric Depression Scale: GDS)
แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale: TGDS) 12 คะแนน ผู้สูงอายุมีความเศร้าเล็กน้อย (mild depression)
การรักษา
การบําบัดรักษาทางชีววิทยาการแพทย์
1.1 การบําบัดรักษาด้วยยาต้านเศร้า (Antidepressant Drugs) การใช้ยาต้านเศร้า (antidepressants) แบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ Tricyclic antidepressant (TCAS), Monoamine Oxidase inhibitor (MAOIs), Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
การบําบัดทางจิตสังคม
2.1 การให้คําปรึกษา(Counseling) เป็นการ บําบัดผู้สูงอายุโดยการให้คําปรึกษาโดยการสื่อสารให้ผู้สูงอายุได้รับรู้ว่าได้รับการดูแลอย่างไร และการให้ความสําคัญกับผู้สูงอายุกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้ระบายสิ่งที่เกิดขึ้น
2.2 การทํากลุ่มจิตบําบัด ( Group psychotherapy)
2.3 การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavior therapy)
2.4 การบําบัดโดยการแก้ปัญหา (problem Solving therapy)
2.5 การบําบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ( Interpersonal psychotherapy) เป็นการ บําบัด ผู้สูงอายุโดยการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดและการเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคม