Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มพฤติกรรมนิยม - Coggle Diagram
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา
การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ
ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล
การทดลองของพาฟลอฟ
สามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งได้
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
การนําความต้องการทางธรรมชาติของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้า
การนําเรื่องที่เคยสอนไปแล้วมาสอนใหม่
หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใด ควรมีการใช้สิ่งเร้าหลายแบบ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน
จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
การทดลองของวัตสัน
ให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาว
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนได้
การล้างพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขในแง่ลบ เช่น การที่นักเรียนกลัวครู ครูอาจเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่
ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่องโยงของ ธอร์นไดด์
ลักษณะการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Eror)
กฎการเรียนรู้ของ ธอร์นไดด์
กฎแห่งความพร้อม
กฎแห่งการฝึกหัด
กฎแห่งผลที่พึงพอใจ
กฎแห่งการใช้
การทดลองของธอร์นไดค์
แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลัง แมวเกิดการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง
สํารวจความพร้อมหรือสร้างความพร้อมของผู้เรียน
ให้สิ่งเร้าหรือรางวัลเพื่อให้ผู้เรียนพอใจ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ (สกินเนอร์)
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์
การวัดพฤติกรรมตอบสนองสกินเนอร์ เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจำกัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง
การเสริมแรงทางบวก
การเสริมแรงทางลบ
การทดลองของสกินเนอร์
เริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองที่เหมาะสมนั้น
การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร
การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนรู้ไม่ได้ ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
การประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอน
ครูควรออกแบบสื่อการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือทำด้วยตนเองโดยไม่สนใจคำตอบโดยการลองผิดลองถูก
ครูควรพูดเสริมแรงทางบวกหรือกล่าวชมเชยเมื่อผู้เรียนทำงานโดดเด่น หรือพูดเสริมแรงทางลบ เมื่อผู้เรียนทำผิด
การให้รางวัลแก่ผู้เรียน เช่น เมื่อผู้เรียนทำข้อสอบได้เต็ม