Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลมารดาและทารกในระยะที่ 2, 3 และ 4 ของการคลอด Jaotourlek-435, Brant…
การดูแลมารดาและทารกในระยะที่ 2, 3 และ 4 ของการคลอด
การพยาบาลมารดาและทารกในระยะที่ 2
การเปลี่ยนแปลง
ทางสรีรวิทยา
Interval 1.5-2 นาที
Duration 60-90 วินาที
Intensity +3
ความรู้สึกอยากเบ่งเมื่อมดลูกมีการหดรัดตัวเป็น
Pushing reflex
การยืดขยายของพื้นเชิงกราน เมื่อส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมามากๆ จะทำให้ฝีเย็บโป่งตึง บาง ผิวเป็นมัน
การเปลี่ยนแปลงที่ตัวทารก = ถุงน้ำจะแตก
ผนังมดลูกสัมผัสกับทารกมากขึ่น
แรงดันจากส่วนยอดมดลูกจะกดลงไปที่ตัวทารกตามแนวยาวของลำตัว
เพิ่ม
Fetal axis pressure
ทารกอยู่ในทรงก้ม
ทางจิตสังคม
การรับรู้ของผู้คลอด: ผู้คลอดจะเริ่มรู้สึกผ่อนคลายลงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ผู้คลอดจะมีความเจ็บปวดและตึงเครียดสูงสุด เพื่อพยายามเบ่งทารกออกมา จะเกิดอาการทุรนทุราย เหนื่อย และอ่อนเพลีย
การประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารก
2. การประเมินการดำเนินคลอด
ประเมินการหมุนภายในของศีรษะทารกโดยการตรวจภายใน
ในท่า LOA หรือ ROA ควรหมุนอีก 45 องศา
ในท่า LOP หรือ ROP จะต้องหมุนมาอีก 135 องศา
ในท่า OPP จะต้องหมุนมาอีก 180 องศา
ประเมินระยะเวลาของการคลอด (Length of second stage)
(1) Stage of descent :ครรภ์แรกใช้เวลาประมาณ 30 นาที ครรภ์หลัง ไม่เกิน 15 นาที
(2) Stage of perineum ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ไม่ควรนานเกิน 45 นาที
:star: ครรภ์แรกจะใช้เวลา 1 -2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง และครรภ์หลังจะใช้เวลา 30 นาที – 1 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง
ประเมินการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
ครรภ์แรก การเคลื่อนต่ำของส่วนนำไม่น้อยกว่า 1 cm/hr
ครรภ์หลัง การเคลื่อนต่ำของส่วนนำไม่น้อยกว่า 2 cm/hr
ประเมินการเบ่งของผู้คลอด
ผู้คลอดเบ่งเมื่อมดลูกหดรัดตัว
คางชิดอก
สูด
ลมหายใจเข้าเต็มที่แล้ว
กลั้น
หายใจก่อนออกแรง
เบ่ง
ขณะเบ่งทวารหนักตุงและถ่างขยาย
มองเห็นส่วนนำปรากฏทางช่องคลอดมากขึ้นเรื่อย ๆ
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
: ในรายที่ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ต้องคอยสังเกตเกี่ยวกับ
การหดรัดตัวของมดลูกตลอดระยะเวลาพัก (Tetanic contraction)
Bandl’s ring
ประเมินสภาพทั่วไปของผู้คลอด
ความอ่อนเพลีย ความเหนื่อยล้า
ความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์
สภาพกระเพาะปัสสาวะ
4.การประเมินจิตสังคมของมารดา
3. การประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
การฟัง FHS
ควรฟังทุก 5 นาที
ควรฟังในขณะที่มดลูกเริ่มคลายตัว
FHS ที่ช้าลง แปลว่า ทารกมีภาวะขาดออกซิเจน
หาก FHS < 110 ครั้ง/นาที = FHS pattern เป็น late หรือ FHS> 160 ครั้ง/นาที = FHS pattern เป็น variable deceleration
:star: ควรรายงานแพทย์
การสังเกตน้ำคร่ำ
Thick meconium = ลักษณะสีเขียวเหนียวข้นมาก
Moderate meconium = ลักษณะข้นปานกลาง
Thin meconium = ลักษณะใส
:star: น้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนมาแบบเหนียวข้นมาก = ทารกเสี่ยงต่อการขาดภาวะออกซิเจนมากเท่านั้น
1. การประเมินสภาวะทั่วไป
สภาพกระเพาะปัสสาวะ
ถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็ม กระตุ้นให้ผู้คลอดถ่ายปัสสาวะ
ในกรณีที่ผู้คลอดไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้ เนื่องจากส่วนนำเคลื่อนลงมากดบริเวณท่อปัสสาวะและบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ควรให้การพยาบาลโดยการสวนปัสสาวะให้อย่างปราศจากเชื้อ
:star: หากกระเพาะปัสสาวะเต็ม จะส่งผลให้การคลอดไหล่เป็นไปได้ยาก (Shoulder dystocia)
ประเมินความอ่อนเพลีย
: ผู้คลอดต้องใช้พลังงานในการเบ่งและต้องงดน้ำงดอาหารในระยะที่ 1 หากมีอาการอ่อนเพลียมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และการใช้ผ้าเย็นเพื่อให้ผู้คลอดสดชื่นขึ้น
ประเมินสัญญาณชีพ
: ถ้า PR>100 ครั้ง/นาที , BP> 130/90 mmHg/BP < 90/60mmHg ควรประเมินทุก 15 นาที และรายงานแพทย์
ประเมินการขาดสารน้ำ
: สังเกตอาการและอาการแสดง เช่น การสังเกตจากความชุ่มชื้นของริมฝีปาก การคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออกเป็นจำนวนมาก และการงดน้ำงดอาหาร
ประเมินความเจ็บปวด
การช่วยคลอดปกติ
4. การทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอก
5. คลุมผ้าสะอาดให้ผู้คลอด
3. การเตรียมผู้ทำคลอด
ใส่แว่นตา mask ใส่ผ้ายางกันเปื้อน และสวมรองเท้าบูท
ล้างมือ 7-8 ขั้นตอน ยกมือและแขนให้สูงกว่าระดับเอว
เช็คมือด้วยผ้านึ่งสะอาดปราศจากเชื้อ
สวมเสื้อกาวน์ และถุงมือ sterile
6. การช่วยเหลือการคลอด
การทำคลอดไหล่
เมื่อดูดเมือกจากปากและจมูกของเด็กหมดแล้ว ให้หมุนหน้าทารกให้ท้ายทอยอยู่ด้านเดียวกับหลังทารก เพื่อให้สอดคล้องกับการหมุนของไหล่
ทำคลอดไหล่หน้า/ไหล่บนก่อน
โดยใช้มือจับทั้ง 2 ข้างจับศีรษะทารก
แล้วค่อยๆ โน้มศีรษะลงข้างล่าง
เห็นไหล่บนเคลื่อนต่ำลงจนเห็นซอกรักแร้
ทำคลอดไหล่ล่าง
ยกศีรษะทารกขึ้น 45 องศากับแนวดิ่ง
:star: การทำคลอดไหล่ล่าง ต้องคอยดูบริเวณฝีเย็บว่ามีการฉีกขาดหรือไม่
:explode:ข้อควรระวังในการทำคลอดไหล่ :explode:
ก่อนการทำคลอดไหล่ควรตรวจดูว่ามีสายสะดือพันคอหรือไม่
ห้ามใช้นิ้วเกี่ยวล็อคคอทารกขณะดึง
เพราะจะทำให้คอทารกถูกยืดออกมาก ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อ Brachial plexus
การทำคลอดศีรษะ
เมื่อศีรษะถูกผลักดันออกมา จนส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะทารก (Biparietal eminences) ผ่านพ้นปากช่องคลอดมาแล้ว หรือศีรษะมี Crowning แล้ว
บอกให้ผู้คลอดหยุดเบ่ง
มือซ้ายที่กดศีรษะเด็กอยู่
เปลี่ยนมาโกยศีรษะให้เงยขึ้นอย่างช้าๆ
มือขวารวบบริเวณฝีเย็บแล้วดันสองข้างรูทวารหนัก ผลักคางทารกให้เงยขึ้น
หน้าผากทารกผ่านฝีเย็บออกมาแล้ว
มือขวา Safe perineum ช่วยรูดฝีเย็บลง
ภายหลังศีรษะทารกคลอดแล้ว
เช็ดตาทารกด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก/สำลีชุบน้ำเกลือ
ช่วยทำ Restitution และ External rotation ช่วยจับศีรษะของทารกหมุนตามท่าของทารก
การหมุนศีรษะทารก เพื่อให้สามารถสอดลูกสูบยางแดงเข้าไปในปากทารกได้สะดวกขึ้น โดยผู้ทำคลอดใช้นิ้วชี้ของมือข้างที่ไม่ถนัดสอดเข้าไปในปากทารก เพื่อถ่างให้สอดลูกสูงบางแดงได้ง่ายขึ้น
การตัดฝีเย็บ
1. Medio-lateral episiotomy
เป็นการตัดเฉียงไปด้านซ้ายหรือขวา โดยจะเริ่มบริเวณกลาง Fourchette แล้วเฉียงประมาณ 45 องศา ก่อนตัดให้สอดนิ้วชี้และนิ้วกลางของมือซ้ายเข้าไปอยู่ระว่างศีรษะทารกกับฝีเย็บ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัดถูกศีรษะทารก
เมื่อเปรียบเทียบกันกับการตัดฝีเย็บแบบ Median episiotomy พบว่า
ซ่อมแซมยากกว่า
แผลหายแล้วมีลักษณะไม่ค่อยสวย
มีอาการเจ็บแผลหลังคลอด และ Dyspareunia พบได้มากกว่า
เสียเลือดมากกว่า
มีการฉีกขาดต่อถึง Third degree ได้น้อยกว่า
2. Median episiotomy
เป็นการตัดจากแนวกลางของ Fourchette ลงไปตรงๆ ยาวประมาณ 2.5-3 ซม.
เมื่อเปรียบเทียบกันกับการตัดฝีเย็บแบบ Medio-lateral episiotomy พบว่า
ซ่อมแซมง่ายกว่า
แผลติดและสวยกว่า
ไม่ค่อยเจ็บแผลและ Dyspareunia พบได้น้อย
เสียเลือดน้อยกว่า
มีการฉีกขาดต่อถึง Third degree ได้บ่อย
การทำคลอดลำตัว
ดึงตัวทารกออกมาช้า ๆ โดยมือขวาจับศีรษะบริเวณท้ายทอยและลำคอ มือซ้ายรองรับลำตัวที่จะผ่านปากช่องคลอดออกมา
ระวังไม่ให้สายสะดือตึง
เวลาที่ทารกคลอดพ้นออกมาทั้งลำตัว
ต้องบันทึกเวลาที่ทารกเกิดไว้ด้วย
รีบเช็ดตัวทารกให้แห้ง
ดูดเมือกออกจากปากและจมูกอีกครั้งจนหมด
การตัดสายสะดือ
ก่อนตัดเช็ดสายสะดือด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
มือที่ถนัดถือกรรไกร โดยสอดกรรไกรหันปลายเข้าหาอุ้งมือ กำมือไว้ขณะตัด เพื่อป้องกันไม่ตัดโดนนิ้วของทารกขณะทารกดิ้น
ควรตัดห่างจากบริเวณ Clamp ประมาณ 1 cm.
ให้ใช้สำลีเช็ดอีกครั้งภายหลังการตัดสะดือ และบีบใต้บริเวณที่ตัด เพื่อตรวจสอบว่าสายสะดือถูกรัดแน่นหรือไม่
การผูกสายสะดือ
ทำทันทีภายหลังคลอด
ทารกไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลือง (Hyperbilirubinemia)
ทำภายหลังทารกคลอด 1 นาที
ทารกจะได้รับเลือดจากมารดาผ่านสายสะดือ ช่วยให้ทารกได้รับเหล็กเพิ่มขึ้น
:star:
สรุป
ควรผูกสายสะดือภายหลังจากดูดเสมหะและเช็ดตัวทารกให้แห้ง ใช้เวลาประมาณ 30 วินาที ภายหลังทารกคลอด
1. การเตรียมสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้
2. การเตรียมผู้คลอด
ท่าเบ่งคลอดที่นิยม ได้แก่ ท่านอนหงายราบชันเข่า (Dorsal recumbent) และ ท่านอนหงายขาพาดขาหยั่ง (Lithotomy)
:star: ข้อดี : สะดวกสำหรับผู้ทำคลอดในการฟังเสียงหัวใจทารก ประเิมนการหดรัดตัวของมดลูก และการทำคลอด โดยเฉาพะการช่วยคลอดแบบใช้สูติศาสตร์หัตถการ
:star: ข้อเสีย : แรงเบ่งคลอดไม่ดี เนื่องจากแรงเบ่งต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก และกระดูกก้นกบถูกกดทับกับเตียงตลอดเวลา
การประเมินและการดูแลทารกแรกเกิด
การดูแลทารกแรกเกิดทันที
:pencil2:
การดูแลเกี่ยวกับตา
ป้ายตาโดย 1% Terramycin ointment หรือ 0.5% Erythromycin เพื่อป้องกันเชื้อ Gonococci ในช่องคลอดที่ทำให้เกิดตาอักเสบ (Ophthalmia Neonatorum) ได้
:pencil2:
การจำแนกทารก (Identification)
เขียนชื่อ – สกุลมารดา เพศ เวลาคลอด ลงในป้ายข้อมือทารก และผูกกับแขนซ้ายทารก
ตรวจสอบป้ายข้อมือทุกครั้งก่อนย้ายทารก
:pencil2:
การควบคุมอุณหภูมิ
นอนบนผ้าอุ่น
เช็ดตัวให้แห้ง สวมเสื้อผ้าหรือห่อทารกให้อบอุ่น
ให้การพยาบาลใต้เครื่อง radiant warmer
ไม่ควรจัดทารกนอนใกล้ทิศทางลมผ่าน
วัดอุณหภูมิทางทวาร 1 นาที ถ้าต่ำไม่อาบน้ำ
:pencil2:
การทำความสะอาดร่างกาย
เช็ดไขด้วยน้ำมันมะกอก
อาบน้ำสระผม (บางแห่ง)
เช็ดทำความสะอาดสะดือ
ป้ายตา
:pencil2:
การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
ภายหลังคลอด 30-45 นาที (Sensitive period)
ควรให้มารดาสัมผัสและอุ้มบุตรทันที
Eye to eye contact
skin to skin contact (early bonding)
initial breastfeeding ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
การประเมินสภาวะทั่วๆไปของทารกแรกเกิด
สังเกตลักษณะทั่วไป ความเหมาะสมกับอายุครรภ์ ความผิดปกติของอวัยวะ
ประเมินสัญญาณชีพ : T 36.5-37.5 (วัดทางทวาร 1 นาที), P 100-120 bpm (ฟัง), R 30-60 bpm, BP ไม่นิยม
ชั่งน้ำหนักและวัดความยาวลำตัว
วัดรอบอก เส้นรอบวงศีรษะ
การประเมิน APGAR Score
: ประเมินนาทีที่ 1 และประเมินอีกครั้งเมื่อนาทีที่ 5 หลังคลอด
A = Appearance (Skin color) ; สีของผิวหนัง
P = Pulse ; อัตราการเต้นของหัวใจ
G = Grimace ; ความตึงของกล้ามเนื้อ
A = Activities (Muscle tone) ; การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
R = Respiratory ; การหายใจ
การประเมิน APGAR Score ให้รวดเร็ว
:star:
ทารกที่ไม่มีอาการขาดออกซิเจน (Asphyxia)
ต้องร้องเสียงดัง ตัวเอง มี Activity ถ้าภายหลังดูดเสมหะแล้วทารกตัวแดงให้ 10 คะแนน ถ้าพร่องข้อใดข้อหนึ่งค่อยหักจาก 10 คะแนน
:star:
ทารกที่อาการไม่ดี ไม่ร้อง และเขียว
ให้คะแนนเพิ่มจาก 0 ตามข้อที่พอจะมีคะแนนบ้าง
:star:
ทารก Active
ไม่จำเป็นต้องนับอัตราการเต้นของหัวใจ
แนวทางการช่วยเหลือทารกตาม APGAR Score
: คะแนนเต็ม 10 คะแนน
:check:
คะแนน 8-10 (No asphyxia) : ปกติ
ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งและให้ความอบอุ่นแก่ทารก
:check:
คะแนน 5-7 (Mild asphyxia) ขาดออกซิเจนระดับต่ำ
ช่วยเหลือโดย Keep warm จัดท่าให้ทางเดินหายใจสะดวก กระตุ้นการหายใจ ให้ O2 4 L/min
:check:
คะแนน 3-4 (Moderate asphyxia) : ขาดออกซิเจน
มีความเป็นกรด
จำเป็นต้องได้รับการช่วยหายใจ โดย O2 Mask c Bag 100% และความดันที่เพียงพอ ช่วยจนกว่าทารกจะตัวแดงดี หายใจได้เอง Pulse > 100 หลังจากนั้นส่งหน่วยทารกแรกเกิด เพื่อสังเกตอาการในตู้อบอย่างใกล้ชิด
:check:
คะแนน 0-2 (Severe asphyxia) : ขาดออกซิเจนอย่างมาก มีความเป็นกรดสูง
ช่วยเหลือการหายใจทันทีที่คลอดเสร็จโดยการใส่ ET Tube และช่วยหายใจโดย Bag O2 100% พร้อมกับนวดหัวใจ ถ้ายังไม่มีการเต้นของหัวใจภายใน 30 วินาที ควรใส่สาย Umbilical venous catheter เพื่อให้ sodium bicarbonate สารน้ำและยา
การดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
: ดูดเสมหะในปากและจมูกออกให้หมด โดยดูดในปาก ก่อนจมูกเพื่อป้องกันการสำลัก
การดูแลมารดาและทารก
2. การพยาบาลเพื่อสนองความต้องการทั่วไป
วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้คลอดมีความสุขสบายและบรรเทาอาการเจ็บปวด
ดูแลไม่ให้มีกระเพาะปัสสาวะเต็ม
สังเกตอาการขาดน้ำ ถ้ามีดูแลให้ได้รับสารน้ำทางเส้นเลือด
ดูแลพักผ่อนในระหว่างที่มดลูกคลายตัว เหยียดเท้าเพื่อคลายความเครียด เพื่อสงวนกำลังไว้เบ่ง
ดูแลบรรเทาความเจ็บปวดของผู้คลอด นอนตะแคงเมื่อมดลูกคลายตัว ช่วยนวด พูดปลอบโยนให้กำลังใจ
ดูแลความสุขสบายทั่วไป โดยเช็ดหน้า-แขนด้วยน้ำเย็น และวางผ้าเย็นที่หน้าผากหรือคอ
3. การพยาบาลเพื่อการสนับสนุนในระยะเบ่งคลอด
วัตถุประสงค์: เพื่อคลายความวิตกกังวล และผู้คลอดสามารถเผชิญภาวะเครียดได้อย่างเหมาะสม
1. การพยาบาลตามกระบวนการคลอด
วัตถุประสงค์: เพื่อสนับสนุนการคลอดให้ดำเนินตามปกติ
ดูแลผู้คลอดให้เบ่งคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ ระวัง Valsalva maneuver พร้อมทั้งให้กำลังใจผู้คลอดและกล่าวชมเชย
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ตรวจภายในประเมินระดับส่วนนำ
สังเกตอาการผิดปกติของการคลอด
บันทึกการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 15 นาที
วัตถุประสงค์: เพื่อให้ทารกในครรภ์ปลอดภัย
สังเกตน้ำคร่ำที่ไหลออกทางช่องคลอด
ช่วยทำคลอดทารก เมื่อปากมดลูกเปิดหมด
ฟังเสียง FHS ทุก 5 นาที
Cervix เปิดหมด - ทารกคลอด
การพยาบาลมารดาและทารกในระยะที่ 3
การเปลี่ยนแปลง
ทางสรีรวิทยา
การลอกตัวของรก
กลไก
Schultze’s mechanism
พบร้อยละ 70
รกจะเริ่มลอกตัวบริเวรตรงกลางรกก่อน
ก้อนเลือดค้างหลังรก (Retroplacenta blood)
เมื่อรกคลอด จะมองเห็นรกด้านลูกออกมาก่อน
การลอกตัวแบบนี้ มักไม่มีเลือดออกให้เห็นทางช่องคลอด เพราะเลือดขังอยู่หลังรก
Duncan’s mechanism
พบร้อยละ 30
รกจะเริ่มลอกตัวบริเวณริมรกก่อน ระหว่างที่รกลอกตัวจะมองเห็นเลือดไหลออกมาทางช่องคลอดตลอด
การลอกตัวแบบนี้ เมื่อรกคลอดจะเห็นรกทางด้านแม่ออกมาก่อน
ข้อควรระวัง
ต้องตรวจรกอย่างระมัดระวัง เพราะอาจเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการมีรก และเยื่อหุ้มเด้กค้างอยู่ในโพรงมดลูกได้
อาการแสดง
Cord sign
สายสะดือเหี่ยว
เกลียวคลาย
คลำ Pulse ไม่ได้
เคลื่อนต่ำลง 8-10 เซนติเมตร
Vulva sign
หลังคลอดทารกจะเห็นเลือดออกทางช่องคลอด แสดงว่ารกมีการลอกตัวแบบ Duncan’smethod
Uterine sign
มดลูกมีการหดรัดตัวแข็งขนาดเล็กลง
รูปร่างจากยาวรีเป็นกลม
ลอยตัวสูงขึ้นถึงระดับสะดือ
เอียงไปทางด้านขวาของผู้คลอด
การลดลงของขนาดมดลูก
ทำให้พื้นที่รกเกาะลดขนาดลง
รกขนาดเท่าเดิม
decidua ของรกส่วนที่อ่อนแอแยกออกจากผนังมดลูก
กลไกที่ทำให้เลือดหยุด
เส้นเลือดในโพรงมดลูกวางแทรกสอดเข้าไป
ในเส้นใยกล้ามเนื้อของมดลูกที่เป็นร่างแห มดลูกหดรัดตัวจะบีบหลอดเลือดให้หักงอ ทำให้เลือดบริเวณที่รกลอกตัวหยุดอย่างรวดเร็ว
กลไก “Living ligature action”
ทางจิตสังคม
ผ่อนคลายมากขึ้น เริ่มพูดคุย ตอบสนองดี
ซักถามเกี่ยวกับบุตร
ระบายความรู้สึก
แสดงความขอบคุณ ขอโทษ
ส่งเสริมสัมพันธภาพแม่-ลูก
ทางระบบต่างๆ ของร่างกาย
อุณหภูมิร่างกาย สูงขึ้นเล็กน้อยจากปกติ
ระบบทางเดินหายใจ อัตราการหายใจกลับสู่ปกติ
ระบบไหลเวียนเลือดเริ่มลดลงกลับคืนสู่ระยะก่อนเจ็บครรภ์คลอด
ระบบทางเดินอาหาร เริ่มทำงานดีขึ้น ไม่ควรมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
การคลอดรก
วิธีคลอดเอง
ข้อควรระวังของการคลอดรกเองร่วมกับวิธีกดที่ตัวรก
ควรตรวจว่ารกลอกตัวสมบูรณ์ และประเมินว่ามดลูกหดรัดตัวแข็งดีเป็นก้อนแข็งหรือไม่ เพื่อป้องกันมดลูกปลิ้น
ควรจับสายสะดือยกขึ้นแทนการดึงสายสะดือ และระวังไม่ให้เยื่อหุ้มทารกขาดค้างในโพรงมดลูก เพราะจะทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอดได้
วิธีช่วยทำคลอดรก
การตรวจรก
การตรวจเยื่อหุ้มรก
ชั้น Chorion
เป็นเยื่อหุ้มทารกที่ติดกับผนังมดลูก ทีลักษณะหนา ใส ไม่เรียบ
เยื่อหุ้มทารกชั้นนี้ฉีกขาดง่าย อาจหลุดค้างในโพรงมดลูก ดังนั้นในการตรวจรกต้องตรวจชั้น Chorion อย่างละเอียด
ชั้น Amnion
เป็นเยื่อหุ้มทารกชั้นในที่หุ้มตัวทารก สายสะดือ และน้ำคร่ำไว้
มีลักษณะเป็นมัน มีสีขาวขุ่น และเหนียวมากแต่ใสกว่าชั้น Chorion มักไม่มีการฉีกขาด
การตรวจรกด้านมารดา
Cotyledon มีลักษณะเป็นก้อนๆ สีแดงเข้มเหมือนลิ้นจี่ เวลาตรวจต้องดูว่า Cotyledon ออกมาครบหรือไม่ โดยใช้มือประกบเนื้อรกเข้าหากัน แล้วสังเกตดูว่ามีรอยแหว่งหรือไม่
เนื้อตายของรก (Infraction) เกิดจากการเสื่อตามธรรมชาติ หรือพบในผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน จะมีสีออกเหลืองๆ เทาๆ มักพบไม่เกินครึ่งหนึ่งของเนื้อรก
หินปูน (Calcification) มีลักษณะเป็นจุดสีขาวหรือสีเทาๆ หากเอามือลูบจะรู้สึกเป็นเม็ดแข็งและสากมือ พบได้มากในรายที่คลอดก่อนกำหนด มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวาน และสูบบุหรี่มากในระหว่างการตั้งครรภ์
รอยบุ๋มบนผิวรก พบได้ในรายที่มีรกลอกตัวก่อนกำหนด และมีเลือดขังอยู่รกมาก
การตรวจรกด้านทารก
การกระจายของเส้นเลือดจากสายสะดือ
วงสีขาวรอบขอบรก (Closing ring of Wrinkle Waldeyer)
การติดของเยื่อหุ้มทารกชั้น Chorion
รกผิดปกติ
Placenta membranacea = รกที่มีลักษณะแผ่นกว้างใหญ่และบางกว่าปกติ มักจะตกค้างอยู่ในโพรงมดลูก รกไม่ลอกตัวภายหลังคลอด ทำให้ผู้คลอดมีโอกาสตกเลือดหลังคลอดได้สูง
Placenta circumvallata = รกที่มี Chorionic plate เล็กกว่าปกติมาก รกชนิดนี้จะทำให้เกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรกลอกตัวก่อนกำหนด
Placenta bipartite = รกที่มีรก 2 อัน อันหนึ่งใหญ่ อีกอันหนึ่งเล็ก รกทั้งสองอันจะแยกจากกัน และมีเส้นเลือดจากสายสะดือมาเลี้ยงรกแต่ละอันโดยตรง
Placenta succenturiata = รกที่มีรกน้อย ซึ่งแยกจากรกใหญ่โดยเด็ดขาด
Placenta spurium = รกที่มีรกน้อย ชนิดไม่มีเส้นเลือดติดต่อระหว่างรกใหญ่และรกน้อย
Placenta valamentosa = รกที่มีความผิดปกติของการเกาะของสายสะดือ เกาะอยู่บนเยื่อหุ้มทารกชั้น Chorion
การตรวจสายสะดือ
ความยาวของสายสะดือ
สายสะดือยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร โดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร
การวัดความยาวของสายสะดือ: วัดจากปลายที่ตัดถึงตำแหน่งที่เกาะกับรก จากนั้นบวกที่ติดอยู่กับทารกอีก 2-3 เซนติเมตร
ปม (Knot)
:star: False knot
False jelly knot : มีลักษณะหนาขึ้นเป็นปม
False vascular knot : เกิดจากเส้นเลือด Umbilical vein ขดเป็นกระจุก
:star: True knot: สายสะดือผูกกันเป็นปม ถ้าผูกกันแน่นจะทำให้ทารกขาดออกซิเจนในครรภ์ตายได้
จำนวนหลอดเลือดในสายสะดือ
มีจำนวน 3 เส้น แบ่งออกเป็นเส้นเลือดแดง (Umbilical arteries) 2 เส้น จะเหี่ยวเป็นกลมเล็กๆ และแข็งๆ และเส้นเลือดดำ (Umbilical vein) 1 เส้น ที่มีนาดใหญ่กว่า
การเกาของสายสะดือบนรกด้านทารก (Chorionic plate)
Central insertion : สายสะดือเกาะอยู่ตรงกลาง Chorionic plate
Lateral insertion : สายสะดือเกาะค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของ Chorionic plate
Marginal insertion : สายสะดือเกาะติดที่ริมขอบรก Battledore placenta
Membranous insertion : สายสะดือติดอยู่บนเยื่อหุ้มเด็กชั้น Chorion
ระยะที่เด็กคลอดจนกระทั่งรกคลอด
การดูแลมารดาในระยะที่ 3 ของการคลอด
การประเมิน
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ห้ามคลึงมดลูก
ก่อนที่จะประเมินได้ว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว เพราะจะทำให้ปากมดลูกหดเกร็ง เป็นผลให้รกไม่สามารถผ่านปากมดลูกออกมาได้ และถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีควรสวนปัสสาวะทิ้ง เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะแห้ง ไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินจำนวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด
เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 3 ของการคลอด ผู้คลอดมักจะเสียเลือดไม่เกิน 300 cc นับรวมก่อนเลือดจากรกด้วย ถ้าหากมีเลือดออกตั้งแต่ 500 cc ถือว่าเป็นการตกเลือดหลังคลอด ดังนั้นต้องประเมินสัญญาณชีพทุก 5 นาที และประเมินภาวะช็อคควบคู่ไปด้วย
ประเมินอาการแสดงของรกลอกตัว
อาการแสดงของรกลอกตัว อาจมี 2 หรือ 3 อาการแสดง (Uterine sign, Cord sign ,Vulva sign ) ขึ้นอยู่กับกลไกการลอกตัวของรก
ผู้ทำคลอดจะต้องทดสอบว่า รกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว ด้วยการทำ Cord test ก่อนที่จะลงมือทำคลอด
ประเมินสภาพทั่วไปของผู้คลอด
ประเมินสัญญาณชีพ: ถ้าชีพจรเบาเร็วขึ้น ความดันโลหิตต่ำลง ควรรีบรายงานแพทย์และให้การช่วยเหลือ
เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงของภาวะช็อค เช่น อาหารเหงื่อออก ตัวเย็นชื้น รู้สึกสั่น ชีพจรเบาเร็ว หายใจเร็ว ความดันโลหิตลดลง และความรู้สึกตัวน้อยลง
สภาพกระเพาะปัสสาวะ : ถ้ามีกระเพาะปัสสาวะเต็มจะทำให้รกคลอดช้า ถ้า 10-15 นาที รกไม่คลอด ควรสวนปัสสาวะทิ้ง
การใช้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก
ถ้าผู้คลอดได้รับสารน้ำอยู่แล้ว แต่ไม่ได้รับาเร่งคลอดในระยะที่ 1 หรือ 2 ของการคลอด จะได้รับ Oxytocin 15 unit ใส่เข้าไปในสารน้ำที่เหลือ และอีก 5 unit
ทำห้เจือจางแล้วฉีดเข้าเส้นเลือดดำโดยตรง รวมได้ทั้งหมด 20 unit
ถ้าผู้คลอดที่ได้รับ Oxytocin 10 unit เร่งคลอดในระยะที่ 1 หรือระยะที่ 2 ของการคลอดอยู่แล้ว จะได้รับเพิ่มอีก 10 unit โดย 5 unit ใส่เข้าไปในสารน้ำที่เหลือ และอีก 5 unit ทำให้เจือจางประมาณ 5-10 cc แล้วฉีดเข้าเส้นเลือดดำโดยตรง
การพยาบาลมารดาและทารกในระยะที่ 4
2ชั่วโมงภายหลังการคลอด
ประเมินการมีก้อนเลือดคั่ง (Hematoma)
ประเมินภายหลังเย็บฝีเย็บเสร็จ ว่ามีก้อนเลือดคั่งบริเวณใต้แผลหรือไม่
:star: อาการและอาการแสดงของการมีก้อนเลือดคั่ง
บ่นเจ็บปวดบริเวณฝีเย็บมาก
ฝีเย็บบวมไม่เท่ากัน
ผิวหนังบริเวณฝีเย็บมีสีเขียวปนม่วง
แผลฝีเย็บตึงมากขึ้น
รู้สึกว่าตึงหรือถ่วงบริเวณก้น
ประเมินสภาวะทั่วไปของหญิงหลังคลอด
ประเมินสัญญาณชีพ: ในระยะ 1 ชั่วโมงหลังคลอด ควรประเมินทุก 15 นาที ต่อจากนั้นประเมินทุก 30 นาที จนครบ 2 ชั่วโมงหลังคลอด และระยะนี้อาจพบว่ามารดามีไข้ต่ำๆ ได้ แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ถือว่าเป็นภาวะปกติที่เกิดภายในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอด ที่เรียกว่า
Reactionary fever
อาการเหนื่อยอ่อนเพลียและความต้องการการพพักผ่อน
อาการกระหายน้ำและความต้องการรับประทานอาหาร
อาการปวดมดลูก และปวดฝีเย็บ
ประเมินการฉีกขาดของหนทางคลอด
ตรวจดูว่าบริเวณฝีเย็บมีการฉีกขาดหรือไม่และมีการฉีกขาดในระดับใด ภายหลังการประเมินการฉีกขาดควรทำการซ่อมแซมบริเวณที่ฉีกขาก ช่องคลอด และฝีเย็บทันที
ประเมินสภาพกระเพาะปัสสาวะ
ประเมินอาการกระเพาปัสสาวะเต็ม คือ มดลูกนุ่มและลอยเหนือสะดือ อาจเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง และบริเวณท้องน้อยจะโป่งตึง เมื่อพบกระเพาะปัสสาวะเต็ม ต้องให้หญิงหลังคลอดปัสสาวะออกทันที ถ้าปัสสาวะเองไม่ได้ ต้องสวนปัสสาวะ
ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ในระยะที่ 4 จะมีเลือดออกได้ แต่ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร ใน 2 ชั่วโมงหลังคลอด
ประเมินสัมพันธภาพระหว่างแม่-ลูก
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
มดลูกควรมีการหดรัดตัวดีเป็นก้อนแข็งกลม และมีระดับยอดมดลูกภายหลังคลอดทันทีต่ำกว่าระดับสะดือประมาณ 1 นิ้วฟุต หรือมีความสูงของยอดมดลูกประมาณ 2/3 หรือ 3/4 ส่วนของระยะระหว่างกระดูกหัวเหน่า
Brant-Andrew maneuver
อาศัยมือกดไล่รกออกมาโดยตรง
ใช้มือดันมดลูกส่วนบนขึ้นไปเล็กน้อย มืออีกข้างจับสายสะดือ จากนั้นมือที่อยู่บริเวรท้องน้อยเปลี่ยนมากดลงล่างเพื่อไล่รกให้เคลื่อนออกมา เมื่อเห็นรกคลอดออกมาแล้ว ให้ทำคลอดเยื่อหุ้มรกเช่นเดียวกับวิธี
Modified Crade’ maneuver
Modified Crade’ maneuver
อาศัยการหดรัดตัวของมดลูกส่วนบน ดันรกซึ่งอยู่ส่วนล่างของมดลูกออกมา
ตรวจสอบว่า รกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว จากนั้นใช้มือที่ถนัดคลึงมดลูกให้เป็นก้อนแข็งเต็มที่ ผลักก้อนมดลูกให้มาอยู่กลางหน้าท้อง
ข้อควรระวัง = อย่าดันยอดมดลูกลงมาทางช่องคลอด เพราะทำให้ Transverse ligament หย่อนยาน
มดลูกปลิ้น
ผู้คลอดตกเลือดภายหลังคลอด
ผ้า safe perineum
ชามใส่รก
Sponge holding forceps
ชามใส่ Betadine scrub
ชามสำลีชุบ NSS
ชามสำลีชุบน้ำยาเช็ดสะดือเด็ก
ลูกสูบยาง
กรรไกรตัดฝีเย็บ
Artery clamp
กรรไกรตัด cord
tooth forceps
ผ้าปูหน้าท้อง
ผ้ารองก้น
ถุงขา
ทำคลอดไหล่บน
ทำคลอดไหล่ล่าง
การทำคลอดลำตัว
Controlled cord traction
การดึงสายสะดือ ต้องเป็นผู้ที่ชำนาญ
ควรตรวจดูว่าว่ามดลูกหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งหรือไม่
ข้อควรระวัง
ต้องสังเกตว่ารกเคลื่อนตามออกมาหรือไม่
ถ้ารกไม่เคลื่อนตามออกมา อย่าฝืนดึงสายสะดือด้วยแรงที่มากขึ้น เพราะอาจทำให้สายสะดือขาด
นางสาวอภิญญา พุ่มพวง รหัสนิสิต 62010006 ชั้นปีที่ 3 Sec 01