Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) - Coggle Diagram
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD)
โรคกรดไหลย้อน(GERD)
โรคกรดไหลย้อน หมายถึง โรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด
อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผลหรือหลอดอาหารอักเสบโดยไม่เกิดแผล
ประเภทของโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนธรรมดา หรือ CLASSIC GERD ซึ่งกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหารไม่ไหลย้อนเกินกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนส่วนใหญ่จะมีอาการของหลอดอาหารเท่านั้น
โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal Reflux : LPR) หมายถึงโรคที่มีอาการทางคอและกล่องเสียงซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติทำให้เกิดอาการของคอและกล่องเสียงจากการระคายเคืองของกรด
สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน
โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปที่หลอดอาหารคอและกล่องเสียง
การบีบตัวของหลอดอาหาร
การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลออาหารส่วนบน และส่วนล่าง
สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้อุบัติการณ์ของโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากคนไทยรับอิทธิพลของตะวันตกมากขึ้นและการดำเนินชีวิตของแต่ละคนเปลี่ยนไปเหมือนกับคนตะวันตกมากขึ้น
ทำงานเลิกดึก รับประทานอาหารดึก พอรับประทานแล้วเข้านอนทันที ทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น การไหลย้อนของกรดเกิดง่ายขึ้น
เครียดกับงานมากขึ้น เมื่อเครียด กระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือหลอดอาหารทำงานน้อยลง และมีการหลั่งกรดมากขึ้น โอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากขึ้น
ชนิดของอาหารในปัจจุบันนิยมรับประทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดเช่น แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด หรือพิซซ่า หรืออาหารที่ปรุงด้วยการผัด และการทอดกันมากขึ้น
มีเชื้อแบคทีเรียตัวหนึ่งคือ Helicobacter pylori หรือ H. pylori ปัจจุบันเชื้อตัวนี้มีบทบาทเกี่ยวกับแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น เชื้อ H. pylori มีความสัมพันธ์ กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และทำให้มีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของกระเพาะอาหารมากขึ้นเชื้อนี้มีข้อดีคือช่วยปกป้องภาวะกรดไหลย้อน
อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้ (พบน้อย)
รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
กลืนลำบาก กลืนเจ็บ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ
เจ็บคอ แสบคอหรือปาก หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
มีเสมหะอยู่ในลำคอหรือระคายคอตลอดเวลา
รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย (dyspepsia)
เสียงแหบเรื้อรัง หรือ แหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน
กระแอมไอบ่อย
อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่ (ถ้ามี) แย่ลง หรือไม่ดีขึ้นจากการใช้ยา
แนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อน
การงดสูบบุหรี่
การลดลงของความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยกรดไหลย้อนที่ต้องใช้ยาในการรักษาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เมื่อเทียบกับอาการเดิมเมื่อยังสูบบุหรี่ทุกวัน
การดื่มสุรา
การศึกษาพบว่าการดื่มสุราเพิ่มความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนโดยแปรผันตามปริมาณและความถี่
ของการดื่มสุรา
การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การศึกษาแบบ prospective randomized unblinded crossover trialในผู้ป่วย 30 รายเปรียบเทียบระหว่างการรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอนกับการรับประทานอาหาร 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน พบว่าในกลุ่มที่รับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอนจะมี supine refluxมากกว่า (p=0.002)
การนอนยกหัวเตียงสูง
การศึกษาแบบ randomized crossover study ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน15 รายพบว่าการนอนยกหัวเตียงสูงขึ้น 8 นิ้วโดยรองหัวเตียงด้วยลิ่มที่ทำจากโฟม (foam wedge) สามารถลระยะเวลาที่พบความเป็นกรดที่ pH<4 ในบริเวณหลอดอาหารได้เมื่อเทียบกับการนอนราบ (ร้อยละ15เทียบกับร้อยละ 21; p<0.05)
การรักษากรดไหลย้อนในหญิงตั้งครรภ์
ในหญิงมีครรภ์ ควรเลือกใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเป็นวิธีการรักษาเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีความปลอดภัยมากที่สุดโดยแนะนำให้รับประทานอาหารให้มีปริมาณต่อมื้อลดลง
การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยการผ่าตัด
การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยการผ่าตัดหรือการทำ fundoplication อาจมีความเหมาะสมในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ โดยการผ่าตัดสามารถช่วยลดอาการของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจยืนยันว่าเป็นกรดไหลย้อนได้ถึงร้อยละ 90เมื่อทำการติดตามเป็นระยะเวลา 10 ปี
ข้อบ่งชี้การรักษาด้วยการผ่าตัด
อาการของโรคไม่สามารถควบคุมด้วยยา PPI
มีอาการร่วมกับการตรวจพบ hiatal hernia ขนาดใหญ่
มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับยารักษาระยะยาว
การเตรียมผู้ป่วยก่อนทำการผ่าตัด
ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดสมควรได้รับการประเมินเบื้องต้นตามคำแนะนำของEsophageal Diagnostic Advisory Panel
กรดไหลย้อน กับ laryngopharyngeal reflux (LPR)
ผู้ป่วยกรดไหลย้อนที่มีอาการแสดงของ LPR สามารถให้การรักษาด้วยยา PPI ได้ และไม่มีความจำเป็นต้องติดตาม laryngeal signs หลังให้การรักษา
กรดไหลย้อน กับ ภาวะไอเรื้อรัง (chronic cough syndrome)
ผู้ป่วยกรดไหลย้อนที่มีอาการไอเรื้อรัง (chronic cough syndrome)พิจารณาให้ยา PPI ได้หากสงสัยว่ามีเหตุจากกรดไหลย้อน มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยรวบรวม 11 การศึกษา
การรักษาด้วยยา
ยาลดกรด(Antacids) ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ใช้ในผู้ที่มีอาการเล็กน้อยหรือเป็นเพียงชั่วคราว เช่น aluminium hydroxide, magnesium hydroxide
ยากลุ่ม H2 receptor antagonist ออกฤทธิ์ยับยั้งฮิสตามีนไม่ให้จับกับตัวรับในกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดลดลง เช่น cimetidine, ranitidine เป็นต้น
รับประทานยาอย่างไรให้ได้ผล
การกินยาอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์มีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษาโรคกรดไหลย้อนให้หาย เมื่อคุณเริ่มกินยาไปได้ระยะนึง อาการต่างๆจะดีขึ้น
เมื่อไหร่ต้องรีบพบแพทย์
ถึงแม้ว่าโรคกรดไหลย้อนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการรุนแรง แต่ไม่ควรละเลยโดยไม่รักษา เพราะอาจเกิดการแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ ทั้งนี้หากพบแพทย์เพื่อรักษาแล้ว คุณยังมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นต้องปรึกษาแพทย์ทันที
อาเจียนบ่อยหรือมีเลือดปน
กลืนติดหรือกลืนลำบาก
รับประทานยาครบตามแพทย์สั่ง แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
เทคโนโลยีใหม่ๆในการรักษาโรคกรดไหลย้อน(GERD)ในอนาคต
จะมีการพัฒนาในเรื่องการวินิจฉัยโรค ทำให้วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น
มีการพัฒนาในการรักษาโดยมีการผลิตยา ที่ทำให้ลดกรดได้ดีขึ้น และมีผลข้างเคียงน้อย ทำให้ อาการผู้ป่วยดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการรักษาโดยการผ่าตัด