Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โจทย์สถานการณ์(Scenario) ''นายถุงชา'' - Coggle Diagram
โจทย์สถานการณ์(Scenario) ''นายถุงชา''
โรคจิตเภท (schizophrenia)
เป็นโรคทางจิตเวชที่รุนแรง
มีลักษณะเป็นโรคเรื้อรัง และพบการกลับเป็นซ้ำ (recurrent)
อาการหลัก คือ
อาการด้านบวก (positive symptoms) เช่น หลงผิด (delusion) ประสาทหลอน (hallucination) อาการด้านลบ (negative symptoms) เช่น พูดน้อย แยกตัวจากสังคม อาการด้านพุทธิปัญญา (cognitive symptoms) เช่น ความจำ ลดลง ความสามารถในการวางแผนและการแก้ปัญหาบกพร่อง นอกจากนี้ยังอาจพบอาการทางด้านอารมณ์ (affective symptoms) เช่น อารมณ์เศร้า วิตกกังวล
เกิดความผิดปกติ
ผิดปกติทางความคิด
ผิดปกติทางการรับรู้ความเป็นจริง
ผิดปกติทางอารมณ์ พฤติกรรม และสังคม
ทฤษฎีระบบของ Neuman
กล่าวว่า บุคคลเป็นระบบเปิด มีความเป็นพลวัตร (Dynamic) และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกอยู่ตลอดเวลา โดยในระบบบุคคลมีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม วัฒนธรรม พัฒนาการ และจิตวิญญาณเหล่านี้มีความสัมพันธ์ทำงานร่วมกัน โดยในระบบบุคคล ประกอบด้วยแนวป้องกัน
แนวป้องกันต่าง ๆ ได้แก่ แนวการป้องกันยืดหยุ่น แนวการป้องกันปกติ แนวการต่อต้าน
และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นปัจจัยจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต
แนวป้องกันปกติเป็นเส้นที่แสดงถึงระดับ
ภาวะสุขภาพปกติของบุคคล เป็นผลลัพธ์ของการปรับตัวเข้าหากันของระบบบุคคลและสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคจิตเภท
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
พันธุกรรม
พบว่าญาติของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคจิตเภทสูงกว่าประชากรทั่วไปหากมีความใกล้ชิดทางสายเลือดมากก็ยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้น
สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคจิตเภททาให้คนในครอบครัวมีแนวโน้มป่วยด้วยโรคจิตเภทมากกว่าคนทั่ว ไป 10 เท่า และในบุตรที่มีบิดาหรือมารดาป่วยเป็นโรคจิตเภทบุตรมีโอกาสเป็นโรคจิตเภทไดร้อยละ 40
ระบบสารชีวเคมีในสมอง
ความผิดปกติของสารสื่อประสาท (neurotransmitters) ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้และมีอาการก้าวร้าว
สารโดปามีน (dopamine) ที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคจิตเภท มีการทำ งานมากเกินในบริเวณมีโซลิมบิก (mesolimbic) และมีโซคอติคอล แทรกท์ (mesocortical tract)
ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทอยู่ไม่นิ่ง มีอาการทางบวก
ซีโรโตนิน (serotonin) ทำงานน้อยลง
จะทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัวเองออกจากสังคม ให้ความสนใจเกี่ยวกับกิจวัตรตนเองลดลง
ปัจจัยทางด้านครอบครัวสังคม และวัฒนธรรม
สภาพครอบครัวมีผลต่อการเกิดโรค พบว่าครอบครัวที่มีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง (high expressed - emotion; EE)
ได้แก่ การตำหนิวิพากษ์วิจารณ์ (criticism) มีท่าทีไม่เป็นมิตร (hostility) หรือยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากเกินไป (emotion over involvement)
การที่ป่วยมีอาการทางจิตอยู่เรื่อยๆนั้นทา ให้การดำรงชีพไม่สามารถคงอยู่ได้ในสภาพเดิม (downward drift hypothesis) หรือสภาพสังคมที่บีบคั้นทำให้คนเป็นโรคจิตเภทมากขึ้น (social causation hypothesis)
ในกรณีศึกษา
อารมณ์
= มีอารมณ์ที่หงุดหงิดง่าย จึงทำร้ายร่างกายมารดาและแม่ค้าในตลาด
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
คือ เดินไปเดินมาและแยกตัว
ความคิดที่ผิดปกติ
เพราะคิดว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
การดูแลตนเองที่เปลี่ยนไป
คือ การไม่อาบน้ำ ไม่ดูแลตนเอง