Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-Centered…
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง
(Teacher-Centered Instruction)
การจัดการเรียนการสอนทางตรง (Direct Instruction)
ตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนการสอนทางตรง
มีการจูงใจผู้เรียนให้ความสนใจต่อสิ่งที่จะนำเสนอ
มีการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
มีการทบทวนความรู้เดิมที่เป็นพื้นฐานของความรู้ใหม่
มีการนำเสนอความรู้ใหม่หรือเนื้อหาสาระที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้เรียนโดยผู้สอน
มีการให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้
ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแสดงออก
ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนทางตรง หมายถึง การดำเนินการเพื่อ
ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูล ความรู้ ข้อเท็จจริง หรือวิธีการ กระบวนการต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยถ่ายทอดข้อมูลเหล่านั้นอย่างตรงไปตรงมา
หลักการ
การจัดเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม
การตรวจสอบพื้นฐานความรู้เดิม
การนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างกระชับ ชัดเจน
การฝึกปฏิบัติใช้ความรู้หรือทักษะที่เรียนรู้
การได้รับข้อมูลป้อนกลับ
การฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบให้ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory Based Direct Instruction)
รูปแบบ The Mastery Teaching Program หรือโปรแกรมการสอนเพื่อการรู้จริง
พัฒนาโดย ฮันเทอร์ (Hunter)
ผู้ใช้ทฤษฎีการเรียนและการสอนของกานเย่ (Gagne)
ประกอบด้วย
ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
ขั้นการให้ข้อมูลและการแสดงตัวแบบ
ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ
ขั้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติตามคำแนะนำ
รูปแบบ DISTAR
หรือระบบการสอนทางตรงเพื่อการรับรู้และการสอน
พัฒนาโดย บีไรเทอร์ – อิงเกิลแมน (Bereiter - Englemann)
สำหรับเด็กจากครอบครัวที่มีฐานะด้อยทางเศรษฐกิจและสังคม
โปรแกรมได้รับการจัดโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นส่วนใหญ่
โปรแกรมมีโครงสร้างที่รัดกุมและรายละเอียดที่ชัดเจน
ผู้สอนจะต้องดำเนินการทุกอย่างตามที่โปรแกรมกำหนดไว้จึงจะประสบความสำเร็จในการสอน
โปรแกรมนี้เริ่มใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่าน ต่อมาจึงได้ขยายไปสู่วิชาอื่น ๆ
มีโปรแกรมย่อย ๆ กว่า 40 โปรแกรม
สั่งซื้อได้จาก “Science Research Associates”
การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ผลการวิจัย (Research Based Direct Instruction)
องค์ประกอบ
ครูเป็นศูนย์กลาง (teacher centrality)
เป้าหมาย (task orientation)
ความคาดหวังทางบวก (positive expectation)
ความร่วมมือของผู้เรียนที่สามารถวัดประเมินได้ (student cooperation and accountability)
บรรยากาศที่ปลอดภัย (nonnegative affect)
มีกฎ ระเบียบ กติกา ที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่าง ๆ (established structure)
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
รูปแบบ Basic Practice หรือการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพื้นฐาน
พัฒนาโดย เมอร์ฟีย์ เวล และแมคกรีล (Murphy, Weil & Mcgreal)
ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น
ขั้นแนะนำบทเรียน (lesson introduction)
ชี้แจงวัตถุประสงค์
เนื้อหาสาระ
วิธีการสอน
ความคาดหวังต่อสัมฤทธิ์ผลของการเรียนรู้
ขั้นพัฒนา (development)
การนำเสนอบทเรียน
ข้อมูล
ความรู้และทักษะต่าง ๆ
ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การควบคุม (controlled practice)
ขั้นฝึกปฏิบัติตามคำแนะนำ (guided practice)
ขั้นฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent practice)
รูปแบบ Explicit Instruction
หรือการจัดการเรียนการสอนแบบชัดแจ้ง
พัฒนาโดย โรเซ็นชายน์ และสตีเวนส์
(Rosenshine & Stevens)
ประกอบด้วย
ขั้นทบทวนความรู้เดิมและตรวจการบ้าน
ขั้นนำเสนอเนื้อหาสาระหรือทักษะใหม่
ขั้นนำให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ
ขั้นให้ข้อมูลป้อนกลับและแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียน
ขั้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ
ขั้นการทบทวนการฝึกปฏิบัติรายสัปดาห์และรายเดือน
รูปแบบ Active Teaching
หรือการจัดการเรียนการสอนแบบติดตามต่อเนื่อง
พัฒนาโดย กู๊ด กราวส์ และเอ็บเมียร์
(Good, Grouws and Ebmeier)
ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น
ขั้นเริ่ม (opening)
เก็บการบ้าน
การทบทวนความรู้หรือทักษะที่เพิ่งได้เรียนรู้มา
ขั้นพัฒนา (development)
การตรวจสอบพื้นความรู้ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้เรื่องใหม่
การนำเสนอความรู้ใหม่ด้วยการบรรยาย
อธิบายและแสดงตัวอย่างที่ชัดเจน
ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนโดยใช้คำถามและให้คำอธิบายเพิ่มเติม
ขั้นปฏิบัติงาน (independent work)
ขั้นให้การบ้าน (homework)
ขั้นทบทวนอย่างต่อเนื่อง (continued review)